ปฏิรูปพจน์
หน้าตา
ปฏิรูปพจน์ หรือ การอ้างถึงเป็นโวหารภาพพจน์อย่างหนึ่งที่อ้างถึงหรือกล่าวถึงโดยนัยหรือโดยตรงซึ่งบุคคล สถานที่ เหตุการณ์ งานทางวรรณกรรม เรื่องราวลี้ลับ งานศิลปะ พบได้ในทุกภาษาไม่ใช่แค่ภาษาไทย
ตัวอย่าง
[แก้]- พันเนตรภูวนาถตั้ง ตาระวัง(พระอินทร์)
พักตร์สี่แปดโสตฟัง อื่นอื้อ (พระพรหม)
กฤษณะนิทรเลอหลัง นาคหลับ ฤๅพ่อ (พระนารายณ์)
สองพิโยคร่ำรื้อ เทพท้าวทำเมิน - ในนิราศนรินทร์ นายนรินทรธิเบศร ออกนามเทพเจ้าสำคัญซึ่งมักปรากฏชื่อในวรรณคดีเก่าอยู่หลายเรื่องว่าเคยใช้ฤทธิ์อำนาจขจัดความทุกข์ให้มัวโลกมนุษย์อยู่เสมอ แต่เทพทั้งสามมิได้รับฟังการร้องทุกข์ของเขาทั้งสองที่ต้องจากกันเลย ดังความที่ว่าไว้[1]
- หลักสูตรการเรียนการสอนภาษาไทยที่จัดทำโดยสพฐ.ให้ตัวอย่างว่า อังคาร กัลยาณพงศ์ กล่าวตัดพ้อว่าทุกสิ่งในโลกนี้ล้วนเกิดมาคู่กันทั้งสิ้น เช่น เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ เกิดมาคู่กับ เจ้าฟ้าสังวาลย์ แมลงผึ้งภู่เกิดมาคู่กับดอกไม้ แต่เหตุไฉนตัวเขาเองกลับไร้คู่ เช่น[2]
- ธรรมธิเบศร์มหากวี มีหญิงสังวาลย์เป็นมิ่งขวัญ
มอดม้วยด้วยแรงรักนั้น ทุกชีวันพบคู่ชม
แม้แต่บุหงาลดาวัลย์ อัศจรรย์ผึ้งภู่สู่สม
ฟ้าเมตตามิกล้าให้ระทม บรมสุขทุกจุลินทรีย์
แต่ฟ้าปั้นฉันเดียว เปล่าเปลี่ยวใจไฉนฉะนี้
หนวกบอดใบ้เสียก็ดี ควรมีฤาหฤทัย[3]
- ในเพลงแรกพบรักของในบทเพลงสุนทราภรณ์ [4]มีการกล่าวถึง
- "ผู้ชายแรกชิมลิ้มรัก แม้น้ำต้มผักหวานชื่น
เกรงรักจะเปลี่ยนไป ดังหลงข้าวใหม่" - “น้ำต้มผักหวานชื่น” ดัดแปลงมาจากสำนวนว่า “แม้ยามรักน้ำต้มผักยังว่าหวาน” ในที่นี้หมายถึง ความรักของหญิงชายตอนเริ่มรักกันใหม่ ๆ ทุกสิ่งทุกอย่างก็ดูสวยงาม “ข้าวใหม่” ดัดแปลงมาจากสำนวนว่า “ข้าวใหม่ปลามัน” ในที่นี้หมายถึง กลัวว่าชายจะหลงรักตนเองเหมือนกับได้กินข้าวที่หุงสุกใหม่ ๆ
วรรณกรรม
[แก้]จากตัวอย่างทั้งของไทยและต่างประเทศพบว่ามีการใช้ปฏิรูปพจน์เยอะมาก แต่ในประเทศไทยไม่มีการวิจัยและวิจารณ์วรรณกรรมอย่างจริงจังและแพร่หลาย ทำให้ตัวอย่างและบทความทางวิชาการน้อยจึงทำให้การเรียนรู้���ละสรุปปฏิรูปพจน์ในวรรณกรรมยาก การวิจารณ์เชิงสังคมมักถูกต่อต้านโดยสังคมอีกด้วย[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-30. สืบค้นเมื่อ 2013-08-30.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-08. สืบค้นเมื่อ 2013-08-30.
- ↑ ฟ้าบั้นฉันเดียว : อังคาร กัลยาณพงศ์
- ↑ อุดมลักษณ์ ระพีแสง ศึกษาเชิงวิเคราะห์การใช้ภาษาในบทเพลงสุนทราภรณ์ ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๘๒-๒๕๒๔
- ↑ นิธิ เอียวศรีวงศ์ มติชนรายสัปดาห์ วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 29 ฉบับที่ 1495