พรรคกสิกรไทย
หัวข้อของบทความนี้อาจไม่ผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไป (พฤศจิกายน 2023) |
พรรคกสิกรไทย | |
---|---|
หัวหน้า | จำลอง ดำสิม (ลาออก) |
เลขาธิการ | ดร.ทรรศชล พงษ์ภควัต (รักษาการ) |
เหรัญญิก | ญัฏฐศรร์ ศตพรกนกรัตน์ |
นายทะเบียนสมาชิก | ฐิติพงศ์ รัตนะเสถียร |
ก่อตั้ง | 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 |
ถูกยุบ | 6 มีนาคม พ.ศ. 2563 |
ที่ทำการ | อดีต 75/85-86 หมู่ 3 ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ตำบลไทรน้อย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี 11150 18/5 ถนนประชาธิปไตย แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2563 580/35 โครงการบ้านกลางเมือง ซอยลาดพร้าว 87 แยก 10 แขวงคลองเจ้าคุณสิงห์ เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310 |
สมาชิกภาพ (ปี 2562) | 1,253 คน[1] |
การเมืองไทย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
พรรคกสิกรไทย (อังกฤษ: KASIKORNTHAI PARTY, ชื่อย่อ: พก.) พรรคการเมืองของไทยที่จดทะเบียนก่อตั้งตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ ในทะเบียนพรรคการเมืองเลขที่ ๔/๒๕๔๒ เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 มีนาย จำลอง ดำสิม อดีตเลขาธิการพรรคเกษตรกรไทย และนาย บุญเลิศ ดำสิม เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนแรก [2] โดยทางพรรคกสิกรไทยนับเป็นพรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยเป็นอันดับที่ 4 ที่ยังคงดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอยู่จนถึงปี 2563 ต่อจาก พรรคประชาธิปัตย์, พรรคประชากรไทย และ พรรคมหาชน
ในช่วงแรกพรรคกสิกรไทยมีที่ทำการพรรคอยู่ที่ 75/85-86 หมู่ 3 ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ตำบลไทรน้อย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ต่อมาทางพรรคได้ย้ายที่ทำการพรรคมาอยู่ที่ 580/35 โครงการบ้านกลางเมือง ซอยลาดพร้าว 87 แยก 10 แขวงคลองเจ้าคุณสิงห์ เขตวังทองหลาง
ซึ่งพรรคกสิกรไทยได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง ส.ส. ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 จนถึง พ.ศ. 2557 แต่ไม่เคยได้ ส.ส. แม้แต่ที่นั่งเดียวในสภาผู้แทนราษฎร แต่ในปี 2548 เคยมีอดีต ส.ส.ร่วมงานก��บพรรคคือ ขจิตร ชัยนิคม อดีต ส.ส.อุดรธานี
ต่อมาในวันอาทิตย์ ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2561 พรรคกสิกรไทยได้จัดประชุมใหญ่ของพรรคครั้งที่ 1/2561 ที่ โรงแรมสีหราช จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อเลือกกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ซึ่งที่ประชุมมีมติให้นาย จำลอง ดำสิม ยังคงเป็นหัวหน้าพรรคต่อไปและนาย ทรรศชล พงษ์ภควัต เป็น���ลขาธิการพรรคคนใหม่
กระทั่งวันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 นายจำลองซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและหัวหน้าพรรคโดยทางพรรคได้รับหนังสือลาออกเมื่อวันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคที่เหลือต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ [3]
กระทั่งวันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2563 พรรคกสิกรไทยได้สิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา ๑๔๑ วรรคสองเนื่องจากไม่สามารถดำเนินการตามมาตรา ๑๔๑ วรรคหนึ่ง (๓) และมาตรา ๑๔๑/๑ วรรคสี่ แห่ง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๓/๒๕๖๑ ได้ทันตามที่กำหนด[4]
โดยก่อนหน้านั้นในวันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2562 อดีตกรรมการบริหารพรรคกสิกรไทยบางส่วนได้ก่อตั้งพรรคการเมืองใหม่ขึ้นมาในชื่อ พรรคสหประชารัฐ (Citizens Government Union Party) โดยมีนาย ทรรศชล พงษ์ภควัต อดีตเลขาธิการพรรคกสิกรไทยและนางสาว สมร ดีสมเลิศ อดีตกรรมการบริหารพรรคกสิกรไทยเป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคสหประชารัฐคนแรก [5]
คณะกรรมการบริหารพรรค
[แก้]ชุด 2561 (1 ธันวาคม 2561-2563)
[แก้]- จำลอง ดำสิม หัวหน้าพรรค (ลาออกเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562)
- ดร.ทรรศชล พงษ์ภควัต เลขาธิการพรรค
- ณัฏฐศรร์ ศตพรกนกรัตน์ เหรัญญิกพรรค
- ฐิติพงศ์ รัตนะเสถียร นายทะเบียนสมาชิกพรรค
- ดร.สมร ดีสมเลิศ กรรมการบริหารพรรค
- สิรภพ ดีสมเลิศ กรรมการบริหารพรรค
- ทรงชัย ดีสมเลิศ กรรมการบริหารพรรค
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 13 มีนาคม 2562
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคกสิกรไทย
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคกสิกรไทย
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง พรรคกสิกรไทยสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง[ลิงก์เสีย]
- ↑ เปิดตัว "พรรคสหประชารัฐ" ที่อุตรดิตถ์