ดนุภัทร์ เชียงชุม
ผู้เขียนหลักของบทความนี้อาจมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเรื่องบทความ |
ดนุภัทร์ เชียงชุม | |
---|---|
ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน | |
ดำรงตำแหน่ง 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 – 5 มิถุนายน พ.ศ. 2565 | |
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด | อัครเดช วันไชยธนวงศ์ |
รอง | รองประธานสภา คนที่หนึ่ง พงษ์เพชร จันทร์อ้าย รองประธานสภา คนที่สอง ยงยศ มัธยัสสิน |
ก่อนหน้า | คำปัน คำประวัน |
ถัดไป | พิริยะ ตวงลาภทวีกิจ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 สิงหาคม พ.ศ. 2511 จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2564–2567) ก้าวไกล (2567) ประชาชน (2567–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | ขวัญเรือน เชียงชุม |
ดนุภัทร์ เชียงชุม (เกิด 6 สิงหาคม พ.ศ. 2511) ชื่อเล่น เดช เป็นนักการเมืองชาวไทย เป็นผู้เชี่ยวชาญประจำตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (นายสมบัติ ยะสินธุ์) อดีตประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน และผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน ก่อนหน้านี้เป็นผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
ประวัติ
[แก้]ดนุภัทร์ เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2511 ที่ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นบุตรนายบุญศรี เชียงชุม ด้านครอบครัวสมรสกับนางขวัญเรือน เชียงชุม (สกุลเดิม: ลืออู๋น้อย) มีบุตร 1 คน
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขารัฐศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
งานการเมือง
[แก้]ดนุภัทร์ เข้าสู่การเมืองด้วยการเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน เขตอำเภอปาย รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน และประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอนตามลำดับ ในเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2564 เขาได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน เขตเลือกตั้งที่ 1 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์[1][2] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยพ่ายแพ้ให้กับปกรณ์ จีนาคำ[3] ต่อมาในเดือนมีนาคม ปี พ.ศ. 2567 ได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคก้าวไกล เดือนสิงหาคม พรรคก้าวไกลถูกยุบ เขาสมัครเป็นสมาชิกพรรคประชาชน และลงสมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอนในปี พ.ศ. 2568[4][5][6][7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2565 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[8]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ‘จุรินทร์’เปิดตัว ‘ดนุภัทร์–สมบัติ’ชิงเก้าอี้ส.ส.แม่ฮ่องสอน
- ↑ “จุรินทร์ ออนทัวร์” แม่ฮ่องสอน เปิดตัวว่าที่ 2 ผู้สมัคร “ดนุภัทร์ เชียงชุม อดีตสจ. - สมบัติ ยะสินธุ์ อดีตสส.”
- ↑ เลือกตั้ง 2566 : แม่ฮ่องสอนพลังประชารัฐ "ปกรณ์" ได้เขต 1 ประชาธิปัตย์ลุ้นชนะเขต 2
- ↑ “หน้าเก่าแห่ลงสมัครชิงเก้าอี้ นายก อบจ.แม่ฮ่องสอน-พะเยา สมัครสจ.วันแรกแดงทั้งทีม
- ↑ สนามเลือกตั้ง อบจ.เมืองสามหมอก เข้มข้น นายกฯหลายสมัย ถูกอดีตผู้สมัคร สส.ปชป.ลงชิงชัย เชื่อแข่งเดือด
- ↑ คาดสู้กันเดือด!!! จับตาชิงนายก อบจ.เมืองสามหมอก แชมป์เก่าหลายสมัยโดนวัดบารมี
- ↑ สนามเลือกตั้ง นายก อบจ.เมืองสามหมอกเข้มข้น มีผู้สมัคร นายก อบจ. 2 ราย
- ↑ ข้อมูลจากเจ้าตัว
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๙, ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔