ข้ามไปเนื้อหา

ปัทมสัมภวะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปัทมสัมภวะ
เกิดประเทศอินเดีย
เสียชีวิตทิเบต
มีชื่อเสียงจากผู้ก่อตั้งสายญิงมาในศาสนาพุทธแบบทิเบต

ปัทมสัมภวะ หรือ ปัทมสมภพ (สันสกฤต: ปทฺมสํภว; "ผู้เกิดจากดอกบัว")[note 1] หรือที่รู้จักในชื่อ คุรุรินโปเช เป็นวัชราจารย์ผู้เผยแผ่ศาสนาพุทธสายวัชรยานในทิเบตราวคริสต์ศตวรรษที่ 8-9[1][2][3][4] แหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ทิเบตยุคแรก ๆ หลายฉบับกล่าวว่า มหาคุรุท่านเดินทางมายังทิเบตในราวคริสต์ศตวรรษที่ 8 และสถานปนาสร้างอารามซัมเย ซึ่งเป็นพระอารามทางพระพุทธศาสนาแห่งแรกในทิเบต[3] อย่างไรก็ตาม ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดเกี่ยวกับคุรุในฐานะบุคคลในประวัติศาสตร์นอกเหนือไปจากบทบาทในศาสนาพุทธแบบวัชรยานและแบบทิเบต[5][6]

คุรุปัทมสัมภวะเป็นที่รู้จักในฐานะบุคคลสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านทิเบตสู่ศาสนาพุทธ[7][5] ปรากฏหลักฐานบันทึกต่าง ๆ นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 12 เกี่ยวกับคุรุปัทมสัมภวะ ในฐานะผู้ควบคุมวิญญาณและเทพเจ้าทิเบตทั้งปวง รวมถึงเป็นผู้ซ่อนคัมภีร์ลับมากมาย (เตร์มา) เพื่อให้ผู้ที่เหมาะสมมาค้��พบในอนาคตกาล[8] ท่านญังรัล ญีมา เออเซร์ (Nyangral Nyima Özer; 1124–1192) เป็นผู้รจนาคัมภีร์ประคำแก้วมณี หรือ ซังลิง มา (Zangling-ma) ถือเป็นบันทึกชีวประวัติของคุรุปัทมสัมภวะที่เก่าแก่ที่สุด[9][10] นักวิชาการถือกันว่าญังกรัลเป็น "หนึ่งในผู้วางรากฐานตำนานของปัทมสัมภวะ และเป็นคนแรกที่เชื่อมโยงคุรุปัทมสัมภวะเข้ากับซกเชน (ความประเสริฐยิ่ง)"[11][12]

ศาสนาพุทธแบบทิเบตในยุคหลังให้ความนับถือคุรุปัทมสัมภวะเป็นประดุจดั่งพระพุทธเจ้าองคสองรองลงมาจากพระศากยมุนีพุทธเจ้า เหตุเพราะท่านเป็นบุคคลที่ปรากฏตามคำพยากรณ์[2] นอกจากนี้ยังถือว่าพระนางเยเช โซเกียล และพระนางมัณทารวา ซึ่งเป็นเจ้าหญิงแห่งเนปาลก็ล้วนเป็นศิษยานุศิษย์ของคุรุปัทมสัมภวะ[5] นิกายญิงมาปะถือว่าคุรุเป็นผู้สถปนาคำสอนนิกายนี้[13][4] และตามธรรมเนียมญิงมาปะยังเชื่อว่าเชื้อสายซกเชนมีต้นกำเนิดจากท่านการับ โดร์เจ และสืบทอดสายตรงมาสู่ปัทมสัมภวะด้วย[14]

ประวัติ

[แก้]

ประวัติศาสตร์ในยุคต้น

[แก้]

ตามเอกสารในพงศาวดารที่เก่าแก่ที่สุดของทิเบต กล่าวถึงคุรุปัทมสัมภวะในฐานะบุคคลในประวัติศาสตร์คือ พงศาวดารแห่งบา (Testament of Ba, ประมาณศตวรรษที่ 9–12) บันทึกถึงการสถาปนาอารามซัมเย ในยุครัชสมัยของของพระเจ้าทรีซง เดเซน (Trisong Detsen) รวมทั้งเอกสารที่ค้นพบในแถบตุนหวง ประเทศจีน ยังกล่าวถึงปรมาจารย์ตันตระที่ชื่อว่า ปัทมสัมภวะผสยบปวงปีศาจ (Padmasambhava who tames demons) ในพงศาวดารกล่าวว่า พระเจ้าทรีซง เดเซนไดนิมนต์พระศานตรักษิตเถระ (Śāntarakṣita; 725–788) และเหล่าบัณฑิตไปยังดินแดนทิเบตเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาและสร้างวัดในพุทธศาสนาแห่งแรกที่ อย่างไรก็ตาม ก็เหตุการณ์บางอย่าง เชน น้ำท่วมในวัดและฟ้าผ่าลงที่กลางปราสาทของพระราชา ทำให้ข้าราชบริพานต่างปริวิตกว่า อาจเกิดจากเทพเจ้าในท้องถิ่นโกรธเคือง

เหตุนี้คณะพระธรรมฑูตจึงต้องเดินทางกลับไปยังเนปาลเพื่อความสบายใจของราษฎรชาวทิเบต แต่ท่านก็ได้รับการนิมนต์ให้กลับมาอีกในครั้งที่ 2 ภายหลังจากความการต่อต้านพุทธศาสนาเริ่มสงบลง เมื่อท่านกลับมาพระศานตรักษิตเถระได้อาราธนาคุรุปัทมสมภพ ซึ่งท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องตันตระจากแคว้นอุฑฑิยาน เมื่อคุรุปัทมสมภพท่านเสด็จมายังทิเบต ท่านได้เริ่มสยบวิญญาณท้องถิ่นให้ยอมจำนนและสร้างความประทับใจให้ชาวทิเบตด้วยวิธีการใชเวทย์มนตร์คาถาและพิธีกรรมให้เป็นที่สนใจ จนการสร้างพระอารามซัมเยจึงแล้วเสร็จไปได้ด้วยดี ด้วยเหตุที่มหาคุรุท่านมีบทบาทอย่างมากต่อสังคมทิเบตในขณะนั้นและเป็นจุดสนใจของประชาชน จึงทำให้ราชสำนักเริ่มสงสัยว่าคุรุปัทมสัมภวะต้องการยึดอำนาจ จนมีเรื่องการใส่ร้ายและขอให้มีการเนรเทศแต่ไม่เป็นผล

ประวัติศาสตร์ในเชิงเทพนิยาย

[แก้]
ท่านญังรัล ญีมา เออเซร์ (Nyangral Nyima Özer; 1124–1192)

ในราวศตวรรษที่ 11-12 ตำนานที่เกี่ยวข้องกับคุรุปัทมสมภพเริ่มมีการเล่าขานมากขึ้นเรื่อย ๆ ควบคู่ไปกับบุคคลสำคัญในยุคนั้น เชน พระวิมาลมิตร พระเจ้าซองซัน กัมโป และมหาโลจาว่าไวโรจนะ เมื่อถึงปลายศตวรรษที่ 12 เรื่องเล่าขอคุรุปัทมสมภพก็เริ่มมีอิทธิอย่างมากต่อมาบริบทความเชื่อของผู้คน และกลายเป็นตำนานที่มีอิทธิพลมากที่สุดของการนำพระพุทธศาสนามาสู่ทิเบต[15]

ชีวประวัติของมหาคุรุที่กล่าวได้ว่าเป็นฉบับสมบูรณ์เล่มแรกปรากฏในลักษณะของธรรมสมบัติ (เตร์มา) กล่าวกันว่าค้นพบโดยท่านญังรัล ญีมา เออเซร์ (Nyangral Nyima Özer; 1124–1192) เจ้าอาวาสวัดมาโวชก (Mawochok) ในชื่อคาทัง ซังลิง มา (bka 'thang zangs gling ma) คัมภีร์เล่มนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อแนวคิดการเชิดชูให้คุรุปัทมสมภพเป็นบุคคลศักดิ์สิทธิ์ ต่อมาเตอร์เติน คุรุ โชวัง (tertön Guru Chöwang; 1212–1270) เป็นผู้มีส่วนสำคัญคนถัดไปและเป็นผบันทึกชีวประวัติของพระนางเยเช โซเกียล ชายาของคุรุปัทมสมภพ[16] การเล่าเรื่องพื้นฐานจากธรรมบัติของท่านผ่านเรื่องราวอภินิหารต่าง ๆ ยังคงได้รั���การขยายและเรียบเรียงโดยชาวทิเบต จนในศตวรรษที่ 14 มีการค้นพบธรรมบัติฉบับใหม่โดย ท่านโอร์เกน ลิงปะ (Orgyen Lingpa; 1323–1360) ในชื่อคัมภีร์เปมา กาทัง (Padma bka' thang) คัมภีร์เล่มนี้กล่าวถึงประวัติการปรากฏขึ้นในโลกของท่านเป็นครั้งแรกโดยสมบูรณ์ ซึ่งเริ่มต้นด้วยการบรรพชาในสำนักของพระอานนท์เถระ และมีการอ้างถึงคุรุปัทมสัมภวะว่าเป็น "พระพุทธเจ้าองค์ที่สอง"[17]

การประสูติและชีวิตในครั้งทรงพระเยาว์

[แก้]

โดยทั่วไปประวัติของคุรุปัทมสมภพถูกพรรณนาว่า ท่านเป็นนิรมาณกายจากพระหฤทัยของพระอมิตาภพุทธเจ้ามาในรูปกุมารอาย 8 ขวบปรากฏในดอกบัวที่ลอยอยู่ในทะเลสาบธนโกศะ (Dhanakosha) ล้อมรอบด้วยเหล่าพระฑากินีที่สถิตในแดนอุฑฑิยาน อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีเรื่องราวการประสูติอื่น ๆ ด้วยเชนกัน อีกเรื่องหนึ่งระบุว่าพระองค์ทรงประสูติจากจากครรภ์ของพระนางชเลนทร พระชายาของพระศักรแห่งแคว้นอุฑฑิยาน และได้รับนามว่า โดร์เจ ดุดดุล (Dorje Duddul)[17]

ดังที่ท่านญีมา เคนเชน ปาลเดน เชรับ รินโปเช (Nyingma Khenchen Palden Sherab Rinpoche) อธิบายว่า:

มีเรื่องราวมากมายที่อธิบายว่าคุรุปัทมสัมภวะทรงประสูติได้อย่างไร บางคนบอกว่าพระองค์ปรากฏตัวบนยอดเขาอุกกาบาตในศรีลังกา บางคนสอนว่าพระองค์ทรงประสูตจากครรภ์มารดา แต่เรื่องราวส่วนใหญ่กล่าวถึงการประสูติที่น่าอัศจรรย์ โดยอธิบายว่าทรงปรากฏขึ้นเองที่ใจกลางดอกบัว เรื่องราวเหล่านี้ล้วนไม่ขัดแย้งกัน เหตุเพราะพระอริยเจ้าที่ตระหนักรู้ในธรรมอันสูงส่งนั้นอาศัยความใจกว้างพร้อมความเข้าใจอันสมบูรณ์ และสามารถทำอะไรก็ได้ ทุกอย่างมีความยืดหยุ่น ทุกสิ่งล้วนเป็นไปได้ตามแต่พระองค์ปรากฏได้ตามต้องการหรือที่จำเป็น[18]

ตำนานเล่าว่า ในอดีตกาลนานมาแล้ว มีกษัตริย์พระองค์หนึ่งทรงปกครองในแคว้นอุฑฑิยานทางตอนเหนือของชมพูทวีปนามว่า อินทรภูติ พระองค์ทรงปรารถนาบุตรเพื่อสืบราชสมบัติ ในขณะนั้นพระองค์ได้ทรงพบกับกุมารองค์หนึ่งอยู่กลางดอกบัวในทะเลสาปธนโกศะ ซึ่งว่ากันว่าเป็นนิรมาณกายของพระอมิตาภพุทธเจ้า พระองค์จึงรับเลี้ยงมาเป็นพระราชโอรสของพระองค์เอง จนเมื่อกุมารปัทมสัมภวะเจริญวัยจึงขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ได้สมญานามว่า ปัทมราช หรือ เปมา เกียลโป (གུ་རུ་པདྨ་རྒྱལ་པོ་, gu ru pad+ma rgyal po) จนกระทั้งวันหนึ่งพระราชโอรสเล็งข่ายทิยพญาณเห็นอำมาตย์ผู้หนึ่งของพระบิดาทราบว่า ในอนาคตกาลอำมาตย์ผู้นี้จะก่อกบฏต่อบ้านเมือง พระองค์จึงทำการสังหารเขาด้วยการฟาดไม้เท้าขัฏวางคะ จนทำให้พระกุมารถูกเนรเทศออกจากเมือง ท่านจึงหันมาใช้ชีวิตในฐานะมหาสิทธาและปฏิบัติฝึกตันตระตามบริเวณสุสานทั่วไป

จนวันหนึ่งท่านเดินทางมายังแถบรัฐหิมาจัลประเทศ ในบริเวณนั้นมีทะเลสาปชื่อโซ เปมา (Tso Pema) ท่านได้พบกับพระธิดานามว่า มัณฑรวา (མནྡཱ་ར་བ་, man+dA ra ba) ซึ่งเป็นธิดาของกษัตริย์ในท้องถิ่น คุรุปัทสมภพจึงได้สั่งสอนการปฏิบัติตันตระแก่พระนาง จนเมื่อพระบิดาของทรงทราบจึงทรงพยายามประหารชีวิตท่านมหาคุรุด้วยการเผาทั้งพระองค์และพระธิดาของตน แต่ไม่สำเร็จ ว่ากันว่าเมื่อควันจางลงแล้ว พระองค์ทั้งสองก็ทรงพระชนม์อยู่ โดยมีดอกบัวผุดขึ้นมาจากทะเลสาบอยู่ตรงกลางนั้น สร้างความประหลาดใจอย่างยิ่งกับปาฏิหาริย์นี้ กษัตริย์จึงถวายทั้งอาณาจักรของพระองค์และเมืองมัณฑราวาแก่คุรุปัทมสัมภวะ กล่าวกันว่าปัทมสัมภวะได้ขึ้นครองเมืองเมอง และสั่งสอนคำสอนทางพุทธศาสนาจนผู้คนต่างเข้าถึงมรรคผล[18]

กล่าวกันว่าพระองค์ทั้ง 2 ได้เดินทางไปด้วยกันที่ถ้ำมารติกา (Maratika) ในประเทศเนปาลเพื่อปฏิบัติธรรมจนบรรลุถึงอมิตายุสสมาธิ[19] ตามตำนานพุทธศาสนาแบบทิเบตของชนเผ่ามนปะ (Monpa) ในท้องถิ่นเล่าขานว่า มีน้ำตกที่ชื่อ ชูมิ กยาเซ (Chumi Gyatse) หรือที่รู้จักกันในชื่อ 'น้ำตก 108 แห่ง' ถูกสร้างขึ้นหลังจากการเผชิญหน้าในตำนานระหว่างคุรุปัทมสัมภวะและนักบวชศาสนาบอนที่ปกครองทิเบตและพื้นที่โดยรอบ รวมถึงบริเวณแถบอรุณาจัลประเทศ ว่ากันว่าน้ำตกนี้เกิดขึ้นเมื่อคุรุปัทมสัมภวะเหวี่ยงลูกประคำกับก้อนหินและมีลำธาร 108 สายไหลทะลักออกมาเป็นน้ำตกชูมิ กยาเซ และกลายเป็นที่เคารพนับถือและสถานศักดิ์สิทธิ์สำหรับชาวมนปะในเวลาต่อมา

เสด็จมาทำพุทธกิจในทิเบต

[แก้]
รูปปั้นคุรุปัทมสัมภวะอันโด่งชื่อว่า "เหมือนเรา (looks like me)" ประดิษฐานอยู่ที่พระอารามซัมเซ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นรูปปั้นที่ทันสมัยที่คุรุท่านอยู่และท่านได้ประสาทพรไว้ว่า ผู้ใดเห็นรูปนี้ก็ประดุจว่าได้เห็นตัวท่าน

เรื่องราวของมหาคุรุในทิเบตเริ่มต้นในครั้งที่ทรงรับอาราธนาของพระเจ้าทรีซง เดเซน (ཁྲི་སྲོང་ལྡེ་བཙན་, khri srong lde brtsan/btsan) ให้มาช่วยก่อตั้งพระอารามซัมเย คุรุปัทมสัมภวะถูกพรรณน��ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญคำสอนตันตระผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งทำให้เหล่าวิญญาณและปีศาจของทิเบตต้องยอมจำนนต่อท่าน และท่านก็อาศัยสิ่งเหล่านี้เพื่อเปลี่ยนพวกมันให้เป็นธรรมบาล หรือ ผู้พิทักษ์พระธรรมของพระพุทธเจ้า กล่าวกันว่าเขายังเผยแพร่พุทธศาสนานิกายวัชรยานไปยังชาวทิเบต และแนะนำแนวทางปฏิบัติตันตระโดยเฉพาะ เนื่องจากบทบาทของท่านในการสถาปนาพระอารามซัมเย ซึ่งเป็นอารามทางพระพุทธศาสนาแห่งแรกในทิเบต คุรุปัทมสัมภวะจึงถือเป็นผู้สถาปนานิกายญิงมา (Nyingma) ของพุทธศาสนาแบบทิเบต นอกจากนี้คุรุปัทมาสัมภวะยังมีบทบาทต่อราชสำนักทิเบตอื่น ๆ ได้แก่ ประกอบพิธีกรรมตันตระเพื่อยืดพระชนม์ชีพของกษัตริย์ รวมถึงเป็นผู้สั่งสอนการปฏิบัติตันตระแก่พระเจ้าทรีซง เดเซน

ชีวประวัติต่าง ๆ ยังกล่าวถึงเรื่องราวของพระชายาชาวทิเบตคนสำคัญของคุรุปัทมสมภพด้วย นามว่า เยเช โชเกียล (ཡེ་ཤེས་མཚོ་རྒྱལ་, ye shes mtsho rgyal) นัยยะของชื่อหมายถึง พระนางผู้มีปัญญาประดุจมหาสมุทรอันไพศาล (ชญาณสาคร) ซึ่งมาได้กลายมาเป็นลูกศิษย์ของท่านในขณะอาศัยอยู่ในทิเบต และพระนางยังเป็นหนึ่งใน 3 หทัยบุตรของคุรุปัทมสัมภวะด้วย และได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางในทิเบตว่าเป็น "ศาสนมารดร" หรือ มารดาแห่งพระพุทธศาสนา (Mother of Buddhism) ผู้มีส่วนให้พุทธศาสนาแบบทิเบตเจริญรุ่งเรือง พระนางเยเช โชเกียลกลายเป็นปรมาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่มีลูกศิษย์มากมาย และได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็นคุรุปัทมสมภพในปางสตรีด้วย

ในขณะที่คุรุปัทมสัมภวะยังอยู่ทิเบตท่านได้ซ่อนธรรมสมบัติ (เตร์มา) มากมายในทิเบตเพื่อรอการค้นพบในภายหลัง พระนางเยเช โชเกียลจึงมีส่วนในการเป็นผู้ซ่อนคำสอนเหล่านั้นและเปิดเผยหรือชี้แนะแก่ผู้ที่จะมาค้นพบคำสอนเหล่านั้นในยุคหลัง โดนส่วนใหญ่ธรรมสมบัติของคุรุปัทสมภพจะเกิดขึ้นผ่านการตั้งคำถามจากลูกศิษย์ถึงวิธีการปฏิบัติธรรมและข้อแนะนำในการเจริญปัญญาในลักษณะต่าง ๆ ซึ่งโดยส่วนมากเกิดจากพระนางเยเช โชเกียล ด้วยบทบาทที่สำคัญทั้งหลมดนี้ ทำให้ภาพวาดหลายภาพเป็นรูปคุรุปัทมสัมภวะโดยมีพระมเหสีอยู่แต่ละด้าน คือ พระนางมัณฑรวาอยู่ทางขวา และพระนางเยเช โชเกียลอยู่ทางซ้าย

ธรรมสมบัติที่ได้รับการเปิดเผยหลายฉบับมีต้นกำเนิดมาจากพุทธกิจของคุรุปัทมสัมภวะและลูกศิษย์ของท่าน เชื่อกันว่าตำราสมบัติที่ซ่อนอยู่เหล่านี้จะถูกค้นพบและถูกเปิดเผยเมื่อเงื่อนไขและเหตุปัจจัยพร้อมสำหรับการรับคำสอนเหล่านี้ นิกายญิงมาปะจึงถือว่าคำสอนเหล่านี้เป็นคำสอนหลักที่ได้รับการสืบเชื้อสายมาจากคำสอนของซกเชน (Dzogchen) เป็นสายธารอันบริสุทธิ์จากจากท่านการับ โดร์เจ ผ่านทางธรรมสมบัติของคุรุปัทมสัมภวะ [15]

วัดปาโชตักชัง ประเทศภูฏาน

ภายหลังเมื่อคุรุปัทมสัมภวะทรงสร้างพระอารามซัมเยแล้วเสร็จได้ไม่นานพระเจ้าทรีซง เดเซนก็ทรงสวรรคต คุรุปัทมสมภพก็ทรงเห็นแล้วว่า ท่านกระทำพุทธกิจในแผ่นดินทิเบตเสร็จสมบูรณ์แล้ว กล่าวกันว่าว่าระสุดท้ายคุรุปัทมสัมภวะท่านได้เสด็จไปสู่พุทธเกษตรของพระองค์ที่เรียกว่า ซันดก ปาลรี (ཟངས་མདོག་དཔལ་རི་, zangs mdog dpal ri) หมายถึง พุทธเกษตรภูเขาทองแดง อันเป็นทิพยวิมารของคุรุปัทมสมภพพร้อมด้วยเทพยดาที่มารอรับเสด็จ บางตำนานกล่าวว่า ท่านได้เดินทางไปยังเกาะลังกาเพื่อปราบรากษส[17]

ตำนานเมื่อครั้งเสด็จไปยังภูฏาน

[แก้]

ในประเทศภูฏานมีสถานที่แสวงบุญที่สำคัญหลายแห่งที่เกี่ยวข้องกับคุรุปัทมสมภพ หนึ่งในสถานที่ที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ วัดปาโรตักชัง หรือ ถ้ำเสือ ซึ่งเป็นอารามพุทธศาสนาที่ตั้งอยู่บนหน้าผาเกือบแนวตั้งที่ระดับความสูง 3,000 เมตรเหนือพื้นหุบเขาปาโร สร้างขึ้นรอบ ๆ ถ้ำตักซัง เซ็งเก ซัมดุบ (Taktsang Senge Samdup) ซึ่งว่ากันว่า เป็นสถานที่ที่คุรุปัทมสัมภวะเคยมาทำสมาธิอยู่ ตำนานเล่าวว่า มหาคุรุท่านเหาะมาจากทิเบตพร้อมกับพระนางเยเช โซเกียล และสำแดงเป็นคุรุในปางโดร์เจ โดรโล ต่อมาได้เดินทางไปยังเขตบุมทัง (Bumthang) เพื่อปราบเทพเจ้าท้องถิ่นด้วย

คุรุปัทมสัมภวะ 8 ปาง

[แก้]

ตามความเชื่อปางของคุรุปัทมสมภพมีทั้งสิ้น 8 ปาง โดยคตินี้สืบเนื่องมาจากชีวประวัติของปัทมสัมภวะที่มีอายุยาวนานถึง 1,500 ปี ดังที่ท่านญีมา เคนเชน ปาลเดน เชรับ รินโปเช (Nyingma Khenchen Palden Sherab Rinpoche) กล่าวไว้

เมื่อคุรุปัทมสัมภวะทรงปรากฏบนโลก พระองค์ก็เสด็จมาเป็นมนุษย์ เพื่อที่จะละลายความผูกพันธ์ของเรากับแนวคิดแบบทวินิยม (การแบ่งแยกเป็นคู่) และทำลายพันธนาการที่ซับซ้อน ทำให้ทรงสำแดงคุณลักษณะอันพิเศษบางอย่างด้วย

รูปลักษณะโดยหลัก ๆ ของมหาคุรุปัทมสมภพมีทั้งสิ้น 8 ปาง ที่มาจากช่วงเวลาต่าง ๆ ของชีวิต การสำแดงหรือปางทั้ง 8 ของปัทมสัมภวะล้วนแสดงถึงแง่มุมต่าง ๆ ของพระองค์ด้วยเชน ความโกรธหรือความสงบ เป็นต้น

  1. คุรุเปมา เกียลโป (gu ru pad ma rgyal-po) หรือปางคุรุปัทมราช แปลว่า "ราชาดอกบัว" ทรงปรากฏในรูปพระราชาแห่งแคว้นอุฑฑิยาน มาจากช่วงเวลาที่ทรงปรากฏเป็นกุมาร ลักษณะประดับด้วยผิวพรรณสีชมพูแดง พระพักตร์กึ่งพิโรธ ประทับนั่งบนดอกบัว นุ่งจีวรสีเหลืองส้ม มีกลองดามารุ (ฑมรุ) เล็ก ๆ อยู่ในพระหัตถ์��วา มีกระจกและตะขออยู่ในพระหัตถ์ซ้าย
  2. คุรุญีมา เออเซร์ (gu ru nyi-ma 'od-zer) หรือปางคุรุสุริยประภา แปลว่า "รัศมีแห่งดวงอาทิตย์" ทรงปรากฏในรูปโยคี พระพักตร์กึ่งพิโรธ นัยยะความหมายสื่อถึงลักษณะที่ทรงเป็นโยคีผู้เร่ร่อน แต่เปี่ยมด้วยสติปัญญาประดุจดวงอาทิตย์ที่ส่องสว่างท่ามกลางความมืดมนของจิตใจผ่านการตระหนักรู้ในธรรม ลักษณพระองค์ประทับนั่งบนดอกบัว งอขาซ้าย ผิวสีแดงอมทอง ผมยาวประดับกระดูก มีหนวดและเครา นุ่งหนังเสือ พระหัตถ์ขวาถือขัฏวางคะ และพระหัตถ์ซ้ายมีดวงอาทิยต์บนนิ้วชี้
  3. คุรุโลเดน ชกเซ (gu ru blo ldan mchog sred) หรือปางคุรุมติวัตวรรุจิ แปลว่า "ผู้ทรงความรู้ชั้นยอด" เป็นปางที่ทรงปรากฏในรูปมหาบัณฑิตผู้เปี่ยมด้วยความรู้ ลักษณะทรงประทับนั่งบนดอกบัว ผิวสีขาว สวมผ้าพันคอสีขาว มีผ้าทิพย์พันรอบศีรษะ มีดอกบัวสีเขียวอมฟ้าประดับผม พระหัตถ์ขวาถือกลองดามารุ และพระหัตถ์ซ้ายถือถ้วยปัทมกบาล
  4. คุรุเปมา จุงเน (pad+ma 'byung gnas) หรือปางคุรุปัทมสัมภวะ แปลว่า "แก่นสารดอกบัว" เป็นปางที่ทรงปรากฏลักษณะมีผิวพรรณขาวผ่อง พระพักตร์มีความสงบนิ่ง สวมหมวกปัทมะสีแดง ประทับนั่งบนดอกบัว พระหัตถ์ขวาทำวิตรรกมุทรา และพระหัตถ์ซ้ายถือถ้วยหัวกะโหลก (กปาละ)
  5. คุรุซาเกียง เซงเก (shAkya seng-ge,) หรือปางคุรุศากยสิงหะ แปลว่า "พญาราชสีห์แห่งศากยะ" เป็นปางที่คุรุทรงสำแดงในรูปของพระศากยมุนีพุทธเจ้า รูปลักษณ์มีลักษณะเหมือนกับพระพุทธเจ้า แต่มีผิวสีทอง ทรงไตรจีวร พระหัตถ์ซ้ายถือบาตร และพระหัตถ์ขวามีวัชระ 5 แฉก
  6. คุรุเซงเก ดราดรก (gu ru seng-ge sgra-sgrogs) หรือปางคุรุสิมหนาถ แปลว่า "พญาราชสีห์คำราม" สำแดงใรรูปที่โกรธเกรี้ยว ตำนานเล่าว่า พระองค์ทรงสำแดงปางนี้ที่มหาวิทยาลัยนาลันทา ในครั้งที่ทรงเสด็จไปโต้วาทีกับเหลาเดียรถีย์ แต่พระองค์ทรงป่าวประกาศพระธรรมทั่วทุกภพภูมิแห่งสรรพสัตว์ประดุจพญาราชสีห์คำรามจนมีชัยเหนือพวกนอกศาสนา มีลักษณะปรากฏเป็นสีน้ำเงินเข้มและล้อมรอบด้วยเปลวไฟเหนือดอกบัว มีเขี้ยวและดวงตา 3 ดวงทเพ่งมอง ประดับประดามงกุฎกะโหลกศีรษะและผมยาว ยืนอยู่บนปีศาจ ในพระหัตถ์ถือวัชระเพลิง
  7. คุรุซกเย โดร์เจ (gu ru mtsho skyes rdo rje) หรือปางคุรุสโรรุหวัชระ แปลว่า "ผู้ทรงบังเกิดในท้องทะเล" ปรากฏในรูปพระกุมารถือวัชระที่ระดับหน้าอก ประทับบนดอกบัว ห้อมล้อมด้วยเหล่าฑากินี
  8. คุรุโดร์เจ โดรโล (gu ru rDo-rje gro-lod) หรือปางคุรุวัชระ แปลว่า "วัชระพิโรธ" เป็นรูปที่คุรุปรากฏในรูปพิโรธมาก เป็นปางที่ปรากฏ ณ วัดทักซัง ประเทศภูฏาน รูปลักษณ์มีสีแดงเข้ม ล้อมรอบด้วยเปลวไฟ สวมเสื้อคลุมและรองเท้าแบบทิเบต มีสังข์เป็นต่างหู คล้องมาลัยบนศีรษะ เต้นรำบนแม่เสือ

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. สันสกฤต Padmasambhāva; ทิเบต: པདྨ་འབྱུང་གནས།, (ไวลี: pad+ma 'byung gnas (EWTS), TH: Pemajungné); มองโกล ловон Бадмажунай, lovon Badmajunai; จีน: 莲花生大士 (พินอิน: Liánhuāshēng)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Kværne, Per (2013). Tuttle, Gray; Schaeffer, Kurtis R. (บ.ก.). The Tibetan history reader. New York: Columbia University Press. p. 168. ISBN 9780231144698.
  2. 2.0 2.1 Khenchen Palden Sherab Rinpoche, The Eight Manifestations of Guru Padmasambhava, (May 1992), https://turtlehill.org/cleanup/khen/eman.html
  3. 3.0 3.1 Schaik, Sam van. Tibet: A History. Yale University Press 2011, pp. 34-35.
  4. 4.0 4.1 Doney, Lewis. "Padmasambhava in Tibetan Buddhism" in Silk, Jonathan A. et al. Brill's Encyclopedia of Buddhism, pp. 1197-1212. BRILL, Leiden, Boston.
  5. 5.0 5.1 5.2 Schaik, Sam van. Tibet: A History. Yale University Press 2011, page 34-5, 96-8.
  6. Kværne, Per (2013). Tuttle, Gray; Schaeffer, Kurtis R. (eds.). The Tibetan history reader. New York: Columbia University Press. p. 168. ISBN 9780231144698.
  7. Buswell, Robert E.; Lopez, Jr., Donald S. (2013). The Princeton dictionary of Buddhism. Princeton: Princeton University Press. p. 608. ISBN 9781400848058. สืบค้นเมื่อ 5 October 2015.
  8. Schaik, Sam van. Tibet: A History. Yale University Press 2011, p. 96.
  9. Doney, Lewis. The Zangs gling ma. The First Padmasambhava Biography. Two Exemplars of the Earliest Attested Recension. 2014. MONUMENTA TIBETICA HISTORICA Abt. II: Band 3.
  10. Dalton, Jacob. The Early Development of the Padmasambhava Legend in Tibet: A Study of IOL Tib J 644 and Pelliot tibétain 307. Journal of the American Oriental Society, Vol. 124, No. 4 (Oct. - Dec., 2004), pp. 759- 772
  11. Germano, David (2005), "The Funerary Transformation of the Great Perfection (Rdzogs chen)", Journal of the International Association of Tibetan Studies (1): 1–54
  12. Gyatso, Janet (August 2006). "A Partial Genealogy of the Lifestory of Ye shes mtsho rgyal". The Journal of the International Association of Tibetan Studies (2).
  13. Harvey, Peter (2008). An Introduction to Buddhism Teachings, History and Practices (2 ed.). Cambridge: Cambridge University Press. p. 204. ISBN 9780521676748. สืบค้นเมื่อ 6 October 2015.
  14. Khenchen Palden Sherab Rinpoche, Khenpo Tsewang Dongyal. Lion's Gaze: A Commentary on Tsig Sum Nedek. Sky Dancer Press, 1998.
  15. 15.0 15.1 Davidson, Ronald M. (2005). Tibetan Renaissance. Columbia University Press.
  16. Gyatso, Janet (August 2006). "A Partial Genealogy of the Lifestory of Ye shes mtsho rgyal". The Journal of the International Association of Tibetan Studies (2). Retrieved 23 December 2022
  17. 17.0 17.1 17.2 Doney, Lewis (2015). "Padmasambhava in Tibetan Buddhism". In Silk, Jonathan A.; et al. (eds.). Brill's Encyclopedia of Buddhism. Leiden, Boston: Brill. pp. 1197–1212. ISBN 978-9004299375.
  18. 18.0 18.1 Palden Sherab Rinpoche, Khenchen (May 1992). The Eight Manifestations of Guru Padmasambhava. Translated by Khenpo Tsewang Dongyal Rinpoche. Padma Gochen Ling: Turtle Hill. Archived from the original on 4 December 2022. Retrieved 20 December 2022.
  19. Buffetrille, Katia (2012). "Low Tricks and High Stakes Surrounding a Holy Place in Eastern Nepal: The Halesi-Māratika Caves". In Buffetrille, Katia (ed.). Revisiting Rituals in a Changing Tibetan World. Brill's Tibetan Studies Library. Vol. 31. Leiden/Boston: Brill. pp. 163–208. ISBN 978-9004232174. ISSN 1568-6183 – via Academia.edu.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Padmasambhava. Advice from the Lotus-Born: A Collection of Padmasambhava's Advice to the Dakini Yeshe Tsogyal and Other Close Disciples. With Tulku Urgyen Rinpoche. Rangjung Yeshe Publications, 2013.
  • Berzin, Alexander (November 10–11, 2000). "History of Dzogchen". Study Buddhism. สืบค้นเมื่อ 20 June 2016.
  • Bischoff, F.A. (1978). Ligeti, Louis (บ.ก.). "Padmasambhava est-il un personnage historique?". Csoma de Körös Memorial Symposium. Budapest: Akadémiai Kiadó: 27–33. ISBN 963-05-1568-7.
  • Boord, Martin (1993). Cult of the Deity Vajrakila. Institute of Buddhist Studies. ISBN 0-9515424-3-5.
  • Dudjom Rinpoche The Nyingma School of Tibetan Buddhism: Its Fundamentals and History. Translated by Gyurme Dorje and Matthew Kapstein. Boston: Wisdom Publications. 1991, 2002. ISBN 0-86171-199-8.
  • Guenther, Herbert V. (1996), The Teachings of Padmasambhava, Leiden: E.J. Brill, ISBN 90-04-10542-5
  • Harvey, Peter (1995), An introduction to Buddhism. Teachings, history and practices, Cambridge University Press
  • Heine, Steven (2002), Opening a Mountain. Koans of the Zen Masters, Oxford: Oxford University Press
  • Jackson, D. (1979) 'The Life and Liberation of Padmasambhava (Padma bKaí thang)' in: The Journal of Asian Studies 39: 123-25.
  • Jestis, Phyllis G. (2004) Holy People of the World Santa Barbara: ABC-CLIO. ISBN 1576073556.
  • Kinnard, Jacob N. (2010) The Emergence of Buddhism Minneapolis: Fortress Press. ISBN 0800697480.
  • Laird, Thomas. (2006). The Story of Tibet: Conversations with the Dalai Lama. Grove Press, New York. ISBN 978-0-8021-1827-1.
  • Morgan, D. (2010) Essential Buddhism: A Comprehensive Guide to Belief and Practice Santa Barbara: ABC-CLIO. ISBN 0313384525.
  • Norbu, Thubten Jigme; Turnbull, Colin (1987), Tibet: Its History, Religion and People, Penguin Books, ISBN 0140213821
  • Snelling, John (1987), The Buddhist handbook. A Complete Guide to Buddhist Teaching and Practice, London: Century Paperbacks
  • Sun, Shuyun (2008), A Year in Tibet: A Voyage of Discovery, London: HarperCollins, ISBN 978-0-00-728879-3
  • Taranatha The Life of Padmasambhava. Shang Shung Publications, 2005. Translated from Tibetan by Cristiana de Falco.
  • Thondup, Tulku. Hidden Teachings of Tibet: An Explanation of the Terma Tradition of the Nyingma School of Tibetan Buddhism. London: Wisdom Publications, 1986.
  • Trungpa, Chögyam (2001). Crazy Wisdom. Boston: Shambhala Publications. ISBN 0-87773-910-2.
  • Tsogyal, Yeshe. The Life and Liberation of Padmasambhava. Padma bKa'i Thang. Two Volumes. 1978. Translated into English by Kenneth Douglas and Gwendolyn Bays. ISBN 0-913546-18-6 and ISBN 0-913546-20-8.
  • Tsogyal, Yeshe. The Lotus-Born: The Lifestory of Padmasambhava Pema Kunsang, E. (trans.); Binder Schmidt, M. & Hein Schmidt, E. (eds.) 1st edition, Boston: Shambhala Books, 1993. Reprint: Boudhanath: Rangjung Yeshe Publications, 2004. ISBN 962-7341-55-X.
  • Wallace, B. Alan (1999), "The Buddhist Tradition of Samatha: Methods for Refining and Examining Consciousness", Journal of Consciousness Studies 6 (2-3): 175-187 .
  • Zangpo, Ngawang. Guru Rinpoche: His Life and Times. Snow Lion Publications, 2002.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
Wikiquote
Wikiquote
วิกิคำคมภาษาอังกฤษ มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ: Padmasambhava