ข้ามไปเนื้อหา

ชินบัญชร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชินบัญชร เป็นบทสวดมนต์บทหนึ่งที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยนิยมสวดมากที่สุด สันนิษฐานว่าพระเถระชาวล้านนาเป็นผู้แต่งขึ้น และเป็นพระคาถาสำคัญในพิธีกรรมตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฏหลักฐานในพระราชพิธีจักรพรรดิราชาธิราช ต่อมาได้ปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ขึ้นโดยเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม สมเด็จพระพุฒาจารย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (สมัยรัชกาลที่ 4) บทสวดชินบัญชรนี้ยังพบในประเทศพม่าและศรีลังกาอีกด้วย

การหัดสวดคาถาชินบัญชรควรจะเริ่มสวดในวันพฤหัสบดีข้างขึ้น (ยิ่งขึ้นมากยิ่งดี) ให้เตรียมดอกไม้ 3 สี หรือดอกบัว 9 ดอก และดอกมะลิร่วง (เด็ดก้านดอก) 1 กำ ธูปหอมอย่างดี 9 ดอก เทียน (เล่มหนัก1บาท ถ้าไม่มีใช้2บาท แต่ควรใช้1บาทเพื่อเป็นสิริมงคล) จำนวน 9 เล่ม จากนั้นให้จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยโดยการตั้งนะโม 3 จบ ต่อด้วยบทพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ จากนั้นตั้งจิตนึกถึงสมเด็จโต

ความหมายตามตัวอักษร

[แก้]

ชินบัญชร (บาลี: ชินปญฺชร) แปลว่า กรง ซี่กรงของพระชินเจ้า ชินบัญชร มาจากคำว่า ชิน ซึ่งแปลว่า คนชนะ อันหมายถึงพระชินเจ้าหรือพระพุทธเจ้า และคำว่า บัญชร ซึ่งแปลว่า กรง ลูกกรง ซี่กรง รวมกันเป็นชินบัญชร ซึ่งเป็นประดุจแผงเหล็กหรือเกราะเพชรที่แข็งแรง สามารถปกป้องคุ้มกันอุบัติภัย อันตรายและศัตรูหมู่มารทั้งปวงได้

ชินบัญชร ปัจจุบันใช้เรียกพระคาถาภาษามคธชุดหนึ่ง นัยว่าเป็นนิพนธ์ของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม เรียกว่า พระคาถาชินบัญชร ซึ่งเชื่อกันว่าสามารถป้องกันสรรพอันตรายทั้งหลายได้เหมือนเกราะเพชรและให้โชคให้ลาภตามที่ปรารถนาได้

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]