ข้ามไปเนื้อหา

ซอรัน จีนจิช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซอรัน จีนจิช
Зоран Ђинђић
จีนจิชในเดือนมกราคม 2003
นายกรัฐมนตรีเซอร์เบีย
ดำรงตำแหน่ง
25 มกราคม 2001 – 12 มีนาคม 2003
ประธานาธิบดีมิลัน มิลูตีนอวิช
นาตาชา มีชิช (รักษาการ)
ก่อนหน้ามีลอมีร์ มีนิช
ถัดไปซอรัน ซีกอวิช
นายกเทศมนตรีเบลเกรดคนที่ 67
ดำรงตำแหน่ง
21 กุมภาพันธ์ 1997 – 30 กันยายน 1997
ก่อนหน้าเนบอยชา ชอวิช
ถัดไปวอยิสลัฟ มิคัยลอวิช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 สิงหาคม ค.ศ. 1952(1952-08-01)
ชามัตส์ บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ยูโกสลาเวีย
เสียชีวิต12 มีนาคม ค.ศ. 2003(2003-03-12) (50 ปี)
เบลเกรด เซอร์เบียและมอนเตเนโกร
ลักษณะการเสียชีวิตถูกลอบสังหาร
พรรคการเมืองพรรคประชาธิปไตยเซอร์เบีย (1990–2003)
คู่สมรสรูฌิตซา จีนจิช (สมรส 1990)
บุตรยอวานา
ลูกา
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเบลเกรด
มหาวิทยาลัยค็อนชตันทซ์
ลายมือชื่อ

ซอรัน จีนจิช (เซอร์เบีย: Зоран Ђинђић, ออกเสียง: [zɔ̝̌ran d͡ʑîːnd͡ʑit͡ɕ] ; 1 สิงหาคม 1952 – 12 มีนาคม 2003) เป็นนักการเมืองชาวเซอร์เบียซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของเซอร์เบียตั้งแต่ปี 2001 จนกระทั่งถูกลอบสังหารในปี 2003 เขาเป็นนายกเทศมนตรีกรุงเบลเกรดในปี 1997 จีนจิชเป็นนักการเมืองฝ่ายค้านมาอย่างยาวนานและสำเร็จก��รศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาปรัชญา

จีนจิชเป็นหนึ่งในบุคคลสิบสามคนที่เป็นผู้ฟื้นฟูพรรคประชาธิปไตย[1][2] ในคริสต์ทศวรรษ 1990 เขาเป็นหนึ่งในผู้นำร่วมของขบวนการต่อต้านสลอบอดัน มีลอเชวิช และกลายเป็นนายกรัฐมนตรีของเซอร์เบียในปี 2001[2] หลังจากการโค้นล้มมีลอเชวิช

ในฐานะนายกรัฐมนตรี เขาสนับสนุนการปฏิรูปเพื่อประชาธิปไตยและบูรณาการเซอร์เบียเข้ากับสหภาพยุโรป[3] รัฐบาลของเขาให้สัตยาบันกับอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและปรับใช้นโยบายใหม่ ๆ ตามข้อเสนอแนะของสภายุโรป ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งสถาบันต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพและเพื่อให้เซอร์เบียและมอนเตเนโกรกลายเป็นรัฐสมาชิกของสภายุโรปในปี 2003[4] รัฐบาลของเขาสนับสนุนความร่วมมืออย่างแข็งขันกับคณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย (ไอซีทีวาย) หลังจากการจับกุมสมาชิกหน่วยปฏิบัติการพิเศษ (เยเอ็สเอ) และการส่งผู้ร้ายข้ามแดนไปยังศาลอาญาระหว่างประเทศ เยเอ็สเอได้การก่อการกำเริบโดยใช้อาวุธในเดือนพฤศจิกายน 2001 ในกรุงเบลเกรด[5] จีนจิชถูกลอบสังหารในปี 2003 โดยซเว็ซดัน ยอวานอวิช อดีตสมาชิกเยเอ็สออซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มเซมูน[6][7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Democratic Party official site: Reforming of Democratic Party เก็บถาวร 2017-12-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ในภาษาเซอร์เบีย)
  2. 2.0 2.1 Democratic Party official site: Dr Zoran Đinđić (1952-2003) เก็บถาวร 2009-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ในภาษาเซอร์เบีย)
  3. Silber, Laura (14 March 2003). "Serbia Loses More Than a Leader". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2010-01-15.
  4. "Serbia and Montenegro: Stabilisation and association" (PDF). European Commission. 26 March 2003. สืบค้นเมื่อ 2019-11-17.
  5. "Mutiny, Assassination and a Serbian Political Conspiracy". Balkan Insight. 13 July 2018. สืบค้นเมื่อ 19 November 2019.
  6. Steven Erlanger (16 March 2003). "The World: Murder in Belgrade; Did Serbia's Leader Do the West's Bidding Too Well?". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2010-01-15.
  7. "2 Suspects in Murder of Serbian Premier Are Killed by Police". The New York Times. 28 March 2003. สืบค้นเมื่อ 2010-01-15.