ซูเปอร์มารีน ซีไฟร์
ซีไฟร์ | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
ประเภท | เครื่องบินขับไล่บนเรือบรรทุกเครื่องบิน |
ชาติกำเนิด | สหราชอาณาจักร |
บริษัทผู้ผลิต | ซูเปอร์มารีน |
ผู้ใช้งานหลัก | ราชนาวี |
จำนวนที่ผลิต | 2,646[1] |
ประวัติ | |
เริ่มใช้งาน | 1942 |
เที่ยวบินแรก | 7 มกราคม 1942 |
พัฒนาจาก | ซูเปอร์มารีน สปิตไฟร์ |
ซูเปอร์มารีน ซีไฟร์ (อังกฤษ: Supermarine Seafire) เป็นรุ่นที่ดัดแปลงมาจากซูเปอร์มารีน สปิตไฟร์ ซึ่งได้รับการดัดแปลงให้สามารถขึ้นบินและลงจอดบนเรือบรรทุกเครื่องบินได้ ชื่อ ซีไฟร์ มาจากคำย่อของชื่อที่ยาวกว่าคือ ซีสปิตไฟร์[2]
รุ่นของ ซูเปอร์มารีน สปิตไฟร์ ที่สามารถใช้บนเรือบรรทุกเครื่องบิน ได้รับการเสนอโดยกองทัพเรือในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1938[3]
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1942 เป็นต้นมา มีการสั่งซื้อโครงสร้างของซีไฟร์เพิ่มเติม รวมถึงซีไฟร์ เอฟ Mk.III ที่ได้เข้าประจำการเป็นครั้งแรก สิ่งนี้นำไปสู่การใช้เครื่องบินรุ่นนี้อย่างแพร่หลายโดยฟลีตแอร์อาร์ม ซีไฟร์ได้เข้าทำการรบครั้งแรกซึ่งเกิดขึ้นระหว่างปฏิบัติการคบเพลิง
ซีไฟร์ ยังคงถูกใช้ต่อไปหลังสิ้นสุดสงคราม แต่ฟลีตแอร์อาร์มได้ถอนซีไฟร์ที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์เมอร์ลินทั้งหมด และแทนที่ด้วยซีไฟร์ที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์กริฟฟอน ซึ่งประเภทนี้มีการใช้ในการต่อสู้ในช่วงระหว่างสงครามเกาหลี ซึ่งซีไฟร์ของฟลีตแอร์อาร์มได้มีบทบาทในปฏิบัติภารกิจหลายร้อยครั้งในการโจมตีภาคพื้นดินและการลาดตระเวนต่อสู้ทางอากาศขัดขวางต่อกองกำลังเกาหลีเหนือในปี ค.ศ. 1950 ซีไฟร์ได้ถูกปลดประจำการในช่วงทศวรรษ 1950
การพัฒนา
[แก้]กองทัพเรือแสดงความสนใจแนวคิดเรื่องเครื่องบินสปิตไฟร์รุ่นทางทะเลบนเรือบรรทุกเครื่องบินเป็นครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1938
เรื่องของสปิตไฟร์รุ่นทางทะเลถูกหยิบยกขึ้นมาอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1939 เมื่อกระทรวงการบินได้อนุญาตให้ผู้บัญชาการเออร์เมนบิน สปิตไฟร์ I ได้
ซีไฟร์ II มีประสิทธิภาพเหนือกว่า เอ6เอ็ม-5 ซีโร่ ที่ระดับความสูงต่ำเมื่อทั้งสองรุ่นถูกทดสอบด้วยกัน
ประวัติการปฏิบัติการ
[แก้]ระหว่าง ค.ศ. 1942 และ ค.ศ. 1943 ฝูงบินของ ฟลีตแอร์อาร์ม ได้เปลี่ยนมาเป็น ซีไฟร์ อย่างต่อเนื่อง ในที่สุดก็เข้ามาแทนที่ ซีเฮอริเคน ในการต่อสู้แนวหน้าของฟลีตแอร์อาร์ม สปิตไฟร์และซีไฟร์ถูกใช้โดยฝูงบินจำนวนหนึ่ง สปิตไฟร์ถูกใช้โดยการฝึกนักบินและอยู่ประจำฝูงบินภาคพื้นดิน
ประจำการ
[แก้]คุณลักษณะ (เอฟ เอ็มเค III)
[แก้]- ผู้สร้าง: ซูเปอร์มารีน (สหราชอาณาจักร)
- ประเภท: เครื่องบินขับไล่
- เครื่องยนต์: 1 × Rolls-Royce Merlin 55M
- กางปีก: 11.23 เมตร
- ยาว: 9.21 เมตร
- สูง: 3.49 เมตร
- พื้นที่ปีก: 22.5 ตารางเมตร
- น้ำหนักเปล่า: 2,412 กิโลกรัม
- น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด: 3,280 กิโลกรัม
- อัตราเร็วสูงสุด: 578 กิโลเมตร/ชั่วโมง ที่ระดับความสูง 10,973 เมตร
- อัตราไต่: 16.5 เมตร/ วินาที
- รัศมีทำการรบ: 748 กิโลเมตร
- อาวุธ: ปืนใหญ่อากาศ Hispano Mk II ขนาด 20 มม. 2 กระบอก / ปืนกล Browning Mk II ขนาด 7.7 มม. 4 กระบอก
ดูเพิ่ม
[แก้]- การพัฒนาที่เกี่ยวข้อง
- อากาศยานที่เทียบเท่า
- แฟร์รี่ย์ ฟูลมาร์
- ฮ็อคเกอร์ ซีเฮอริเคน
- มิตซูบิชิ เอ6เอ็ม ซีโร่
- กรัมแมน เอฟ4เอฟ ไวลด์แคท
- กรัมแมน เอฟ6เอฟ เฮลแคท
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Vickers Supermarine Seafire." BAE Systems, Retrieved: 23 April 2017.
- ↑ Andrews and Morgan 1987, p. 247.
- ↑ Stone, Phil. "The Seafire." The Supermarine Spitfire1 March 2006. Retrieved: 5 December 2009.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Manual: (1948) A.P. 2280F & G – P.N. Pilot's Notes Seafire 45 and 46[ลิงก์เสีย]
- Spitfire/Seafire Serial Numbers, production contracts and aircraft histories
- Seafire F.XVII SX336 history
- Kennet Aviation's Seafire Mk.XVII SX336/G-KASX – Renovation/Respray
- Sound of Seafire F.XVII SX336 taking off
- List of 15 survivors at warbirdregistry.org