ท่านผู้หญิง
ท่านผู้หญิง ในอดีตใช้เป็นคำนำหน้าชื่อภรรยาเอกของเจ้าพระยา ปัจจุบันเป็นคำนำหน้าชื่อสตรีสามัญชนทุกคนที่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายใน ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) และชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) ถือเป็นเกียรติที่พระมหากษัตริย์ไทยพระราชทานแก่สตรีผู้นั้นเป็นกรณีพิเศษ มิได้ขอพระราชทานโดยรัฐบาล
ประวัติ
[แก้]การใช้คำนำหน้าชื่อสตรีในอดีตนั้นมีการระบุเกี่���วพันกับบรรดาศักดิ์ของสามีที่ได้รับพระราชทานจากพระมหากษัตริย์ แม้ปัจจุบันจะไม่มีการขอพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ข้าราชการแล้ว แต่สตรีผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ก็ยังสมควรได้รับคำยกย่องอยู่ โดยอนุโลมไม่ต้องยึดถือบรรดาศักดิ์ของสามีเป็นเกณฑ์[1]
สตรีสามัญชนที่สมรสหรือเคยสมรส หากได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าตั้งแต่ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษถึงปฐมจุลจอมเกล้า มีคำนำหน้าชื่อว่า "ท่านผู้หญิง" ยกเว้นพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในและสตรีที่เป็นหม่อมห้ามพระราชวงศ์ หากได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าชั้นใดก็ตาม ไม่ต้องเปลี่ยนคำนำหน้าพระนามหรือชื่อ[2] ส่วนสตรีสามัญชนที่มิได้สมรส หากได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าชั้นใดก็ตาม ก็จะมีคำหน้านามว่า "คุณ"[3]
ต่อมาในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2565 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สตรีทุกคนที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้าและชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ใช้คำนำหน้าชื่อว่า "ท่านผู้หญิง" ทั้งหมด แม้ไม่เคยสมรส[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2416 เนื่องในโอกาสฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 90 ปี ให้ใช้แพรแถบสีชมพูอันเป็นสีของวันอังคาร ซึ่งเป็นวันพระราชสมภพ โดยเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายใน ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า มีจำนวน 20 สำรับ และทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ มีจำนวน 100 ดวง ดังนั้น จำนวนท่านผู้หญิงจึงมีจำนวนไม่เกิน 120 คน
ท่านผู้หญิงที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน
[แก้]ท่านผู้หญิงที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน (เรียงลำดับตามปีที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์)
ปีที่ได้รับ | ชื่อ | อ้างอิง |
---|---|---|
พ.ศ. 2521 | ท่านผู้หญิงกุณฑี ไกรฤกษ์ | [5] |
ท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา | ||
พ.ศ. 2525 | หม่อมราชวงศ์บุษบา สธนพงศ์ (หม่อมราชวงศ์บุษบา กิติยากร) | [6] |
พ.ศ. 2528 | ท่านผู้หญิงสมสุข ศรีวิสารวาจา | [7] |
พ.ศ. 2529 | ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม | [8] |
พ.ศ. 2532 | ท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร (หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล) | [9] |
พ.ศ. 2533 | ท่านผู้หญิงเพ็ญศรี วัชโรทัย (หม่อมหลวงเพ็ญศรี ศรีธวัช) | [10] |
พ.ศ. 2534 | หม่อมราชวงศ์ฉัตรแก้ว นันทาภิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์ฉัตรแก้ว ดิศกุล) | [11] |
หม่อมราชวงศ์นราวดี ชัยเฉนียน (หม่อมหลวงนราวดี ทวีวงศ์) | ||
ท่านผู้หญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุช | ||
ท่านผู้หญิงอังกาบ บุณยัษฐิติ | ||
ท่านผู้หญิงวิระยา ชวกุล | ||
ท่านผู้หญิงวรุณยุพา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา | ||
พ.ศ. 2535 | ท่านผู้หญิงสุนามัน ประนิช | [12] |
ท่านผู้หญิงมณฑินี มงคลนาวิน | ||
พ.ศ. 2539 | ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ | [13] |
ท่านผู้หญิงอรนุช อิศรางกูร ณ อยุธยา | ||
ท่านผู้หญิงอรสา ล่ำซำ | ||
พ.ศ. 2540 | ท่านผู้หญิงลดาวัลย์ สมันตรัฐ | [14] |
ท่านผู้หญิงวิลาวัณย์ วีรานุวัตติ์ | ||
พ.ศ. 2541 | ท่านผู้หญิงวราพร ปราโมช ณ อยุธยา | [15] |
ท่านผู้หญิงธิดา เศวตศิลา | ||
หม่อมราชวงศ์บุตรี วีระไวทยะ (หม่อมราชวงศ์บุตรี กฤดากร) | ||
ท่านผู้หญิงวรามาส สุนทรภัค | ||
ท่านผู้หญิงพรรณวดี จุฑารัตนกุล | ||
ท่านผู้หญิงภรณี มหานนท์ | ||
ท่านผู้หญิงสุภรภ์เพ็ญ หลวงเทพนิมิต | ||
พ.ศ. 2542 | หม่อมราชวงศ์จีริกัญญา โชติกเสถียร (หม่อมราชวงศ์จีริกัญญา กิติยากร) | [16] |
ท่านผู้หญิงรวิจิตร์ สุวรรณบุบผา (หม่อมราชวงศ์รวิจิตร์ วรวรรณ) | ||
พ.ศ. 2543 | ท่านผู้หญิงวงศ์พรรณ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา | [17] |
ท่านผู้หญิงอินทิรา พลธร | ||
ท่านผู้หญิงนภกานต์ สุวรรณจินดา (หม่อมราชวงศ์นภกานต์ สวัสดิวัตน์) | ||
ท่านผู้หญิงสารภี มิ่งเมือง (หม่อมหลวงสารภี สนิทวงศ์) | ||
พ.ศ. 2544 | ท่านผู้หญิงถวิกา สารสิน | [18] |
ท่านผู้หญิงจันทิมา พึ่งบารมี | ||
ท่านผู้หญิงเพ็ญศรี ภู่ตระกูล | ||
พ.ศ. 2546 | หม่อมราชวงศ์สุจิตคุณ สารสิน (หม่อมราชวงศ์สุจิตคุณ กิติยากร) | [19] |
ท่านผู้หญิงวิวรรณ เศรษฐบุตร (หม่อมราชวงศ์วิวรรณ วรวรรณ) | ||
หม่อมราชวงศ์ศรี ลิมปิชาติ (หม่อมราชวงศ์ศรี โสณกุล) | ||
หม่อมราชวงศ์เหมือนจิต ภิรมย์ภักดี (หม่อมราชวงศ์เหมือนจิต ประวิตร) | ||
ท่านผู้หญิงกอบกุล อุบลเดชประชารักษ์ | ||
พ.ศ. 2547 | ท่านผู้หญิงสุธาวัลย์ เสถียรไทย | [20] |
ท่านผู้หญิงอารียา มาลากุล ณ อยุธยา | ||
ท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ สุวะดี | [21] | |
พ.ศ. 2548 | ท่านผู้หญิงสุวรรณี พัฒน์พงศ์พานิช | [22] |
พ.ศ. 2550 | ท่านผู้หญิงจิตรวดี จุลานนท์ | [23] |
ท่านผู้หญิงภรณี ล่ำซำ | ||
พ.ศ. 2562 | ท่านผู้หญิงพลอยไพลิน เจนเซน | [24] |
ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน | ||
ท่านผู้หญิงสินีนาฏ วงศ์วชิราภักดิ์ (เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี) | [25] | |
ท่านผู้หญิงระกา นาคะชาต | [26] | |
ท่านผู้หญิงจำลอง แววพานิช | ||
พ.ศ. 2567 | ท่านผู้หญิงอรอนงค์ ปิยนาฏวชิรพัทธ์ |
ดูเพิ่ม
[แก้]- คุณหญิง
- รายพระนามและรายนามผู้ได้รับพระราชทานปฐมจุลจอมเกล้า
- รายพระนามและรายนามผู้ได้รับพระราชทานทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ฝ่ายใน)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ หนังสือเวียนที่กล่าวถึงการใช้คำนำนามสตรีที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-01-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก สำนักเลขธิการคณะรัฐมนตรี ดูฉบับพิมพ์เผยแพร่ทั่วไปได้ใน สตรีสาร ปีที่ 15 ฉบับที่ 333 (พฤษภาคม 2504), น. 113.
- ↑ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ (หจช.), เอกสารสำนักงานเลขานุการกรม กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ศธ.0701.9/897 การใช้คำนำนามสตรี (พ.ศ. 2505)
- ↑ "สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-29. สืบค้นเมื่อ 2023-02-16.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ การใช้คำนำหน้านามสตรีผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2023-02-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 4 มีนาคม 2565, เล่ม 139 ตอนพิเศษ 53 ง หน้า 1.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 95, ตอน 51 ง ฉบับพิเศษ, 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2521, หน้า 7
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 99, ตอน 76 ง ฉบับพิเศษ, 3 มิถุนายน พ.ศ. 2525, หน้า 16
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 102, ตอน 60 ง ฉบับพิเศษ, 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2528, หน้า 18
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ วันที่ 5 พฤษภาคม 2529, เล่ม 103, ตอน 82 ง ฉบับพิเศษ, 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2529, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ในวโรกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล 5 พฤษภาคม 2532, เล่ม 106, ตอน 73 ก ฉบับพิเศษ, 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2532, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม 107, ตอน 74 ง ฉบับพิเศษ, 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2533, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 108, ตอน 78 ง ฉบับพิเศษ, 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2534, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 109, ตอน 59 ง ฉบับพิเศษ, 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2535, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ในวโรกาสฉัตรมงคล) เก็บถาวร 2014-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 113, ตอน 7 ข, 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2539, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ในวโรกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล 5 พฤษภาคม 2540), เล่ม 114, ตอน 11 ข, 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2540, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ในวโรกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล วันที่ 5 พฤษภาคม 2541), เล่ม 115, ตอน 8 ข, 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2541, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ในวโรกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล วันที่ 5 พฤษภาคม 2542), เล่ม 116, ตอน 8 ข, 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2542, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในวโรกาสวันพระราชพิธีฉัตรมงคล วันที่ 5 พฤษภาคม 2543, เล่ม 117, ตอน 9 ข, 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2543, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2021-04-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 118, ตอน 8 ข ฉบับทะเบียนฐานันดร, 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2544, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ในวโรกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล 5 พฤษภาคม 2546 เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 120, ตอน 9 ข ฉบับทะเบียนฐานันดร, 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2546, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ในวโรกาสพระราชพิธีวันฉัตรมงคล จำนวน 82 ราย เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 121, ตอน 9 ข ฉบับทะเบียนฐานันดร, 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2547, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้า และถวายบังคมพระบรมรูป เนื่องในวันคล้ายกับวันพระบรมราชาภิเษกครั้งหลัง ตามสุริยตคติ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 16, ตอน 34, 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442, หน้า 498
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล วันที่ 5 พฤษภาคม 2548 จำนวน 70 ราย เก็บถาวร 2021-02-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 122, ตอน 6 ข ฉบับทะเบียนฐานันดร, 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2548, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า (เนื่องในโอกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล วันที่ 5 พฤษภาคม 2550 จำนวน 122 ราย) เก็บถาวร 2008-12-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 124, ตอน 6 ข, 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2550, หน้า 1
- ↑ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายในและเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม 136, ตอน 16 ข, 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562, หน้า 1
- ↑ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าและเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2019-05-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 136, ตอน 17 ข, 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2562, หน้า 1
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายใน และเหรียญรัตนาภรณ์ (คุณระกา นาคะชาต, คุณจำลอง แววพานิช)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (22ข): 1. 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)