ข้ามไปเนื้อหา

ซาริม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซาริม
ฮันกึล
사림
ฮันจา
士林
อาร์อาร์Sarim
เอ็มอาร์Sarim

ซาริม (เกาหลี사림; อาร์อาร์Sarim) เป็นกลุ่มการเมืองที่ทรงอำนาจในช่วงกลางและปลายราชวงศ์โชซ็อน

กลุ่มบัณฑิตซาริมดั้งเดิมมาจากสำนักของคิลแจ (เกาหลี길재; อาร์อาร์Gil Jae) บัณฑิตที่มีชีวิตอยู่ในช่วงปลายราชวงศ์โครยอ และช่วงต้นราชวงศ์โชซ็อน ซึ่งเป็นศิษย์ของลีแซก และจอง มงจู หลังจากการล่มสลายของราชวงศ์โครยอ กิลแจปฏิเสธที่จะรับใช้ราชวงศ์ใหม่ตามคำร้องขอของพระเจ้าแทจง พระราชาลำดับที่ 3 ของราชวงศ์โชซ็อน

ในรัชสมัยพระเจ้าซ็องจง พระราชาลำดับที่ 9 พระองค์ได้เชิญคิมจงจิกและลูกศิษย์ของเขาซึ่งเป็นบัณฑิตลัทธิขงจื๊อใหม่รุ่นใหม่เข้ามารับราชการในราชสำนักและเจริญเติบโตทางการเมือง

พวกเขาได้เข้ารับราชการในสามกรม ทำให้เกิดการกระทบกระทั่งกับขุนนางกลุ่มฮุนกู ซึ่งเป็นกลุ่มขุนนางที่เรืองอำนาจจากการสนับสนุนโดยพระเจ้าเซโจ พระราชาลำดับที่ 7 ซึ่งเป็นพระอัยกา (ปู่) ของพระเจ้าซ็องจงซึ่งโค่นล้มราชบัลลังก์พระเจ้าทันจง พระราชาลำดับที่ 6 ผู้เป็นพระราชนัดดา

กระทบกระทั่งกับกลุ่มฮุนกู

[แก้]

ในความขัดแย้งกับการก่อตั้งกลุ่มฮุนกู กลุ่มซาริมได้ผลกระทบจากการสังหารหมู่หลายครั้งระหว่างรัชสมัยของ เจ้าชายย็อนซัน พระเจ้าจุงจง และ พระเจ้ามย็องจง โดยเฉพาะในรัชสมัย พระเจ้าจุงจง ขุนนางหนุ่มจากกลุ่มซาริมนาม โช กวัง-โจ (เกาหลี: 조광조) ได้พยายามปฏิรูปและเปลี่ยนแปลงให้สังคมโชซ็อนเป็นสังคมขงจื๊อใหม่ หลังจากการสังหารหมู่ที่สำคัญ 4 ครั้ง โช กวัง-โจ และคนอื่น ๆ ถูกประหารชีวิตทำให้ขุนนางกลุ่มซาริมต้องล่าถอยกลับเข้าไปในหมู่บ้านและเผยแพร่หลักปรัชญาของพวกเขาต่อไปผ่านสำนักท้องถิ่นนาม ซอวอน (เกาหลี: 서원)

หลังจากกลุ่มฮุนกูล่มสลายเพราะขาดผู้สืบทอดอุดมการณ์ กลุ่มซาริมก็ได้กลับเข้ามาในราชสำนักระหว่างรัชสมัย พระเจ้าซ็อนโจ พระราชาลำดับที่ 14 โดยเวลานั้นนักปราชญ์จากกลุ่มซาริมได้สั่งสอนนักปราชญ์อีกหลายคนอาทิ อี ฮวัง และ อี อี นับแต่นั้นมากลุ่มซาริมกลายเป็นกลุ่มการเมืองที่ทรงอำนาจมากที่สุดของราชวงศ์โชซ็อน

ความขัดแย้งภายในกลุ่ม

[แก้]

หลังจากกลุ่มซาริมขึ้นมาแทนกลุ่มฮุนกูในฐานะกลุ่มการเมืองที่ทรงอำนาจช่วงปลาย คริสต์ศตวรรษที่ 16 ประเทศชาติรวมถึงกลุ่มซาริมเองก็แตกแยกออกเป็น ฝ่ายตะวันออก (ทง-อิน) และ ฝ่ายตะวันตก (ซอ-อิน) ฝ่ายตะวันออกเองก็แบ่งแยกออกมาอีกเป็น ฝ่ายเหนือ (บุก-อิน) และ ฝ่ายใต้ (นัม-อิน) และฝ่ายตะวันตกก็แบ่งแยกออกมาเป็น ขุนนางเก่า (โนรน) และ ขุนนางหนุ่ม (โซรน)

ฝ่ายตะวันออก vs ฝ่ายตะวันตก

[แก้]

ฝ่ายเหนือ vs ฝ่ายใต้

[แก้]

รัชสมัยพระเจ้าซุกจง

[แก้]

ฝ่ายตะวันตก vs ฝ่ายใต้

[แก้]

โนรน vs โซรน

[แก้]

ยุติ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]