ข้ามไปเนื้อหา

ดาวพฤหัสบดีร้อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพวาดโดยศิลปินแสดงถึงดาวเคราะห์แบบดาวพฤหัสบดีร้อน

ดาวพฤหัสบดีร้อน (อังกฤษ: Hot Jupiter; บ้างก็เรียก oven roaster, epistellar jovian, pegasid หรือ pegasean planet) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบจำพวกหนึ่งที่มีมวลใกล้เคียงหรือมากกว่ามวลดาวพฤหัสบดี (1.9 × 1027 กก.) แต่มีลักษณะอื่นที่ต่างไปจากดาวพฤหัสบดีในระบบสุริยะ เนื่องจากดาวพฤหัสบดีโคจรอยู่ที่ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ 5 หน่วยดาราศาสตร์ แต่ดาวเคราะห์นอกระบบที่เรียกดาวพฤหัสบดีร้อนนี้จะโคจรในระยะห่างจากดาวฤกษ์เพียง 0.05 หน่วยดาราศาสตร์[ต้องการอ้างอิง] หรือประมาณ 1 ใน 8 ของระยะห่างที่ดาวพุธโคจรรอบดวงอาทิตย์ จึงทำให้ดาวเคราะห์กลุ่มนี้มีอุณหภูมิพื้นผิวสูงมาก

ลักษณะโดยทั่วไป

[แก้]
จำนวนดาวพฤหัสบดีร้อน (ตามขอบด้านซ้าย รวมถึงจุดสีแดง) ที่ค้นพบนับถึง 31 สิงหาคม ค.ศ. 2004

ลักษณะโดยทั่วไปของดาวพฤหัสบดีร้อน ได้แก่

  1. มีโอกาสจะเกิดปรากฏการการเคลื่อนผ่านหน้าดาวฤกษ์ของมันโดยสามารถสังเกตพบในระยะไกลมากยิ่งกว่าดาวเคราะห์มวลขนาดเดียวกันที่มีวงโคจรกว้างกว่า ดาวเคราะห์นอกระบบลักษณะนี้ที่มีชื่อเสียงคือ HD 209458 b เป็นดาวพฤหัสบดีร้อนดวงแรกที่ตรวจพบการเคลื่อนผ่าน และ HAT-P-7b เป็นดวงล่าสุดที่กำลังถูกเฝ้าสังเกตในโครงการเคปเลอร์
  2. มีความหนาแน่นค่อนข้างต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งเป็นผลจากขนาดของรัศมีของดาวเคราะห์ที่ตรวจวัดขณะเคลื่อนผ่านจะมีเงาที่เกิดขึ้นเนื่องจากฉากหลังที่เป็นดาวฤกษ์ ดังนั้นการประมาณขนาดขอบเขตของดาวเคราะห์จึงทำได้ค่อนข้างยาก
  3. เชื่อว่าดาวเคราะห์จำพวกนี้มีการเคลื่อนย้ายถิ่นจากวงโคจรเดิมเข้ามายังวงโคจรในตำแหน่งปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจากการก่อตัวของดาวเคราะห์ไม่น่าจะเกิดได้ด้วยมวลปริมาณมากในระยะใกล้ดาวฤกษ์ขนาดนั้น
  4. ทุกดวงที่พบมีความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรต่ำ ลักษณะของวงโคจรค่อนข้างกลม หรือกำลังถูกทำให้กลม ซึ่งทำให้ดาวเคราะห์มีจังหวะการหมุนรอบตัวเองและคาบการโคจรที่สอดคล้องกัน และหันหน้าด้านเดียวเข้าสู่ดาวฤกษ์แม่ของมันเสมอ

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]