ข้ามไปเนื้อหา

นางงามจักรวาล 2007

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นางงามจักรวาล 2007
พิธีกร
ศิลปินรับเชิญRBD
สถานที่จัดโอดิทอเรีย เนชั่นแนล เม็กซิโกซิตี ประเทศเม็กซิโก
ถ่ายทอดทาง
เข้าร่วมประกวด77
ผ่านเข้ารอบ15
เข้าร่วมครั้งแรก
ถอนตัว
กลับมาเข้าร่วม
ผู้ชนะเลิศริโยะ โมริ
ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
นางงามมิตรภาพหนิงหนิง ชาง
ธงของประเทศจีน จีน
ชุดประจำชาติยอดเยี่ยมอักนิ ปราทิสทา
ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย[1]
ขวัญใจช่างภาพแอนนา เทเรซา ลิคาโรส
ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
← 2006
2008 →

นางงามจักรวาล 2007 (อังกฤษ: Miss Universe 2007) เป็นการจัดการประกวดนางงามจักรวาลครั้งที่ 56 จัดในวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 [2](ตามเวลาในประเทศไทย) ณ ประเทศเม็กซิโก โดย ซูเลย์กา ริเบรา เมนโดซา นางงามจักรวาล 2006 จากปวยร์โตรีโก มอบมงกุฎให้แก่ ริโยะ โมริ[3] จากประเทศญี่ปุ่น ครองตำแหน่งนางงามจักรวาล 2007 โดยเป็นการชนะเลิศครั้งที่สองของประเทศญี่ปุ่น และเป็นครั้งที่สองที่ประเทศในทวีปเอเชียได้รับตำแหน่งนางงามจักรวาลในศตวรรษที่ 21 (หลังจากอินเดียในปี ค.ศ. 2000)

ผลการประกวด

[แก้]

ลำดับที่

[แก้]
ผลการประกวด ผู้เข้าประกวด
นางงามจักรวาล 2007
รองอันดับ 1
รองอันดับ 2
รองอันดับ 3
รองอันดับ 4
10 คนสุดท้าย
15 คนสุดท้าย

คะแนนรอบตัดสิน

[แก้]

รางวัลพิเศษ

[แก้]
รางวัล ผู้ชนะ
นางงามมิตรภาพ
  • ธงของประเทศจีน จีน – หนิงหนิง ชาง
ชุดประจำชาติยอดเยี่ยม
ขวัญใจช่างภาพ

ลำดับการประกาศชื่อ

[แก้]

กรรมการตัดสิน

[แก้]
  • โทนี่ โรโม - นักกีฬาอเมริกันฟุตบอล
  • เจมส์ ไคสัน ลี - นักแสดง
  • นีน่า กราเซีย - กรรมการจากรายการ Project Runway
  • เดฟ นาวาร์โร - นักร้องเพลงร็อค
  • ดายานาร่า ตอร์เรส - นางงามจักรวาล 1993
  • มอริซิโอ อิสลาส - นักแสดง
  • ลินด์เซย์ คลูไบน์ - นางแบบจากรายการ Deal or No Deal
  • มาร์ค โบเวอร์ - แฟชั่นดีไซน์เนอร์
  • คริสเตียน มาร์เทล - นางงามจักรวาล 1953
  • มิเชล ควาน - นักกีฬาสเก็ตน้ำแข็งเจ้าของแชมป์โลก

ผู้เข้าประกวด

[แก้]

มี 77 ผู้เข้าประกวด ดังต่อไปนี้

รายละเอียดในปี 2007

[แก้]
  • ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น ได้รับตำแหน่งนางงามจักรวาล เป็นคนที่ 2 ของประเทศและเป็นชาวเอเชียคนที่ 10 ของทวีปเอเชีย
  •  สหรัฐ ผ่านเข้ารอบได้เป็นปีที่ 5 ติดต่อกัน
  • ธงของประเทศเม็กซิโก เม็กซิโก ผ่านเข้ารอบได้เป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน
  • ธงของประเทศเช็กเกีย เช็กเกีย ผ่านเข้ารอบได้เป็นครั้งที่ 3 นับตั้งแต่เข้าร่วมการประกวด
  • การประกวดในปีนี้ถูกเรียกว่าเป็นปีแห่งพลังของเอเชีย หลังจากการประกวดในปี 1988 เป็นต้นมา โดยในปีนี้ผู้เข้าประกวดจากเอเชียสามารถผ่านเข้ารอบได้ถึง 4 คน (ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น, ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้, ธงของประเทศอินเดีย อินเดีย และ  ไทย) รวมถึง 2 รางวัลพิเศษก็ตกเป็นของผู้เข้าประกวดจากทวีปเอเชียเช่นกัน (ธงของประเทศจีน จีน และ ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์)
  •  สหรัฐ ถูกโห่ไล่ในรอบโชว์ชุดประจำชาติ และในการโชว์ตัวก่อนการประกวดจริง นอกจากนี้ยังเกิดอุบัติเหตุลื่นล้มโดยเธอล้มกระแทกลงไปนั่งกับพื้น ในระหว่างการประกวดในรอบชุดราตรี แต่ท้ายที่สุดแล้วเธอถูกเรียกให้ผ่านเข้ารอบ 5 คนสุดท้าย ในขณะที่ผู้เข้าประกวดจากประเทศเม็กซิโกเจ้าภาพนั้นไม่ผ่านเข้ารอบ ซึ่งทำให้เกิดความไม่พอใจของกองเชียร์เจ้าภาพเป็นอย่างมาก เธอโดนโห่ไล่ตลอดเวลาในการตอบคำถามในรอบสุดท้าย รวมทั้งเสียงตะโกน เม็กซิโก! เม็กซิโก! จนกระทั่งเธอกล่าวคำทักทายเป็นภาษาสเปน จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้มีการเชื่อมโยงเรื่องราวเข้าด้วยกัน ระหว่างเรื่องที่สาวงามจากสหรัฐอเมริกาได้เข้ารอบทั้งๆที่ลื่นล้ม กับเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นระหว่างสหรัฐอเมริกากับเม็กซิโก โดยเฉพาะเรื่องของผู้อพยพผิดกฎหมาย โดยเหตุการณ์ที่คล้ายกันนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในการประกวดนางงามจักรวาลในปี 1993 ที่จัดขึ้นที่ประเทศเม็กซิโก โดยมีเสียงโห่ไล่นางงามจากสหรัฐอเมริกาที่สามารถผ่านเข้ารอบได้ แต่นางงามจากเม็กซิโกเจ้าภาพนั้นตกรอบ
  • ธงของปวยร์โตรีโก ปวยร์โตรีโก ได้ตำแหน่งรองอันดับ 1 ในปี 2005 และได้เป็นนางงามจักรวาล ในปี 2006 เช่นเดียวกับ ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น ที่ได้ตำแหน่งรองอันดับ 1 ในปี 2006 และได้เป็นนางงามจักรวาล ในปี 2007
  • ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ ชนะรางวัล ขวัญใจช่างภาพ เป็นครั้งที่ 7 (3 ครั้งติดต่อกัน)
  • ธงของประเทศจีน จีน ชนะรางวัล นางงามมิตรภาพ เป็นครั้งแรก
  • ปีนี้เป็นปีแรกที่ไม่มีการมอบรางวัล ชุดประจำชาติยอดเยี่ยม นับตั้งแต่มีการมอบรางวัลมา

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "3. Agni Pratistha, national costume bertema "Dayak"". Times of Indonesia. สืบค้นเมื่อ January 23, 2017.
  2. "ร่วมเชียร์น้องกวางลุ้นนางงามจักรวาล". Sanook. สืบค้นเมื่อ 2006-05-28.
  3. "Miss Japan crowned Miss Universe 2007". TODAY. สืบค้นเมื่อ 2006-05-28.[ลิงก์เสีย]
  4. Walters, Basil (2007-04-01). "Rastafarians embrace first beauty queen". Jamaica Observer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-10. สืบค้นเมื่อ 2007-04-18.

แหล่งข้อมูล

[แก้]