ข้ามไปเนื้อหา

บูกัตติ เวย์รอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บูกัตติ เวย์รอน อีบี 16.4
บูกัตติ เวย์รอน อีบี 16.4
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตบูกัตติ (โฟล์กสวาเกน)
เริ่มผลิตเมื่อ
  • ค.ศ. 2005–2011 (เวย์รอน 16.4)
  • 2009–2015 (แกรนด์สปอร์ต)
  • 2010–2011 (ซูเปอร์สปอร์ต)
  • 2011–2015 (แกรนด์สปอร์ตวิเทสส์)
แหล่งผลิตมอลไซม์, แคว้นอาลซัส, ประเทศฝรั่งเศส
ผู้ออกแบบโจเซฟ แคแบน (Jozef Kabaň)[1]
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถยนต์นั่งสมรรถนะสูง (Sports car)
รูปแบบตัวถัง
  • 2-door คูเป (16.4, ซูเปอร์สปอร์ต
  • 2 ประตู ทาร์กาท็อป (แกรนด์สปอร์ต, แกรนด์สปอร์ตวิเทสส์)
โครงสร้างเครื่องยนต์กลางลำหลัง ขับเคลื่อนสี่ล้อ (M4)
จำนวนประตู2 แบบบานเปิดธรรมดา
รุ่นที่คล้ายกันออดี โรสมีเยอร์
เบนท์ลีย์ ฮูเนาดายเรส
ลัมโบกีนี เดียโบล วีที
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์รุ่นมาตราฐาน (คูเป), แกรนด์สปอร์ต (โรดสเตอร์):
8.0 L (488 cu in) W16 ควอด-เทอร์โบชาร์จ 736 kW (1,001 PS; 987 bhp)[2]
ซูเปอร์สปอร์ต (คูเป), แกรนด์สปอร์ตวิเทสส์ (โรดสเตอร์):
1,200 PS (883 kW; 1,184 bhp)
ระบบเกียร์เกียร์อัตโนมัติ DSG 7 จังหวะ
มิติ
ระยะฐานล้อ2,710 mm (106.7 in)
ความยาว4,462 mm (175.7 in)
ความกว้าง1,998 mm (78.7 in)
ความสูง1,159 mm (45.6 in)
น้ำหนัก1,888 kg (4,162 lb)
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้าบูกัตติ อีบี 110
รุ่นต่อไปบูกัตติ ชิรอน

บูกัตติ เวย์รอน (อังกฤษ: Bugatti Veyron) เป็นรถยนต์นั่งสมรรถนะสูง เครื่องยนต์กลางลำหลัง ขับเคลื่อนสี่ล้อ (M4) 2 ประตู 2 ที่นั่ง ผลิตโดย บริษัทผลิตรถยนต์สัญชาติฝรั่งเศส บูกัตติ[3] ซึ่งเป็นบริษัทในเครือโฟล์คสวาเก็น เป็นรถต้นแบบที่ออกแบบขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1999 ใช้ชื่อว่า EB 18/4 "Veyron" เปิดตัวครั้งแรกอย่างเป็นทางการเมื่อ 19 ตุลาคม ค.ศ. 2005 ที่ งานโตเกียวมอเตอร์โชว์ ออกแบบโดย นักออกแบบรถยนต์ชาวสโลวาเกีย โจเซฟ แคแบน ( Jozef Kaban )[4]

บูกัตติ เวย์รอน ได้รับการบันทึกลงกินเนสบุ๊คว่าเป็นรถที่เร็วที่สุดในโลก ด้วยสถิติความเร็วสูงสุด 431.072 กิโลเมตร/ชั่วโมง ( ในรุ่น Super Sport ) ซึ่งเร็วกว่า เอสซีซีเอโร่ (SCC AERO) ที่ทำได้ 412.29 กิโลเมตร/ชั่วโมง (สำหรับ เวย์รอนรุ่นแรกนั้นสร้างความเร็วสูงสุดได้ที่ 408.47 กิโลเมตร/ชั่วโมง)[5] และวันที่ 13 เมษายน ปี ค.ศ. 2013 บูกัตติ เวย์รอน ก็ได้บันทึกสถิติใหม่ ด้วยความเร็วสูงที่สุดเท่าที่โรสเตอร์เคยมีมา ด้วยรุ่น เวย์รอน แกรนด์ สปอร์ต วิเทสส์ ( Veyron Grand Sport Vitesse) ซึ่งสามารถทำความเร็วได้สูงสุดถึง 408.84 km/h[6]

บูกัตติ เวย์รอน แต่ละคันมีราคาสูงถึง 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 165 ล้านบาท เมื่อนำเข้าไทย จึงทำให้บูกัตติ เวย์รอน เคยได้รับการจัดอันดับเป็นรถยนต์ที่มีราคาสูงที่สุดในโลก ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงติดอันดับ 1 ใน 10 อยู่อย่างเสมอ ถึงแม้จะตกจากอันดับ 1 ไปก็ตาม

บูกัตติ เวย์รอน ได้รับรางวัล "รถแห่งทศวรรษ" (Car of the Decade) ประจำช่วงปี ค.ศ. 2000 – 2009 จาก รายการท็อปเกียร์ ของบีบีซี และยังได้รับรางวัลจากท็อปเกียร์ ในปี ค.ศ. 2005 ว่า "เป็นรถที่ขับขี่ดีที่สุดในทุกๆปี" ( Best Car Driven All Year)

ลักษณะทั่วไปของรถ

[แก้]

แนวคิดมาจาก หลุยส์ ซัวเนส วิศวกรหนุ่มที่ต้องการออกแบบรถมาเพื่อที่แข่งกับซูเปอร์คาร์จากหลายๆค่าย ตัวรถออกแบบให้ใช้สองสี (Two Tone) ตัวถังโมโนค็อกทำจากคาร์บอนไฟเบอร์ ซับเฟรมทำด้วยอะลูมิเนียม เปลือกตัวถังทำจากอะลูมิเนียมและคาร์บอนไฟเบอร์ ใช้เครื่องยนต์ W16 (16 สูบ) ทำด้วยอะลูมิเนียมอัลลอย เครื่องยนต์เป็นเครื่อง V8 90 องศา 2 เครื่องวางขนานกัน กำลัง 1,001 แรงม้า หรือ 736 กิโลวัตต์ และแรงบิดสูงสุดอยู่ที่ 128.0 กก.-ม ระบบเกียร์ 7 สปีด เปลี่ยนเกียร์แบบเรียงลำดับ[7]อัตราเร่ง 0-100 ใช้เวลาเพียงแค่ 2.2 วินาทีเท่านั้น

ลักษณะจำเพาะ

[แก้]
สมรรถนะ
ความเร็วสูงสุด 408.47 km/h (253.81 mph) (โดยเฉลี่ย)
ซูเปอร์สปอร์ต:
431.072 km/h (267.856 mph) (โดยเฉลี่ย)
0–100 km/h (0.0–62.1 mph) 2.46 วินาที 0–240 km/h (0.0–149.1 mph) 9.8 วินาที
0–300 km/h (0.0–186.4 mph)[8] 16.7 วินาที
Super Sport:
14.6 วินาที[9]
0–400 km/h (0.0–248.5 mph)[10][11] 55 วินาที
Standing quarter-mile (402 m)[12] 10.2 วินาที (มาตรฐาน), 9.9 วินาที
ระบบเบรก 31.4 ม. (จาก 100 กม./ชม. ถึง 0)

ยอดจำหน่าย

[แก้]
บูกัตติ เวย์รอน แกรนด์ สปอร์ต วิเทสส์ ( Veyron Grand Sport Vitesse )

ยอดจำหน่าย บูกัตติ เวย์รอน ในช่วงปี ค.ศ 2005-2013 ยอดทั้งหมดอยู่ที่ 357 คัน ซึ่งปีที่ทำยอดขายได้มากที่สุดคือปี ค.ศ 2009 โดยทำยอดขายไว้ที่ 50 คัน และเป็นปีเปิดตัวที่ยอดขาย ขายได้แค่เพียง 5 คันเท่านั้น

ยอดจำหน่าย
2005 5[13]
2006 44[13]
2007 81[14]
2008 71[15]
2009 50[15]
2010 40[16]
2011 38[17]1
2012 31
2013 40+
ทั้งหมด 357

บูกัตติ เวย์รอน ในประเทศไทย

[แก้]

บูกัตติ เวย์รอน ในประเทศไทยนั้นถูกนำเข้ามาโดยกลุ่มบริษัท S.E.C. Group ประเทศไทย ในช่วงปี (ค.ศ 2006 - 2012) โดยในช่วงเวลานั้นได้มีมูลค่าสูงถึง (162 ล้านบาท) โดยรูปภาพของรถคันดังกล่าวเป็นที่รู้จักทั่วไปเนื่องจาก ถูกตำรวจหยุดตรวจรถ สาเหตุอาจมาจากการที่รถคันดังกล่าวไม่ได้สวมป้ายทะเบียนตามกฎหมายไทย และหลังจากเวลาดังกล่าว บูกัตติ เวย์รอน ก็ไม่ได้อยู่ในประเทศไทยอีกต่อไป เนื่องจากเรื่องการมีอยู่ของ บูกัตติ เวย์รอน ในประเทศไทยเป็นเรื่องที่ค่อนข้างไม่มีรายละเอียดเท่าไหร่นัก ข้อมูลจึงอาจไม่ตรงตามที่ระบุไว้ อย่างไรก็ตามควรศึกษาแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ที่ผสมผสานกัน เพื่อได้มาซึ่งการทราบข้อมูลที่แน่ชัดยิ่งขึ้น

อ้างอิง

[แก้]
บูกัตติ เวย์รอน
  1. "Staff change at Škoda Auto design department" (Press release). Škoda-Auto.com. 10 December 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-08. สืบค้นเมื่อ 29 August 2009. Jozef Kaban . . . Commissioned by the Volkswagen Group, he became responsible for developing the design of the Bugatti Veyron in 1999, and then worked in that position from the time of the first sketches until the point of launching mass production.
  2. "Veyron 16.4". Bugatti. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-11. สืบค้นเมื่อ 1 June 2017.
  3. โดยโรงงาน อยู่ระหว่างเมือง Molsheim และ Dorlisheim ณ ประเทศฝรั่งเศส
  4. http://www.manager.co.th/Motoring/ViewNews.aspx?NewsID=9500000140653[ลิงก์เสีย]
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-06. สืบค้นเมื่อ 2013-11-03.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-29. สืบค้นเมื่อ 2013-11-03.
  7. http://www.fastestlaps.com/cars/bugatti_veyron_164_super_sport.html
  8. "Veyron Acceleration: 2.46 – 7.3 – 16.7 – 55.6". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-17. สืบค้นเมื่อ 2013-11-03.
  9. "สำเนาที่เก็��ถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-28. สืบค้นเมื่อ 2013-11-03.
  10. "Bugatti Veyron | Sports Cars". Diseno-art.com. สืบค้นเมื่อ 27 October 2008.
  11. "Cover Story — Road Test: Bugatti Veyron 16.4 (2/2007)". Road & Track. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-21. สืบค้นเมื่อ 27 October 2008.
  12. "Bugatti Veyron brochure" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-03-31. สืบค้นเมื่อ 2012-04-09.
  13. 13.0 13.1 "Annual Report 2006" (PDF). Volkswagen AG. 9 March 2007. p. 43. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-17. สืบค้นเมื่อ 27 September 2011.
  14. "Annual Report 2008" (PDF). Volkswagen AG. 12 March 2009. p. 121. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-01. สืบค้นเมื่อ 27 September 2011.
  15. 15.0 15.1 "Annual Report 2009" (PDF). Volkswagen AG. 11 March 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-17. สืบค้นเมื่อ 27 September 2011.
  16. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-17. สืบค้นเมื่อ 2013-11-03.
  17. "Volkswagen AG Annual Report 2011" (PDF). Volkswagen AG Annual Report 2011: 161. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-26. สืบค้นเมื่อ 2013-11-03.