ข้ามไปเนื้อหา

ประวัติศาสตร์ของชาในญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิธีการดื่มชาญี่ปุ่น

ประวัติศาสตร์ของชาในประเทศญี่ปุ่น ถูกบันทึกครั้งแรกสุดโดยพระชาวญี่ปุ่นในยุคคริตศตวรรคที่ 9 ชาที่ได้มาเป็นเครื่องดืมของพระในญี่ปุ่น เริ่มต้นเมื่อพระชาวญี่ปุ่นได้เดินทางไปยังจีนเพื่อศึกษาวัฒณธรรมต่าง ๆ และได้นำชากลับมายังญี่ปุ่น ชาชนิดแรกที่นำกลับมาจากจีนเป็นชาขนมปัง ในบันทึกเก่าแก่ของญี่ปุ่นบันทึกชื่อของพระรูปหนึ่ง ชื่อว่าไซโจ ที่ได้นำเมล็ดชาชุดแรกกลับมายังญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 1348 (ค.ศ. 805) และอีกชุดหนึ่งจากพระอีกรูปหนึ่งชื่อคุไค ในปีพ.ศ. 1349 (ค.ศ. 806) ต่อมา ชาได้กลายมาเป็นเครื่องดื่มของชนชั้นสูงในสมัยราชวงษ์ซางะ ซึ่งดำริให้ปลูกต้นชา โดยนำเข้าเมล็ดพันธ์จากจีน และเริ่มพัฒนาสายพันธุ์ในญี่ปุ่นนับแต่นั้นมา

บันทึกของชา

[แก้]

บันทึกของชา หรือ กิซซะ โยโจกิ เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1734 (ค.ศ. 1191) พระในนิกายเซนที่มีชื่อเสียงชื่อว่าเออิไซ (พ.ศ. 1684-1758) ได้ในเมล็ดชาดำกลับมายังเกียวโต เมล็ดบางส่วนได้ถูกมอบให้กับพระอีกรูปหนึ่งคือเมียวเอ โชนิน และกลายมาเป็นต้นกำเนิดของชาอุจิ เออิไซได้เขียนหนึงสือที่เก่าแก่ที่สุดที่บันทึกเกี่ยวกับชา คือ "กิซซะ โยโจกิ" (วิถีการดื่มชาเพื่อสุขภาพ) โดยแบ่งออกเป็นสองเล่ม เขียนในปี พ.ศ. 1754 (ค.ศ. 1211) ในขณะที่ได้ไปยังจีนเป็นครั้งที่สอง และครั้งสุดท้ายในบันทึกของเออิไซ ในบรรทัดแรกเขียนไว้ว่า "ชาเป็นสุดยอดของยาและเวชภัณฑ์ซึ่งสามารถทำให้ชีวิตหนึ่งเติมเต็มและสมบูรณ์" ในบทนำได้อธิบายวิธีที่จะดื่มชาเพื่อที่จะได้ผลดีต่ออวัยวะหลักทั้งห้าของร่างกาย โดยเฉพาะที่หัวใจ ในหนังสืออธิบายว่าชาเป็นยาคุณภาพ ที่มีความสามารถต่าง ๆ เช่น ช่วยบรรเทาอาการเมาค้าง จากการใช้สารกระตุ้น รักษาจุดด่างดำ ดับกระหาย แก้ท้องอืด เหน็บชา ป้องกันความเหนื่อยล้า ช่วยระบบปัสสาวะและการทำงานของสมอง ในส่วนที่หนึ่งของหนังสืออธิบายรูปร่างของต้นชา ดอกชา ใบชา ร่วมไปถึงวิธีปลูกชา และการเก็บใบชา ในส่วนที่สองอธิบายถึงข้อกำหนด ปริมาณการดื่ม และวิธีดื่ม สำหรับการรักษาโรคทางกายภาพในแต่ละบุคคล

เออิไซยังแนะนำชาให้กับชนชั้นนักรบได้บริโภค โดยเริ่มจากกลุ่มการเมืองในสมัยเฮอัง เออิไซรู้ว่าซาเนโตโมะ มินาโมโตะ โชกุนของเหล่าซามูไร มีนิสัยชอบดืมสังสรรค์���ุกวันยามค่ำคืน ในปี พ.ศ. 1757 (ค.ศ. 1214) เออิไซจึงนำหนังสือที่ตนเองเขียนให้กับโชกุน และบอกถึงประโยชน์ที่จะได้จากการดื่มชา หลังจากนั้นขนบธรรมเนียมการดื่มชาจึงเป็นที่แพร่หลายในหมู่ซามูไร

ไม่นานชาเขียวได้มาเป็นเครื่องดื่มในชนชั้นผู้ดีของญี่ปุ่นและพระสงฆ์ด้วยเช่นกัน แม้ว่าผลผลิตที่ได้จะเพิ่มพูนอย่างรวดเร็วและหาได้ง่ายขึ้น แต่ก็ถูกจำกัดไว้สำหรับชนชั้นสูงเท่านั้น

การอบแห้งเข้าสู่ญี่ปุ่น

[แก้]

ช่วงคริตศตวรรษที่ 14 สมัยราชราชวงศ์หมิง ญี่ปุ่นมีปฏิสัมพันธ์กับจีนทางตอนใต้ โดยแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมต่าง ๆ ซึ่งกันและกัน การค้าขายส่งวัตถุดิบของชาเข้ามาในญี่ปุ่น และนำวิธีการอบแห้งใบชาเข้ามาในคิวชู ก่อนหน้าจะมีการอบแห้งในญี่ปุ่นใช้วิธีอบไอน้ำในการอบชา (คริตศตวรรษ์ที่ 9) จนเปลี่ยนมาใช้เป็นการอบแห้ง (คริตศตวรรษ์ที่ 13) ทำให้ชาเหล่านี้มีความแตกต่างจากชาใดๆ

วิวัฒนาการของวัฒนธรรมการดื่มชา

[แก้]

การอ่านบทกวี เขียนอักษรจีน วาดภาพ หรือถกกันถึงหลักปรัชญาระหว่างที่ดื่มชาไปด้วย เป็นงานอดิเรกที่นิยมกันในจีน ระหว่างช่วงคริตศตวรรษที่ 12 ถึง 13 และยังแพร่หลายมายังญี่ปุ่น รวมไปถึงสังคมของเหล่าซามูไร เป็นศตวรรษแล้วที่พีธีดื่มชาสมัยใหม่ถูกพัฒนาขึ้นโดยพระนิกายเซน โดยต้นตำรับเริ่มต้นที่เซนโนะริคิว (พ.ศ. 2065-2134) แต่แท้จริงแล้วทั้งชาและพิธีดื่มชาเริ่มก่อตัวขึ้นระหว่างการทูตของระบบสังคมศักดินา ในการติดต่อสัมพันธ์สำคัญ ๆ ต่างของคนระดับสูงของระบบสังคมศักดินา จะเป็นพิธีกรรมดื่มชาที่เคร่งคัดกฎระเบียบ ในบรรยากาศที่ตกแต่งอย่างเรียบง่าย จนท้ายคริสต์ศตวรรษที่ 16 กระแสพิธีดื่มชาเป็นที่แพร่หลายและยอมรับโดยทั่วไป ทำให้เกิดแบบแผนของชาญี่ปุ่นขึ้น เมื่อชาเขียวถูกผลิตได้เป็นจำนวนมาก ทำให้ชาเขียวเป็นสุดยอดเครื่องดื่มประจำชาติญี่ปุ่น

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]