ข้ามไปเนื้อหา

ดินแดนโกเชน

พิกัด: 30°52′20″N 31°28′39″E / 30.87222°N 31.47750°E / 30.87222; 31.47750
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

30°52′20″N 31°28′39″E / 30.87222°N 31.47750°E / 30.87222; 31.47750

แผนที่แสดงขอบเขตของโกเชน

ดินแดนโกเชน (ฮีบรู: אֶרֶץ גֹּשֶׁן, ʾEreṣ Gōšen) เป็นชื่อในคัมภีร์ฮีบรูที่ใช้กล่าวถึงสถานที่ในอียิปต์ที่ฟาโรห์ของโยเซฟพระราชทานแก่ชาวฮีบรู (หนังสือปฐมกาล, Genesis 45:9–10) และเป็นดินแดนที่พวกเขาออกจากอียิปต์ในการอพยพ เชื่อกันว่าพื้นที่นี้ตั้งอยู่ทางตะวันออกของดินด���นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ อียิปต์ล่าง โดยอาจอยู่ที่อวาริส ศูนย์กลางอำนาจของกษัตริย์ฮิกซอส หรือบริเวณใกล้เคียง

ข้อความพระคัมภีร์

[แก้]

ดินแดนโกเชนได้��ับการกล่าวถึงในหนังสือปฐมกาลและอพยพ โดยเรื่องราวของโยเซฟในบทสุดท้ายของหนังสือปฐมกาล ยาโคบเผชิญกับทุกขภิกขภัยและส่งลูกชาย 10 คนไปซื้อข้าวที่อียิปต์[1] โยเซฟ ลูกชายอีกคนของยาโคบ เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในอียิปต์และอนุญาตให้พ่อกับพี่ชายอาศัยที่อียิปต์[2] ในปฐมกาล 45:10 ดินแดนโกเชนได้รับการปฏิบัติเหมือนเป็นผู้ใกล้ชิดโยเซฟ ผู้อาศัยอยู่ที่ราชสำนักฟาโรห์[3] และในปฐมกาล 47:5 โกเชนได้รับการกล่าวถึงเป็น "ดินแดนดีที่สุด" ของดินแดนอียิปต์[4] แต่ยังเป็นนัยว่ามีความแตกต่างจากส่วนอื่น ๆ ของอียิปต์ด้วย[5] เนื่องจากโยเซฟกล่าวแก่ครอบครัวให้เสนอตัวเป็นผู้ดูแลปศุสัตว์ต่อฟาโรห์ "เพื่อท่านทั้งหลายจะได้อาศัยอยู่ในดินแดนโกเชน เพราะชาวอียิปต์เกลียดชังคนที่เลี้ยงแพะแกะทั้งหมด"[6] ปฐมกาล 47:11 สลับ "ดินแดนราเมเสส" เข้ากับโกเชน: "ฝ่ายโยเซฟให้บิดาและบรรดาพี่น้องของท่านอาศัยอยู่และให้กรรมสิทธิ์ที่ดินในแผ่นดินอียิปต์ ในดินแดนดีที่สุด คือดินแดนราเมเสส ตามรับสั่งของฟาโรห์"[7]

ในหนังสืออพยพ วงศ์วานอิสราเอล ลูกหลานของยาโคบ ยังคงอาศัยอยู่ในอียิปต์และให้กำเนิดลูกหลานจำนวนมาก[8] ชื่อโกเชนปรากฏในหนังสืออพยพเพียงสองครั้ง เช่น ในหัวเรื่องภัยพิบัติแห่งอียิปต์ โกเชนที่ชาวอิสราเอลอาศัยอยู่รอดพ้นจากภัยพิบัติแมลงวันและลูกเห็บที่รุมเร้าชาวอียิปต์[9]

ดินแดนนี้ยังได้รับการกล่าวถึงในหนังสือโยชูวา ซึ่งวงศ์วานอิสราเอลยังคงทำการพิชิตแผ่นดินแห่งพระสัญญา โยชูวา 11:16 ระบุว่า: "โยชูวายึดแผ่นดินนั้นทั้งหมด คือแดนเทือกเขาเนเกบทั้งหมด แผ่นดินโกเชนทั้งหมด ที่ลุ่ม ที่ราบ และแดนเทือกเขาของอิสราเอลกับที่ลุ่มของมัน"[10] ไม่มีความเห็นที่ตรงกันทั้งหมดว่าโกเชนในหนังสือโยชูวาหมายถึงถิ่นที่อยู่เดิมของชาวยิวในอียิปต์หรือไม่ เนื่องจากระยะทางระหว่างคานาอันและโกเชนของอียิปต์นั้นไกลมาก โทราห์ยังระบุอีกหลายครั้งว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงห้ามวงศ์วานอิสราเอลเดินทางกลับอียิปต์ แม้จะมีการเรียกร้องก็ตาม

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

การระบุที่ตั้ง

[แก้]
ดินแดนโกเชนตั้งอยู่ในประเทศอียิปต์
ปิธม
ปิธม
ราเมเสส
ราเมเสส
On
On
ที่ตั้งของปิธม, ราเมเสส และ On (แฮลิอูโปลิส) ในอียิปต์เหนือ

ใน ค.ศ. 1885 Édouard Naville ระบุโกเชนเป็นโนมที่ 20 ของอียิปต์ ตั้งอยู่ทาสามเหลี่ยมปากแม่น้ำตะวันออกและรู้จักกันในชื่อ "Gesem" หรือ "Kesem" ในสมัยราชวงศ์ที่ยี่สิบหกแห่งอียิปต์ (672–525 ปีก่อน ค.ศ.) ปลายด้านตะวันตกครอบคลุมถึงวาดีฏุมิลาต ปลายตะวันออกอยู่ในอำเภอ Succoth ที่มีปิธมเป็นเมืองหลัก ทางเหนือถึงซากพี-ราเมส ("ดินแดนแรเมซีส") และรวมทั้งพื้นที่เพาะปลูกและพื้นที่เลี้ยงสัตว์[11]

Isaac Rabinowitz, Israel Ephʿal, Jan Retsö และ David F. Graf เหล่านักวิชาการ ระบุดินแดนโกเชนเข้ากับส่วน "Arabia" ของอาณาจักร Qedarite ทางตะวันออกของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ และรอบปิธม และชาวอียิปต์รู้จักกันในนาม Gsm (𓎤𓊃𓅓𓏏𓊖)[11] ส่วนชาวยิวรู้จักกันในนาม ʾEreṣ Gōšen (אֶרֶץ גֹּשֶׁן, แปลว่า ดินแดนเกเชม)[12] ตามพระเจ้าเกเชมแห่ง Qedarite[13][14] หรือราชวงศ์ของพระองค์[14]

แม้ว่า John Van Seters นักวิชาการ คัดค้านการระบุ ʾEreṣ Gōšen เข้ากับดินแดน Qedarite ในอียิปต์ตะวันออก โดยอ้างว่าชาว Qedarites ไม่เคยปกครองภูมิภาค Wādī Ṭumīlāt[11] การค้นพบเศษซากของชาว Qedarite ในภูมิภาค Wādī Ṭumīlāt เช่น ศาลเจ้าที่อุทิศแด่เทพีอัลลาต ทำให้ข้อคัดค้านของ Van Seters ถูกปัดตกไป[15][14][16][12]

อ้างอิง

[แก้]

ข้อมูล

[แก้]
  • Bietak, Manfred (2015). "On the Historicity of the Exodus: What Egyptology Today Can Contribute to Assessing the Biblical Account of the Sojourn in Egypt". ใน Levy, Thomas E.; Schneider, Thomas; Propp, William H. C. (บ.ก.). Israel's Exodus in Transdisciplinary Perspective: Text, Archaeology, Culture, and Geoscience. Springer. ISBN 978-3-319-04767-6.
  • Ephʿal, Israel (1984). The Ancient Arabs: Nomads on the Borders of the Fertile Crescent, 9th-5th Centuries B.C. Jerusalem: Magnes Press. ISBN 978-0-685-74243-3.
  • Grabbe, Lester (2014). "Exodus and History". ใน Dozeman, Thomas B.; Evans, Craig A.; Lohr, Joel N. (บ.ก.). The Book of Exodus: Composition, Reception, and Interpretation. Brill. ISBN 978-90-04-28266-7.
  • Graf, David F. (1997). "Palestine: Palestine in the Persian through Roman Periods". ใน Meyers, Eric M.; Dever, William G.; Meyers, Carol L.; Muhly, James D.; Pardee, Dennis; Sauer, James A.; Finney, Paul Corby; Jorgensen, John S. (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of Archaeology in the Near East. Vol. 4. Oxford, United Kingdom; New York City, United States: Oxford University Press. pp. 222–228. ISBN 978-0-195-06512-1.
  • Rabinowitz, Isaac (1956). "Aramaic Inscriptions of the Fifth Century B. C. E. from a North-Arab Shrine in Egypt". Journal of Near Eastern Studies. Chicago, United States: University of Chicago Press. 15 (1): 1–9. doi:10.1086/371302. JSTOR 542658. S2CID 161559065. สืบค้นเมื่อ 1 January 2023.
  • Retsö, Jan (2013). The Arabs in Antiquity: Their History from the Assyrians to the Umayyads. London, United Kingdom; New York City, United States: Routledge. ISBN 978-1-136-87289-1.
  • Van Seters, John (2001). "The Geography of the Exodus". ใน Dearman, J. Andrew; Graham, M. Patrick (บ.ก.). The Land that I Will Show You: Essays on the History and Archaeology of the Ancient Near East in Honor of J. Maxwell Miller. Journal for the Study of the Old Testament: Supplement Series. Vol. 343. Sheffield, United Kingdom: Sheffield Academic Press. pp. 255–276. ISBN 978-0-567-35580-5.
  • Van Seters, John (2004). "The Joseph Story: Some Basic Observations". ใน Knoppers, Gary N.; Hirsch, Antoine (บ.ก.). Egypt, Israel, and the Ancient Mediterranean World: Studies in Honor of Donald B. Redford. Brill. ISBN 978-90-04-13844-5.