ติ่มซำ
ติ่มซำ | |||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 點心 | ||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 点心 | ||||||||||||||||||||||
ฮั่นยฺหวี่พินอิน | diǎnxīn | ||||||||||||||||||||||
ยฺหวิดเพ็งกวางตุ้ง | dim2 sam1 | ||||||||||||||||||||||
|
ติ่มซำ (อังกฤษ: Dimsum; จีน: 點心 สำเนียงกวางตุ้งแปลว่า ตามใจ, ตามสั่ง) เป็นอาหารว่างหรืออาหารเรียกน้ำย่อยของจีน นิยมรับประทานกับน้ำชา (หยำฉ่า 飲茶 ว่า ดื่มน้ำชา เสิร์ฟพร้อมติ่มซำ) ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก เป็นคำเรียกรวมอาหารหลายอย่าง มักเป็นอาหารจำพวกปรุงด้วยการนึ่ง เช่น ขนมจีบ, ซาลาเปา, ฮะเก๋า, เกี๊ยวซ่า เป็นต้น บรรจุในภาชนะขนาดเล็ก เช่น เข่งไม้ไผ่ หรือจานใบเล็ก ในร้านอาหารจีนบางร้านนึ่งติ่มซำไว้บนเตารอลูกค้าสั่ง บางร้านใ��่รถเข็นหรือใส่ตะกร้าคล้องคอ ให้พนักงานนำไปเสนอลูกค้าในร้าน ขณะที่กำลังรออาหารอื่น นอกจากนั้นอาหารทอดบางอย่างก็อาจรวมอยู่ในเมนูติ่มชำด้วย[1]
ในประเทศไทย จังหวัดที่ขึ้นชื่อทางด้านติ่มซำ คือ จังหวัดตรังและจังหวัดภูเก็ต ตามร้านกาแฟยามเช้า จะขายกาแฟหรือชาพร้อมกับติ่มซำหลากหลายชนิด หรือรับประทานคู่กับหมูย่างเมืองตรัง[2]. ในภาคใต้ของประเทศไทยจะเรียกติ่มซำว่า "แต่เตี้ยม"
โดยมากแล้ว ติ่มซำจำพวกขนมจีบหรือฮะเก๋า จะรับประทานโดยจิ้มกับซอสเปรี้ยว แต่ที่จังหวัดตรัง จะเป็นซอสลักษณะสีแดงขุ่น มีรสชาติหวาน ทำมาจากมันเทศ ถั่วลิสงต้มสุก ปรุงรสด้วยน้ำตาล น้ำส้ม และเกลือ เรียกว่า "ค้อมเจือง" หรือ "น้ำส้มเจือง" ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า "กำเจือง" สันนิษฐานว่าที่มาจากซอสมะเขือเทศของฝรั่ง [3]
เมนูติ่มซำ
[แก้]จานหลัก
[แก้]- จำพวกแผ่นแป้งห่อ (餃, 餃子)
- จำพวกแผ่นแป้งม้วน (捲)
- เปาะเปี๊ยะทอด (春捲)
- ก๋วยเตี๋ยวหลอด (腸粉)
- ฟองเต้าหู้ม้วน (腐皮捲 ทอด, 鮮竹捲 นึ่ง)
- จำพวกก้อนแป้งกลม (包, 包子)
- ซาลาเปา (叉燒包)
- เสี่ยวหลงเปา (小籠包)
- หมั่นโถว (饅頭)
- จำพวกก้อนแป้งตัด (糕)
- กุยช่ายเจี๋ยน (韭菜煎)
- ขนมผักกาด (蘿蔔糕)
- จำพวกอื่น ๆ
- ฟงจ๋าว (鳳爪)
- ซี่โครงหมู (叉燒 แดง, 排骨 ดำ)
- หน่อไหมไก๊ (糯米雞)
- โจ๊ก (粥)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประวัติติ๋มซำ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-05. สืบค้นเมื่อ 2012-08-06.
- ↑ ตอน ตะลอนตรัง อร่อยดั่งใจ > ร้านเรือนไทยติ่มซำ[ลิงก์เสีย]
- ↑ หน้า ๐๗๑, โลกหลากใบ ในของกินคนตรัง โดย ฐากูร โกมารกุล ณ นคร. อนุสาร อ.ส.ท. ปีที่ ๕๕ ฉบับที่ ๙: เมษายน ๒๕๕๘