ข้ามไปเนื้อหา

ซูซูกิ คัลตัส เครสเซนท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซูซูกิ คัลตัส เครสเซนท์
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตซูซูกิ
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2545
ตัวถังและช่วงล่าง
รูปแบบตัวถังซีดาน 4 ประตู
แฮทช์แบค 3 ประตู
สเตชันวากอน 5 ประตู
รุ่นที่คล้ายกันโตโยต้า โคโรลล่า
ฮอนด้า ซีวิค
มิตซูบิชิ แลนเซอร์
มาสด้า 323/3
นิสสัน ซันนี่/ทีด้า/ซิลฟี
เชฟโรเลต ครูซ
ฟอร์ด เอสคอร์ท/เลเซอร์/โฟกัส
แดวู นิวบีรา/ลาเซ็ตติ
ฮุนได เอลันตร้า
เกีย ซีเฟีย/เซราโต/ฟอร์เต
เปอโยต์ 301/304/305/306/307/308/309
ซีตรอง C4/DS4
บีเอ็มดับเบิลยู 1 ซีรีส์
โอเปิล แอสตร้า
โปรตอน เพอร์โซนา/เพรเว่
ซูบารุ อิมเพรสซ่า
โฟล์กสวาเกน กอล์ฟ/เจ็ตตา
อีซูซุ เจมินิ
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้าไม่มี

ซูซูกิ คัลตัส เครสเซนท์ (อังกฤษ: Suzuki Cultus Crescent) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ ซูซูกิ เอสทีม (อังกฤษ: Suzuki Esteem) เป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็กรุ่นแรกของซูซูกิ เริ่มผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2538 ปรับโฉมไมเนอร์เชนจ์เมื่อปี พ.ศ. 2541 และสิ้นสุดการผลิตในปี พ.ศ. 2545 โดยมีซูซูกิ เอริโอเข้ามาทดแทน แต่ในประเทศอินเดียนั้นมีการผลิตจนถึงปี พ.ศ. 2550 และมีการประกอบคัลตัส เครสเซนท์ในประเทศโคลอมเบีย ,อิ��เดีย ,อินโดนีเซีย ,ญี่ปุ่นและปากีสถาน

มีเครื่องยนต์เบนซินขนาด 1.3 ,1.5 ,1.6 และ 1.8 ลิตรและเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 1.9 ลิตร มีเกียร์ 2 แบบให้เลือกซื้อคือเกียร์ธรรมดา 5 สปีดและเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด และมีตัวถังแฮทช์แบค 3 ประตู ซีดาน 4 ประตู และสเตชันวากอน 5 ประตู และมีระยะฐานล้อ 2,480 มม. มีความกว้าง 1,695 มม. มีความยาวของตัวรถหากเป็นรุ่นแฮทช์แบค 3 ประตู 3,870 มม. และรุ่นซีดานและสเตชันวากอน 4,375 มม.

คัลตัส เครสเซนท์เวอร์ชันไทยเปิดตัวเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2538 ในชื่อเอสทีม มีตัวถังแบบเดียวคือซีดาน 4 ประตู โดยในขณะนั้นมีราคาเทียบเท่าคู่แข่งในยุคนั้น แต่ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก เนื่องจากสาเหตุหลายประการ โดยเฉพาะชื่อชั้นของซูซูกิ มอเตอร์ ประเทศไทยในยุคนั้นยังไม่แข็งแกร่งพอที่จะทำให้เอสทีมประสบความสำเร็จ อีกทั้งในสมัยนั้น Suzuki ยังไม่มีโรงงานเป็นของตัวเอง ยังต้องสั่งนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ราคาก็เลยแพงกว่าชาวบ้าน แล้วต้องม้วนเสื่อกลับบ้านไป