นกกระจอกชวา
นกกระจอกชวา | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Aves |
อันดับ: | Passeriformes |
วงศ์: | Estrildidae |
สกุล: | Lonchura |
สปีชีส์: | L. oryzivora |
ชื่อทวินาม | |
Lonchura oryzivora (Linnaeus, 1758) | |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ | |
ชื่อพ้อง | |
|
นกกระจอกชวา[2] (อังกฤษ: Java sparrow, Java finch; ชื่อวิทยาศาสตร์: Lonchura oryzivora) นกเกาะคอนขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกกระติ๊ด (Estrildidae)
มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 13-17 เซนติเมตร หัวและหางสีดำ วงรอบตาสีแดง แก้มสีขาว ลำตัวด้านบนเป็นสีเทา ลำตัวด้านล่างตั้งแต่ช่วงกลางท้องลงไปเป็นสีชมพูอ่อน ปากหนาสำหรับขบเมล็ดพืชสีชมพูอมแดง นกตัวผู้และตัวเมียคล้ายกัน
เป็นนกที่มีถิ่นกำเนิดในเกาะชวา, เกาะบาหลี และเกาะใกล้เคียงอื่น ๆ ในประเทศอินโดนีเซีย อาศัยอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูงตามทุ่งหญ้า, แหล่งเกษตรกรรม และที่ที่มีผู้คนอยู่อาศัย อาหารหลักได้แก่เมล็ดข้าว, เมล็ดหญ้า, ผลไม้และแมลงเล็ก ๆ ต่าง ๆ โดยจะลงมาหากินตามพื้นดิน มีเสียงร้องว่า "ชิ๊บ" และหากร้องติดต่อกันจะร้องว่า "ชิ๊บ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ" ต่อเนื่องกัน
นกกระจอกชวาทำรังช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคมตามโพรงบนต้นไม้, ชายคาบ้าน และรอยแตกตามอาคารต่าง ๆ รังเป็นรูปกลมทำจากรากหญ้า ใบหญ้า ลักษณะค่อนข้างรกรุงรัง วางไข่ครั้งละ 4-6 ฟอง ใช้เวลากกไข่ประมาณ 13-14 วัน
นกกระจอกชวา เป็นนกชนิดหนึ่งที่มีความสวยงาม น่ารัก จึงนิยมนำมาเป็นสัตว์เลี้ยง ซึ่งปัจจุบันได้มีการเพาะขยายพันธุ์จนได้นกที่มีสีสันแตกต่างสวยงามออกไปจากสีที่มีอยู่ในธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในหลายพื้นที่ จากการถูกนำเข้าไป เพราะเป็นนกที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี อาทิ หมู่เกาะแปซิฟิก, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ฮาวาย, เปอร์โตริโกและรัฐฟลอริด้า ในสหรัฐอเมริกา รวมถึงในประเทศไทย โดยนกในประเทศไทยหลุดมาจากการนำเข้าที่สนามบินดอนเมืองราวปี พ.ศ. 2500[3][4]
นอกจากนี้แล้ว นกกระจอกชวายังได้ชื่อว่าเป็น "นกหมอดู" เนื่องจากมีผู้ที่เลี้ยงไว้เพื่อเสี่ยงทายดวงชะตาตามหลักโหราศาสตร์[2]
รูปภาพ
[แก้]-
นกขนาดเล็กที่ยังไม่โตเต็มวัย
-
นกขนาดโตเต็มวัย ที่มหาวิทยาลัยฮาวาย (โฮโนลูลู, รัฐฮาวาย)
-
นกที่มีสีขาวล้วน เกิดจากการเพาะพันธุ์ของมนุษย์ในฐานะสัตว์เลี้ยง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ BirdLife International. 2018. Lonchura oryzivora. The IUCN Red List of Threatened Species 2018: e.T22719912A131809903. https://dx.doi.org/10.2305/IUCN.UK.2018-2.RLTS.T22719912A131809903.en. Downloaded on 19 December 2018.
- ↑ 2.0 2.1 กระจอกชวา น. จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
- ↑ Finches and Sparrows by Clement, Harris and Davis, ISBN 0-7136-8017-2
- ↑ YAP, Charlotte A. M.; Sodhi, Navjot S. (2004). "Southeast Asian invasive birds: ecology, impact and Management". Ornithological Science. 3: 57–67. doi:10.2326/osj.3.57. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-03-14. สืบค้นเมื่อ 2012-11-17.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Lonchura oryzivora ที่วิกิสปีชีส์