บัญญัติ สุชีวะ
หน้าตา
บัญญัติ สุชีวะ | |
---|---|
ประธานศาลฎีกา คนที่ 22 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม 2523 – 30 กันยายน 2527 | |
ก่อนหน้า | ประพจน์ ถิระวัฒน์ |
ถัดไป | ภิญโญ ธีรนิติ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 เมษายน พ.ศ. 2467 |
เสียชีวิต | 4 สิงหาคม พ.ศ. 2540 (73 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | คุณหญิงสุมน สุชีวะ |
ศาสตราจารย์พิเศษ[1] บัญญัติ สุชีวะ (23 เมษายน พ.ศ. 2467 – 4 สิงหาคม พ.ศ. 2540) เป็นอดีตประธานศาลฎีกา และอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ประวัติ
[แก้]บัญญัติ สุชีวะ เกิดเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2467 ที่ตำบลนครสวรรค์ออก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เป็นบุตรของขุนบรรณกิจปรีชา (ฟ้อ สุชีวะ) และล้วน สุชีวะ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 10 คน ดังนี้
- ประเมิญ สร้อยสนธิ์ (ถึงแก่กรรม)
- นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุชีวะ (ถึงแก่กรรม)
- ประมวญ สุขไทย (ถึงแก่กรรม)
- สุดสวาสดิ์ สุชีวะ (ถึงแก่กรรม)
- ประมูล เพ็ญกิตติ (ถึงแก่กรรม)
- ประสานสุข สุชีวะ (ถึงแก่กรรม)
- บัญญัติ สุชีวะ (ถึงแก่กรรม)
- บรรจง สุชีวะ (ถึงแก่กรรม)
- บรรจบ สุชีวะ (ถึงแก่กรรม)
- สมทบ ปิณฑคุปต์ (ถึงแก่กรรม)
การศึกษา
[แก้]- พ.ศ. 2474 ระดับประถมศึกษา โรงเรียนจันทรอุทิศ
- พ.ศ. 2480 สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 6 โรงเรียนประจำจังหวัดนครสวรรค์
- พ.ศ. 2482 แผนกเตรียมปริญญามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง จบเตรียมปริญญาธรรมศาสตร์ รุ่นที่ 1
- พ.ศ. 2486 ปริญญาธรรมศาสตรบัณฑิต
- พ.ศ. 2501 สอบชิงทุนรัฐบาลได้ไปศึกษาวิชากฎหมายที่สำนักศึกษากฎหมาย Gray’s Inn ณ ประเทศอังกฤษ เป็นเวลา 3 ปี ตามความต้องการของกระทรวงยุติธรรม
- พ.ศ. 2504 ได้เนติบัณฑิตอังกฤษ (Barrister-at Law)
- พ.ศ. 2520 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- พ.ศ. 2525 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์พิเศษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ครอบครัว
[แก้]บัญญัติ สุชีวะ ได้สมรสกับ คุณหญิงสุมน สุชีวะ (นามสกุลเดิม สุนทรารชุน) บุตรี หลวงสุทธินัยนฤวาท (อดีตผู้พิพากษา) และน้อย สุทธินัยนฤวาท เมื่อ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2490 มีบุตรธิดา รวม 5 คน คือ
- ชลาพร ยุญชานนท์ สมรสกับ เทอดสกุล ยุญชานนท์ มีบุตร 1 คน
- ศรัณย์ ยุญชานนท์
- กฤษฎา สุชีวะ สมรสกับ หม่อมราชวงศ์ภวรี รัชนี มีบุตร ธิดา 3 คน
- แจ่มจรัส สุชีวะ
- ภดารี สุชีวะ
- ทิมทอง สุชีวะ
- รัตนาภรณ์ เทพชาตรี สมรสกับ ทักษิณ เทพชาตรี มีบุตร ธิดา 3 คน
- กฤตธี เทพชาตรี
- ณัทธร เทพชาตรี
- ชามา เทพชาตรี
- ชาคร สุชีวะ
- ภาดร สุชีวะ
การรับราชการ
[แก้]- พ.ศ. 2486 จ่าศาลจังหวัดกบินทร์บุรี
- พ.ศ. 2490 จ่าศาลจังหวัดชลบุรี
- พ.ศ. 2492 ผู้พิพากษาในกระทรวงยุติธรรม รับราชการศาลแพ่ง
- พ.ศ. 2493 รับราชการศาลอาญา
- พ.ศ. 2494 ผู้พิพากษาศาลจังหวัดร้อยเอ็ด
- พ.ศ. 2498 ผู้พิพากษาศาลจังหวัดสมุทรสาคร
- พ.ศ. 2501 ผู้พิพากษาประจำกระทรวง
- พ.ศ. 2505 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำกระทรวง
- พ.ศ. 2506 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดสงขลา
- พ.ศ. 2508 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำกระทรวง
- พ.ศ. 2508 ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
- พ.ศ. 2509 เลขานุการศาลฎีกา
- พ.ศ. 2510 ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
- พ.ศ. 2513 ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์
- พ.ศ. 2514 รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง
- พ.ศ. 2514 ปลัดกระทรวงยุติธรรม
- พ.ศ. 2517 ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
- พ.ศ. 2520 รองประธานศาลฎีกา
- พ.ศ. 2523 ประธานศาลฎีกา
ราชการพิเศษ
[แก้]- ที่ปรึกษาในศาลฎีกา
- กรรมการตุลาการ (กต.)
- กรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.)
- ตุลาการรัฐธรรมนูญ
- กรรมการแผนกธรรมศาสตร์ มูลนิธิอานันทมหิดล
- ประธานที่ปรึกษากฎหมายของนายกรัฐมนตรี (ธานินทร์ กรัยวิเชียร)
- กรรมการเนติบัณฑิตสภา
- อนุญาโตตุลาการ
- สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ
- ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[2]
- ประธานกรรมการธนาคารนครหลวงไทย
- กรรมการธนาคารมหานคร
- กรรมการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- กรรมการธนาคารกรุงเทพ
- กรรมการไทยประกันชีวิต
- กรรมการองค์การตลาด
- กรรมการวิทยุการบินแห่งประเทศไทย
เกียรติยศ
[แก้]- นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2522 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2519 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2525 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[5]
- พ.ศ. 2512 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2525/D/143/6.PDF
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓, ๑๘ เมษายน ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๖ มกราคม ๒๕๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖, ๓ มิถุนายน ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๗๓, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๒
ก่อนหน้า | บัญญัติ สุชีวะ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ประพจน์ ถิระวัฒน์ | ประธานศาลฎีกา (คนที่ 22) (1 ตุลาคม พ.ศ. 2523 – 30 กันยายน พ.ศ. 2527) |
ภิญโญ ธีรนิติ |
หมวดหมู่:
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2467
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2540
- นักกฎหมายชาวไทย
- ข้าราชการฝ่ายตุลาการชาวไทย
- ผู้พิพากษาไทย
- สามัญสมาชิกเนติบัณฑิตยสภา
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ประธานศาลฎีกาไทย
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์
- บุคคลจากอำเภอเมืองนครสวรรค์
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์