ซัมเมอร์ วอร์ส
ซัมเมอร์ วอร์ส | |||||
---|---|---|---|---|---|
ใบปิดภาพยนตร์ | |||||
ชื่อภาษาญี่ปุ่น | |||||
คันจิ | サマーウォーズ | ||||
| |||||
กำกับ | มาโมรุ โฮโซดะ | ||||
บทภาพยนตร์ | ซาโตโกะ โอคูเดระ | ||||
เนื้อเรื่อง | มาโมรุ โฮโซดะ | ||||
อำนวยการสร้าง |
| ||||
นักแสดงนำ | |||||
กำกับภาพ | ยูกิฮิโระ มัทสึโมโตะ | ||||
ตัดต่อ | ชิเงรุ นิชิยามะ | ||||
ดนตรีประกอบ | อากิฮิโกะ มัทสึโมโตะ | ||||
บริษัทผู้สร้าง | |||||
ผู้จัดจำหน่าย | วอร์เนอร์บราเธอส์พิคเจอส์ | ||||
วันฉาย |
| ||||
ความยาว | 114 นาที[1] | ||||
ประเทศ | ญี่ปุ่น | ||||
ภาษา | ญี่ปุ่น | ||||
ทำเงิน | 18.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[2] |
ซัมเมอร์ วอร์ส (ญี่ปุ่น: サマーウォーズ; โรมาจิ: Samā Wōzu; อังกฤษ: Summer Wars; ราชบัณฑิตยสถาน: ซัมเมอร์วอส์) เป็นอนิเมะบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์และวีรคติซึ่งมะโมะรุ โฮะโซะดะ (Mamoru Hosoda) กำกับ ซะโตะโกะ โอะกุเดะระ (Satoko Okudera) เขียนเรื่อง บริษัทแมดเฮาส์ (Madhouse) ผลิต และบริษัทวอร์เนอร์ บราเธอร์ส พิกเจอร์ส (Warner Bros. Pictures) เผยแพร่ในปี 2552 มีเนื้อหาเกี่ยวกับนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายคนหนึ่งซึ่งเดินทางกับนักเรียนหญิงรุ่นพี่ร่วมโรงเรียนไปฉลองวันครบรอบวันเกิดปีที่เก้าสิบของย่าทวดของเธอในฤดูร้อน แต่ต้องร่วมกับครอบครัวของเธอต่อต้านนักเลงคอมพิวเตอร์ในโลกออนไลน์
อนิเมะเรื่องนี้ แมดเฮาส์สร้างสรรค์ขึ้นถัดจาก กระโดดจั๊มพ์ทะลุข้ามเวลา (The Girl Who Leapt Through Time) ซึ่งเป็นผลงานของโฮะโซะดะและโอะกุดะระเช่นกัน โดยเริ่มกระบวนการในปี 2549 และโยจิ ทะเกะชิเงะ (Yōji Takeshige) กำกับฝ่ายศิลป์ ในช่วงแรก ข่าวคราวเกี่ยวกับอนิเมะเป็นแต่เสียงลือเสียงเล่าอ้างปากต่อปากและทางอินเทอร์เน็ต กระนั้น ก็กระตุ้นความสนใจของสาธารณชนอย่างยิ่ง ต่อมาอีกสองปีจึงแถลงข่าวเปิดโครงการที่เทศกาลอนิเมะนานาชาติโตเกียว (Tokyo International Anime Fair) และเผยแพร่ตัวอย่างภาพยนตร์ครั้งแรกในเดือนเมษายน 2552[3] ในปีนั้นเอง จิตรกรอิกุระ ซุงิโมะโตะ (Iqura Sugimoto) ได้ดัดแปลงอนิเมะเป็นมังงะลงพิมพ์เป็นตอน ๆ ด้วย
หลังจากฉายในโรงภาพยนตร์หนึ่งร้อยยี่สิบเจ็ดแห่งทั่วประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2552 อนิเมะเรื่องนี้ทำรายได้มากกว่าหนึ่งล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อสิ้นสัปดาห์แรก นับเป็นอนิเมะที่สร้างรายได้มากที่สุดเป็นอันดับที่เจ็ดในประเทศสำหรับสัปดาห์นั้น อนึ่ง ในภาพรวม อนิเมะนี้เป็นชื่นชอบของผู้ชมทั่วกัน ได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์ในทางดี ได้รับรางวัลใหญ่หลายรางวัล และประสบความสำเร็จด้านรายได้ โดยรายได้รวมทั่วโลกอยู่ที่สิบแปดล้านดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับประเทศไทย บริษัทดรีม เอกซ์เพรส (เดกซ์) นำอนิเมะนี้เข้ามาฉายในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2555 วันเดียว และ ณ กรุงเทพมหานครแห่งเดียว นับเป็นอนิเมะโรงเรื่องที่ห้าที่บริษัทนี้เผยแพร่ในราชอาณาจักร ต่อมา ได้ผลิตเป็นบลูเรย์และดีวีดีขายตั้งแต่เดือนเมษายน ปีนั้น[4]
เนื้อเรื่อง
[แก้]ณ เวลาที่เรื่องดำเนินไปนั้น สังคมโลกทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนต่างพึ่งพาอาศัยระบบอินเทอร์เน็ตที่เรียก "อ็อซ" (OZ) เป็นอันมาก ครั้งนั้น เค็นจิ โคอิโสะ อายุสิบเจ็ดปี เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีพรสวรรค์ด้านคณิตศาสตร์เกือบจะเป็นตัวแทนแข่งขันโอลิมปิกของประเทศญี่ปุ่น และทำงานนอกเวลาเป็นผู้ดูแลระบบอ็อซดังกล่าวพร้อมกับทาคาชิ ซาคุมะ เพื่อนสนิทของเขา
วันหนึ่ง นัตสึกิ ชิโนะฮาระ หญิงสาวอายุสิบแปดปี ซึ่งเป็นนักเรียนรุ่นพี่ของเค็นจิ ชักชวนให้เขาไปร่วมงานเลี้ยงฉลองวันครบรอบวันเกิดปีที่เก้าสิบของซากาเอะ จินโนะอุจิ ย่าทวดของเธอ โดยว่า ให้ถือเป็นการจ้างทำงานพิเศษ เค็นจิซึ่งหลงรักเธออยู่แล้วจึงรับคำ และพร้อมกันเดินทางไปยังที่พำนักของนางซากาเอะ ณ ชานเมืองอุเอะดะ จังหวัดนะงะโนะ เมื่อถึงแล้ว เขาพบว่า บ้านตระกูลจินโนะอุจิเป็นหมู่คฤหาสน์เก่าแก่ใหญ่โต ตั้งอยู่บนเขาทั้งลูกซึ่งเป็นของตระกูล และตระกูลนี้เป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของซามูไรซึ่งประจัญบานกับตระกูลโทะกุงะวะในปี 2158 จึงเป็นที่เคารพศรัทธาของคนในสังคมนับแต่นั้นจนบัดนี้ นัตสึกิแนะนำเขาต่อย่าทวดว่า เขาเป็นคนรักของเธอ และตกลงใจจะสมรสกันในไม่ช้านี้ ซึ่งทำให้เขาตกใจเป็นอันมาก แต่นัตสึกิได้ร้องขอให้เขาเออออด้วย เพราะต้องการให้ย่าทวดเบาใจเรื่องความมั่นคงในชีวิตของเธอ
ระหว่างอาศัยอยู่ ณ บ้านตระกูลจินโนะอุจิ เค็นจิได้พบสมาชิกมากหน้าหลายตาของตระกูลนี้ หนึ่งในนั้นคือ วาบิสึเกะ จินโนะอุจิ ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งนางซากาเอะเก็บมาเลี้ยงเป็นหลานตั้งแต่ยังเล็ก แต่ภายหลังได้ละทิ้งนางไปอาศัยในสหรัฐอเมริกานานกว่าสิบปี
คืนนั้น เค็นจิได้รับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ส่งรหัสคณิตศาสตร์มาให้ทางโทรศัพท์มือถือ เขาจึงคำนวณจนแก้รหัสนั้นเป็นผลสำเร็จ ปรากฏว่า เขาถูกเลิฟแมชชีน (Love Machine) ปัญญาประดิษฐ์ตัวหนึ่งซึ่งอาศัยในระบบอ๊อซ ล่อลวงให้เผยรหัสผ่านสำหรับผู้ดูแลระบบอ๊อซของเขา เลิฟแมชชีนอาศัยชื่อบัญชีและอวตารของเขาเข้าสู่ระบบอ๊อซเพื่อบ่อนทำลาย ทำให้เจ้าพนักงานออกหมายจับเขาเป็นข่าวเกรียวกราว เค็นจิ ทาคาชิ และคาซึมะ อิเคซาว่า เด็กชายวัยสิบเก้าปีซึ่งเป็นญาติของนัตสึกิและเป็นสมาชิกระบบอ๊อซเช่นกันโดยใช้อวตารนามว่า คิงคาซม่า[5] (King Kazma) จึงพร้อมกันเผชิญหน้ากับเลิฟแมชชีน แต่หาอาจเอาชนะได้ไม่ เลิฟแมชชีนก่อกวนระบบต่อไปโดยอาศัยชื่อบัญชีของผู้อื่นที่ตนลักมา จนสร้างความเสียหายเป็นวงกว้างในโลกจริง ทั้งการประปา การคมนาคม การสื่อสาร และการไฟฟ้า เป็นต้น ขณะนั้น โชตะ จินโนะอุจิ ญาติของนัตสึกิซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ มาพบเค็นจิ จึงแสดงตัวเข้าจับกุมและนำพาเขาไปยังสถานีตำรวจ แต่เพราะการจราจรยุ่งเหยิงอยู่ โชตะจึงจำต้องพาเขากลับคฤหาสน์ตระกูลจินโจะอุชิดังเดิม
นางซากาเอะทราบเรื่องแล้วเห็นว่า สถานการณ์เป็นประหนึ่งสงคราม จึงอาศัยเส้นสายที่นางมีอยู่กับบุคคลสำคัญต่าง ๆ ในวงสังคม เป็นต้นว่า รัฐมนตรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เจ้าพนักงานหน่วยฉุกเฉินต่าง ๆ ทั้งในฐานะที่นางเป็นครูบาอาจารย์และเป็นญาติของพวกเขา และในฐานะที่ตระกูลนางเคยเป็นมูลนายของตระกูลพวกเขา สั่งการและกระตุ้นให้เขาเหล่านั้นทำหน้าที่อย่างแข็งขันที่สุดเพื่อป้องกันมนุษยชาติจากมหันตภัยครั้งนี้ เวลานั้น นางพบว่า เป็นวาบิสึเกะเองที่สร้างปัญญาประดิษฐ์เลิฟแมชชีนขึ้น นางเห็นว่า เป็นการทรยศต่อความไว้เนื้อเชื่อใจที่สังคมมีให้แก่ตระกูล ทั้งคู่มีปากเสียงกัน และวาบิสึเกะหนีออกคฤหาสน์ไปอีกครั้ง คืนนั้น นางซากาเอะชวนเค็นจิเล่นไพ่โคะอิโคะอิ (Koi-Koi) และบอกเขาว่า นางทราบดีว่าเขามิใช่คนรักของนัตสึกิ แต่ก็เห็นว่า เขามีความจริงใจและรับผิดชอบเพียงพอที่จะดูแลนัตสึกิได้ จึงฝากฝังนัตสึกิไว้กับเขา เช้ารุ่งขึ้น นางซากาเอะสิ้นลม เพราะเลิฟแมชชีนทำลายระบบซึ่งแพทย์ใช้ควบคุมการทำงานของหัวใจนาง มันซะกุ จินโนะอุจิ บุตรสุดท้องของนาง เผยว่า มารดามีอาการปวดเค้นหัวใจ (angina pectoris) และแพทย์ได้พึ่งพาระบบดังกล่าวเพื่อบำบัดรักษา
เหล่าชายชาวจินโนะอุจิตกลงร่วมกับเค็นจิสยบเลิฟแมชชีน ฝ่ายนัตสึกิและคนอื่น ๆ นั้นเตรียมงานศพนางซากาเอะ ตระกูลจินโนะอุจิวางแผนจัดการกับเลิฟแมชชีนโดยใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของตระกูล แต่เนื่องจากเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดยักษ์ จึงต้องอาศัยน้ำแข็งจำนวนมากทำความเย็นให้ ระหว่างที่ตระกูลจินโนะอุจิสามารถจับกุมเลิฟแมชชีนได้นั้น โชตะขนน้ำแข็งออกไปแช่ร่างของนางซากาเอะ เป็นเหตุให้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ร้อนขึ้นจนทำงานผิดปรกติ เลิฟแมชชีนพ้นจากพันธนาการ และบังคับวิถีดาวเทียมอะระวะชิ (Arawashi) ให้มุ่งสู่เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์บนพื้นโลก เวลานั้นเอง นัตสึกิพบพินัยกรรมของนางซากาเอะ จึงติดตามวาบิสึเกะกลับบ้านเป็นผลสำเร็จ มาริโกะ จินโนะอุจิ ธิดาคนโตของนางซากาเอะซึ่งสืบทอดหน้าที่ดูแลตระกูลต่อ เรียกประชุมและอ่านพินัยกรรมต่อหน้าคนทั้งปวง นางซากาเอะว่า อย่าได้ตื่นตระหนกกับความตาย นางไม่มีสมบัติอันใดจะให้เป��นแก่นสาร แต่ขอให้ทุกคนใช้ชีวิตและทำหน้าที่อย่างดีที่สุด นางหวังว่า วาบิสึเกะจะกลับบ้านบ้าง ถ้าเขากลับมาสักวันก็ให้ชวนรับประทานอาหารพร้อมหน้ากัน และไม่ว่าเผชิญความทุกข์ใจหรือกายประการใดก็ขอให้คงล้อมวงรับประทานอาหารกันฉันครอบครัว เพราะความเลวร้ายที่สุดในโลกนี้ คือ ความหิว และความอ้างว้าง วาบิสึเกะได้ฟังพินัยกรรมแล้วก็เข้าใจได้ว่า ย่ารักและให้อภัยตนเสมอ จึงร่วมมือกับคนอื่น ๆ กำราบเลิฟแมชชีน
เมื่อพบว่า เลิฟแมชชีนเห็นทุกสิ่งเป็นการละเล่น ตระกูลจินโนะอุจิจึงท้าทายให้เลิฟแมชชีนแข่งไพ่โคะอิโคะอิด้วยกัน แลกกับบัญชีผู้ใช้ที่เลิฟแมชชีนขโมยไป นัตสึกิลงแข่งและชนะเลิฟแมชชีนหลายรอบ แต่ในรอบหลังไขว้เขวจึงเสียแต้มเกือบสิ้น ผู้ใช้คนอื่น ๆ ทั่วโลกที่ได้รับบัญชีคืนแล้วจึงเข้าสู่ระบบอ๊อซและลงพนันข้างนัตสึกิ ทำให้เธอได้รับพลังใจจนเล่นไพ่ชนะเลิฟแมชชีน และเพื่อให้เลิฟแมชชีนสละการควบคุมดาวเทียมอะระวะชิ คิงคาซม่าเบี่ยงเบนความสนใจของเลิฟแมนชีน ขณะที่นัตสึกิพร้อมด้วยสมาชิกคนอื่น ๆ ของตระกูลช่วยกันปลดระบบป้องกันตนของเลิฟแมชชีน และทำลายองค์ของปัญญาประดิษฐ์เลิฟแมชชีนได้อย่างราบคาบ ฝ่ายเค็นจินั้นทะลวงเข้าระบบควบคุมดาวเทียมและผันวิถีไปทางอื่นที่ไม่ก่อความเสียหายแก่โลก ดาวเทียมอะระวะชิตกกระทบผิวโลกหน้าคฤหาสน์ตระกูลจินโนะอุจิแทน และยังให้ซุ้มประตูเข้าสู่คฤหาสน์ถึงแก่ความพินาศโดยสิ้นเชิง
ตระกูลจินโนะอุจิจัดงานฉลองชัยชนะและวันครบรอบวันเกิดของนางซากาเอะพร้อม ๆ กับพิธีศพของนาง มีแขกเหรื่อมาเป็นอันมาก ในโอกาสนี้ นัตสึกิจุมพิตเค็นจิหลังจากทั้งคู่บอกรักกัน คนทั้งสองจึงกลายเป็นคู่รักกันจริง ๆ
ผังครอบครัว
[แก้]คาสึโอะ ชิโนะฮาระ (55) | |||||||||||||||||||||||||||||
นัตสึกิ ชิโนะฮาระ (18) | |||||||||||||||||||||||||||||
มันโซ จินโนะอุจิ 陣内 万蔵 | ยูกิโกะ ชิโนะฮาระ (47) | ||||||||||||||||||||||||||||
ริกะ จินโนะอุจิ (42) | |||||||||||||||||||||||||||||
มาริโกะ จินโนะอุจิ (71) | |||||||||||||||||||||||||||||
ริอิจิ จินโนะอุจิ (41) | |||||||||||||||||||||||||||||
ทาสึเกะ จินโนะอุจิ (45) | โชตะ จินโนะอุจิ (21) | ||||||||||||||||||||||||||||
มันซุเกะ จินโนะอุจิ (70) | นาโอมิ มิวะ (42) | ||||||||||||||||||||||||||||
ซากาเอะ จินโนะอุจิ (89) | คิโยมิ อิเคซาว่า (39) | คาซึมะ อิเคซาว่า (13) | |||||||||||||||||||||||||||
โยริฮิโกะ จินโนะอุจิ (45) | มาโอะ จินโนะอุจิ (9) | ||||||||||||||||||||||||||||
โนริโกะ จินโนะอุจิ (37) | ชินโกะ จินโนะอุจิ (6) | ||||||||||||||||||||||||||||
มันซากุ จินโนะอุจิ (68) | คุนิฮิโกะ จินโนะอุจิ (42) | ||||||||||||||||||||||||||||
คานะ จินโนะอุจิ (2) | |||||||||||||||||||||||||||||
นานะ จินโนะอุจิ (32) | |||||||||||||||||||||||||||||
คัตสึฮิโกะ จินโนะอุจิ (40) | เรียวเฮย์ จินโนะอุจิ (17) | ||||||||||||||||||||||||||||
โทะกุเอะ จินโนะอุจิ 陣内 徳衛 | วาบิสึเกะ จินโนะอุจิ (41) | ยูเฮย์ จินโนะอุจิ (7) | |||||||||||||||||||||||||||
ยูมิ จินโนะอุจิ (38) | เคียวเฮย์ จินโนะอุจิ (0) | ||||||||||||||||||||||||||||
ตัวละคร
[แก้]ชื่อ | พากย์ | ||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ญี่ปุ่น[6] | อังกฤษ[7] | ไทย | |||||||||||||||||||||||||||
|
|
|
ภัทรวุฒิ สมุทรนาวี | ||||||||||||||||||||||||||
ชายหนุ่มวัยสิบเจ็ดปี มีอุปนิสัยขี้อาย เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีพรสวรรค์ด้านคณิตศาสตร์ เขาและทาคาชิ ซาคุมะ เพื่อนสนิท เป็นผู้ดูแลระบบอ๊อซ หรือโลกออนไลน์เสมือนจริงที่ใช้สนองความต้องการด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ รวมถึงใช้จัดทำบริการสาธารณะในโลกจริง เขาได้รับการร้องขอจากนัตสึกิ ชิโนะฮาระ รุ่นพี่ ให้ไปร่วมงานวันคล้ายวันเกิดของย่าทวด และได้แก้รหัสคณิตศาสตร์ที่มีผู้ส่งมาให้กลางดึก ซึ่งกลับกลายเป็นการเปิดช่องให้ระบบอ๊อซถูกรุกราน เขาจึงต้องสงสัยเป็นรายแรก | |||||||||||||||||||||||||||||
|
|
|
วิภาดา จตุยศพร | ||||||||||||||||||||||||||
หญิงสาววัยสิบแปดปี มีบุคลิกลักษณะเปิดเผย ร่าเริง และมีพลังงานมาก เธอเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเดียวกับเค็นจิ และได้ร้องขอให้เค็นจิไปร่วมงานวันคล้ายวันเกิดปีที่เก้าสิบของย่าทวดของเธอ โดยกล่าวว่า เป็นการจ้างให้ไปช่วยเตรียมงาน แต่เมื่อเค็นจิไปถึงแล้ว เธอกลับอ้างต่อคนทั้งหลายว่า เขากับเธอหมั้นหมายกันแล้ว ด้วยหวังจะให้ย่าทวดคลายกังวลเรื่องความมั่นคงของชีวิตเธอในอนาคต | |||||||||||||||||||||||||||||
|
|
|
ศันสนีย์ ติณห์กีรดีศ | ||||||||||||||||||||||||||
เด็กชายวัยสิบสามปี เป็นญาติของนัตสึกิ และเป็นสมาชิกคนหนึ่งในระบบอ็อซ ใช้อวตารนามว่า คิงคาซม่า ซึ่งมีชื่อเสียงเพราะได้ชนะเกมทั้งหลายในระบบมาแล้ว ญาติ ๆ เรียกเขาว่า ฮิกิโกะโมะริ (hikikomori) เพราะเขามักหมกตัวอยู่กับคอมพิวเตอร์ในห้องโดยลำพังทั้งวัน เมื่อออกห้องก็มักฝึกกังฟูฉบับวัดเส้าหลินกับมันซุเกะ จินโนะอุจิ ปู่ของเขา | |||||||||||||||||||||||||||||
|
|
|
อรุณี นันทิวาส | ||||||||||||||||||||||||||
สตรีวัยแปดสิบเก้าปี เป็นย่าทวดของนัตสึกิ และเป็นหัวหน้าตระกูลจินโนะอุจิซึ่งเป็นตระกูลขุนศึกแต่โบราณ แม้วัยร่วงโรย นางก็คงเป็นหัวใจของบ้าน และคอยธำรงความรักใคร่กลมเกลียวของวงศ์วานเสมอมา เพราะสืบเชื้อสายขุนนางและเป็นครูบาอาจารย์มาก่อน นางจึงมีความสนิทชิดเชื้อกับผู้ใหญ่นายโตจำนวนมากในสังคม | |||||||||||||||||||||||||||||
|
|
|
ธนกฤต เจนคลองธรรม | ||||||||||||||||||||||||||
ชายวัยสี่สิบเอ็ดปี เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ และเป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon University) นางซากาเอะเก็บเขามาเลี้ยง���ป็นหลานตั้งแต่เขายังเล็ก เมื่อเจอกันครั้งแรก นางจูงมือเขาเดินไปตามชายทุ่งแล้วบอกเขาว่า จากนี้ไปจะเป็นครอบครัวกันแล้ว เขาไม่พูดจาตอบนางแม้สักน้อย แต่ก็กำมือนางไว้แน่นไม่ปล่อย ภายหลังนางเขียนในพินัยกรรมว่า เวลานั้น นางก็ให้รู้สึกว่าจะไม่ปล่อยมือเขาเช่นกัน เพราะครอบครัวย่อมไม่ปล่อยปละละทิ้งกัน ซึ่งทำให้วาบิสึเกะรู้สึกผิดที่หนีย่าไปอยู่สหรัฐอเมริกาหลายสิบปี | |||||||||||||||||||||||||||||
|
|
|
อิทธิพล มามีเกตุ | ||||||||||||||||||||||||||
ชายหนุ่มวัยสิบเจ็ดปี เป็นเพื่อนสนิทของเค็นจิ และเป็นผู้ดูแลระบบอ็อซเช่นเดียวกัน | |||||||||||||||||||||||||||||
|
|
|
ศันสนีย์ ติณห์กีรดีศ | ||||||||||||||||||||||||||
หญิงวัยสี่สิบเจ็ดปี เป็นมารดาของนัตสึกิ | |||||||||||||||||||||||||||||
|
|
|
มนูญ เรืองเชื้อเหมือน | ||||||||||||||||||||||||||
ชายวัยห้าสิบห้าปี เป็นบิดาของนัตสึกิ และเป็นผู้ว่าการประปา | |||||||||||||||||||||||||||||
|
|
|
ศันสนีย์ ติณห์กีรดีศ | ||||||||||||||||||||||||||
หญิงวัยเจ็ดสิบเอ็ดปี เป็นบุตรของนางซากาเอะ และเป็นแม่บ้าน | |||||||||||||||||||||||||||||
|
|
|
ธนกฤต เจนคลองธรรม | ||||||||||||||||||||||||||
ชายวัยสี่สิบเอ็ดปี เป็นบุตรของนางมาริโกะ เป็นเจ้าพนักงานสังกัดกองกำลังป้องกันตนภาคพื้นดินแห่งญี่ปุ่น (Japan Ground Self-Defense Force) และประจำการอยู่ที่ค่ายอิชิงะยะ (Camp Ichigaya) | |||||||||||||||||||||||||||||
|
|
|
อรุณี นันทิวาส | ||||||||||||||||||||||||||
หญิงวัยสี่สิบสองปี เป็นบุตรของนางมาริโกะ และเป็นพนักงานเทศบาลเมืองอุเอะดะ | |||||||||||||||||||||||||||||
|
|
|
ไกวัล วัฒนไกร | ||||||||||||||||||||||||||
ชายวัยเจ็ดสิบปี เป็นบุตรคนกลางของนางซากาเอะ ทำประมง และเป็นเจ้าของตลาดค้าปลา มีความสามารถด้านศิลปะการต่อสู้ที่เรียก โชรินจิเค็มโป (shōrinji-kenpō) และมักถ่ายทอดศิลปะนี้ให้คาซึมะผู้เป็นหลาน | |||||||||||||||||||||||||||||
|
|
|
มนูญ เรืองเชื้อเหมือน | ||||||||||||||||||||||||||
ชายวัยสี่สิบปี เป็นบุตรของมันซุเกะ และเป็นเจ้าของห้างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ | |||||||||||||||||||||||||||||
|
|
|
อิทธิพล มามีเกตุ | ||||||||||||||||||||||||||
ชายวัยยี่สิบเอ็ดปี เป็นบุตรของทาสึเกะ และเป็นตำรวจ | |||||||||||||||||||||||||||||
|
|
|
วิภาดา จตุยศพร | ||||||||||||||||||||||||||
หญิงวัยสี่สิบสองปี เป็นบุตรของมันซุเกะ เธอสมรสแล้ว แต่ชีวิตรักไม่ราบรื่น ภายหลังจึงหย่ากับสามี | |||||||||||||||||||||||||||||
|
|
|
อรุณี นันทิวาส | ||||||||||||||||||||||||||
หญิงวัยสามสิบเก้าปี เป็นบุตรของมันซุเกะ และเป็นมารดาของคาซึมะ เธอเป็นนักสังคมสงเคราะห์ ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในจังหวัดนะโงะยะ ตลอดเรื่องจะเห็นว่าเธอตั้งครรภ์น้องสาวของคาซึมะ | |||||||||||||||||||||||||||||
|
|
|
มนูญ เรืองเชื้อเหมือน | ||||||||||||||||||||||||||
ชายวัยหกสิบแปดปี เป็นบุตรสุดท้องของนางซากาเอะ คอยปรนนิบัติมารดาอยู่มิได้ขาด | |||||||||||||||||||||||||||||
|
|
|
ภัทรวุฒิ สมุทรนาวี | ||||||||||||||||||||||||||
ชายวัยสี่สิบห้าปี เป็นบุตรคนแรกของมันซะกุ และเป็นเจ้าพนักงานการแพทย์ฉุกเฉินสังกัดกรมป้องกันอัคคีภัยประจำเมืองมะสึโมะโตะ จังหวัดนะงะโนะ | |||||||||||||||||||||||||||||
|
|
|
อิทธิพล มามีเกตุ | ||||||||||||||||||||||||||
ชายวัยสี่สิบสองปี เป็นบุตรคนรองของมันซะกุ และเป็นนักผจญเพลิง สังกัดกรมป้องกันอัคคีภัยประจำเมืองซุวะ จังหวัดนะงะโนะ | |||||||||||||||||||||||||||||
|
|
|
ไกวัล วัฒนไกร | ||||||||||||||||||||||||||
ชายวัยสี่สิบปี เป็นบุตรคนท้ายของมันซะกุ และเป็นเจ้าพนักงานสังกัดกรมป้องกันอัคคีภัยประจำเมืองอุเอะดะ จังหวัดนะงะโนะ แต่ได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการที่หน่วยกู้ภัยแทน | |||||||||||||||||||||||||||||
|
|
|
ศันสนีย์ ติณห์กีรดีศ | ||||||||||||||||||||||||||
หญิงวัยสามสิบเจ็ดปี เป็นภริยาของโยริฮิโกะ | |||||||||||||||||||||||||||||
|
|
|
วิภาดา จตุยศพร | ||||||||||||||||||||||||||
หญิงวัยสามสิบแปดปี เป็นภริยาของคุนิฮิโกะ | |||||||||||||||||||||||||||||
|
|
|
อรุณี นันทิวาส | ||||||||||||||||||||||||||
หญิงวัยสามสิบแปดปี เป็นภริยาของคัตสึฮิโกะ | |||||||||||||||||||||||||||||
|
|
|
ธนกฤต เจนคลองธรรม | ||||||||||||||||||||||||||
ชายวัยสิบเจ็ดปี เป็นบุตรคนแรกของคัตสึฮิโกะ และเป็นนักกีฬาเบสบอลของโรงเรียน | |||||||||||||||||||||||||||||
|
|
|
อรุณี นันทิวาส | ||||||||||||||||||||||||||
ชายวัยเจ็ดปี เป็นบุตรคนกลางของคัตสึฮิโกะ | |||||||||||||||||||||||||||||
|
|
|
ศันสนีย์ ติณห์กีรดีศ | ||||||||||||||||||||||||||
ชายวัยหกปี เป็นบุตรของโยริฮิโกะ | |||||||||||||||||||||||||||||
|
|
|
วิภาดา จตุยศพร | ||||||||||||||||||||||||||
หญิงวัยสี่ปี เป็นบุตรของโยริฮิโกะ | |||||||||||||||||||||||||||||
|
|
|
วิภาดา จตุยศพร | ||||||||||||||||||||||||||
หญิงวัยสองปี เป็นบุตรของคุนิฮิโกะ | |||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||
ทารกชายซึ่งเป็นบุตรของคัตสึฮิโกะ | |||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||
สุนัขของนางซากาเอะ | |||||||||||||||||||||||||||||
หมายเหตุ: = ไม่พูด |
การผลิต
[แก้]ปราสาทอุเอะดะ (Ueda Castle) แห่งเมืองอุเอะดะ จังหวัดนะงะโนะ เมื่อมองจากหน้าบันตะวันตก (บน) ซึ่งใช้เป็นฉากหมู่คฤหาสน์ของตระกูลจินโนะอุจิในเรื่อง (ล่าง) |
หลังจากที่ กระโดดจั๊มพ์ทะลุข้ามเวลา ประสบความสำเร็จอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งความสำเร็จเชิงพาณิชย์และเชิงวิพากษ์ จึงมีการเสนอให้บริษัทแม็ดเฮาส์ผลิตอนิเมะโรงอีกเรื่อง[11] โดยโฮะโซะดะ ผู้กำกับ กำหนดให้เป็นเรื่องสำหรับทั้งผู้มีครอบครัวและผู้ไม่มีครอบครัว[3][11]
โครงการผลิต ซัมเมอร์ วอร์ส นั้นตั้งต้นขึ้นในปี 2549 ต่อมา จึงประกาศความคืบหน้าในเทศกาลอนิเมะนานาชาติโตเกียว (Tokyo International Anime Fair) ประจำปี 2551[12] ครั้นชุมนุมโอตาคอน (Otakon) ในปีถัดมา มะซะโอะ มะรุยะมะ (Masao Maruyama) ประธานแม็ดเฮาส์ แถลงว่า ครั้งหนึ่งที่สนทนากัน โฮะโซะดะกำชับเขาว่า ตัวละครหลักของอนิเมะเรื่องนี้ต้องเป็นสมาชิกจำนวนแปดสิบคนของตระกูลตระกูลหนึ่ง เขาจึงตีฝีปากกลับว่า เรื่องหน้าขอตัวละครหลักสองตัวก็พอ[13]
ฉากหลักของเรื่องนั้น เลือกใช้เมืองอุเอะดะ จังหวัดนะงะโนะ เพราะเมืองนี้เคยอยู่ในความปกครองของตระกูลซะนะดะ (Sanada clan) ซึ่งเป็นตระกูลที่นำมาเป็นต้นแบบตระกูลจินโนะอุจิ กับทั้งเมืองนี้ยังอยู่ติดเมืองโทะยะมะ จังหวัดโทะยะมะ บ้านเกิดของโฮะโซะดะด้วย[11]
ส่วนอ็อซ โลกออนไลน์เสมือนจริงนั้น โฮะโซะดะเอานามห้างสรรพสินค้า "อ็อซ" (OZ) ที่เขาเคยไปสมัยทำงานอยู่กับบริษัทโทเอแอนิเมชัน (Toei Animation) มาตั้ง[11] เขายังว่า ในการกำหนดรายละเอียดระบบอ็อซ เว็บไซต์มิกุชี (mixi) เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่นและเขาเคยเป็นสมาชิก มีอิทธิพลต่อเขาเป็นอันมาก ส่วนสีสันและรูปลักษณ์ของระบบนั้น เขาได้แรงบันดาลใจมาจากเกมนินเทนโด (Nintendo)[14] เขากล่าวเสริมว่า แม้เขานิยมชมชอบศิลปกรรมของทาคาชิ มุระกะมิ (Takashi Murakami) ซึ่งขึ้นชื่อว่า "วิบวับและลายพร้อยจนหลอนประสาท" แต่เขาพอใจออกแบบให้ระบบอ็อซมี "ลักษณะสะอาดปราศจากความรกรุงรัง" มากกว่า นอกจากนี้ ระหว่างผลิตอนิเมะ เขาได้ท่องเที่ยวไปในเทศกาลภาพยนตร์หลายแห่ง ทั้งได้ไปมาหาสู่ครอบครัวของหญิงสาวซึ่งต่อมาได��หมั้นหมายและครองรักกัน เขาจึงนำประสบการณ์จากเทศกาลเหล่านั้น ตลอดจนความทรงจำจากครอบครัวดังกล่าวและชีวิตสมรส มาเป็นพื้นเรื่องอนิเมะ[11][14][15]
นอกจากโฮะโซะดะแล้ว ผู้ร่วมโครงการนี้ยังได้แก่ โอะกุเดะระ เขียนบท และโยะชิยุกิ ซะดะโมะโตะ (Yoshiyuki Sadamoto) ออกแบบตัวละคร คนทั้งสองนี้เคยร่วมงานกับโฮะโซะดะในเรื่อง กระโดดจั๊มพ์ทะลุข้ามเวลา มาก่อน[16] ซะดะโมะโตะนั้นใช้อากัปกิริยาของยุซะกุ มะสึดะ (Yusaku Matsuda) นักแสดงผู้ล่วงลับแล้ว มาเป็นต้นแบบตัวละครวาบิสึเกะ[11]
อนึ่ง ยังมีฮิโระยุกิ อะโอะยะมะ (Hiroyuki Aoyama) กำกับการเคลื่อนไหวของตัวละครในฉากโลกจริง และทะสึโซะ นิชิดะ (Tatsuzo Nishida) กำกับการเคลื่อนไหวทางต่อสู้ประจัญบานในฉากโลกออนไลน์[3][14] ทั้งคู่ทำงานโดยใช้ความสามารถพิเศษของแอนิเมชันดั้งเดิมและคอมพิวเตอร์แอนิเมชันประสมกัน[11] ขณะที่ห้องศิลป์ดิจิทัลฟรอนเทียร์ (Digital Frontier) รับหน้าที่สร้างสรรค์องค์ประกอบระบบอ็อซและอวตารในระบบ[14] และทะเกะชิเงะ อดีตสมาชิกสตูดิโอจิบลิ (Studio Ghibli) คอยกำกับฝ่ายศิลป์โดยรวม[16] นอกจากหน้าที่นี้แล้ว ทะเกะชิเงะยังได้รับมอบหมายจากโฮะโซะดะขณะเยือนเมืองอุเอะดะให้ร่างภาพอาคารบ้านเรือนญี่ปุ่นดั้งเดิมสำหรับใช้ในเรื่องด้วย[14]
อนึ่ง ในอนิเมะ จะได้เห็นยานอวกาศญี่ปุ่นนามว่า "ฮะยะบุซะ" (Hayabusa) ซึ่งมีศูนย์ควบคุมอยู่แถวเมืองซะกุ จังหวัดนะงะโนะ โฮะโซะดะให้เพิ่มยานอวกาศลำนี้เข้าไปเพราะเขามีใจสนับสนุนกิจการของรัฐในการสำรวจอวกาศ[3]
เพลง
[แก้]เพลงประกอบอนิเมะ
[แก้]
| |
---|---|
ซาวด์แทร็กอัลบั้มโดย อะกิฮิโตะ มะสึโมะโตะ (Akihiko Matsumoto) | |
วางตลาด | 9 กรกฎาคม 2552 |
บันทึกเสียง | 2552 |
ความยาว | 49:07 นาที |
ค่ายเพลง | แว็ป (VAP) |
อะกิฮิโกะ มะสึโมะโตะ (Akihiko Matsumoto) ประพันธ์เพลงประกอบอนิเมะเรื่องนี้ทุกเพลง ต่อมา บริษัทแว็ป (VAP) ทำเป็นอัลบัมชื่อ "'ซัมเมอร์ วอร์ส' ออริจินัลซาวด์แทร็ก" (「サマーウォーズ」 オリジナル・サウンドトラック, "Summer Wars Original Soundtrack") ออกวางขายตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2552 อัลบัมนี้ได้ขึ้นผังดนตรีของออริคอน (Oricon) ว่าขายดีเป็นอันดับที่หนึ่งร้อยสิบสองตลอดระยะเวลาสี่สัปดาห์แรกด้วย[17]
ลำดับ | ชื่อเพลง | ศิลปิน | ยาว |
---|---|---|---|
1. | "คะโซโทะชิอ็อซ ('อ็อซ นครเสมือน') 仮想都市OZ, Kasō Toshi Ozu OZ, the Virtual City" | อะกิฮิโกะ มะสึโมะโตะ | 2:53 |
2. | "โอเวอร์เชอร์อ็อฟเดอะซัมเมอร์วอส์ ('โหมโรงศึกหน้าร้อน') Overture of the Summer Wars" | " | 4:41 |
3. | "จินโนะอุชิเกะ ('ตระกูลจินโนะอุจิ') 陣内家, Jinnouchi-ke The Jinnouchi Family" | " | 1:39 |
4. | "วะบิซุเกะ 侘助, Wabisuke" | " | 1:18 |
5. | "2056 2056" | " | 1:06 |
6. | "��ุไกฮัง ('อิ่มใจจึงเป็นโทษ') 愉快犯, Yukaihan Crime for Pleasure" | " | 5:19 |
7. | "คิงคาซม่า King Kazma" | " | 3:07 |
8. | "เค็นจิ 健二, Kenji" | " | 1:02 |
9. | "ซะกะเอะโนะคะสึยะกุ ('ซากาเอะออกโรง') 栄の活躍, Sakae no Katsuyaku Sakae in Action" | " | 3:09 |
10. | "จินโนะอุชิเกะโนะดังเกะสึ ('ตระกูลจินโนะอุจิรวมใจ') 陣内家の団結, Jinnouchi-ke no Danketsu Solidarity of the Jinnouchi Family" | " | 5:38 |
11. | "เซนโตฟุตะตะบิ ('สู้ศึกอีกครา') 戦闘ふたたび, Sentō Futatabi Battle Again" | " | 3:29 |
12. | "โฮไก ('พ่าย') 崩壊, Hōkai Collapse" | " | 1:42 |
13. | "เทะงะมิ ('จดหมาย') 手紙, Tegami Letter" | " | 3:30 |
14. | "มินนะโนะยูกิ ('ทุกคนฮึดสู้') みんなの勇気, Minna no Yūki Everyone's Courage" | " | 1:34 |
15. | "อิชิโอะกุโกะเซ็นมังโนะคิเซะกิ ('ปาฏิหาริย์ร้อยห้าสิบล้านหน') 1億5千万の奇跡, Ichi Oku Go Senman no Kiseki 150 Million Miracles" | " | 3:34 |
16. | "ไซโงะโนะคิกิ ('วิกฤติสุดท้าย') 最後の危機, Saigo no Kiki The Final Crisis" | " | 1:14 |
17. | "เดอะซัมเมอร์วอส์ ('การศึกหน้าร้อน') The Summer Wars" | " | 1:53 |
18. | "แฮปปีเอ็นด์ ('จบอย่างสวยงาม') Happy End" | " | 2:17 |
ความยาวทั้งหมด: | 49:07 |
โบะกุระโนะนะสึโนะยุเมะ
[แก้]
| |
---|---|
ซาวด์แทร็กอัลบั้มโดย ทะสึโร ยะมะชิตะ (Tatsurō Yamashita) | |
วางตลาด | 19 สิงหาคม 2552 |
บันทึกเสียง | 2552 |
ความยาว | 25:34 นาที |
ค่ายเพลง | วอร์เนอร์มิวสิกญี่ปุ่น (Warner Music Japan) |
ทะสึโร ยะมะชิตะ (Tatsurō Yamashita) เขียนและขับร้องเพลงหลักของอนิเมะนี้ คือ เพลง "โบะกุระโนะนะสึโนะยุเมะ" (僕らの夏の夢) แปลว่า "ความฝันของเราในหน้าร้อน" (Our Summer Dream) ต่อมา วอร์เนอร์มิวสิกญี่ปุ่น (Warner Music Japan) ทำเป็นแม็กซีซิงเกิลขายตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2552 และได้ขึ้นผังออริคอนว่า ขายดีเป็นอันดับที่แปด[18]
ซิงเกิลนี้ประกอบด้วยเพลง "โบะกุระโนะนะสึโนะยุเมะ" ดังกล่าว และเพลงแถมอีกสองเพลงซึ่งแต่งและร้องโดยยะมะชิตะเหมือนกันแต่ไม่เกี่ยวข้องกับอนิเมะ ในจำนวนเพลงแถมนี้ เพลงหนึ่งอัดจากการแสดงสดของยะมะชิตะ
ลำดับ | ชื่อเพลง | ศิลปิน | ยาว |
---|---|---|---|
1. | "โบะกุระโนะนะสึโนะยุเมะ ('ความฝันของเราในหน้าร้อน') 僕らの夏の夢, Bokura no Natsu no Yume Our Summer Dream" | ทะสึโร ยะมะชิตะ | 5:08 |
2. | "มิวส์ ('ครุ่นคำนึง') ミューズ, Myūzu Muse" | " | 4:29 |
3. | "อะตอมโนะโกะ (ฉบับร้องสด) ('เกิดจากอะตอม' (ฉบับร้องสด)) アトムの子 Live Version, Atomu no Ko Live Version Atom's Children (Live Version)" | " | 6:26 |
4. | "โบะกุระโนะนะสึโนะยุเมะ (คาราโอเกะต้นฉบับ) (僕らの夏の夢 オリジナル・カラオケ, Bokura no Natsu no Yume Orijinaru Karaoke Our Summer Dream (Original Karaoke)" | " | 5:07 |
5. | "มิวส์ (คาราโอเกะต้นฉบับ) ミューズ オリジナル・カラオケ, Myūzu Orijinaru Karaoke Muse (Original Karaoke)" | " | 4:25 |
ความยาวทั้งหมด: | 25:34 |
การตลาด
[แก้]อนิเมะ ซัมเมอร์ วอร์ส นี้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ของแม็ดเฮาส์ในอันที่จะกวาดรายได้จากโรงภาพยนตร์โดยออกอนิเมะฤดูละเรื่องจนครบสี่ฤดู ฉะนั้น เมื่อเผยแพร่ ซัมเมอร์ วอร์ส ซึ่งว่าด้วยฤดูร้อนแล้ว จึงออกอนิเมะ ไมไมมิราเคิล (マイマイ新子と千年の魔法; Mai Mai Miracle) ซึ่งว่าด้วยฤดูใบไม้ผลิ ในฤดูนั้นของปี 2552, โยะนะโยะนะเพนกวิน (よなよなペンギン; Yona Yona Penguin) ซึ่งว่าด้วยฤดูหนาว ในฤดูนั้นของปี 2552, และ เรดไลน์ (レッドライン; Redline) ซึ่งว่าด้วยฤดูฝน ในฤดูนั้นของปี 2553 ตามลำดับ[13]
ด้วยเหตุที่ กระโดดจั๊มพ์ทะลุข้ามเวลา ประสบความสำเร็จเป็นอันมาก สาธารณชนจึงตั้งความคาดหวังต่อ ซัมเมอร์ วอร์ส ไว้ค่อนข้างสูงเป็นเวลานานก่อนฉาย[13]
สำนักพิมพ์คะโดะกะวะ (Kadokawa Shoten) เผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์อนิเมะนี้ผ่านทางช่องทางการของตนบนเว็บไซต์ยูทูบ (YouTube) เพื่อกระตุ้นความสนใจทั้งในระดับท้องถิ่นและต่างประเทศ โดยวันที่ 8 เมษายน 2552 ได้เผยแพร่ตัวอย่างอนิเมะแบบคุณภาพสูงมีความยาวหนึ่งนาที[19] และวันที่ 16 มิถุนายน 2552 ได้เผยแพร่ตัวอย่างอนิเมะอีกฉบับซึ่งมีความยาวมากขึ้นเล็กน้อย[20] ต่อมา วันที่ 29 มิถุนายน 2552 ได้เผยแพร่เนื้อหาห้านาทีแรกของอนิเมะลงเว็บไซต์ยาฮู! มูวีส์ (Yahoo! Movies) ญี่ปุ่น[21] และอีกไม่กี่วันให้หลังได้เผยแพร่ภาพตัวอย่างจากอนิเมะลงช่องในยูทูบดังกล่าว[22] ในโอกาสเดียวกัน คะโดะกะวะยังเผยแพร่โฆษณาอนิเมะนี้สองฉบับลงในเว็บไซต์ต่าง ๆ โฆษณาทั้งสองฉบับเคยแพร่ภาพทางโทรทัศน์ และแต่ละฉบับมีความยาวสิบห้าวินาที[23] เมื่อสร้างกระแสความสนใจเช่นนี้แล้ว มะรุยะมะ ประธานแมดเฮาส์ จึงแสดงความมั่นอกมั่นใจว่า "ภาพยนตร์นี้คงได้รับความนิยมชมชอบพอสมควร เพราะขายตั๋วล่วงหน้าได้มากทีเดียว"[13]
ในเดือนมิถุนายน 2552 คะโดะวะกะได้เปิดตัวนิตยสารมังงะชื่อ ยังเอซ (Young Ace) ซึ่งลงตอนแรกของมังงะที่ดัดแปลงมาจากอนิเมะนี้ ใช้ชื่อเดียวกัน และเป็นผลงานของจิตรกรอิกุระ ซุงิโมะโตะ[24] ต่อมา จึงรวมตอนต่าง ๆ เข้าเป็นสองเล่มใหญ่ เล่มแรกวางขายในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2552 สิ้นสัปดาห์แรกขายได้ 51,645 ฉบับ ผังการ์ตูนของออริคอนจัดไว้ว่าขายดีเป็นอันดับที่ยี่สิบสาม[25][26] ส่วนเล่มสองนั้น วางขายตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2553 เมื่อพ้นสัปดาห์แรก ยอดขายอยู่ที่ 53,333 ฉบับ ชื่อว่าขายดีเป็นอันดับที่สิบสอง[27][28] นอกจากนี้ ซุงิโมะโตะยังทำมังงะตอนพิเศษอีกตอนหนึ่ง ดำเนินเนื้อหาคู่ขนานกับมังงะข้างต้น และลงพิมพ์ในนิตยสาร คอมป์เอซ (Comp Ace) ฉบับเดือนมิถุนายน 2553 ด้วย[29]
การเผยแพร่
[แก้]ทวีปเอเชีย
[แก้]ในประเทศญี่ปุ่น อนิเมะนี้ฉายครั้งแรก ณ โรงภาพยนตร์เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2552[22] ต่อมาวันที่ 3 มีนาคม 2553 จึงวางขายในรูปแบบดีวีดีและบลูเรย์[30][31] ในสัปดาห์แรก บลูเรย์ขายได้ห้าหมื่นสี่พันชุด นับว่าขายดีเป็นอันดับหนึ่งในประเทศ และทำลายสถิติที่อนิเมะ อีวานเกเลียน: 1.0 กำเนิดใหม่วันพิพากษา (Evangelion: 1.0 You Are (Not) Alone) สร้างเอาไว้[30][31] ทุกวันนี้ ซัมเมอร์ วอร์ส ฉบับบลูเรย์เป็นสื่อบันเทิงที่ขายดีที่สุดเป็นอันดับสองในประเทศญี่ปุ่น รองจากบลูเรย์ภาพยนตร์ ไมเคิลแจ็กสันส์ดิสอิสอิต (Michael Jackson's This Is It)[32] ทั้งยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลกลุ่มสื่อบันเทิงดิจิทัลแห่งญี่ปุ่น (Digital Entertainment Group of Japan) สาขาปฏิสัมพันธ์ยอดเยี่ยม (Best Interactivity) ด้วย แต่พลาดรางวัล[33] ส่วนฉบับดีวีดีนั้น ในสัปดาห์แรกขายได้ห้าหมื่นห้าพันสามร้อยเจ็ดสิบห้าแผ่น ชื่อว่าขายดีที่สุดในประเทศตามผังดีวีดีอนิเมะของออริคอน[34]
ในประเทศเกาหลีใต้ บริษัทซีเจเอนเตอร์เทนเมนต์ (CJ Entertainment) นำอนิเมะไปฉายตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2552[35] ในประเทศสิงคโปร์ บริษัทแคเธย์ออร์แกไนเซชัน (Cathay Organisation) นำไปฉายตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553 และในประเทศไต้หวัน บริษัทไมตีมีเดีย (Mighty Media) นำไปฉายตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2553[36]
สำหรับประเทศไทยนั้น บริษัทดรีม เอกซ์เพรส (เดกซ์) นำอนิเมะนี้เข้ามาฉายในวันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2555 วันเดียว สองรอบ คือ รอบ 13:00 นาฬิกา และรอบ 15:15 นาฬิกา ณ โรงภาพยนตร์เอสเอฟเวิลด์ซีเนม่า เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร เพียงแห่งเดียว และฉายแบบพากย์ญี่ปุ่นบรรยายไทย นับเป็นอนิเมะโรงเรื่องที่ห้าที่บริษัทนี้เผยแพร่ในราชอาณาจักร ในโอกาสเดียวกับที่เปิดให้จองตั๋ว ยังเปิดให้จองบลูเรย์และดีวีดีอนิเมะดังกล่าวด้วย สื่อทั้งสองประเภทนี้มีพากย์ญี่ปุ่น พากย์ไทย และบรรยายไทยในฉบับเดียวกัน ออกจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2555[4][37]
ทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป
[แก้]ในทวีปอเมริกาเหนือ อนิเมะนี้ฉายครั้งแรกเป็นฉบับพากย์ญี่ปุ่นบรรยายอังกฤษ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 ณ เทศกาลภาพยนตร์เด็กนานาชาตินิวยอร์ก (New York International Children's Film Festival) โดยโฮะโซะดะ ผู้กำกับ ได้ร่วมเทศกาล และเมื่อฉายเสร็จแล้ว ก็ได้พบปะสนทนากับสาธารณชนผ่านล่ามด้วย[38] ต่อมา วันที่ 1 มีนาคม 2553 โฮะโซะดะได้ร่วมรายการศึกษาสื่อบันเทิงเปรียบเทียบ (Comparative Media Studies Program) ที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซ็ตส์ (Massachusetts Institute of Technology) ซึ่งจัดฉายอนิเมะเรื่องนี้แก่สาธารณชนโดยไม่คิดค่าตอบแทน และจัดวงสนทนาระหว่างโฮะโซะดะกับสาธารณชนผู้มาชม[39] ส่วนฉบับพากย์อังกฤษนั้น ฉายหนแรกเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2553 ณ เทศกาลภาพยนตร์เด็กนานาชาตินิวยอร์ก[40] ต่อมา ในคราวชุมนุมโอตาคอนประจำปี 2553 ที่ศูนย์ภาพยนตร์เจนซิสเกล (Gene Siskel Film Center) บริษัทฟันนิเมชันเอนเตอร์เทนเมนต์ (Funimation Entertainment) ได้แถลงว่า จะเริ่มฉายอนิเมะนี้ในโรงภาพยนตร์ตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2553 เป็นต้นไป[41][42]
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554 ฟันนิเมชันเอนเตอร์เทนเมนต์ได้เริ่มเผยแพร่ดีวีดีและบลูเรย์อนิเมะนี้[43] โดยฉบับเผยแพร่ครั้งแรกนั้นแถมบัตรภาพด้วย แต่เมื่อบัตรดังกล่าวเป็นที่ต้องการมากขึ้นและมีไม่พอ ฟันนิเมชันเอนเตอร์เทนเมนต์จึงขายแผ่นก่อนแล้วตกลงว่า ภายหลังจะส่งให้ผู้ซื้อที่กรอกข้อมูลไว้บนเว็บไซต์บริษัท[44]
ในประเทศออสเตรเลีย อนิเมะนี้ฉายเป็นครั้งแรกที่เทศกาลภาพยนตร์ซิดนีย์ (Sydney Film Festival) วันที่ 14 มิถุนายน 2553 ต่อมา จึงฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมลเบิร์น (Melbourne International Film Festival) วันที่ 8 สิงหาคม 2553
ในประเทศฝรั่งเศส บริษัทยูโรซูม (Eurozoom) ได้นำอนิเมะนี้ออกฉายตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2553 และบริษัทกาเซ (Kazé) ได้เริ่มขายดีวีดีและบลูเรย์ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2553[45]
ในสหราชอาณาจักร บริษัทมังงะเอนเตอร์เทนเมนต์ (Manga Entertainment) ประกาศในเดือนมกราคม 2553 ว่า ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่อนิเมะนี้ ต่อมาในเดือนมีนาคม 2554 จึงจำหน่ายเป็นดีวีดีและบลูเรย์[46]
การตอบรับ
[แก้]การตอบสนองเชิงวิพากษ์
[แก้]นับแต่เผยแพร่ในปี 2552 เป็นต้นมา อนิเมะนี้ได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์ในทางบวกเป็นการทั่วไป เว็บไซต์รอตเทนโทเมโทส์ (Rotten Tomatoes) กล่าวว่า นักวิจารณ์ร้อยละเจ็ดสิบหกวิจารณ์อนิเมะเรื่องนี้ในทางชื่นชมสรรเสริญ และคะแนนเต็มสิบให้เจ็ด[47] ขณะที่เว็บไซต์เมตาคริติก (Metacritic) ซึ่งจัดให้มีการวิจารณ์โดยใช้เกณฑ์มาตรฐาน ระบุว่า มีนักวิจารณ์กระแสหลักสิบสองคนร่วมวิจารณ์ และให้อนิเมะนี้ได้คะแนนหกสิบจากคะแนนเต็มหนึ่งร้อย จึงจัดว่า อนิเมะนี้ "เป็นที่พึงพอใจโดยทั่วกัน"[48]
มาร์ก ชิลลิง (Mark Schilling) จากเดอะเจแปนไทมส์ (The Japan Times) เขียนบทความชื่อ "เราอาจจะได้ราชาอนิเมะคนใหม่แล้ว โฮะโซะดะก้าวพ้นจากความครอบงำของมิยะซะกิพร้อมภาพยนตร์เรื่องใหม่อันชวนอัศจรรย์ใจ" ("The future king of Japanese animation may be with us; Hosoda steps out of Miyazaki's shadow with dazzling new film") โดยวิพากษ์วิจารณ์ว่า อนิเมะนี้ "มีองค์ประกอบอันชินตา กล่าวคือ เริ่มเรื่องด้วยวีรบุรุษอ่อนวัยมีอุปนิสัยช่างประหม่าและทะเล่อทะล่า แต่ได้ใช้องค์ประกอบเช่นว่านั้นไปในวิถีทางอันแปลกใหม่ ร่วมสมัย และชวนฝันใฝ่อย่างน่าพิศวง" เขายังว่า อนิเมะได้แฝงไว้ซึ่งข้อคิดเห็นของสังคมเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่าง "โลกเสมือน" กับ "โลกแห่งเครื่องมือทางดิจิทัล" และสดุดีซะดะโมะโตะ อะโอะยะมะ กับนิชิดะที่สร้างสรรค์ "ฉากเคลื่อนไหวอันวิจิตรตระการตา อาการที่ฉากเหล่านี้เคลื่อนไหวต่อเนื่องอย่างงามเลิศเลอ และได้รับการประดิดประดอยอย่างวิเศษโดยไร้ขีดจำกัดนั้น ยังให้อนิเมะแนวไซไฟ/จินตนิมิตบ้าน ๆ กลายเป็นมีลักษณะอย่างเด็กไม่ประสีประสาขึ้นมา" ในการนี้ จากคะแนนเต็มห้า เขาให้อนิเมะนี้ห้าเต็ม[49]
กิลเลม รอสเซ็ต (Guillem Rosset) เขียนบทวิจารณ์ซึ่งทวิตช์ฟิล์ม (Twitch Film) เผยแพร่ ชื่นชมโฮะโซะดะว่าเป็น "ราชาองค์ใหม่ผู้เล่าขานเรื่องราวโดยอาศัยการทำงานภายใต้สื่อเคลื่อนไหวได้อย่างเอกอุในประเทศญี่ปุ่น และจะรวมถึงในโลกก็ได้" กับทั้งสรรเสริญอนิเมะว่า "ลงรายละเอียดได้ดีและเขียนเรื่องได้อย่างงดงาม...จึงเจริญตาน่าชมดู" และ "มากไปด้วยตัวละครกลุ่มใหญ่ซึ่งมีรายละเอียดแสนพิสดารและบริสุทธิ์" รอสเซ็ตสรุปว่า "โฮะโซะดะถ่วงดุลความต้องการสร้างความบันเทิงผ่านทัศนียภาพ กับงานสร้างตัวละครอันมากหลายและเป็นที่น่าพึงพอใจ ได้อย่างสมบูรณ์แบบ เป็นเหตุให้เขาไม่ถูกกลืนไปด้วยเหล่านักเทคนิคผู้มากฝีมือที่มีอยู่เป็นจำนวนมหึมา ส่งผลให้เขาได้เป็นนักบอกเล่าเรื่องราวผู้เป็นเลิศโดยแท้จริง"[50] รอสเซ็ตยังว่า "ข้อดีเด่นยิ่งนักข้อหนึ่งของอนิเมะนี้ คือ กลุ่มตัวละครที่เลอเลิศ" และเน้นย้ำเกี่ยวกับอ็อซ นครเสมือน ว่า "ณ นครนี้ เหล่าผู้มีจิตใจสร้างสรรค์ในบริษัทแมดเฮาส์สามารถปล่อยปละให้จินตนาการของพวกเขาโลดแล่นไปโดยมิต้องควบคุม" ส่วนในประเด็นทางวิชาการนั้น เขาว่า อนิเมะนี้เป็น "รายการโสตทัศน์ชั้นสูงสุด" และว่า "มะโมะรุ โฮะโซะดะ สมควรจะเป็นที่หนึ่งในบรรดาชาวญี่ปุ่นนักสร้างภาพเคลื่อนไหวร่วมสมัยแถวหน้าได้ และเป็นการดียิ่งนักที่ได้ตระหนักทราบว่า เมื่อถึงคราวซึ่งมิยะซะกิต้องแขวนนวม (หวังว่ามิใช่เร็ว ๆ นี้!) ก็ยังมีคนที่สามารถเจริญรอยตามเขาได้อยู่"[50]
หนังสือพิมพ์เฮรอลด์บีซีเนส (Herald Business) ของสาธารณรัฐเกาหลีมองว่า แก่นเรื่องแนวจินตนิมิตและภาพเคลื่อนไหวอันบรรเจิดของอนิเมะนี้ยังให้อนิเมะมีความแตกต่างจากผลงานของเหล่าสตูดิโอในฮอลลิวูด[35]
แพทริก ดับเบิลยู. กัลเบรธ (Patrick W. Galbraith) แห่งโอะตะกุ2.คอม (Otaku2.com) ว่า รูปลักษณ์ของอ็อซ นครเสมือนจริง มีส่วนคล้ายคลึงกับงานศิลป์ของจิตรกรมุระกะมิ ส่วนเนื้อเรื่องและตัวละครนั้น กัลเบรธว่า "ฉากเช่นครอบครัวใหญ่มาพร้อมหน้าและโอภาปราศรัยกันหลังมื้อเย็นนั้นช่างยังให้ใจชื้นและครื้นเครงดี" โดยเปรียบอนิเมะนี้ว่าเป็นประหนึ่ง "สมุดภาพอันเคลื่อนไหวได้ สมุดที่เก็บภาพครอบครัวย้อนหลังไปหลายทศวรรษ" เขายังอ้างว่า หลายคนชมอนิเมะแล้วก็ตัดสินใจย้ายไปตั้งถิ่นฐานในเมืองนะงะโนะถึงเพียงนั้น และกล่าวว่า "งานชิ้นนี้มีความบริสุทธิ์และหมดจดอันชวนให้หวนคำนึงถึงฮะยะโอะ มิยะซะกิ (Hayao Miyazaki) และสตูดิโอจิบลิ (Studio Ghibli) ขึ้นมา กับทั้งฉากหลังอันระยิบระยับนั้นก็นำพาให้ใคร่ครวญถึงมะโกะโตะ ชินไก (Makoto Shinkai)"[51]
จัสติน เซวาคิส (Justin Sevakis) จากเครือข่ายข่าวอนิเมะ (Anime News Network) ให้คะแนน 'ก' ('A') แก่อนิเมะนี้ และเขียนว่า "ในอีกหลายสิบปีจากนี้ไป ซัมเมอร์ วอร์ส จะเป็นเครื่องสำแดงว่า มะโมะรุ โฮะโซะดะ ได้ก้าวย่างมาถึงดินแดนแห่งบรรดาผู้กำกับอนิเมะที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์แล้วอย่างเป็นทางการ" เซวาคิสยังว่า อนิเมะนี้ "เกลี่ยการแดกดันสังคมและบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ให้กลืนกันได้เกือบดีเยี่ยมโดยสอดคล้องกับกาลสมัยแต่ไม่จำกัดอยู่กับวารโอกาสใด ๆ เป็นเชิงเย้ยหยันอยู่ในทีและก็ตั้งอยู่บนทัศนคติที่ดี" และชมเชยตัวละครอันเป็นผลงานการออกแบบของซะดะโมะโตะกับเน้นย้ำทัศนียภาพทั้งหลายว่า "หลักแหลมและเยี่ยมยอดอย่างสอดรับกัน" เซวาคิสกล่าวตอนท้ายว่า อนิเมะนี้ "สนุกสนานอย่างเหลือเชื่อ และประเทืองปัญญาน่าใฝ่ใจ สามารถเข้าใจได้และดำเนินเรื่องเร็วดี หาที่ติไม่ค่อยจะได้"[52]
ราเชล ซอลซ์ (Rachel Saltz) แห่งเดอะนิวยอร์กไทมส์ (The New York Times) เป็นนักวิจารณ์อีกหนึ่งคนที่ยกย่องอนิเมะนี้ ซอลซ์ว่า โฮะโซะดะกำกับได้ดี และว่า การกำกับของเขานั้น "ลงรอยกับภาพลักษณ์ในชีวิตภายนอกของเขาที่มีความสะอาดและสงบตามแบบฉบับ" เธอยังสดุดีทัศนียภาพและแก่นของเรื่อง กับทั้งเปรียบเทียบสิ่งเหล่านี้กับบรรดาที่ผู้กำกับยะซุจิโร โอะซุ (Yasujirō Ozu) สร้างสรรค์ด้วย[53]
ปีเตอร์ เดบรูจ (Peter Debruge) เขียนบทความให้แก่นิตยสารวาไรอิตี (Variety) ว่า ผลงานนี้ของโฮะโซะดะ "จะเป็นที่สนใจของเหล่าวัยรุ่นซึ่งเอาใจยาก โดยจะช่วยลบคติที่มีผลกระทบต่อจิตใจและช่วยให้พวกเขาเจริญวัยอยู่ภายในสภาพแวดล้อมร่วมสมัยที่เกี่ยวข้อง" เขายังชื่นชมการสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์กราฟิกและฉากในอ็อซด้วย[54]
ปีเตอร์ ฮาร์ตโลบ (Peter Hartlaub) จาก ซานฟรานซิสโกโครนิเคิล (San Francisco Chronicle) ว่า รูปแบบของโฮะโซะดะ "เพิ่มมิติให้แก่ตัวละครของเขาและฉากโรมรันพันพัวได้ถึงขนาดที่โลกจริงอันสงบราบคาบนั้นดูคล้ายดินแดนความฝัน" แต่เห็นว่า บุคลิกลักษณะของตัวละครเค็นจินั้น "ตอนต้นเหมือนพวกติดยาลงแดงไปสักนิด" ฮาร์ตโลปสรุปว่า อนิเมะนี้เป็น "ภาพยนตร์ประเภทสนุกและแปลกประหลาดซึ่งคุณจะไม่เจอบ่อยในสำนักศิลปะไหน ๆ ในช่วงปีนี้"[55]
ขณะที่ไท เบอร์ (Ty Burr) แห่งเดอะบอสตันโกลบ (The Boston Globe) ให้อนิเมะนี้สามคะแนนจากคะแนนเต็มสี่[56]
รายได้
[แก้]ในประเทศญี่ปุ่น หลังฉายได้หนึ่งสัปดาห์ อนิเมะเรื่องนี้ทำรายได้ 1,338,772 ดอลลาร์สหรัฐ นับว่ามากเป็นอันดับที่เจ็ด[22][57] เมื่อลาโรงแล้ว รายได้สุทธิอยู่ที่ 4,742,592 ดอลลาร์สหรัฐ[2]
ในประเทศเกาหลีใต้ อนิเมะได้เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ 118 แห่ง ในสัปดาห์แรกทำรายได้ทั้งสิ้น 369,156 ดอลลาร์สหรัฐ จัดว่ามากเป็นอันดับที่แปด[58] เมื่อฉายแล้วสิ้น สร้างรายได้รวม 783,850 ดอลลาร์สหรัฐ[2]
ในประเทศสิงคโปร์ อนิเมะนี้เข้าฉาย ณ โรงภาพยนตร์สามแห่ง และรายได้ในสัปดาห์แรกอยู่ที่ 14,660 ดอลลาร์สหรัฐ ชื่อว่ามากเป็นอันดับที่สิบเจ็ด[59] และรายได้รวมอยู่ที่ 29,785 ดอลลาร์สหรัฐ[2]
ส่วนในสหรัฐอเมริกา อนิเมะเข้าฉายในโรงภาพยนตร์เพียงบางแห่ง รายได้สัปดาห์แรกคือ 1,412 ดอลลาร์สหรัฐ ถือว่ามากเป็นอันดับที่เจ็ดสิบหก ครั้นพ้นกำหนดฉายแล้ว ทำรายได้รวม 86,708 ดอลลาร์สหรัฐ[1]
ในการนี้ รายได้ทั่วโลกคำนวณเมื่อเดือนมิถุนายน 2553 ได้ 18,353,560 ดอลลาร์สหรัฐ[2]
รางวัล
[แก้]ซัมเมอร์ วอร์ส เป็นอนิเมะเรื่องแรกที่ได้เข้าชิงรางวัลในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโลการ์โน (Locarno International Film Festival) ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์[60][61] โดยได้รับการเสนอให้ได้รางวัลเสือดาวทองคำ (Golden Leopard award) ประจำปี 2552[62] แต่ไม่ชนะ กระนั้น หนังสือพิมพ์ ตรีบูนเดอเฌแนฟ (Tribune de Genève) ของสวิตเซอร์แลนด์ว่า "เป็นภาพยนตร์ยอดเยี่ยมที่สุดที่มีอยู่ [ในบรรดาซึ่งเข้าร่วมชิงรางวัลนั้น]"[63] อนิเมะนี้ยังเปิดตัวต่อนานาชาติ ณ งานฉลองมังงะ (celebration of manga) ในเทศกาลดังกล่าว เพื่อเป็นเครื่องรำลึกถึงบทบาทของมังงะในโลกอุตสาหกรรมแอนิเมชันด้วย[61]
ต่อมาวันที่ 24 ตุลาคม 2552 กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (Ministry of Economy, Trade and Industry) ของญี่ปุ่นมอบรางวัลสื่อใหม่ (award for new media) ให้แก่อนิเมะเรื่องนี้ในการประชุมประจำปีของสมาคมสาระดิจิทัลแห่งญี่ปุ่น (Digital Content Association of Japan)[64]
ในปลายปี 2552 อนิเมะนี้ได้รับรางวัลเกอร์ตีว่าด้วยภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม (Gertie Award for Best Animated Feature Film) ณ เทศกาลภาพยนตร์ซิตเจส (Sitges Film Festival) ประเทศสเปน[65][66] ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลเอเชียแปซิฟิกสกรีน (Asia Pacific Screen Awards) สาขาภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม แต่ชวด[67][68] กับทั้งได้รับรางวัลสาขาแอนิเมชันยอดเยี่ยม (Animation Division Grand Prize) ณ เทศกาลศิลปะสื่อญี่ปุ่น ครั้งที่ 13 (13th Japan Media Arts Festival) ซึ่งโฮะโซะดะเคยได้รับสำหรับอนิเมะ กระโดดจั๊มพ์ทะลุข้ามเวลา เมื่อปี 2543 ครั้งหนึ่งแล้ว ตามลำดับ[69][70]
ครั้นเดือนกุมภาพันธ์ 2553 อนิเมะเรื่องนี้ได้รับการฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน ครั้งที่ 60 (60th Berlin International Film Festival) โดยเป็นส่วนหนึ่งของรายการสำหรับ วัยสิบสี่ปีขึ้นไป (Generation 14plus)[71][72] ต่อมา อนิเมะนี้ได้รับรางวัลแห่งความเป็นเลิศในแอนิเมชัน (Award of Excellence in Animation) ณ งานประกาศผลรางวัลอะแคเดมีญี่ปุ่น ครั้งที่ 33 (33rd Japan Academy Prizes) ที่บ้านเกิดเมืองนอน เป็นเหตุให้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแอนิเมชันแห่งปี (Animation of the Year Prize) และชนะเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2553[73][74] อนิเมะนี้ยังได้รับรางวัลผู้ชม (Audience Award) สาขาภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติแอนะไฮม์ (Anaheim International Film Festival) รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ซึ่งจัดในเดือนตุลาคม 2553 และอีกสองเดือนให้หลัง โฮะโซะดะก็ได้รับรางวัลแอนนี (Annie Award) สาขาผู้กำกับยอดเยี่ยม นับเป็นชาวญี่ปุ่นคนที่สามที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแอนนีในสาขาดังกล่าว ทั้งนี้ สองคนก่อนหน้า คือ ฮะยะโอะ มิยะซะกิ และโจ ฮิไซชิ (Joe Hisaishi)[75]
อนึ่ง ฟันนิเมชันและจีคิดส์ (GKIDS) ได้ร่วมกันส่งอนิเมะนี้เข้าชิงรางวัลแอนิเมชันยอดเยี่ยมในงานประกาศผลรางวัลอะแคเดมี ครั้งที่ 83 (83rd Academy Awards) ด้วย แต่พ่าย[43][76][77]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Summer Wars (2010)". Box Office Mojo. Amazon.com. สืบค้นเมื่อ March 2, 2011.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "Summer Wars (2009)". Box Office Mojo. Amazon.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 24, 2015. สืบค้นเมื่อ November 25, 2010.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 "Summer Wars" (PDF). 62nd Locarno International Film Festival. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-26. สืบค้นเมื่อ August 20, 2009.
- ↑ 4.0 4.1 "DEX Theater Project #5 Summer Wars". ดรีม เอกซ์เพรส. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-19. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2555.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 เดกซ์ (2555). Summer Wars - ซัมเมอร์ วอร์ส. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท. p. 5(สมุดซึ่งแนบมากับบลูเรย์)
{{cite book}}
: CS1 maint: postscript (ลิงก์) - ↑ "映画「サマーウォーズ」公式サイト" (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ February 20, 2011.
- ↑ "Summer Wars Has People Talking". Funimation. September 27, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-03. สืบค้นเมื่อ November 2, 2010.
- ↑ 8.0 8.1 เดกซ์ (2555). Summer Wars - ซัมเมอร์ วอร์ส. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท. p. 4(สมุดซึ่งแนบมากับบลูเรย์)
{{cite book}}
: CS1 maint: postscript (ลิงก์) - ↑ 9.00 9.01 9.02 9.03 9.04 9.05 9.06 9.07 9.08 9.09 9.10 9.11 เดกซ์ (2555). Summer Wars - ซัมเมอร์ วอร์ส. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท. p. 7(สมุดซึ่งแนบมากับบลูเรย์)
{{cite book}}
: CS1 maint: postscript (ลิงก์) - ↑ 10.00 10.01 10.02 10.03 10.04 10.05 10.06 10.07 10.08 10.09 10.10 10.11 10.12 เดกซ์ (2555). Summer Wars - ซัมเมอร์ วอร์ส. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท. p. 6(สมุดซึ่งแนบมากับบลูเรย์)
{{cite book}}
: CS1 maint: postscript (ลิงก์) - ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 11.6 Clements, Jonathan (March 26, 2011). "Christmas in August". Manga Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-20. สืบค้นเมื่อ June 5, 2011.
- ↑ "TokiKake's Hosoda, ×××HOLiC's Mizushima Plan Films". Anime News Network. March 28, 2008. สืบค้นเมื่อ August 14, 2009.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 Miller, Evan (July 17, 2009). "Madhouse – Otakon 2009". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ August 13, 2009.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 Desowitz, Bill (December 23, 2010). "Winning the Summer Wars". Animation World Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-17. สืบค้นเมื่อ June 14, 2011.
- ↑ Sevakis, Justin (December 22, 2009). "Interview: Mamoru Hosoda". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ December 23, 2009.
- ↑ 16.0 16.1 "Leapt Through Time's Hosoda to Direct Summer Wars Film". Anime News Network. December 6, 2008. สืบค้นเมื่อ August 13, 2009.
- ↑ "サマーウォーズ オリジナル・サウンドトラック / 松本晃彦" [Summer Wars Original Soundtrack / Akihiko Matsumoto] (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ October 29, 2009.
- ↑ "僕らの夏の夢 / ミューズ / 山下達郎" [Our Summer Dream / Muse / Tatsuro Yamashita] (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ October 29, 2009.
- ↑ "Summer Wars Trailer Streamed from TokiKake Director". Anime News Network. June 16, 2009. สืบค้นเมื่อ August 13, 2009.
- ↑ "Summer Wars Anime Film's 1st Five Minutes Streamed". Anime News Network. July 29, 2009. สืบค้นเมื่อ August 13, 2009.
- ↑ 22.0 22.1 22.2 "Summer Wars Film's 1st 5 Minutes Streamed on YouTube". Anime News Network. July 31, 2009. สืบค้นเมื่อ August 13, 2009.
- ↑ "Haruhi Suzumiya #8–12 Streamed with English Subs". Anime News Network. July 6, 2009. สืบค้นเมื่อ August 13, 2009.
- ↑ "Kadokawa to Launch Young Ace Magazine with Eva in July (Update 2)". Anime News Network. March 21, 2009. สืบค้นเมื่อ August 13, 2009.
- ↑ "サマーウォーズ (1) (角川コミックス・エース)" [Summer Wars (1) (Kadokawa Comics Ace)]. Amazon.co.jp (ภาษาญี่ปุ่น). Amazon.com. สืบค้นเมื่อ August 20, 2009.
- ↑ "Japanese Comic Ranking, August 10–16". Anime News Network. August 19, 2009. สืบค้นเมื่อ August 20, 2009.
- ↑ "サマーウォーズ (2) (角川コミックス・エース 245–2) (コミック)" [Summer Wars (2) (Kadokawa Comics Ace)]. Amazon.co.jp (ภาษาญี่ปุ่น). Amazon.com. สืบค้นเมื่อ March 11, 2010.
- ↑ "Japanese Comic Ranking, February 1–7 (Updated)". Anime News Network. February 10, 2010. สืบค้นเมื่อ March 11, 2010.
- ↑ "New Strike Witches, Canaan, Koihime Musō Manga to Launch". Anime News Network. March 25, 2009. สืบค้นเมื่อ August 13, 2009.
- ↑ 30.0 30.1 "Summer Wars (DVD) (Japan Version)". YesAsia. สืบค้นเมื่อ February 4, 2010.
- ↑ 31.0 31.1 "Summer Wars (Blu-ray) (First Press Limited Edition) (Japan Version)". YesAsia. สืบค้นเมื่อ February 4, 2010.
- ↑ "Summer Wars Tops Eva as #1 Anime BD in 1st-Week Sales". Anime News Network. March 9, 2010. สืบค้นเมื่อ March 9, 2010.
- ↑ "News: Laputa, Conan, Summer Wars Vie for Japan's BD Prizes". Anime News Network. January 21, 2011. สืบค้นเมื่อ January 21, 2011.
- ↑ "Japan's Animation DVD Ranking, March 1–7". Anime News Network. March 9, 2010. สืบค้นเมื่อ March 11, 2010.
- ↑ 35.0 35.1 Jeong, Ji-yeon (August 13, 2009). "수학천재소년의 '인류구원' 대장정" [Journey of a Boy Mathematical Genius]. Herald Media (ภาษาเกาหลี). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-21. สืบค้นเมื่อ August 14, 2009.
- ↑ "《交響情人夢最終樂章 後篇》與《夏日大作戰》在台上映日延後 – 巴哈姆特" [The release date of "Nodame Cantabile: The Final Movement II" and "Summer Wars" are postponed in Taiwan.] (ภาษาจีน). Bahamut Game News Network. April 16, 2010. สืบค้นเมื่อ April 25, 2010.
- ↑ "ตารางวางจำหน่ายสินค้า DEX เมษายน 2555". ดรีม เอกซ์เพรส. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-04. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2555.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "NY Int'l Children's Film Fest to Host Director Hosoda". Anime News Network. February 15, 2010. สืบค้นเมื่อ March 11, 2010.
- ↑ "MIT to Host Mamoru Hosoda, Free Summer Wars Screening". Anime News Network. February 11, 2010. สืบค้นเมื่อ March 11, 2010.
- ↑ "NY Int'l Children Film Fest To Screen Summer Wars". Anime News Network. November 11, 2010. สืบค้นเมื่อ November 11, 2010.
- ↑ "Funimation Adds Eva 2.0, Hetalia Film, Summer Wars". Anime News Network. July 30, 2010.
- ↑ Beveridge, Chris (December 2, 2010). "New Summer Wars Theatrical Dates Added". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-04. สืบค้นเมื่อ December 3, 2010.
- ↑ 43.0 43.1 "Summer Wars Submitted for Oscar Nominations". Anime News Network. November 15, 2010. สืบค้นเมื่อ November 16, 2010.
- ↑ "Summer Wars is selling out nationwide!". Funimation Entertainment. February 17, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-21. สืบค้นเมื่อ February 20, 2010.
- ↑ "Summer Wars • Un film de Mamoru Hosoda". Eurozoom. 2010-06-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-04. สืบค้นเมื่อ November 1, 2010.
- ↑ "Manga to Release Summer Wars, Kamui in United Kingdom (Updated)". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ January 16, 2010.
- ↑ "Summer Wars Movie Reviews". Rotten Tomatoes. Flixster. สืบค้นเมื่อ April 8, 2011.
- ↑ "Summer Wars reviews". Metacritic. CBS Interactive. สืบค้นเมื่อ January 21, 2011.
- ↑ Schilling, Mark (August 7, 2009). "The future king of Japanese animation may be with us". The Japan Times. สืบค้นเมื่อ August 13, 2009.
- ↑ 50.0 50.1 Brown, Todd (October 12, 2009). "Sitges 09: SUMMER WARS Review – Todd Brown". Twitch Film. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-22. สืบค้นเมื่อ October 13, 2009.
- ↑ Galbraith, Patrick (August 14, 2009). "Otaku2 Summer Wars Review". Otaku2. สืบค้นเมื่อ October 17, 2009.
- ↑ "Summer Wars Review – Anime News Network". Anime News Network. November 27, 2009. สืบค้นเมื่อ November 27, 2009.
- ↑ Saltz, Rachel (December 28, 2010). "Movie Review – Summer Wars". The New York Times. สืบค้นเมื่อ January 5, 2011.
- ↑ Debruge, Peter (June 20, 2010). "Variety Reviews – Summer Wars". Variety (magazine). Reed Business Information. สืบค้นเมื่อ January 6, 2011.
- ↑ Hartlaub, Peter (December 24, 2010). "Summer Wars review – fun and quirky". San Francisco Chronicle. สืบค้นเมื่อ January 5, 2011.
- ↑ Burr, Ty (January 5, 2011). "Summer Wars – Hosoda's fanciful film straddles two worlds". The Boston Globe. The New York Times Company. สืบค้นเมื่อ January 5, 2011.
- ↑ "Japan Box Office: August 1–2, 2009". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ August 14, 2009.
- ↑ "South Korea Box Office: August 14–16, 2009". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ August 25, 2009.
- ↑ "Singapore Box Office: February 25–28, 2010". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ March 11, 2010.
- ↑ Péron, Didier (August 14, 2009). "Mondes en alerte à Locarno". Libération (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ August 14, 2009.
- ↑ 61.0 61.1 Vivarelli, Nick (July 29, 2009). "Fiscal crisis richens Locarno lineup". Variety (magazine). สืบค้นเมื่อ August 15, 2009.
- ↑ "L'animation japonaise à l'honneur du festival du film de Locarno" (ภาษาฝรั่งเศส). Le Point. Agence France-Presse. August 5, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-15. สืบค้นเมื่อ August 13, 2009.
- ↑ Gavillet, Pascal (August 17, 2009). "Le jury du 62e Festival de Locarno frôle l'académisme". Tribune de Genève (ภาษาฝรั่งเศส). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-20. สืบค้นเมื่อ August 20, 2009.
- ↑ "Summer Wars, KyoAni, Gundam Win Digital Content Awards". Anime News Network. October 13, 2009. สืบค้นเมื่อ October 13, 2009.
- ↑ "Sitges 09 announces its complete program and presents the spot". Sitges Film Festival. September 11, 2009. สืบค้นเมื่อ September 23, 2009.
- ↑ "Moon, Best Feature Film of Sitges 09". Sitges Film Festival. October 11, 2009. สืบค้นเมื่อ October 13, 2009.
- ↑ "Summer Wars, Sky Crawlers, 1st Squad Get Asia Pacific Screen Award Nods". Anime News Network. October 12, 2009. สืบค้นเมื่อ October 12, 2009.
- ↑ "Asia Pacific Screen Awards 2009 Winners Announced". Asia Pacific Screen Awards. November 26, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-18. สืบค้นเมื่อ June 3, 2011.
- ↑ "Summer Wars, Vinland Saga Win Media Arts Awards (Update 3)". Anime News Network. December 3, 2009. สืบค้นเมื่อ December 23, 2009.
- ↑ "第13回文化庁メディア芸術祭受賞作品を発表! (12/3)" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan Media Arts Festival. December 3, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-08. สืบค้นเมื่อ December 23, 2009.
- ↑ "Read or Die Team's Welcome to the Space Show at Berlin". Anime News Network. January 14, 2010. สืบค้นเมื่อ January 16, 2010.
- ↑ "Celebrating Difference – Generation Programme and Opening Films at Berlin". Berlin International Film Festival. January 13, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-17. สืบค้นเมื่อ January 16, 2010.
- ↑ "Summer Wars Wins Japan Academy's Animation of the Year". Anime News Network. March 5, 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-03-06.
- ↑ "Eva 2.0, Summer Wars Win Japan Academy Awards". Anime News Network. December 22, 2009. สืบค้นเมื่อ December 23, 2009.
- ↑ "38th Annual Annie Nominations". Annie Awards. December 6, 2010. สืบค้นเมื่อ December 7, 2010.
- ↑ "Funimation to Submit Summer Wars for Oscar Nomination". Anime News Network. November 1, 2010. สืบค้นเมื่อ November 2, 2010.
- ↑ "Your Daily Fix of Oscar: 10/25/10". scottfeinberg.com. October 25, 2010. สืบค้นเมื่อ November 2, 2010.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- (ญี่ปุ่น) เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ ซัมเมอร์ วอร์ส
- (อังกฤษ) เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ ซัมเมอร์ วอร์ส สำหรับอเมริกาเหนือ
- (อังกฤษ) ซัมเมอร์ วอร์ส (อนิเมะ) ที่เครือข่ายข่าวอนิเมะ
- (อังกฤษ) ซัมเมอร์ วอร์ส ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
- (อังกฤษ) ซัมเมอร์ วอร์ส ที่รอตเทนโทเมโทส์
- (อังกฤษ) ซัมเมอร์ วอร์ส ที่บ็อกซ์ออฟฟิศโมโจ
- (อังกฤษ) ซัมเมอร์ วอร์ส ที่ออลมูวี