ข้ามไปเนื้อหา

ชัยคียะฮ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชัยคียะฮ์ (อาหรับ: الشيخية) เป็นสำนักอิสลามนิกายชีอะฮ์ที่ก่อตั้งโดยชัยค์อะห์มัด[1] ในอิหร่านสมัยกอญัรช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งแม้ว่าจะมีหลักคำสอนตามชีอะฮ์สิบสองอิมาม ชัยคียะฮ์ตีความแนวคิดหลักแตกต่างจากกลุ่มอุศูลี เช่น เรื่องราวในวันสิ้นโลกและวันแห่งการฟื้นคืนชีพ ที่มาของอำนาจนิติศาสตร์ และการใช้อรรถปริวรรตศาสตร์ตีความคำทำนายผ่านงานเขียนลึกลับของอิหม่ามทั้งสิบสอง ความแตกแยกนี้ทำให้กลุ่มอุศูลีและกลุ่มอัคบารีเกิดข้อโต้แย้งและกล่าวหาพวกเขาว่าเป็นพวกนอกรีต[2]

ข้อมูลเมื่อ 2001 มีผู้นับถือในประเทศอิหร่าน อิรัก[3] ซาอุดีอาระเบีย คูเวต และปากีสถาน[4]

ตำรา

[แก้]

ตำราที่โด่งดังที่สุดของสำนักชัยคียะฮ์คือ อรรถาธิบาย ซียารัต ญามะอะฮ์ กะบีเราะฮ์/อรรถาธิบาย อัรชียะฮ์/อับวาบ วัล อีมาน/ออลัมซัร/โต้ตอบบาบ/อิรชาดอัลอะวาม/ดะกออิก อัลอิลาจ/อรรถธิบาย อัลมะชาอิร/อรรถาธิบายอายะกุรซี/ ดะลีล อัลมุตะฮัยยีรีน/ อัลฟิฏเราะฮ์ อัสสะลีมียะฮ์/ฏอริก อันนิญาต/ฟัศลุล คิฏอบ/อัลกิตาบ อัลมุบีน/ กีฟายะอัลมะซาอิล/มิศบาฮ์ อัซซาลิกีน/ยะนาบิอ์ อัลฮิกมะฮ์/ ซอวาอิก อัลบุรฮาน/ ซัยน��บียะห์/อัซรอร อัชชะฮาดะฮ์/ อิจติฮาด วัตตักลีด/ ฟิฮ์เรสต์/อัตตักลีด/[5]

ซัยยิดกอเซ็ม รัชตี

[แก้]

ซัยยิด กอเซ็มรัชตี เกิดเมื่อ ฮ.ศ. 1212 ซัยยิดกอเซ็มเป็นบุตรชายของกอเซ็มฮุไซนี ฮาอิรี ซึ่งบรรพบุรุษของเขาเป็นซัยยิดฮุไซนีจากเมืองมะดีนะฮ์ เขากำเนิดที่เมือง รัชต์ และเดินทางไปยังเมืองยาซด์ เมื่อเยาว์วัย เขาเป็นลูกศิษย์ของอะห์มัด อิห์ซานีและมีความรักต่ออาจารย์ของเขาเป็นอย่างมาก เขาได้ทำการเผยแพร่แนวทางชัยคียะฮ์จนกระทั่งจากโลกนี้ไป ณ เมืองกัรบาลา เขาเขียนตำรามากว่า 150 เล่มเกี่ยวกับสำนักชัยคียะฮ์และทัศนะของเชคอะห์มัด อิห์ซานี

ฮัจญี มุฮัมหมัด กะรีม คาน กิรมานี

[แก้]

ท่านมุฮัมหมัดกะรีม คาน เป็นผู้นำคนที่สามของสำนักชัยคียะฮ์ ภายหลังการจากไปของ ซัยยิดกอเซ็ม หลังจากซัยยิดกอเซ็มเสียชีวิตลูกศิษย์หลายคนเชื่อว่า มุฮัมหมัดกะรีม คาน คือตัวแทนของเขา มุฮัมหมัดการีม เขียนหนังสือทั้งหมดมากกว่า 200 เล่ม ซึ่งส่วนมากได้กล่าวถึงฮิกมัตของพระองค์จากทัศนะของชีอะฮ์ เขาเป็นลูกของอิบรอฮีมคาน ซุฮิรเจ้าเมืองเกรมาน และเป็นลูกเขยของ ชาฟัตฮ์อาลี แห่งราชวงศ์ กาญาร[6][7][8]

ชัยคียะฮ์เกรมานี ถูกเรียกขานตามชื่อดังกล่าวเนื่องจาก มุฮัมหมัดกะรีมคานเป็นชาวเมืองเกรมาน และบางครั้งจะถูกเรียกว่า “กะรีมคอเนะ” หนึ่งในคุณลักษณะที่สำคัญของกลุ่มนี้คือ พวกเขาให้เกียรติและมีความรักต่อลูกหลานศาสดา (ศ็อลฯ) มาก นอกจากนั้นพวกเขายังมีวิธีที่พิเศษในการแสดงมารยาทต่อบุคคลในสำนักเดียวกัน

ภายหลังจาก มุฮัมหมัดกะรีม คาน บุตรชายของเขาสองคนจึงเป็นตัวแทนของเขานามว่า มุฮัมหมัดคาน และ ซัยนุ้ลอาบิดีน เป็นผู้นำชัยคียะฮ์คนต่อไป ภายหลังพวกเขา อบุลกอเซ็ม อิบรอฮีมี บุตรชายของซัยนุ้ลอาบีดีน มารับตำแหน่งนี้ต่อไป และหลังจากเขา อับดุรริฎอ คาน บุตรชายของเขาได้ขึ้นเป็นตัวแทน

เขาถูกลอบสังหารโดยกลุ่ม อัลฟัตห์ เกรมาน ในปีที่หนึ่งหลังจากการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน ปัจจุบันผู้นำของสำนักชัยคียะฮ์ คือ ซัยยิด อาลีมูซาวี อยู่ที่เมืองบัศเราะฮ์ สุสานของซัยยิด กอเซ็ม /มุฮัมหมัด กะรีมคาน/มุฮัมหมัดคาน และ ซัยนุ้ลอาบีดีน คาน อยู่ที่ ฮารอมท่านอิมาม ฮุเซน(อ.) สุสานของ อะบุลกอเซ็ม อยู่ที่ ฮารอมอิมามริฎอ(อ.) ส่วนสุสานของอับดุรริฎอคาน อยู่ที่เมืองกัรบาลา ปัจจุบันชาวชัยคียะฮ์ส่วนมากใช้ชีวิตอยู่ในเมืองเกรมาน /คุรัมชะฮร์/ตับรีซ/บะนาบ/ซินูร/มัชฮัด/ชีรอซ/บัศเราะฮ์ และ กัรบาลา.

บาเกรียะฮ์

[แก้]

บาเกรียะฮ์ คือ กลุ่มที่ตามแนวทางของ มีรซา มุฮัมหมัด บาเก็ร ชะรีฟ ฏอบาฏอบาอี เริ่มแรกเขาคือตัวแทนของมุฮัมหมัด กะรีมคานในเมือง นายีน และ ฮัมดาน หลังการเสียชีวิตของมุฮัมหมัดกะรีมเขาขัดแย้งกับมุฮัมหมัด คานในเรื่อง ”ความเป็นหนึ่งเดียวแห่งตรรกะ” จึงทำให้แยกตัวออกและสร้างสำนักอื่นในชัยคียะฮ์ขึ้น

ภายหลังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเดือนรอมฎอน ฮ.ศ. 1315 บ้านและทรัพย์สินของเขาถูกปล้นสะดม เขาหนีไปเตหะรานเพื่อรักษาชีวิตของตน เขาร้องเรียนและเชิญชวนกับผู้ปกครองในยุคนั้นสู่แนวทางของตน แต่เมื่อเขาไม่ได้รับคำตอบที่น่าพึงพอใจจากเจ้าเมืองเขาจึงเดินทางไปยังเมืองญุนดัก เขาใช้ชีวิตอยู่ในเมืองญุนดักเป็นเวลาหลายปีทำให้มีผู้ตามบางส่วน จากเมืองนายีน/อิศฟาฮาน/ญุนดัก/มัชฮัด/ฮัมดาน และ เตหะราน

อาเซอร์ไบจานียะฮ์ ษิกอตุลอิสลาม

[แก้]

ชัยคียะฮ์ สายอาเซอร์ไบจาน เป็นผู้ตามแนวทางของ มีรซา ชะฟิอ์ ษิกอตุลอิสลาม ของเมืองตับรีซ ชัยคียะฮ์ สายดังกล่าวถูกเรียกว่า “ษิกอตุล อิสลามียะฮ์” ภายหลังจากชะฟิอ์ บุตรชายของเขา มีรซา มูซา และ ภายหลังจากเขา มีรซาอาลี โด่งดังในนาม ษิกอตุลอิสลามที่สอง และหลังจากเขา มีรซามุฮัมหมัด ได้เป็นผู้นำของสำนักนี้ตามลำดับดังกล่าว นอกจากนั้นยังมีกลุ่มอื่น ๆ ที่แยกตัวภายใต้ชัยคียะฮ์ เช่น

อาเซอร์ไบจาน ฮุจญะตุลอิสลาม

[แก้]

- กลุ่ม อาเซอร์ไบจาน ฮุจญะตุลอิสลาม อีกกลุ่มหนึ่งจากชัยคียะฮ์คือ กลุ่ม ฮุจญะตุลอิสลาม ซึ่งตามแนวทางของ มีรซามุฮัมหมัด มามะกอนี เขาปฏิเสธ ซัยยิดมุฮัมหมัดอาลีบาบ

- กลุ่ม “อะมีด อิสลาม” ซึ่งเป็นชัยคียะฮ์ชาวตับรีซ

- กลุ่มชัยคียะฮ์ อิฮกอกี หรือ เฆาฮารี ตามแนวทางของ ออคูนด์ มุลลา บาเก็ร อิสกูยี เขาคือผู้ยิ่งใหญ่ในเมืองกัรบาลา ลูกชายทั้งหลายของซัยยิดกอเซ็มเล่าเรียนกับเขา หนังสือที่โด่งดังของพวกเขาคือ “อิฮกอก อัลฮัก วัล อิบฏอล อัลบาฏิล”ถูกเขียนขึ้นเพื่อโจมตี มุฮัมหมัด กะรีมคาน ปัจจุบันกลุ่มนี้ใช้ชีวิตอยู่ ณ เมืองอาเซอร์ไบจาน กัรบาลา และประเทศคูเวต ผู้นำของเขาคือ เชค รอซุล อะฆกอนี [9]

- กลุ่มบาบียะฮ์ ส่วนหนึ่งจากนิกายชัยคียะฮ์ ได้ตามแนวทางของ ฏอฮิร กุรรอตุลอีน ณ บาบ ภายหลังการจากไปของ ซัยยิด กอเซ็ม รัชตี จึงถูกเรียกว่า บาบียะห์” [10]

ความเชื่อของชัยคียะฮ์

[แก้]

หลักศรัทธา และ ปฏิบัติศาสนกิจของผู้ตามแนวทางชัยคียะฮ์มาจากอัลกุรอาน และ ซุนนะฮ์ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวโดยรวมคือ กลุ่มชัยคียะฮ์คือชีอะฮ์ ที่พยายามตามแนวทางและคำสอนสั่งของบรรดาอิมามซึ่งเชื่อว่าอิมามนำมาจากอัลกุรอานและซุนนะฮ์ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) อย่างแน่นอน แต่พวกเขาไม่เชื่อในการวินิจฉัยด้วยสติปัญญาและตรรกะโดยมีทัศนะว่า ไม่ควรไว้วางใจต่อเหตุผลที่ถูกยืนยันด้วยสติปัญญา กิยาส หรือ ตรรกะซึ่งเป็นผลผลิตจากสติปัญญาที่บกพร่อง พวกเขาพยายามที่จะอรรถาธิบายถึงความประเสริฐของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และลูกหลานของท่าน และ กล่าวว่าเราไม่ควรคิดว่า คำสั่งสอนของอิสลามมีเพียงแค่บทบัญญัติ ในเรื่อง อิบาดะฮ์ หรือ มุอามิละฮ์ เพียงอย่างเดียว และกลุ่มใดที่มีความเชื่อเช่นนี้จะถูกตัดสินให้เป็นผู้กระทำผิดด้วยตนเอง เช่นเดียวกันพวกเขามีความเชื่อว่าแนวทางของเหล่าซูฟีที่มองว่าศาสนาอิสลามมีเพียงแต่เรื่องภายใน และละทิ้งภายนอกของการทำอิบาดะฮ์เป็นแนวทางที่ผิดเช่นกันพวกเขาเชื่อว่าแนวทางภายในเพียงอย่างเดียวไม่สามารถนำมนุษย์สู่พระองค์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ และความเป็นจริงคือ มนุษย์จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งสอนของอิสลามในภายนอกให้ครบถ้วน และแสวงหาความเข้าใจเรื่องภายในเท่าที่ตนสามารถจะทำได้ ในความเป็นจริงแล้ว ชัยคียะฮ์คือกลุ่มชีอะฮ์ สิบสองอิมาม ตามแนวทางปฏิบัติ ญะอ์ฟะรียะฮ์ พวกเขาไม่ได้เพิ่มเติมสิ่งใดเพียงแต่พวกเขาเชื่อ ไม่ควรตัดสิ่งใด หรือ เพิ่มสิ่งใดในศาสนาของพระองค์

ชัยคียะฮ์ เชื่อในหลักศรัทธาสี่ข้อกล่าวคือ การรู้จักพระเจ้า นะบูวัต อิมามัต และหลักที่สี่คือการรู้จักชีอะฮ์อย่างสมบูรณ์แบบ นั่นคือ การรู้จักสื่อระหว่างมนุษย์และอิมามผู้เร้นกาย ซึ่งสื่อจะมีหน้าที่ในการเป็นสื่อกลางในทุกเรื่องระหว่างมนุษย์และอิมาม

  • ในความเชื่อของพวกเขา ชีอะฮ์ที่สมบูรณ์แบบอาจไม่ถูกรู้จักอย่างชัดเจน แต่ด้วยหลักที่สี่พวกเขาชื่อว่าบุคคลเช่นนี้จะต้องมีอยู่จริงอย่างแน่นอน ตามฮาดีษของพวกเขา ได้กล่าวถึง ๓๐ นะกีบ และ ๗๐ นะญิบ ซึ่งนะกีบและนะญิบคือผู้ที่ อยู่กับอิมามในทุกยุคทุกสมัย อาทิ ซัลมานในยุคสมัยของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) อะบุลฟัฎล์ในยุคสมัยของท่านอิมามฮุเซน(อ.) และตัวแทนเฉพาะทั้งสี่ในยุคสมัยของท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.) หลักศรัทธาข้อที่สี่ไม่เป็นที่ยอมรับของกลุ่มอาเซอร์ไบจาน และถูกบรรยายโดยมุฮัมหมัด กะรีมคาน
  • กลุ่มชัยคียะฮ์ความศรัทธาต่อมะอาดและความยุติธรรมของพระองค์เช่นเดียวกัน เพียงแต่พวกเขาเชื่อว่าการรูจักและศรัทธาต่อพระองค์และศาสดา (ศ็อลฯ) มีความสำคัญมากกว่า รวมถึงความเชื่อและการมีศรัทธาต่อพระองค์และศาสดาจะเป็นที่มาของคำสั่งสอนเกี่ยวกับมะอาด และ ความยุติธรรมของพระองค์ด้วย ความยุติธรรมเป็นหนึ่งในคุณลักษณะของพระองค์ซึ่งหากถูกนับให้เป็นหนึ่งในหลักศรัทธาแล้วจะมีเหตุผลอันใดที่เราจะไม่นับคุณลักษณะอื่น ๆ ของพระองค์เช่น ความรู้ ความเมตตา พลังอำนาจเป็นหนึ่งในหลักศรัทธาด้วยเช่นกัน
  • บรรดาชัยคียะฮ์ มีความเชื่อในเรื่องมะอาดและการฟื้นคืนชีพด้วยร่างกาย เพียงแต่ร่างกายของมนุษย์เมื่อสูญสลายไปแล้วจะเหลือเพียงร่างกายที่เป็นวัตถุที่นุ่มนวล (ละฏีฟ) ซึ่งปรากฏตามรูปร่างของมนุษย์ที่ถูกกล่าวถึงตามทัศนะของเชคอะห์มัด อิห์ซานี เขากล่าวว่า “มนุษย์มีสองร่างกาย ร่างที่หนึ่งคือวัตถุและภายนอกที่เราสามารถมองเห็นได้บนโลกนี้ซึ่งเปรียบเสมือนกับเสื้อผ้าของมนุษย์ และเมื่อมนุษย์ตายและถูกฝัง ร่างกายนั้นจะสลายและเหลือเพียงร่างกายที่สองที่เต็มไปด้วยการกระทำและจะอยู่ในหลุมฝังของเขา และในวันกิยามัต วิญญาณจะกลับสู่ร่างกายที่สองที่มีคุณลักษณะที่นุ่มนวลและแตกต่างจากร่างกายในโลกนี้
  • บรรดาชัยคียะฮ์มีความเชื่อในเรื่องมิอ์รอจของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เพียงแต่เชื่อว่าร่างกายของท่านศาสดาได้เปลี่ยนแปลงสภาพไปตามความเหมาะสมของแต่ละชั้นฟ้า ทัศนะที่แตกต่างนี้ไม่ได้มีเพียงชัยคียะฮ์เท่านั้นที่เชื่อ
  • หนึ่งในข้อแตกต่างระหว่างกลุ่มชัยคียะและชีอะฮ์กลุ่มอื่น ๆ คือ วิธีการนมาซซียาเราะฮ์กูโบร์ของบรรดาอิมาม พวกเขาจะยืนนมาซหันทางกิบละฮ์โดยให้กุโบร์ของอิมามอยู่ระหว่างกลางผู้ที่นมาซ และกิบละฮ์
  • นอกจากนั้นพวกเขายังคงให้เกียรติต่อผู้นำของพวกเขาไม่จะมีชีวิตหรือเสียชีวิตไปแล้วก็ตาม
  • กลุ่มที่ต่อต้านชัยคียะฮ์กล่าวหาว่าพวกเขาเป็นฆอลี (เชื่อเลยเถิด) และนับถือบรรดาอิมามเป็นพระเจ้าและนับว่ากโบร์ของอิมามเป็นกิบละฮ์ แต่ความเป็นจริงพวกเพียงแค่แสดงมารยาทต่อบรรดาอิมามตามความเชื่อของพวกเขาเท่านั้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. MacEoin 1984.
  2. Matthiesen 2014.
  3. "The Encyclopedia of World History". bartleby.com. 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-08-24. สืบค้นเมื่อ 2006-10-10.
  4. Hermann 2017.
  5. مکتب شیخیه - المدرسة الشیخیة - Shaykhi School
  6. แม่แบบ:یادکرد ژورنال
  7. http://alabrar.info/webview.aspx?newbook=yes&book=introduction
  8. The Persian Presence in the Islamic World (Levi Della Vida Symposia), p. 103 By Ehsan Yarshater
  9. مشکور، محمدجواد، فرهنگ فرق اسلامی
  10. แม่แบบ:یادکرد کتاب

อ่านเพิ่ม

[แก้]

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]