ข้ามไปเนื้อหา

โอลิมปิกฤดูร้อน 2008

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 29
ไฟล์:2008 Summer Olympics logo.svg
เมืองเจ้าภาพจีน ปักกิ่ง จีน
คำขวัญหนึ่งโลก หนึ่งความฝัน
(同一个世界 同一个梦想; Tóng yīge shìjìe tóng yīge mèngxiǎng)
ประเทศเข้าร่วม204
นักกีฬาเข้าร่วม10,899 (6,290 ชาย, 4,609 หญิง)
ชนิด302 รายการ ใน 28 ชนิดกีฬา (41 สาขา)
พิธีเปิด8 สิงหาคม 2008
พิธีปิด24 สิงหาคม 2008
ประธานพิธีเปิด
ผู้จุดคบเพลิง
สนามกีฬาสนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง
ฤดูร้อน
ฤดูหนาว
พาราลิมปิกฤดูร้อน 2008
โอลิมปิกฤดูร้อน 2008
IOC · COC · SF&OCHK · BOCOG

กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 (จีน: 2008年夏季奥运会; พินอิน: Èr Líng Líng Bā Nián Xiàjì Àoyùnhuì, เอ้อร์หลิงหลิงปาเหนียน เซี่ยจี้อ้าวหลินผี่เค่อยวื่นต้งฮุ่ย; อังกฤษ: 2008 Summer Olympics) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 29 (จีน: 第二十九届夏季奥林匹克运动会; พินอิน: Dì Èrshíjiǔ Jiè Xiàjì Àolínpǐkè Yùndònghuì; อังกฤษ: Games of the XXIX Olympiad) หรือรู้จักกันในชื่อ ปักกิ่ง 2008 (จีน: 北京2008; พินอิน: Běijīng èr líng líng bā; อังกฤษ: Beijing 2008) เป็นการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 29 จัดขึ้น ณ กรุงปักกิ่ง ฮ่องกง ชิงเต่า ชิงหวงเต่า เซี่ยงไฮ้ และเฉิ่นหยาง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 8 สิงหาคม (การแข่งขันฟุตบอลจัดขึ้นในวันที่ 6 สิงหาคม) ถึง 24 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ตามมาด้วยพาราลิมปิกฤดูร้อน 2008 ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน ถึงวันที่ 17 กันยายน การแข่งขันโอลิมปิกครั้งนี้ถือเป็นการแข่งขันครั้งที่สามที่มีเจ้าภาพอยู่ในทวีปเอเชีย (ครั้งที่หนึ่ง ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2507 และครั้งที่สอง ณ โซล ประเทศเกาหลีใต้ พ.ศ. 2531) โดยพิธีเปิดได้เริ่มขึ้นในเวลา 20 นาฬิกา (8 นาฬิกาตอนกลางคืน) 8 นาทีตามเวลากรุงปักกิ่ง (19 นาฬิกา 8 นาที ตามเวลาแห่งประเทศไทย) โดยเลข 8 นี้เป็นเลขนำโชคของชาวจีนซึ่งเชื่อกันว่าเลข 8 เป็นเลขมงคลมากที่สุด เพราะออกเสียงคล้ายกับคำว่า ฟา (發/发) ที่หมายถึง ร่ำรวย 12 สิงหาคม 2551 - 31 ตุลาคม 2551

นายหวัง ฉีซัน นายกเทศมนตรีนครปักกิ่งกล่าวเสริมว่า หากพิธีเปิดงานสามารถดำเนินไปได้ด้วยดี ก็ถือว่าการจัดงานกีฬาโอลิมปิกในครั้งนี้สำเร็จไปกว่าครึ่งแล้ว โดยทางจีนมีความพร้อมอย่างเต็มที่ในการจัดการแข่งขันครั้งนี้ เพื่อแสดงศักยภาพของตนให้ปรากฏแก่ชาวโลก ซึ่งอาจเรียกกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้ได้ว่าเป็น "อภิมหาโอลิมปิก"[2] เลยก็ว่าได้

กีฬาโอลิมปิก 2008 เริ่มตั้งแต่วันที่ 8 จนถึงวันที่ 24 สิงหาคม ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติกว่า 3 ล้านคน รวมถึงนักกีฬาประมาณ 20,000 คนและผู้สื่อข่าวอีกราว 30,000 ชีวิตเดินทางมาร่วมงานนี้

การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ

[แก้]

ปักกิ่งได้รับคัดเลือกให้เป็นเมืองเจ้าภาพจัดมหกรรมกีฬาโอลิมปิกในการประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล สมัยที่ 112 ณ กรุงมอสโก สหพันธรัฐรัสเซีย เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2544

คะแนนผลการตัดสินคัดเลือกประเทศเจ้าภาพ
เมือง ประเทศ รอบ 1 รอบ 2
ปักกิ่ง  สาธารณรัฐประชาชนจีน 44 56
โตรอนโต ธงของประเทศแคนาดา แคนาดา 20 22
ปารีส ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 15 18
อิสตันบูล ธงของประเทศตุรกี ตุรกี 17 9
โอซากา ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 6 -

การพัฒนาและการเตรียมการ

[แก้]

สถานที่

[แก้]

นอกจากการก่อสร้างกลุ่มสนามกีฬา และหมู่บ้านนักกีฬาแล้ว ยังมีการก่อสร้างวนอุทยานโอลิมปิก (Olympic Forest Park) บนพื้นที่ด้านเหนือของกลุ่มสนามกีฬา (Sport Complex) บนพื้นที่ราว 4,000 ไร่ รวมทั้งพื้นที่สวนโอลิมปิกสีเขียว บนแนวแกนเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีเขียว อันประกอบด้วยการจัดภูมิทัศน์ เป็นลานเอนกประสงค์, สวนประติมากรรม, สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน, เวทีกลางแจ้ง ฯลฯ

ภูมิทัศน์ริมถนน ได้รับการออกแบบเพิ่มพื้นที่สีเขียวและปลูกต้นไม้ ชุมชนแออัดสองข้างถนนสายหลักมีการรื้อถอน อาคารเก่าๆได้รับการปรับปรุงรวมทั้งทาสีใหม่ เพื่อรองรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้

สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง

[แก้]
สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง

ศูนย์กลางการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 อยู่ที่สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง ซึ่งมีชื่อเล่นว่า "รังนก" เนื่องจากรูปแบบโครงสร้างที่คล้ายรังนก [3] การสร้างสนามกีฬาเริ่มขึ้นในวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2546 เดิมทีทางการจีนมีแผนที่จะใช้สนามกีฬาแห่งชาติกวางตุ้งเป็นสถานที่แข่งขันโอลิมปิก ดังนั้นสนามกีฬาแห่งนี้จึงถูกสร้างขึ้นและเสร็จในปี พ.ศ. 2544 ทว่าทางการจีนเปลี่ยนการตัดสินใจและสร้างสนามกีฬาแห่งชาติใหม่ในปักกิ่ง[4] ต่อมาทางการจีนเปิดการแข่งขันออกแบบสนามกีฬาแห่งชาติที่จะสร้างขึ้นใหม่ในปักกิ่ง บริษัทสัญชาติสวิส Herzog & de Meuron Architekten AG ในความร่วมมือกับกลุ่มออกแบบและค้นคว้าสถาปัตยกรรมจีนชนะการประกวด โดยสนามกีฬามีลักษณะเป็นโครงคอนกรีตคล้ายตาข่ายและจะสามารถจุผู้คนได้ถึง 90,000 คนในระหว่างการแข่งขันโอลิมปิก โดยเดิมสถาปนิกพรรณาถึงลักษณะการออกแบบที่คล้ายคลึงกับรังนกพร้อมด้วยรูโล่งอันใหญ่โตที่มีเพดานสนามที่หดตัวด้วยเหนือสนามกีฬา อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2547 ความคิดที่ให้มีเพดานสนามที่หดตัวได้ถูกยกเลิกไปเพราะเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจและความปลอดภัย สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่งจะเป็นสถานที่ที่ทำพิธีเปิดและปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 เช่นเดียวกับเป็นสถานที่แข่งขันกรีฑาและฟุตบอลรอบชิงชนะเลิศ ผู้ออกแบบสนามกีฬา อ้าย เหวยเหว่ย ถอนตัวจากการสนับสนุนจีนสำหรับโอลิมปิก พร้อมให้สัมภาษณ์ว่า "เขาไม่���้องการที่จะยุ่งเกี่ยวกับเรื่องพรรค์นี้อีกแล้ว"[5][6]

ขณะที่หมู่บ้านโอลิมปิกปักกิ่งเปิดขึ้นแล้ว ณ วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 และเปิดสำหรับสาธารณชนในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การคมนาคม

[แก้]

การเตรียมการทางด้านการคมนาคมของกรุงปักกิ่งเพื่อรองรับกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ได้แก่ การก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร 3, รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีเขียวซึ่งมีจุดหมายปลายทางที่วนอุทยานโอลิมปิก (Olympic Forest Park) และสายรถไฟฟ้าใต้ดินเพื่อเชื่อมต่อไปยังสายเขียว

การตลาด

[แก้]

สัญลักษณ์ประจำโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ถูกเรียกว่า ปักกิ่งร่ายรำ (จีน: 舞动的北京, ‘Dancing Beijing’) สัญลักษณ์รวมตราสัญลักษณ์จีนดั้งเดิมและตัวละครจากพู่กันจีน จิง (京 ที่แปลว่า "เมืองหลวง" ซึ่งอยู่ในคำว่า "เป่ยจิง" ชื่อปักกิ่งภาษาจีน) ในลักษณะของนักกรีฑา แขนที่เปิดอ้าของคำว่า จิง มีความหมายเสมือนการเชื้อเชิญจากประเทศจีนไปทั่วโลกในการที่จะแบ่งปันวัฒนธรรมจีน ประธานของ IOC ฌาคส์ รอกก์ ดีใจมากกับสัญลักษณ์ และให้สัมภาษณ์ว่า "สัญลักษณ์ใหม่ของคุณนำพาไปยังความสวยงามที่ดีเยี่ยมและพลังของประเทศจีนซึ่งอยู่ในมรดกและคนของคุณในทันที"[7]

สโลแกนของโอลิมปิก 2008 คือ "One World One Dream" (จีนตัวย่อ: 同一个世界 同一个梦想; จีนตัวเต็ม: 同一個世界 同一個夢想; พินอิน: tóng yīgè shìjiè tóng yīgè mèngxiǎng, ถงอีเก้อซื่อจีเย่ ถงอีเก้อม่งเสี่ยง) [8] แปลว่า หนึ่งโลก หนึ่งความฝัน สโลแกนนี้ถูกเลือกจากการเสนอมากกว่า 210,000 รายการจากทั่วโลก[3] มีความหมายเป็นการเรียกร้องให้ทั้งโลกเข้าร่วมจิตวิญญาณแห่งโอลิมปิกและสร้างอนาคตที่ดีขึ้นเพื่อมวลมนุษยชน

การถ่ายทอด

[แก้]

กีฬาเหล่านี้จะมีการถ่ายทอดสดในรูปแบบของโทรทัศน์ความละเอียดสูงทั้งหมดเป็นครั้งแรก และมีตัวเลขประมาณการณ์ผู้เข้าชมมากกว่า 4 สิบล้านคน [9] ในระหว่างการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกในปี พ.ศ. 2544 ปักกิ่งยืนยันว่าจะ "ไม่มีการเข้มงวดในการรายงานข่าวและการเคลื่อนไหวของนักข่าวที่เกี่ยวกับโอลิมปิก 2008" [10] แต่ตามรายงานของ The New York Times กล่าวว่า "การให้สัญญาดังกล่าวไม่เป็นจริง โดยมีระเบียบวีซ่าที่เข้มงวดมาก กระบวนการสมัครที่ยาวนาน และความกังวลเกี่ยวกับการเซ็นเซอร์ข้อมูล

ปัญหาของเมือง

[แก้]

การเปลี่ยนแปลงกำหนดการจัดงาน

[แก้]

คณะกรรมการจัดงานมหกรรมกีฬาโอลิมปิกสากลประกาศเลื่อนการจัดมหกรรมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปักกิ่งปี 2008 ออกไปอีก 2 สัปดาห์ เป็นวันที่ 8-24 สิงหาคม

ทางคณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้อธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้ต้องตัดสินใจเลื่อนการแข่งขันออกไปว่า เนื่องจากกำหนดการแข่งขันเดิมคือ ช่วงปลายเดือนกรกฎาคมถึงต้นเดือนสิงหาคมนั้น นครปักกิ่งจะมีอุณหภูมิสูงมาก จนหลายฝ่ายวิตกว่าจะส่งผลกระทบต่อการแข่งขันของนักกีฬา

ภายหลังจากที่คณะกรรมการโอลิมปิกสากลปรึกษากับคณะกรรมการการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศของแต่ละชาติ และคณะกร���มการการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกแห่งปักกิ่งแล้ว ก็ได้บรรลุข้อตกลงเลื่อนการแข่งขันออกไปอีก 2 สัปดาห์

นายหวัง เหว่ย รองประธานคณะกรรมการโอลิมปิกปักกิ่ง แสดงความพอใจกับผลสรุปครั้งนี้ แต่ก็ชี้ว่า หากมีการเลื่อนการแข่งขันฯออกไปอีก 1 สัปดาห์เป็นราวกลางเดือนสิงหาคมไปถึงต้นกันยายน ก็จะยิ่งเป็นเงื่อนไขที่ดีต่อการแข่งขันของนักกีฬา

ปัญหาอื่น ๆ

[แก้]

สัญลักษณ์โอลิมปิก 2008

[แก้]

สัญลักษณ์ดังกล่าวถูกตั้งชื่อว่า 'ปักกิ่งร่ายรำ' [11] จำลองรูปแบบจากตราประทับจีนโบราณ ซึ่งตราประทับนี้ส่วนพื้นเป็นสีแดง ส่วนอักษรแกะสลักเป็นตัว ‘จิง’ (京) ซึ่งอยู่ในคำว่า เป่ยจิง (ปักกิ่ง) อีกทั้งมีลักษณะคล้ายตัวอักษร "เหวิน" ซึ่งหมายถึงอารยธรรมที่สืบทอดมายาวนานของชนชาติจีน นอกจากนั้น ตัวอักษรที่ปรากฏยังเป็นลักษณะท่าทางของคนที่วิ่งไปข้างหน้าขณะกำลังยินดีที่ได้รับชัยชนะ

ด้านล่างตราประทับเป็นอักษรภาษาอังกฤษที่เขียนจากปลายพู่กันจีน คำว่า ‘Beijing 2008 ’ถัดลงไปเป็นสัญลักษณ์ 5 ห่วงของโอลิมปิก

ภายหลังที่มีการเปิดตัวสัญลักษณ์โอลิมปิก ปักกิ่งร่ายรำ บรรดาผู้ผลิตต่างใช้สัญลักษณ์ดังกล่าวประทับอยู่บนผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย เช่น เสื้อยืด หมวก แสตมป์พวกกุญแจ และเหรียญที่ระลึก เป็นต้น ปัจจุบันสินค้าดังกล่าวกลายเป็นสินค้าที่ชาวเมืองปักกิ่งพากันแย่งเป็นเจ้าของ เพราะมีจำหน่ายในกรุงปักกิ่งแห่งเดียวเท่านั้น

คำขวัญประจำการแข่งขัน

[แก้]

การประกาศสโลแกนมหกรรมกีฬาโลก โอลิมปิกปี 2008 มีขึ้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2548 ณ สนามกีฬากรรมาชนกรุงปักกิ่ง บรรยากาศเต็มไปด้วยความคึกครื้น สโลแกนที่พิชิตใจกรรมการได้แก่ “One World One Dream” หรือในภาษาจีน 同一个世界 同一个梦想 ถงอีเก้อซื่อจีเย่ ถงอีเก้อม่งเสี่ยง ซึ่งหมายถึง หนึ่งโลก หนึ่งความฝัน

สโลแกนดังกล่าวสะท้อนถึงอุดมคติของชาวจีนในการร่วมแบ่งปันแก่ประชาคมโลก และอารยธรรม และร่วมต่อสู้เพื่อสร้างสรรค์อนาคตอันสดใสของโลก นอกจากนี้ สโลแกนดังกล่าวยังสอดคล้องกับแนวคิด 3 ประการของโอลิมปิกปี 2008 ได้แก่ เป็นโอลิมปิกสีเขียว เป็นโอลิมปิกที่ทันสมัย และเป็นโอลิมปิกของประชาชน และคุณค่าสากลของความเคลื่อนไหวโอลิมปิก

การวิ่งคบเพลิง

[แก้]
เส้นทางการวิ่งคบเพลิงทั่วโลก

เส้นทางวิ่งส่งต่อคบเพลิง เริ่มจากกรุงเอเธนส์ สาธารณรัฐเฮเลน เดินทางโดยเครื่องบินถึงกรุงปักกิ่งในเดือนมีนาคม แล้วส่งต่อผ่าน 22 เมือง 5 ทวีป และอีก 113 เมืองของจีนเอง รวมระยะทาง 137,000 กิโลเมตร นอกจากนี้เส้นทางวิ่งคบเพลิงจะวกเข้าไปในธิเบต และขึ้นสู่ยอดเขา “จูมูลังมา” (เอเวอเรสต์) ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกด้วย

ตารางการแข่งขัน

[แก้]
 OC  พิธีเปิด  ●   วันที่มีการแข่งขัน   ชิงเหรียญทอง  EG   รอบการกุศล  CC  พิธีปิด
สิงหาคม 2008 6th
7th
พฤ
8th
9th
10th
อา
11th
12th
13th
14th
พฤ
15th
16th
17th
อา
18th
19th
20th
21st
พฤ
22nd
23rd
24th
อา
จำนวน
เหรียญทอง
Ceremonies OC CC
ยิงธนู 1 1 1 1 4
กรีฑา 2 4 6 6 5 3 6 7 7 1 47
แบดมินตัน 1 2 2 5
เบสบอล 1 1
บาสเกตบอล 1 1 2
มวยสากลสมัครเล่น 4 6 11
เรือแคนู 2 2 6 6 16
จักรยาน 1 1 2 1 3 1 2 3 2 2 18
กระโดดน้ำ 1 1 1 1 1 1 1 1 8
ขี่ม้า 2 1 1 1 1 6
ฟันดาบ 1 1 1 1 2 1 1 1 1 10
ฮอกกี้ 1 1 2
ฟุตบอล 1 1 2
ยิมนาสติก 1 1 1 1 4 4 4 EG 1 1 18
แฮนด์บอล 1 1 2
ยูโด 2 2 2 2 2 2 2 14
ปัญจกีฬาสมัยใหม่ 1 1 2
เรือพาย 7 7 14
เรือใบ 3 2 2 2 2 11
ยิงปืน 2 2 2 2 1 2 1 2 1 15
ซอฟท์บอล 1 1
ว่ายน้ำ 4 4 4 4 4 4 4 4 1 1 34
ระบำใต้น้ำ 1 1 2
เทเบิลเทนนิส 1 1 1 1 4
เทควันโด 2 2 2 2 8
เทนนิส 1 3 4
ไตรกีฬา 1 1 2
วอลเลย์บอล 1 1 1 1 4
โปโลน้ำ 1 1 2
ยกน้ำหนัก 1 2 2 2 2 2 1 1 1 1 15
มวยปล้ำ 2 2 3 2 2 2 2 2 18
จำนวนเหรียญแต่ละวัน 7 14 13 19 17 15 18 27 37 18 20 11 21 21 32 12 302
เหรียญสะสมแต่ละวัน 7 21 34 53 70 85 103 130 167 185 205 216 237 258 290 302
สิงหาคม 2008 6th
7th
พฤ
8th
9th
10th
อา
11th
12th
13th
14th
พฤ
15th
16th
17th
อา
18th
19th
20th
21st
พฤ
22nd
23rd
24th
อา
จำนวน
เหรียญทอง

สรุปเหรียญการแข่งขัน

[แก้]
ตารางสรุปเหรียญรางวัล 10 อันดับแรก
 อันดับ  ประเทศ ทอง เงิน ทองแดง รวม
1 จีน 51 21 28 100
2 สหรัฐ 36 38 36 110
3 รัสเซีย 23 21 28 72
4 สหราชอาณาจักร 19 13 15 47
5 เยอรมนี 16 10 15 41
6 ออสเตรเลีย 14 15 17 46
7 เกาหลีใต้ 13 10 8 31
8 ญี่ปุ่น 9 6 10 25
9 อิตาลี 8 10 10 28
10 ฝรั่งเศส 7 16 17 40

พิธีเปิด

[แก้]

ชนิดกีฬาที่แข่งขัน

[แก้]

ตัวเลขในวงเล็บหมายถึงจำนวนเหรียญทองที่ชิงชัย ส่วนภาพแสดงสัญลักษณ์ของการแข่งขันกีฬาชนิดนั้น ๆ

ประเทศที่ร่วมแข่งขัน

[แก้]
แผนที่แสดงประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน

โอลิมปิกฤดูร้อนครั้งนี้มีประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน 204 ประเทศ ยกเว้นประเทศบรูไนที่ไม่ได้ร่วมเข้าแข่งขัน (รวมทั้งหมดเป็น 205 ประเทศในประวัติการณ์) รายชื่อประเทศที่เข้าสู่สนามในพิธีเปิดได้เรียงตามลำดับขีดจากน้อยไปมากของอักษรจีนตัวย่อ เว้นแต่ประเทศกรีซซึ่งจัดให้เป็นอันดับแรกเนื่องจากเป็นต้นกำเนิดของกีฬาโอลิมปิก จึงทำให้ประเทศกินี (几内亚) ได้เข้าสู่สนามเป็นอันดับแรกถัดจากกรีซ (2 ขีด) และประเทศออสเตรเลีย (澳大利亚) ต่อด้วยประเทศแซมเบีย (赞比亚) เป็นอันดับสุดท้ายตามลำดับ (15 และ 16 ขีด) และปิดท้ายด้วยประเทศจีนในฐานะประเทศเจ้าภาพ

List of Participating NOCs

Below is a list of all the participating NOCs (the number of competitors per delegation is indicated in parentheses)

สนามแข่งขัน

[แก้]

การเตรียมงานของเจ้าภาพจีนในโอลิมปิกเกมส์นั้น ได้เตรียมสนามแข่งขันรวมทั้งหมด 31 แห่ง เป็นการสร้างใหม่ 15 แห่ง รื้อถอนปรับปรุงใหม่ 16 แห่ง ในการแข่งขันนี้กีฬาทางน้ำจะถูกจัดที่เมืองชายหาดที่เมืองชิงเต่า และกีฬาแข่งม้าจะถูกจัดที่ฮ่องกง

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Factsheet - Opening Ceremony of the Games of the Olympiad" (PDF) (Press release). International Olympic Committee. 9 October 2014. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 14 August 2016. สืบค้นเมื่อ 22 December 2018.
  2. วิภา อุตมฉันท์, บทความ: จีนที่กำลังเปลี่ยน: อภิมหาโอลิมปิก!, มติชนสุดสัปดาห์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 1411 วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2550
  3. 3.0 3.1 "The Olympic Games en route for Beijing". International Olympic Committee. 2007-07-13. สืบค้นเมื่อ 2007-07-16. (อังกฤษ)
  4. ArchitectureWeek - Design - China's Banner Stadium - 2002.0501 เก็บถาวร 2009-04-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
  5. "Stadium designer blasts China Olympics". Aljazeera. 2007-08-12. สืบค้นเมื่อ 2007-07-16. (อังกฤษ)
  6. "Chinese architect slams Olympic 'pretend smile'". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2007-08-16. (อังกฤษ)
  7. "Rogge's Message for Beijing Olympics Emblem Unveiling". People's Daily Online. 2003-08-03. สืบค้นเมื่อ 2006-12-19. (อังกฤษ)
  8. "'One World One Dream' selected as the Theme Slogan for Beijing 2008 Olympic Games". BOCOG. 2005-12-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-08. สืบค้นเมื่อ 2007-05-05. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help) (อังกฤษ)
  9. "Seeing clearly: Panasonic ushers in first HDTV Game". China Daily. 2007-07-06. สืบค้นเมื่อ 2008-03-24. (อังกฤษ)
  10. Report เก็บถาวร 2003-12-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน of the IOC Evaluation Commission for the Games of the XXIX Olympiad in 2008, pg.73 (อังกฤษ)
  11. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ เล่มโปรด

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า โอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ถัดไป
โอลิมปิกฤดูร้อน 2004
(เอเธนส์ กรีซ)
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน
(8 สิงหาคม - 24 สิงหาคม ค.ศ. 2008)
โอลิมปิกฤดูร้อน 2012
(ลอนดอน สหราชอาณาจักร)

อ้างอิง

[แก้]