ปรากฏการณ์สไตรแซนด์
ปรากฏการณ์สไตรแซนด์ (อังกฤษ: Streisand effect) เป็นปรากฏการณ์ที่ความพยายามในการปกปิดหรือลบข้อมูลก่อให้เกิดผลอันไม่พึงประสงค์ ทำให้ข้อมูลข่าวสารได้รับการเปิดเผยเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น (โดยปกติการแพร่หลายดังกล่าวเกิดขึ้นบนอินเทอร์เน็ต) คำว่า "ปรากฏการณ์สไตรแซนด์" เป็นคำสมัยใหม่ที่ใช้สะท้อนถึงความพยายามในยุคก่อนที่จะปกปิดหรือเซ็นเซอร์สิ่งต่าง ๆ แต่กลับทำให้ข้อมูลดังกล่าวเป็นที่ต้องการมากยิ่งขึ้น และทำให้เกิดความสนใจและการติดตามเรื่องราวมากกว่าปกติทั่วไป
คำว่า "ปรากฏการณ์สไตรแซนด์" เป็นคำที่ตั้งชื่อตามบาร์บรา สไตรแซนด์ นักแสดงหญิงอเมริกัน ที่พยายามปกปิดภาพถ่ายบ้านของเธอในปี พ.ศ. 2546 แต่กลับทำให้ภาพถ่ายดังกล่าวเป็นที่สนใจมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีกรณีอื่น ๆ อีก เช่น ในการส่งคำบอกกล่าวให้หยุดกระทำการละเมิด (cease-and-desist) เพื่อให้มีการปกปิดตัวเลขที่สงวนไว้สำหรับผู้ทรงลิขสิทธิ์ (illegal numbers) ไฟล์ หรือเว็บไซต์ ความปรากฏว่าแทนที่สิ่งที่ระบุให้ปกปิดนั้นจะได้รับการปกปิด ข้อมูลเหล่านั้นกลับก่อให้เกิดความสนใจจากสังคม และก่อให้เกิดการทำซ้ำ (mirror) บนอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายแจกจ่ายไฟล์ (file-sharing network) อย่างกว้างขวาง หรือในบางกรณีก่อให้เกิดเพลงล้อเลียนหรือวิดีโออันเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวด้วย[1][2]
ไมค์ แมสนิก (Mike Masnick) จากเว็บบล็อก Techdirt เป็นผู้สร้างคำว่า "ปรากฏการณ์สไตรแซนด์" หลังจากที่สไตรแซนด์แพ้คดีที่ยื่นฟ้องต่อช่างภาพชื่อเคนเนท อเดลแมน (Kenneth Adelman) และเว็บไซต์ Pictopia.com ด้วยเหตุล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคล คดีดังกล่าวซึ่งเรียกค่าเสียหาย 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐมีคำร้องขอให้อเดลแมนนำภาพถ่ายทางอากาศของแมนชั่นของสไตรแซนด์ออกจากคลังภาพถ่ายตามแนวชายฝั่งของแคลิฟอร์เนียกว่า 12,000 รูป ซึ่งสามารถเรียกดูได้ทั่วไป[1][3][4] อเดลแมนยืนยันว่าเขาได้ถ่ายภาพทรัพย์สินริมชายหาดเพื่อแสดงให้เห็นถึงการกัดเซาะชายฝั่ง โดยได้รับการสนับสนุนและอนุมัติโดยโครงการบันทึกภาพถ่ายชายฝั่งแคลิฟอร์เนีย (California Coastal Records Project)[5][6] ทั้งนี้ ก่อนที่สไตรแซนด์จะฟ้องคดี ภาพที่ 3850 อันเป็นภาพที่โจทก์ฟ้องขอให้นำออกนั้นได้รับการดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ของอเดลแมนเพียง 6 ครั้ง ซึ่งในจำนวนดังกล่าวเป็นทนายของสไตรแซนด์ 2 ครั้ง[7] แต่หลังจากที่สไตรแซนด์แพ้คดี สาธารณชนจึงได้รับรู้เกี่ยวกับภาพนี้มากขึ้น โดยมีผู้เข้าชมเว็บไซต์ของอเดลแมนถึง 420,000 คนในเดือนถัดมา[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Canton, David (November 5, 2005). "Today's Business Law: Attempt to suppress can backfire". London Free Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-02-17. สืบค้นเมื่อ July 21, 2007.
The "Streisand effect" is what happens when someone tries to suppress something and the opposite occurs. The act of suppressing it raises the profile, making it much more well known than it ever would have been
. - ↑ Mugrabi, Sunshine (January 22, 2007). "YouTube—Censored? Offending Paula Abdul clips are abruptly taken down". Red Herring. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-18. สืบค้นเมื่อ July 21, 2007.
Another unintended consequence of this move could be that it extends the kerfuffle over Ms. Abdul's behavior rather than quelling it. Mr. Nguyen called this the 'Barbra Streisand effect', referring to that actress's insistence that paparazzi photos of her mansion not be used
- ↑ Josh Bernoff; Charlene Li (2008). Groundswell: Winning in a World Transformed by Social Technologies. Boston, Mass: Harvard Business School Press. p. 7. ISBN 1-4221-2500-9.
- ↑ Since When Is It Illegal to Just Mention a Trademark Online?, techdirt.com
- ↑ "Barbra Sues Over Aerial Photos | The Smoking Gun". The Smoking Gun. 2003-05-30. สืบค้นเมื่อ 2010-11-22.
- ↑ http://www.californiacoastline.org/streisand/lawsuit.html Link includes lawsuit filings. Streisand was ordered to pay $177,107.54 in court and legal fees. The site has an image of the $155,567.04 check Streisand paid for Adelman's legal fees.
- ↑ Tentative ruling, page 6, stating, "Image 3850 was download six times, twice to the Internet address of counsel for plaintiff." In addition, two prints of the picture were ordered — one by Streisand's counsel and one by Streisand's neighbor. http://www.californiacoastline.org/streisand/slapp-ruling-tentative.pdf
- ↑ Rogers, Paul (2003-06-24). "Photo of Streisand home becomes an Internet hit". San Jose Mercury News, mirrored at californiacoastline.org. สืบค้นเมื่อ 2007-06-15.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ปรากฏการณ์สไตรแซนด์
- "The perils of the Streisand effect". Parkinson, Justin. BBC News, July 31, 2014.