ฐัค
กลุ่มฐัค ภาพถ่ายปี 1894 | |
ก่อตั้งขึ้นเมื่อ | ?- [1] |
---|---|
สถานที่ตั้ง | อินเดียกลาง, เบงกอล |
ปีที่มีการเคลื่อนไหว | ไม่ทราบ |
อาณาเขต | อนุทวีปอินเดีย |
สมาชิก | ไม่ทราบ |
กิจกรรมทางอาญา | ฆาตกรรม, โจรกรรม |
คู่ปรับ | บริติชราช |
ธักกี (อังกฤษ: Thuggee; UK: /θʌˈɡiː/, US: /ˈθʌɡi/) เป็นคำเรียกการกระทำการ ธัก (อังกฤษ: thug, อันธพาล) เป็นอดีตกลุ่มอาชญากรผู้ก่อการโจรกรรมและฆาตกรรมที่ทำงานกันอย่างเป็นระบบ คำว่า thug ในภาษาอังกฤษมีที่มาจากภาษาฮินดี ฐัค (เทวนาครี: ठग, ṭhag) ซึ่งแปลว่า 'นักต้มตุ๋น' หรือ 'คนโกง' ซึ่งเกี่ยวพันกับคำกริยา ฐัคนะ (thugna; 'หลอกลวง') จากภาษาสันสกฤต สฐค (स्थग (sthaga; 'ฉลาดแกมโกง, กะล่อน, ฉ้อโกง') และ สฐคติ (स्थगति (sthagati; 'ผู้ปิดบัง')[2]
เข้าใจกันว่าฐัคเดินทางไปมากันเป็นกลุ่มทั่วอนุทวีปอินเดีย[3] และมีหลายเรื่องเล่าเกี่ยวกับที่มาของกลุ่ม อย่างไรก���ตาม ไม่มีเรื่องไหนที่มีหลักฐานมากพอ หนึ่งในงานเขียนที่บันทึกโดยดี. เอฟ. มัคลอยด์ ระบุว่าฐัคมีต้นกำเนิดมาจากชนเผ่ามุสลิมซึ่งหลบหนีออกจากเดลีหลังไปฆาตกรรมแพทย์คนหนึ่ง อีกเรื่องเล่าระบุว่าฐัคมีที่มาจากตระกูลมุสลิมที่ตัองหลบหนีหลังฆาตกรรมทาสคนโปรดของจักรพรรดิอักบัร[4] ความเชื่อนี้ยังเชื่อว่าต่อมาฐัคแพร่กระจายจากมุสลิมสู่ชาวฮินดู[5] ส่วนตามธรรมเนียมของฐัคเอง เชื่อว่าพวกตนสืบเชื้อสายมาจากกันชรหรืออดีตเจ้าพนักงานในค่ายทหารของจักรวรรดิโมกุล[6][7] ในขณะที่บางส่วนเชื่อว่าฐัคเกิดจากการที่บริติชเข้าปกครองอินเดียแล้วสลายกองทัพของรัฐท้องถิ่นเดิม[8]
มีการระบุว่าฐัคก่อการโดยปล้นสะดม, หลอกลวง และแขวนคอเหยื่อตามทางหลวง โดยการเข้าร่วมและหลอกลวงผู้เดินทางไปตามเส้นทาง สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและถือโอกาสฆาตกรรมโดยใช้เชือกหรือผ้า[9] จากนั้นจึงขโมยและฝังเหยื่อ[10] ในอินเดียใต้จึงนิยมเรียกฐัคว่าเป็นพวก ผันสิคร (Phansigar; "ผู้ใช้บ่วงเชือก")[11] ฐัคเป็นเป้าหมายในการกำจัดโดยรัฐบาลอังกฤษเจ้าอาณานิคมอินเดียในทศวรรษ 1830 ภายใต้เสนาบดี ลอร์ดวิลเลียม บินทิงค์ และ วิลเลียม เฮนรี สลีมาน
ในแวดวงวิชาการร่วมสมัยเริ่มมีการตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการมีอยู่ของ ธักกี ในอดีต[12][13] และนักประวัติศาสตร์จำนวนมากสรุปว่าคำว่า "ธักกี" เป็นสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยรัฐบาลอังกฤษเจ้าอาณานิคมในเวลานั้น[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ K. Wagner (2007). Thuggee: Banditry and the British in Early Nineteenth-Century India. Springer. p. 26. ISBN 978-0-230-59020-5.
- ↑ "Thugs". 1902encyclopedia.com. สืบค้นเมื่อ 1 October 2017.
- ↑ "Tracing India's cult of Thugs". 3 August 2003. Los Angeles Times.
- ↑ Dash, Mike (3 February 2011). Thuggee: Banditry and the British in Early Nineteenth-Century India. Granta. pp. 28, 36 & 37. ISBN 978-1-84708-473-6.
- ↑ K. Wagner (2007). Thuggee: Banditry and the British in Early Nineteenth-Century India. Springer. p. 154; 155. ISBN 978-0-230-59020-5.
- ↑ Martine van Woerkens (3 February 2011). The Strangled Traveler: Colonial Imaginings and the Thugs of India. University of Chicago Press. p. 136. ISBN 978-0-226-85086-3.
- ↑ Dash, Mike (3 February 2011). Thuggee: Banditry and the British in Early Nineteenth-Century India. Granta. p. 37. ISBN 9781847084736.
- ↑ K. Wagner (2007). Thuggee: Banditry and the British in Early Nineteenth-Century India. Springer. p. 92. ISBN 9780230590205.
- ↑ David Scott Katsan (2006). The Oxford Encyclopedia of British Literature, Volume 1. Oxford University Press. p. 141. ISBN 9780195169218.
- ↑ Rost 1911.
- ↑ R.V. Russell; R.B.H. Lai (1995). The tribes and castes of the central provinces of India. Asian Educational Services. p. 559. ISBN 978-81-206-0833-7. สืบค้นเมื่อ 19 April 2011.
- ↑ Gámez-Fernández, Cristina M.; Dwivedi, Om P. (2014). Tabish Khair: Critical Perspectives. Cambridge Scholars Publishing. ISBN 9781443857888.
- ↑ MacFie, Alexander Lyon (2008). "Thuggee: An orientalist construction?". Rethinking History. 12 (3): 383–397. doi:10.1080/13642520802193262. S2CID 144212481.
- ↑ S. Shankar (2001). Textual Traffic: Colonialism, Modernity, and the Economy of the Text. SUNY Press. ISBN 978-0791449929.
บรรณนุกรม
[แก้]- Rost, Reinhold (1911). . ใน Chisholm, Hugh (บ.ก.). สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 26 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 896.
- Dash, Mike Thug: the true story of Indias murderous cult ISBN 1-86207-604-9, 2005
- Dutta, Krishna (2005) The sacred slaughterers. Book review of Thug: the true story of India's murderous cult by Mike Dash. In The Independent (Published: 8 July 2005) text
- Guidolin, Monica "Gli strangolatori di Kali. Il culto thag tra immaginario e realtà storica", Aurelia Edizioni, 2012, ISBN 978-88-89763-50-6.
- Paton, James 'Collections on Thuggee and Dacoitee', British Library, Add MS 41300
- Woerkens, Martine van The Strangled Traveler: Colonial Imaginings and the Thugs of India (2002),
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Acting in the "Theatre of Anarchy": 'The Anti-Thug Campaign' and Elaborations of Colonial Rule in Early-Nineteenth Century India by Tom Lloyd (2006) in PDF file format
- Parama Roy: Discovering India, Imagining Thuggee. In: idem, Indian Traffic. Identities in Question in Colonial and Postcolonial India. University of California Press 1998. (in html format)
- Confessions of India's real-life Thugs