ตำบลหลุม��ข้า
ตำบลหลุมเข้า | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Lum Khao |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | อุทัยธานี |
อำเภอ | หนองขาหย่าง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 46.43 ตร.กม. (17.93 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[1] | |
• ทั้งหมด | 2,469 คน |
• ความหนาแน่น | 53.17 คน/ตร.กม. (137.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 61130 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 610508 |
องค์การบริหารส่วนตำบลหลุมเข้า | |
---|---|
พิกัด: 15°18′45.8″N 100°01′03.2″E / 15.312722°N 100.017556°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | อุทัยธานี |
อำเภอ | หนองขาหย่าง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 46.43 ตร.กม. (17.93 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 2,469 คน |
• ความหนาแน่น | 53.17 คน/ตร.กม. (137.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 06610506 |
ที่อยู่ที่ทำการ | เลขที่ 147 หมู่ที่ 3 ตำบลหลุมเข้า อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี 61130 |
เว็บไซต์ | www |
หลุมเข้า เป็นตำบลในอำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]ตำบลหลุมเข้ามีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลน้ำซึม (อำเภอเมืองอุทัยธานี) ตำบลหมกแถว และตำบลหนองขาหย่าง
- ทิศตะวันออก ติดต่อตำบลท่าซุง (อำเภอเมืองอุทัยธานี)
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลหนองบัวและตำบลบ่อแร่ (อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลดงขวาง
ประวัติ
[แก้]หลุมเข้าเป็นตำบลในอำเภอหนองพลวง จังหวัดอุทัยธานี ตั้งเป็นตำบลตั้งแต่ พ.ศ. 2443[2] เล่ากันว่าเมื่อปลายปี พ.ศ. 2110 พม่าได้ยกทัพผ่านเข้ามาในเขตจังหวัดอุทัยธานี ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ตามช่องทางที่พม่ายกทัพผ่าน จะทิ้งข้าวของเพื่อหนีเอาชีวิตรอด และชุดหลุมฝังไว้ รวมทั้งข้าวเปลือก ข้าวสาร เพื่อจะกลับมาเอาหลังบ้านเมืองสงบ เนื่องจากมีการขุดหลุมฝังข้าวไว้มาก ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณดังกล่าวว่า "หลุมเข้า" คำว่า เข้า ในยุคนั้นหมายความถึงคำว่า ข้าว ด้วย
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]พื้นที่ตำบลหลุมเข้าประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 7 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 2,469 คน แบ่งเป็นชาย 1,177 คน หญิง 1,292 คน (เดือนธันวาคม 2566)[3] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดอันดับ 2 จาก 9 ตำบลในอำเภอหนองขาหย่าง
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
หมู่บ้าน | พ.ศ. 2566[4] | พ.ศ. 2565[5] | พ.ศ. 2564[6] | พ.ศ. 2563[7] | พ.ศ. 2562[8] | พ.ศ. 2561[9] | พ.ศ. 2560[10] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ดอนเชียงราย | 893 | 898 | 908 | 928 | 935 | 944 | 950 |
หนองกาหลง | 323 | 329 | 330 | 325 | 327 | 331 | 330 |
เนินพยอม | 308 | 308 | 308 | 313 | 315 | 324 | 319 |
ปากดง | 267 | 273 | 277 | 278 | 278 | 274 | 271 |
บึงทับแต้ | 233 | 236 | 233 | 226 | 231 | 231 | 223 |
เนินคล้อ | 233 | 236 | 228 | 228 | 224 | 220 | 218 |
หลุมเข้า | 212 | 221 | 235 | 226 | 225 | 224 | 228 |
รวม | 2,469 | 2,501 | 2,519 | 2,524 | 2,535 | 2,548 | 2,539 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ปัจจุบันตำบลหลุมเข้าทั้งตำบลอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหลุมเข้า ซึ่งเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลหลุมเข้า ในปี พ.ศ. 2517[11] ต่อมาปี พ.ศ. 2541 สภาตำบลหลุมเข้ามี 7 หมู่บ้าน พื้นที่ 46.43 ตารางกิโลเมตร ประชากร 2,544 คน และ 624 ครัวเรือน[12] ปี พ.ศ. 2542 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลหลุมเข้าอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหลุมเข้า[13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชากรในเขตท้องถิ่นตำบลหลุมเข้า อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ ในท้องที่มณฑลนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 38 (0 ก): 576–583. วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
- ↑ ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2541 (เขตตำบลหลุมเข้า อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (ตอนพิเศษ 82 ง): 3–38. วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2542