ข้ามไปเนื้อหา

ชาวฮั่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ชนชาติฮั่น)
ชาวจีนฮั่น
/
漢人/汉人
ประชากรทั้งหมด
ประมาณ 1.3 พันล้านคนทั่วโลก[1]
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
จีน สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) 1,260,000,000[2]
ไต้หวัน สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) 23,575,365
ฮ่องกง ฮ่องกง 6,723,786[3]
มาเก๊า มาเก๊า 663,400[4]
ชาวจีนโพ้นทะเล (โดยการสืบเชื้อสาย)
 ไทย9,392,000[5]
 มาเลเซีย6,650,000[6]
 สหรัฐอเมริกา3,795,000[7]
 อินโดนีเซีย2,833,000[8]
 สิงคโปร์2,547,000[9]
 พม่า1,638,000[10]
 แคนาดา1,469,000[11]
 ฟิลิปปินส์1,350,000[12][ต้องการอ้างอิง]
 เปรู1,300,000[13]
 ออสเตรเลีย1,214,000[14]
 รัสเซีย998,000[13]
 เวียดนาม823,000[15]
 ญี่ปุ่น731,000[16]
 ฝรั่งเศส700,000[13]
 เวเนซุเอลา450,000[17]
 สหราชอาณาจักร433,000[18]
 แอฟริกาใต้350,000[19]
 อิตาลี334,000[20]
 เยอรมนี212,000[21]
 เกาหลีใต้210,000[22]
 กัมพูชา210,000[23]
 อินเดีย189,000[13]
 ลาว186,000[13]
 สเปน172,000[24]
 นิวซีแลนด์171,000[25]
 บราซิล152,000[13]
 เนเธอร์แลนด์145,000[13]
 ปานามา135,000[26][27]
 เม็กซิโก70,000[28]
 ฟินแลนด์24,000[ต้องการอ้างอิง]
 คอสตาริกา19,000[29]
 ไอร์แลนด์11,000[30]
ภาษา
กลุ่มภาษาจีน
ศาสนา
ตามประเพณีทั่วไปนิยมนับถือทั้ง 4 ศาสนาพร้อมกัน ได้แก่:

ส่วนอื่นๆได้แก่ พวกไม่นับถือศาสนา

ศาสนาคริสต์และความเชื่ออื่น ๆ[31]
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มชาติจีน-ทิเบต
ชายชาวจีนฮั่นขณะประกอบพิธีแบบดั้งเดิม

ชาวจีนฮั่น,[32][33][34] ฮั่นจู๋,[35][36][37] ชาวฮั่น[38][39][40] (จีน: 漢人; พินอิน: Hànrén; แปลตรงตัว: "ชาวฮั่น"[41] หรือ 漢族, พินอิน: Hànzú, มีความหมายแปลว่า "ชาติพันธุ์ฮั่น"[42] หรือ "กลุ่มชาติพันธุ์ฮั่น")[43] เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในเอเชียตะวันออกและมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน[44][45] ชาวฮั่นถือเป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศจีน ผลสำรวจจำนวนประชากรในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 พบว่า มีชาวฮั่นราว 1,200 ล้านคนอาศัยในประเทศจีน และนับเป็นกลุ่มชนชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย

มีหลักฐานว่าชาวฮั่นถือกำเนิดมาตั้งแต่สมัยหวงตี้ (黃帝) อาศัยอยู่ในแถบดินแดนจงหยวน และกระจายอยู่ทั่วประเทศจีนมายาวนานกว่า 5,000 ปี นับตั้งแต่สมัยเซี่ย ซาง โจว ชุนชิว-จ้านกั๋ว จนมาเริ่มเป็นปึกแผ่นในสมัยฉินและฮั่น สมัยฮั่นนี่เองที่เริ่มมีคำเรียก 'ฮั่น' ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีความเชื่อตามแบบลัทธิเต๋า

ชาวฮั่นมีกิจกรรมด้านการเกษตรและหัตถกรรมที่เจริญก้าวหน้า อีกทั้งมีการประดิษฐ์เครื่องสำริด การถักทอ เครื่องเคลือบดินเผา สถาปัตยกรรม และศิลปะการวาดภาพที่เป็นหน้าตาของชนชาติมาตั้งแต่ยุคโบราณ นอกจากนี้ ยังรวมถึงผลงานวรรณกรรมรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นที่ยอมรับไปทั่วด้วย และที่ลืมไม่ได้ก็คือ การเป็นชนกลุ่มแรกของโลกที่ค้นพบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ 4 อย่าง คือ กระดาษ เทคนิคการพิมพ์ เข็มทิศ และดินปืน

บุคคลสำคัญเชื้อสายฮั่นในแผ่นดินจีนไม่ว่าจะเป็นนักทฤษฎี นักปฏิวัติ นักการเมือง กวี ศิลปินต่าง ๆ ที่ถูกจารึกนามในหน้าประวัติศาสตร์จีนและของโลกที่เรารู้จักกันดี ได้แก่ ดร.ซุนยัตเซ็น เหมาเจ๋อตง โจวเอินไหล หลิวเช่าฉี จูเต๋อ เติ้งเสี่ยวผิง หลู่ซวิ่น ฯลฯ ล้วนเป็นชาวฮั่นที่สร้างคุณูปการต่อลูกหลานชนชาวฮั่นในวันนี้

และยังรวมถึง ขงจื๊อ ปรัชญาเมธีผู้เรืองนามของจีน เป็นเวลาเนิ่นนานหลายร้อยปี ที่แนวคิดของขงจื๊อซึ่งเป็นรากฐานคุณธรรมคำสอนของชาวฮั่น ได้แผ่อิทธิพลไปทั่วทวีปเอเชียตะวันออก (East-Asia)

ชาวฮั่นมีวันสำคัญทางประเพณีได้แก่ เทศกาลตรุษจีน 春節 เทศกาลหยวนเซียว 元宵節 เทศกาลไหว้บะจ่าง 端午節 เทศกาลไหว้พระจันทร์ 中秋節 (จงชิวเจี๋ย) เป็นต้น

การกระจายตัวของประชากร

[แก้]
แผนที่ของกลุ่มภาษาในจีนแผ่นดินใหญ่และไต้หวัน (ชาวฮั่นสีน้ำตาล)
แผนที่แสดงการอยู่อาศัยในจีนแผ่นดินใหญ่ (บริเวณที่มีสีน้ำเงินเข้มคือบริเวณที่ชาวฮั่นอยู่อาศัยเยอะและหนาแน่นที่สุด)

จีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกงและมาเก๊า

[แก้]

ชาวฮั่นเกือบทั้งหมด มากกว่า 1,200 ล้านคน อาศัยอยู่ในอาณาบริเวณภายใต้เขตอำนาจรัฐของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งชาวฮั่นคิดเป็น 92% ของจำนวนประชากร ภายในสาธารณรัฐประชาชนจีนชาวฮั่นเป็นประชากรส่วนใหญ่ในทุก ๆ มณฑล เทศบาลนครและเขตปกครองตนเอง ยกเว้นในเขตปกครองตนเองซินเจียง (41% ในปี 2000) และทิเบต (6% ในปี 2000) ชาวฮั่นยังเป็นประชากรส่วนใหญ่ในเขตบริ���ารพิเศษทั้งสองอีกด้วย ประมาณ 95% ของประชากรฮ่องกง และประมาณ 96% ของประชากรมาเก๊า ในประเทศจีน ชาวฮั่น จะเรียกตนเองว่า ชาวฮั่น ส่วนคำว่า จีน หรือ จ๊งกว๋อ นั่นเป็นชื��อของดินแดน หรือ ประเทศ ดังจะสังเกตได้จากบทเพลงและตำราต่าง ๆ จะเรียกตัวเองว่า ชาวฮั่น ทั้งสิ้น

ไต้หวัน

[แก้]
ชาวจีนฮั่นในไต้หวันขณะไหว้พระที่วัดเม่งเจียหลงซานในกรุงไทเป

ชาวฮั่นมากกว่า 22 ล้านคนอยู่ในไต้หวัน ชาวฮั่นเริ่มอพยพจากมณฑลชายฝั่งทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่ไปไต้หวันในศตวรรษที่ 17 ในตอนแรกพวกผู้อพยพเหล่านี้เลือกที่จะตั้งถิ่นฐานในทำเลที่คล้ายคลึงกับพื้นที่ที่จากมาในจีนแผ่นดินใหญ่ ไม่ว่าพวกเขาจะมาถึงทางเหนือหรือทางใต้ของไต้หวัน ผู้อพยพชาวฮกโล่ในฉวนโจวตั้งถิ่นฐานบริเวณชายฝั่ง และพวกที่มาจากจางโจวมีแนวโน้วที่จะรวมกลุ่มกันบนที่ราบเข้าไปในแผ่นดิน ในขณะที่ผู้อพยพชาวฮากกาอาศัยบริเวณเนินเขา การกระทบทั่งกันระหว่างกลุ่มเหล่านี้เหนือดินแดน น้ำและความแตกต่างทางวัฒนธรรมนำไปสู่การย้ายที่ใหม่ในบางชุมชน ในขณะที่เวลาผ่านไปการแต่งงานและการผสมกลมกลืนก็เกิดขึ้นในหลายระดับ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์เมื่อไม่นานมานี้นำโดยเฉินชุนเชงแห่งแผนกจิตวิทยาของโรงพยาบาลเกาสงอ้างการศึกษา DNA ของชาวไต้หวันเปิดเผยประชากรหลายเปอร์เซนต์มีสายเลือดผสมระหว่างชาวฮั่นและชาวพื้นเมือง

พื้นที่อื่น ๆ

[แก้]

จากจำนวนชาวฮั่นนอกประเทศจีนประมาณ 40 ล้านคนทั่วโลก เกือบ 30 ล้านคนอาศัยอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สิงคโปร์มีจำนวนประชากรชาวฮั่นเป็นประชากรส่วนใหญ่ที่มากสุดที่ 74% เกาะคริสต์มาสก็มีประชากรชาวฮั่นเป็นส่วนใหญ่ที่ 70% ประชากรชาวฮั่นจำนวนมากยังอาศัยอยู่ใน มาเลเซีย (25%) ใน ประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นชาวแต้จิ๋วซึ่งไม่ได้พูดภาษาฮั่น อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ส่วนที่อื่นในโลกคนเชื้อสายฮั่น 3 ล้านคนอาศัยในสหรัฐอเมริกาซึ่งคิดเป็น 1% ของจำนวนประชากร, มากกว่า 1 ล้านคนในแคนาดา (3.7%), มากกว่า 1.3 ล้านคนในเปรู (4.3%), มากกว่า 6 แสนคนในออสเตรเลีย (3.5%), เกือบ 150,000 คนในนิวซีแลนด์ (3.7%) และ 750,000 คนในแอฟริกา

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ก่อนประวัติศาสตร์และพวกหัวเซี่ย

[แก้]

ประวัติความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์ฮั่นสัมพันธ์อยู่กับประวัติศาสตร์ของจีนอย่างใกล้ชิด ชาวฮั่นตามรอยบรรพบุรุษของพวกเขากลับไปถึงชาวหัวเซี่ยซึ่งอาศัยอยู่ตลอดลำแม่น้ำฮวงโหหรือแม่น้ำเหลืองในจีนตอนเหนือ หนังสือ "บันทึกประวัติศาสตร์" ของนักประวัติศาสตร์จีนที่มีชื่อเสียง ซือหม่าเชียน จัดให้รัชสมัยของจักรพรรดิเหลืองซึ่งเป็นบรรพบุรุษในตำนานของชาวฮั่นไว้ในตอนเริ่มต้นของประวัติศาสตร์จีน แม้ว่าการศึกษาประวัติศาสตร์ในยุคนี้ยากที่จะเข้าใจเนื่องจากขาดแคลนบันทึกทางประวัติศาสตร์ การค้นพบแหล่งโบราณคดีได้ชี้ชัดการสืบต่อจากวัฒนธรรมนีโอลิทิค (ยุคหินใหม่) ตลอดลำแม่น้ำเหลือง โดยตลอดช่วงกลางของแม่น้ำเหลืองเป็นที่ตั้งของวัฒนธรรม Jiahu (7,000 ถึง 6,600 ปีก่อนคริสตกาล), วัฒนธรรม Yangshao (5,000 ถึง 3,000 ปีก่อนคริสตกาล), วัฒนธรรม Longshan (3,000 ถึง 2,000 ปีก่อนคริสตกาล) และตลอดแม่น้ำเหลืองตอนล่างเป็นที่ตั้งของวัฒนธรรม Qingliangang (5,400 ถึง 4,000 ปีก่อนคริสตกาล), วัฒนธรรม Dawenkou culture (4,300 ถึง 2,500 ปีก่อนคริสตกาล), วัฒนธรรม Longshan (2,500 ถึง 2,000 ปีก่อนคริสตกาล) และวัฒนธรรม Yueshi

ช่วงแรกของประวัติศาสตร์

[แก้]

ราชวงศ์แรกที่ได้รับการพรรณาในบันทึกประวัติศาสตร์ของจีนคือราชวงศ์เซี่ย เป็นช่วงเวลาในตำนานเนื่องจากมีหลักฐานทางโบราณคดีไม่เพียงพอ พวกเขาถูกล้มล้างโดยคนจากทิศตะวันออกที่ก่อตั้งราชวงศ์ซาง (1,600-1,040 ปีก่อนคริสตกาล) ตัวอย่างทางโบราณคดีแรกสุดของอักษรจีนย้อนกลับไปถึงช่วงเวลานี้จากอักขระที่สลักบนกระดูกทำนายดวงชะตา เหล่าอักขระทำนายที่พัฒนาอย่างดีแล้วบอกใบ้ถึงจุดกำเนิดแรกเริ่มของตัวอักษรในจีน ในท้ายที่สุดพวกซางถูกล้มล้างโดยพวกโจว ซึ่งได้ปรากฏขึ้นเป็นรัฐแล้วแถวแม่น้ำเหลืองเมื่อสองพันปีก่อนคริสตกาล

พวกโจวเป็นผู้สืบทอดต่อมาจากพวกซางโดยใช้ภาษาและวัฒนธรรมร่วมกับชาวซาง พวกเขาได้ขยายอาณาเขตรวบรวมพื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของแม่น้ำแยงซี จากการเข้ายึดครองและครอบครอง พื้นที่ส่วนใหญ่แห่งนี้จึงตกอยู่ใต้อิทธิพลของการทำให้เป็นจีน และวัฒนธรรมจีนฮั่นต้นแบบก็แผ่ขยายไปทางใต้ อย่างไรก็ตามอำนาจของกษัตริย์โจวแตกเป็นเสี่ยง ๆ และได้เกิดรัฐอิสระขึ้นมากมาย ในยุคนี้ได้ถูกแบ่งเป็นสองช่วงได้แก่ ยุคฤดูใบไม้ผลิและใบไม้ร่วง (Spring and Autumn) และยุคสงครามรณรัฐ (Warring States) ช่วงเวลานี้เป็นยุคของการพัฒนาวัฒนธรรมและความคิดปรัชญาหลัก ๆ รู้จักกันในชื่อว่า The Hundred Schools of Thought ในจำนวนหลักปรัชญาที่สำคัญที่สุดที่เหลือรอดจากยุคนี้คือหลักคำสอนของลัทธิเต๋าและขงจื๊อ

ประวัติศาสตร์จักรวรรดิ

[แก้]
อนุสาวรีย์หินอ่อนของของฉินสื่อหวงตั้งอยู่ใกล้กับหลุมฝังพระศพ
รูปปั้นหญิงและชายชาวฮั่น ศิลปะกระเบื้องเซรามิกจากยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตก

ยุคของสงครามรณรัฐสิ้นสุดลงด้วยการรวมประเทศจีนโดยราชวงศ์ฉินหลังจากเอาชนะรัฐอริอื่น ๆ ทั้งหมด ผู้นำฉินสื่อหวงประกาศตนเป็นจักรพรรดิพระองค์แรกตำแหน่งที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่แต่ได้เป็นแบบอย่างไปอีกสองพันปีข้างหน้า พระองค์สถาปนารัฐรวมศูนย์อำนาจขึ้นใหม่แทนระบบศักดินาเก่า สร้างระเบียบแบบแผนมากมายของจักรวรรดิจีน และรวมประเทศทั้งทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมโดยประกาศมาตรฐานหน่วยชั่งตวงวัด ตัวอักษรและเงินตราเป็นหนึ่งเดียว

อย่างไรก็ตามรัชสมัยของราชวงศ์แรกอันเกรียงไกรก็อยู่ไม่นาน เนื่องจากกฎอาญาสิทธิ์ของจักรพรรดิองค์แรกและโครงการก่อสร้างขนาดมหึมาของพระองค์ เช่น กำแพงเมืองจีน ปลุกปั่นให้เกิดการก่อกบฏไปสู่ราษฏร ราชวงศ์ล่มสลายในไม่ช้าหลังจากพระองค์เสด็จสวรรคต ราชวงศ์ฮั่น (260-220 ปีก่อนคริสตกาล) ปรากฏขึ้นจากความพยายามสืบทอดอำนาจและประสบความสำเร็จในการสถาปนาราชวงศ์ที่ยืนยาวกว่าขึ้น และได้สานต่อระเบียบแบบแผนจำนวนมากที่ได้สร้างโดยฉินสื่อหวงแต่บรรเทากฎเกณฑ์ต่าง ๆ ลง ภายใต้ราชวงศ์ฮั่นศิลปะและวัฒนธรรมได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาก ในขณะที่ราชวงศ์แผ่ขยายอำนาจทางทหารไปทุกทิศทาง ช่วงเวลานี้ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์จีน ชาวฮั่นรับเอาชื่อมาจากราชวงศ์นี้นั่นเอง

การล่มสลายของราชวงศ์ฮั่นตามมาด้วยยุคแห่งการแตกแยกและอีกหลายศตวรรษแห่งความขัดแย้งท่ามกลางการสู้รบระหว่างอาณาจักรต่าง ๆ ในช่วงเวลานี้พื้นที่ทางตอนเหนือของจีนถูกรุกรานโดยชนเผ่าเร่ร่อนหลากหลายที่ไม่ใช่คนในแผ่นดินจีนซึ่งมาสถาปนาอาณาจักรของตัวเอง ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคืออาณาจักรเว่ยเหนือสถาปนาโดยเซียนเปย์ นับจากช่วงเวลานี้เป็นต้นไปที่ประชากรพื้นเมืองของจีนเริ่มถูกเรียกว่าชาวฮั่น หรือ คนของฮั่น เพื่อแบ่งแยกจากพวกเร่ร่อนจากทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ "ฮั่น" จึงหมายถึงราชวงศ์เก่า การสู้รบและการรุกรานนำมาซึ่งหนึ่งในการอพยพครั้งยิ่งใหญ่ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ราษฎรฮั่น ขณะที่เหล่าราษฏรหนีลงใต้ไปที่แม่น้ำแยงซีและเลยออกไปโดยค่อย ๆ เคลื่อนย้ายศูนย์รวมประชากรชาวฮั่นไปทางใต้ และเร่งกระบวนการทำให้เป็นฮั่นในภาคใต้อันห่างไกล ในเวลาเดียวกันทางตอนเหนือชนเผ่าเร่ร่อนส่วนใหญ่ในจีนตอนเหนือก็กลายเป็นจีน เมื่อพวกเขาปกครองเหนือชาวฮั่นจำนวนมากและรับเอาส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและการบริหารปกครองแบบฮั่น หมายเหตุ พวกผู้ปกครองชาวเซียนเปย์แห่งอาณาจักรเว่ยเหนือได้ออกคำสั่งกำหนดนโนบายการทำให้เป็นฮั่นอย่างเป็นระบบโดยรับเอานามสกุลแบบฮั่น ระเบียบแบบแผนและวัฒนธรรมไป

ราชวงศ์สุ่ย (581–618) และถัง (618–907) เห็นความต่อเนื่องของกระบวนการทำให้เป็นฮั่นอย่างสมบูรณ์ในชายฝั่งทางใต้ที่ตอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน รวมทั้งส่วนที่เป็นจังหวัดฝูเจี้ยนและกวางตุ้ง ในตอนปลายราชวงศ์ถังรวมทั้งยุคห้าราชวงศ์ถัดมาประสบกับการสู้รบที่ต่อเนื่องยาวนานทางตอนเหนือและกลางของจีน ความมั่งคงของชายฝั่งทางใต้เมื่อเทียบกันแล้วทำให้เป็นจุดหมายที่น่าดึงดูดใจสำหรับผู้ลี้ภัย

อีกสองสามศตวรรษถัดมาต้องประสบกับการรุกรานอย่างต่อเนื่องของคนที่ไม่ใช่ฮั่นจากทางเหนือ เช่น พวก Khitan และ Jurchen ในปี 1279 พวกมองโกล (ราชวงศ์หยวน) ก็เอาชนะประเทศจีนได้ทั้งหมด นับเป็นครั้งแรกที่คนที่ไม่ใช่คนในแผ่นดินจีนจะทำเช่นนั้นได้ พวกมองโกลแบ่งสังคมออกเป็นสี่ชนชั้นโดยจัดให้พวกตัวเองอยู่ชั้นบนสุด และชาวฮั่นอยู่สองชั้นล่างสุด ส่วนราชวงศ์ซ่งและหยวนก็สั่งห้ามการอพยพเพราะเห็นว่าเป็นการไม่จงรักภักดีต่อบรรพบุรุษและแผ่นดินเกิด ถ้าจับได้ต้องถูกลงโทษอย่างรุนแรง

ในปี 1368 ผู้ต่อต้านชาวฮั่นขับไล่พวกมองโกลออกไป หลังจากขัดแย้งกันเองภายในพักหนึ่งก็ได้สถาปนาราชวงศ์หมิง (1368–1644) การตั้งถิ่นฐานของชาวฮั่นในภูมิภาครอบนอกยังคงดำเนินต่อไปในระหว่างช่วงเวลานี้ โดยมณฑลยูนนานทางตะวันตกเฉียงใต้รับผู้อพยพเป็นจำนวนมาก

ในยุคหลังปี ค.ศ. 1644 ชาวแมนจูได้เข้าครองแผ่นดินจีนและตั้งราชวงศ์ชิงขึ้น ชาวฮั่นถูกบังคับให้โกนผมด้านหน้าและไว้หางเปียด้านหลังตามแบบชาวแมนจู

ในปี 1644 ปักกิ่งถูกยึดครองโดยกบฏชาวนานำโดย Li Zicheng และจักรพรรดิหมิงองค์สุดท้ายปลงพระชนม์ชีพพระองค์เอง พวกแมนจู (ราชวงศ์ชิง) ให้การสนับสนุนนายพลของราชวงศ์หมิงอู๋ซานกุ้ยและยึดกรุงปักกิ่งไว้ กองทัพหมิงที่เหลืออยู่นำโดยโคซิงกาจึงหนีไปไต้หวันที่ซึ่งในท้ายที่สุดพวกเขายอมจำนนต่อกองทัพชิงในปี 1683 เกาะไต้หวันที่ผู้อยู่อาศัยแต่เดิมส่วนใหญ่เป็นชาวพื้นเมืองที่ไม่ใช่ฮั่นถูกทำให้กลายเป็นฮั่นโดยผู้อพยพจำนวนมากประกอบกับการผสมกลมกลืนไปด้วยในช่วงเวลานี้ แม้ว่าจะมีความพยายามจากพวกแมนจูในการขัดขวางก็ตาม เนื่องจากพวกแมจูพบความยากลำบากในการควบคุมดูแลเกาะแห่งนี้ ในขณะเดียวกันพวกแมนจูก็ห้ามไม่ให้ชาวฮั่นอพยพไปแมนจูเรีย เพราะพวกแมนจูเห็นว่าเป็นฐานที่มั่นของราชวงศ์ ในปี 1681 พวกแมนจูจึงสั่งให้ก่อสร้างคูน้ำและทำนบเพื่อห้ามชาวฮั่นไม่ให้ตั้งถิ่นฐานเลยออกไปจากเขตนี้ ราชวงศ์ชิงเริ่มเข้าครอบครองแผ่นดินพร้อมชาวจีนฮั่นในภายหลังภายใต้กฎของราชวงศ์ การเคลื่อนย้ายชาวฮั่นครั้งนี้ไปแมนจูเรียถูกเรียกว่า Chuang Guandong (ในระหว่างราชวงศ์ก่อน ๆ การตั้งถิ่นฐานของชาวฮั่นในแมนจูเรียอยู่ทางตอนใต้เป็นหลัก ที่ซึ่งตอนนี้เป็นมณฑลเหลียวหนิง อย่างไรก็ตามในช่วงระหว่างและหลังจากปลายราชวงศ์ชิงชาวฮั่นได้ตั้งถิ่นฐานและกลายเป็นประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่เกือบทั้งหมดของแมนจูเรีย)

ในศตวรรษที่ 19 ผู้อพยพชาวฮั่นเป็นจำนวนมากอพยพไปส่วนอื่น ๆ ของโลก รวมทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ออสเตรเลีย และอเมริกาเหนือ

ประวัติเมื่อไม่นานมานี้

[แก้]

ราชวงศ์ชิงถูกแทนที่โดยสาธารณรัฐจีนในปี 1912 ในปี 1942 สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ถูกก่อตั้งขึ้นภายหลังสิ่นสุดสงครามกลางเมือง ในขณะที่สาธารณรัฐจีนล่าถอยไปไต้หวัน ผู้ลี้ภัยประมาณหนึ่งล้านคนหนีไปด้วยทำให้ประชากรไต้หวันเพิ่มขึ้นอีก ในปี 1980 นโยบายลูกคนเดียวถูกนำมาใช้ในสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อควบคุมการเพิ่มจำนวนประชากร ซึ่งมีผลบังคับใช้กับชาวฮั่นเท่านั้น

การอพยพของชาวจีนไปโพ้นทะเลก็ได้ดำเนินต่อมาจนถึงศตวรรษที่ 20 และ 21 การกลับมาของฮ่องกงสู่การปกครองของจีนในปี 1977 ก่อให้เกิดคลื่นอพยพขนาดใหญ่ของชาวจีนฮ่องกงไปอเมริกาเหนือ, ออสเตรเลีย และที่อื่น ๆ ชาวจีนไปปรากฏอยู่ในยุโรปเช่นเดียวกับในรัสเซียโดยเฉพาะอย่างยิ่งตะวันออกไกลของรัสเซียด้วย

วัฒนธรรม

[แก้]
ริมแม่น้ำในเทศกาลชิงหมิง เก็บภาพบรรยากาศการใช้ชีวิตของผู้คนจากยุคซ่งในเมืองหลวง เบียนจิง, เมืองไคฟงในทุกวันนี้

จีนเป็นหนึ่งในอารยธรรมที่เก่าแก่และซับซ้อนที่สุดของโลก วัฒนธรรมจีนย้อนกลับไปได้นับพัน ๆ ปี ชาวฮั่นบางส่วนเชื่อว่าพวกเขาล้วนมีบรรพบุรุษร่วมกัน ซึ่งเล่าปรัมปราถึงหัวหน้าชนเผ่าอาวุโส จักรพรรดิเหลืองและจักรพรรดิยันเมื่อหลายพันปีก่อน ดังนั้นชาวฮั่นบางส่วนจึงเรียกตนเองว่า "ลูกหลานของจักรพรรดิเหลืองและเหยียน" วลีที่มีความหมายโดยนัยสะท้อนบรรยากาศการเมืองที่แตกแยกดังในจีนแผ่นดินใหญ่และไต้หวัน ตลอดประวัติศาสตร์ของจีน วัฒนธรรมของจีนได้รับอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงจากลัทธิขงจื้อ ซึ่งได้สร้างรูปแบบความคิดแบบจีนมากมาย ลัทธิขงจื้อเป็นหลักปรัชญาอย่างเป็นทางการตลอดช่วงประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ของจีนยุคจักรวรรดิ ความรอบรู้ในหลักคำสอนของขงจื้อคือหลักเกณฑ์อันแรกสำหรับการสอบเข้ารับราชการ

ภาษา

[แก้]
แผนที่แสดงพื้นที่ที่มีกลุ่มชาวฮั่นที่พูดสำเนียงภาษาจีนท้องถิ่นต่าง ๆ ในประเทศจีน

ชาวจีนพูดภาษาหลากหลายแบบ หนึ่งในชื่อของกลุ่มภาษานั้นคือ "ฮั่นอวี่" หมายถึงภาษาฮั่น (อวี่ แปลว่า ภาษา) ในทำนองเดียวกันอักษรจีนที่ใช้เขียนภาษาเรียกว่า "ฮั่นจื่อ" หรืออักษรฮั่น (จื่อ แปลว่าตัวหนังสือ)ในขณะที่มีภาษาถิ่นอยู่มากมายแต่ภาษาเขียนมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างมาก ความเป็นเอกภาพนี้ต้องยกให้ราชวงศ์ฉินซึ่งได้สร้างมาตรฐานให้กับรูปแบบการเขียนอันหลากหลายของจีนในยุคนั้น เป็นเวลานับพัน ๆ ปีภาษาเขียนโบราณ (Classical Chinese) ถูกใช้เป็นรูปแบบการเขียนมาตรฐานในหมู่ปัญญาชนซึ่งใช้คำศัพท์และหลักไวยากรณ์ซึ่งอาจแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับภาษาพูดอันหลากหลาย

ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ภาษาเขียนมาตรฐาน หรือ ภาษาเขียนสมัยใหม่ (Written Vernacular Chinese) ที่มีรากฐานจากภาษาฮั่นปักกิ่งซึ่งได้พัฒนาขึ้นสองสามร้อยปีมาแล้ว ถูกทำให้เป็นมาตรฐานและรับเข้ามาใช้เพื่อแทนที่ภาษาเขียนโบราณ ในขณะที่รูปแบบการเขียนสมัยใหม่ในภาษาจีนอื่น ๆ เช่น ภาษาเขียนกวางตุ้ง ยังมีอยู่ แต่ภาษาเขียนแบบปักกิ่งเป็นที่เข้าใจกว้างขวางกว่าในหมู่ผู้พูดภาษาจีนทั้งหมดและมีความสำคัญกว่าในพวกภาษาเขียนซึ่งก่อนหน้านี้เคยใช้โดยภาษาเขียนโบราณ ดังนั้นแม้ว่าผู้อาศัยในภูมิภาคต่างิๆ ไม่มีความจำเป็นต้องเข้าใจคำพูดของกันและกัน เพราะพวกเขาใช้ภาษาเขียนร่วมกัน

ต้นทศวรรษที่ 1950 อักษรฮั่นตัวย่อถูกรับเข้ามาใช้ในจีนแผ่นดินใหญ่และต่อมาในสิงคโปร์ ในขณะที่ชุมชนชาวจีนอื่น ๆ ในฮ่องกง, มาเก๊า, สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และจีนโพ้นทะเล ยังใช้อักษรฮั่นตัวเต็มต่อไป ในขณะเดียวกันมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญอยู่ระหว่างชุดอักษรทั้งคู่ ซึ่งไม่สามารถเข้าใจกันได้อยู่เป็นจำนวนมาก

การแบ่งภาษาตามท้องถิ่น

[แก้]

ชาวฮั่นมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเองเรียกว่า ภาษาฮั่น 漢語 (ฮั่นอวี่) มีตัวอักษรเรียกว่า อักษรฮั่น 漢字 (ฮั่นจื่อ) ซึ่งยังแบ่งเป็นภาษาถิ่นอีกหลายภาษา อาทิ ภาษาถิ่นทางภาคเหนือ (北方話) ภาษากวางตุ้ง (粵語) ภาษาแคะ (客家話) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยเหมิน (閩南語) ภาษาถิ่นฮกเกี๊ยน (閩北語) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยงไฮ้-เจียงซู-เจ้อเจียง (吳語) ภาษาถิ่นแถบหูหนัน (湘語) และภาษาถิ่นแถบเจียงซี (贛語)

ชื่อเรียก

[แก้]

ชื่อจีนปกติแล้วมีความยาวสองหรือสามพยางค์โดยนามสกุลมาก่อนชื่อแรก นามสกุลปกติแล้วมีความยาวหนึ่งตัวอักษร แม้ว่านามสกุลจำนวนหนึ่งที่พบได้น้อยมีความยาวสองพยางค์หรือมากกว่า ในขณะที่ชื่อแรกมีหนึ่งหรือสองพยางค์ ในจีนมี 4,000 ถึง 6,000 นามสกุล ในจำนวนนั้นประมาณ 1,000 นามสกุลพบได้บ่อยที่สุด

ในอดีตของประเทศจีน ร้อยสกุล (百家姓) นามสกุลที่พบบ่อยทั้งหนึ่งร้อยเป็นอัตลักษณ์ที่ขาดไม่ได้ของชาวฮั่น นอกเหนือจากวัฒนธรรมและตัวอักษรร่วมกันแล้วการมีต้นตระกูลร่วมกันในนามสกุลคืออีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่มีส่วนร่วมในอัตลักษณ์ของชาวฮั่น

การแต่งกาย

[แก้]

ทุกวันนี้ชาวฮั่นทั่วไปสวมใส่เสื้อผ้าตามแบบตะวันตก ส่วนน้อยสวมใส่เสื้อผ้าแบบชาวฮั่นดั้งเดิมเป็นประจำ อย่างไรก็ตามชุดแบบจีนสงวนไว้สำหรับ เครื่องแต่งกายในศาสนาและพิธีการ ตัวอย่างเช่น พระในลัทธิเต๋าสวมใส่ชุดเดียวกับบัณฑิตในสมัยราชวงศ์ฮั่น ชุดพิธีการในญี่ปุ่นอย่างเช่นพระในลัทธิชินโตเหมือนมากกับชุดพิธีการในจีนในสมัยราชวงศ์ถัง ในปัจจุบันชุดจีนแบบดั้งเดิมที่นิยมมากที่สุดสวมใส่โดยหญิงสาวมากมายในโอกาสสำคัญ ๆ เช่น งานแต่งงานและงานปีใหม่เรียกว่ากี่เพ้า อย่างไรก็ตามเครื่องแต่งกายเหล่านี้ไม่ใช่มาจากชาวฮั่นแต่มาจากการดัดแปลงชุดแต่งกายของชาวแมนจู ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ปกครองประเทศจีนระหว่างศตวรรษที่ 17 ถึงต้นศตวรรษที่ 20

ที่อยู่อาศัย

[แก้]

บ้านแบบฮั่นแตกต่างจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ชาวฮั่นในปักกิ่งอาศัยรวมกันทั้งครอบครัวในบ้านหลังใหญ่ที่มีลักษณะสี่เหลี่ยม บ้านแบบนี้เรียกว่า 四合院 บ้านเหล่านี้มีสี่ห้องทางด้านหน้าได้แก่ ห้องรับแขก, ครัว, ห้องน้ำ และส่วนของคนรับใช้ ข้ามจากประตูคู่บานใหญ่คือส่วนสำหรับผู้สูงอายุในครอบครัว ส่วนนี้ประกอบด้วยสามห้อง ห้องกลางสำหรับสักการะแผ่นจารึก 4 แผ่นได้แก่ สวรรค์, โลกมนุษย์, บรรพบุรุษ และอาจารย์ มีสองห้องที่อยู่ติดทางด้านซ้ายและขวาเป็นห้องนอนสำหรับปู่ย่าตายาย ส่วนด้านตะวันออกของบ้านสำหรับลูกชายคนโตกับครอบครัว ในขณะที่ด้านตะวันตกสำหรับลูกชายคนรองกับครอบครัว แต่ละด้านมีเฉลียงบางบ้านมีห้องรับแสงแดดสร้างจากผ้ามีโครงเป็นไม้หรือไม้ไผ่ ทุก ๆ ด้านของบ้านสร้างอยู่ล้อมรอบลานบ้านตรงกลางสำหรับเล่าเรียน, ออกกำลังกายหรือชมวิวธรรมชาติ

"ฮั่น" แนวคิดที่เปลี่ยนไปมา

[แก้]

คำจำกัดความของความเป็นฮั่นนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปตลอดช่วงประวัติศาสตร์ ก่อนศตวรรษที่ 20 กลุ่มคนที่พูดภาษาอื่นบางกลุ่ม เช่น ฮากกา และ ทันกา ไม่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นชาวฮั่น ในขณะที่บางครั้งคนบางกลุ่มที่ไม่ได้พูดภาษาฮั่นเช่น จ้วง กลับเป็นชาวฮั่น ทุกวันนี้ชาวหุยได้รับการพิจารณาเป็นอีกกลุ่มชาติพันธุ์ แต่นอกเหนือจากการปฏิบัติตามศาสนกิจของศาสนาอิสลามแล้วมีสิ่งเล็กน้อยที่แบ่งแยกพวกเขาจากพวกฮั่น ชาวฮั่นสองคนจากพื้นที่ต่างกันอาจจะแตกต่างในทางภาษา, ประเพณีและวัฒนธรรมมากกว่าชาวหุยกับชาวฮั่นที่อาศัยอยู่ใกล้ชิดกันเสียอีก ในระหว่างราชวงศ์ชิงชาวฮั่นที่ได้เข้าสู่ระบบทหารแปดกองธงถือว่าป็นชาวแมนจู ในขณะที่ชาวฮั่นชาตินิยมกำลังหาหนทางโค่นล้มระบอบกษัตริย์ก็ได้เน้นย้ำความเป็นฮั่นเพื่อให้แตกต่างจากผู้ปกครองชาวแมนจู นับตั้งแต่ก่อตั้งประเทศมาสาธารณรัฐจีนให้การรับรอง 5 กลุ่มชาติพันธุ์หลักได้แก่ ฮั่น, หุย, มองโกล, แมนจู และทิเบต ในขณะที่ตอนนี้สาธารณรัฐประชาชนจีนให้การรับรอง 56 กลุ่มชาติพันธุ์

ไม่ว่าจะมีนิยามของกลุ่มชาติพันธุ์ในจีนสมัยก่อนหรือไม่ยังคงเป็นคำถามที่น่าสงสัย อย่างไรก็ตามตลอดระยะเวลาประวัติศาสตร์ ชาวจีนส่วนใหญ่คิดว่าแต่ละคนเป็นพลเมืองของราชอาณาจักรใด ๆ โดยเฉพาะ ถึงกระนั้นก็ตามความเป็นเอกภาพหนึ่งเดียวภายใต้การปกครองของหลากหลายราชวงศ์ที่นำโดยชาวฮั่นนับพัน ๆ ปีได้นำมาซึ่งอัตลักษณ์ร่วมกัน นักวิชาการชาวจีนมากมายเช่น โห ปิงตี้ เชื่อว่านิยามของชาติพันธุ์ฮั่นเป็นของโบราณ นับย้อนไปถึงราชวงศ์ฮั่นนั่นเอง

การวิเคราะห์ DNA

[แก้]

Haplogroup O3 (Y-DNA) คือ เครื่องหมายดีเอ็นเอที่มีร่วมกันในชาวฮั่น ดังที่มันปรากฏในจีนในช่วงเวลาก่อนประวัติศาสตร์ มันถูกพบในผู้ชายชาวจีนมากกว่า 50% และถึงมากกว่า 80% ในบางกลุ่มย่อยของชาติพันธุ์ จีน - ทิเบต [3] อย่างไรก็ตามไมโตคอนเดรียดีเอ็นเอ (mtDNA) ของชาวฮั่นมีความหลากหลายเพิ่มขึ้นเมื่อมองจากจีนทางเหนือไปทางใต้ ซึ่งบ่งบอกว่าเพศชายบางส่วนได้อพยพจากจีนตอนเหนือ แต่งงานกับผู้หญิงพื้นเมืองทางใต้หลังจากมาถึงกวางตุ้ง, ฝูเจี้ยนและพื้นที่อื่น ๆ ของจีนตอนใต้ อย่างไรก็ดีการทดสอบเปรียบเทียบลักษณะทางพันธุกรรมของชาวฮั่นเหนือ, ชาวฮั่นใต้และชาวพื้นเมืองทางใต้ระบุว่า Haplogroup O1b-M110, O2a1-M88 และ O3d-M7 ซึ่งแพร่หลายในคนพื้นเมืองทางใต้พบได้ในชาวฮั่นใต้บางส่วนเท่านั้น (เฉลี่ย 4%) แต่ไม่พบในชาวฮั่นเหนือ ดังนั้นนี่จึงพิสูจน์ได้ว่าการมีส่วนร่วมของผู้ชายพื้นเมืองทางใต้ไปสู่ชาวฮั่นใต้มีจำกัด ในทางกลับกันมีความเหมือนของพันธุกรรมที่สอดคล้องกันอย่างมากในการกระจายตัวของโครโมโซม Y Haplogroup ระหว่างประชากรจีนทางเหนือและทางใต้ และผลของการวิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญ (Principal Component Analysis) ระบุว่าประชากรฮั่นเกือบทั้งหมดสร้างการจับกลุ่มกันในโครโมโซม Y ของพวกเขา อีกทั้งการประมาณการมีส่วนร่วมของชาวฮั่นเหนือไปสู่ชาวฮั่นใต้นั้นมีมากมายทั้งเชื้อสายทางบิดาและมารดา สำหรับ mtDNA นั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามภูมิศาสตร์ ผลที่ได้คือชาวฮั่นเหนือเป็นผู้ให้หลักสู่ยีนพูลของชาวฮั่นใต้ อย่างไรก็ตามน่าสังเกตว่ากระบวนการแผ่ขยายเป็นการนำโดยเพศชายเป็นหลักดังที่แสดงให้เห็นจากการมีส่วนร่วมอย่างมากมายในโครโมโซม Y มากกว่าใน mtDNA จากชาวฮั่นเหนือไปสู่ชาวฮั่นใต้ การสังเกตลักษณะพันธุกรรมเหล่านี้สอดคล้องกับบันทึกทางประวัติศาสตร์ของคลื่นอพยพขนาดใหญ่ของผู้ที่อยู่อาศัยทางเหนือของจีนเพื่อหลบหนีภัยสงครามและความอดอยากไปจีนตอนใต้ นอกจากคลื่นผู้อพยพเหล่านี้แล้ว การอพยพขนาดเล็กกว่าไปทางใต้ก็เกิดขึ้นอยู่เกือบตลอดเวลาสองพันปีที่ผ่านมา ยิ่งกว่านั้นการศึกษาของสถาบันวิทยาศาสตร์จีนในเรื่องข้อมูลทางพันธุกรรมในฮั่นกลุ่มย่อยและชนกลุ่มน้อยในจีนแสดงว่าประชากรฮั่นกลุ่มย่อยในพื้นที่ต่างๆมีความใกล้ชิดทางพันธุกรรมกับคนพื้นเมืองนั้น ๆ และนั่นหมายความว่าในหลายกรณีเลือดของชนกลุ่มน้อยได้ผสมกับชาวฮั่น ในขณะเดียวกันเลือดของชาวฮั่นก็ผสมกับชนกลุ่มน้อยนั้น ล่าสุดเมื่อเร็ว ๆ นี้การศึกษา Genome-Wide Association มากมายเกี่ยวกับประชากรฮั่นแสดงให้เห็นว่าการกระจายของพันธุกรรมเชิงภูมิศาสตร์จากเหนือสู่ใต้เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยมาก ในท้ายที่สุดด้วยข้อยกเว้นในบางสาขาของภาษาพูดของชาวฮั่น เช่น ผิงหัว ประชากรฮั่นทั้งมวลล้วนมีโครงสร้างพันธุกรรมที่สอดคล้องกัน

ความหลากหลายของชาวฮั่น

[แก้]

นอกเหนือจากความหลากหลายของภาษาพูดซึ่งล้วนสืบทอดมาจากบรรพบุรุษจีนยุคเก่าร่วมกันแล้ว ก็ยังมีความแตกต่างในวัฒนธรรมระหว่างชาวจีนฮั่นแต่ละภูมิภาคอีกด้วย ตัวอย่างเช่น อาหารจีนนั้นมีความหลากหลายตั้งแต่อาหารรสเผ็ดร้อนอันโด่งดังของเสฉวน ไปจนถึงติ่มซำและอาหารทะเลสด ๆ ของกวางตุ้ง อย่างไรก็ตามเช่นเดียวกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ความรู้สึกร่วมในวัฒนธรรม(หรืออย่างน้อยทางการเมือง)ยังคงมีอยู่ระหว่างกลุ่มที่หลากหลายเนื่องจากมีวัฒนธรรม, การประพฤติปฏิบัติ, ภาษา และการปฏิบัติศาสนกิจ ร่วมกัน เอกสารทางประวัติศาสตร์ระบุว่าชาวฮั่นสืบเชื้อสายมาจากชนเผ่าหัวเซี่ยโบราณของจีนตอนเหนือ ระหว่างช่วงสองพันปีที่ผ่านมาวัฒนธรรมฮั่น (นั่นคือภาษาและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง) ได้ขยายไปสู่จีนตอนใต้ พื้นที่ที่เป็นที่อยู่อาศัยของคนพื้นเมืองทางใต้ รวมทั้งผู้ที่พูดตระกูลภาษาขร้า-ไท, ออสโตรเอเชียติก และม้ง-เมี่ยน ในขณะที่วัฒนธรรมหัวเซี่ยแผ่ขยายจากพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำเหลืองก็ได้ดูดกลืนเอากลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ซึ่งภายหลังได้กลายมาเป็นชาวฮั่นเมื่อกลุ่มเหล่านี้รับเอาภาษาและวัฒนธรรมฮั่นไปนั่นเอง

อ้างอิง

[แก้]
  1. Minahan, James B. (2014). Ethnic Groups of North, East, and Central Asia: An Encyclopedia. ABC-CLIO. pp. 89–95. ISBN 978-1-61069-018-8.
  2. CIA Factbook เก็บถาวร 2016-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน: "Han Chinese 91.6%" out of a reported population of 1,379 billion (July 2017 est.)
  3. Place of birth เก็บถาวร 2019-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 2016 Hong Kong census
  4. 2018 Demographics
  5. Barbara A. Peru (2009), Encyclopedia of the Peoples of Asia and Oceania, Facts on File, p. 794, ISBN 1-4381-1913-5.
  6. "Department of Statistics Malaysia Official Portal". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-12.
  7. "Race Reporting for the Asian Population by Selected Categories: 2010 more information". United States Census Bureau. สืบค้นเมื่อ 19 January 2014.
  8. Kewarganegaraan, Suku Bangsa, Agama dan Bahasa Sehari-hari Penduduk Indonesia Hasil Sensus Penduduk, 2010. Badan Pusat Statistik. 2011. ISBN 978-979-064-417-5.
  9. "Home" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-10-21.
  10. "The World Factbook". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2010. สืบค้นเมื่อ 17 February 2016.
  11. Asia Pacific Foundation of Canada. "Population by Ethnic Origin by Province". Asia Pacific Foundation of Canada. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-22. สืบค้นเมื่อ 17 February 2016.
  12. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-09. สืบค้นเมื่อ 2016-07-29.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก��)
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 13.5 13.6 "The Ranking of Ethnic Chinese Population". Overseas Compatriot Affairs Commission, R.O.C. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2011. สืบค้นเมื่อ 23 September 2016.
  14. "2016 Census QuickStats: Australia". quickstats.censusdata.abs.gov.au (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-30. สืบค้นเมื่อ 31 October 2018.
  15. "General Statistics Office Of Vietnam". 13 November 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 November 2010. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  16. 平成29年度末在留外国人確定値 (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). Ministry of Justice. 2018-04-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-03-27. สืบค้นเมื่อ 2018-04-13.[ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]
  17. "Población china en Venezuela". January 2019. สืบค้นเมื่อ 7 January 2019.
  18. "2011 Census: Ethnic group, local authorities in the United Kingdom". Office for National Statistics. 11 October 2013. สืบค้นเมื่อ 13 April 2015.
  19. Park, Yoon Jung (2009). Recent Chinese Migrations to South Africa – New Intersections of Race, Class and Ethnicity (PDF). Representation, Expression and Identity. Interdisciplinary Perspectives. ISBN 978-1-904710-81-3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ December 28, 2010. สืบค้นเมื่อ September 20, 2010.
  20. "Cittadini Non Comunitari: Presenza, Nuovi Ingressi e Acquisizioni di Cittadinanza: Anni 2015–2016" (PDF). Istat.it. สืบค้นเมื่อ 12 December 2017.
  21. "BiB – Bundesinstitut für Bevölkerungsforschung – Pressemitteilungen – Zuwanderung aus außereuropäischen Ländern fast verdoppelt". Bib-demografiie.de (ภาษาเยอรมัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 ธันวาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2017.
  22. "Foreign national population in Korea up more than 40% in 5 yrs". Maeil Business News Korea. 8 September 2016. สืบค้นเมื่อ 10 May 2018.
  23. "Chinese living in Kingdom more than doubles since '17". 2018-09-14. สืบค้นเมื่อ 15 September 2018.
  24. "Cifras de Población a 1 de enero de 2016 : Estadística de Migraciones 2015 : Adquisiciones de Nacionalidad Española de Residentes 2015" (PDF). Ine.es (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 12 December 2017.
  25. "2013 New Zealand Census". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-15. สืบค้นเมื่อ May 13, 2018.
  26. [1] เก็บถาวร ธันวาคม 4, 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  27. "Little China in Belgrade". BBC News. 2001-02-12. สืบค้นเมื่อ 2010-05-04.
  28. "Chinese-Mexicans celebrate repatriation to Mexico". The San Diego Union-Tribune. Nov 23, 2012. สืบค้นเมื่อ Oct 8, 2017.
  29. "X Censo Nacional de Población y VI de Vivienda 2011, Características Sociales y Demográficas" (PDF). National Institute of Statistics and Census of Costa Rica. July 2012. p. 61. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-06-19. สืบค้นเมื่อ 22 September 2016. Cuadro 23. Costa Rica: Población total por autoidentificación étnica-racial, según provincia, zona y sexo. Chino(a) 9,170
  30. [2] เก็บถาวร ตุลาคม 16, 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  31. 2010 Chinese Spiritual Life Survey conducted by Dr. Yang Fenggang, Purdue University's Center on Religion and Chinese Society. Statistics published in: Katharina Wenzel-Teuber, David Strait. People's Republic of China: Religions and Churches Statistical Overview 2011 เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Religions & Christianity in Today's China, Vol. II, 2012, No. 3, pp. 29–54, ISSN 2192-9289.
  32. Hsu, Cho-yun (2012). China: A Religious State. Columbia University Press. p. 126. ISBN 978-0-231-15920-3.
  33. Yang, Miaoyan (2017). Learning to Be Tibetan: The Construction of Ethnic Identity at Minzu. Lexington Books. p. 7. ISBN 978-1-4985-4463-4.
  34. Who are the Chinese people? (จีน). Huayuqiao.org. Retrieved on 2013-04-26.
  35. Joniak-Luthi, Agnieszka (2015). The Han: China's Diverse Majority. University of Washington Press. p. 3. ISBN 978-0-295-80597-9.
  36. Chow, Kai-wing (2001). Constructing Nationhood in Modern East Asia. University of Michigan Press. p. 2. ISBN 978-0-472-06735-0.
  37. Rawski, Evelyn (2001). The Last Emperors: A Social History of Qing Imperial Institutions. University of California Press. p. 2. ISBN 978-0-520-92679-0.
  38. Li, Xiaobing (2012). China at War: An Encyclopedia. Pentagon Press. p. 155. ISBN 978-81-8274-611-4.
  39. Fairbank, John K. (1983). The Cambridge History of China Volume 12: Republican China, 1912–1949, Part 1. Cambridge University Press. ISBN 978-1-139-05479-9. สืบค้นเมื่อ May 20, 2016.
  40. Wen; และคณะ (2004). "Genetic evidence supports demic diffusion of Han culture". Nature. 431 (7006): 302–05. Bibcode:2004Natur.431..302W. doi:10.1038/nature02878. PMID 15372031.
  41. Kim, Hodong (2004). Holy War in China: The Muslim Rebellion and State in Chinese Central Asia, 1864–1877. Stanford University Press. p. 320. ISBN 978-0-8047-7364-5. สืบค้นเมื่อ May 20, 2016.
  42. Xiaobing Li; Patrick Fuliang Shan (2015). Ethnic China: Identity, Assimilation, and Resistance. Lexington Books. p. 69. ISBN 978-1-4985-0729-5.
  43. Rawski, Evelyn S. (1998). The Last Emperors: A Social History of Qing Imperial Institutions. Stanford University Press. p. 2. ISBN 978-0-520-92679-0.
  44. Ang, Khai C.; Ngu Mee S.; Reid P. Katherine; Teh S. Meh; Aida, Zamzuraida; Koh X.R. Danny; Berg, Arthur; Oppenheimer, Stephen; Salleh, Hood; Clyde M. Mahani; ZainMd M. Badrul; Canfield A. Victor; Cheng C. Keith (2012). "Skin Color Variation in Orang Asli Tribes of Peninsular Malaysia". PLoS ONE. 7 (8): 2. Bibcode:2012PLoSO...742752A. doi:10.1371/journal.pone.0042752. PMC 3418284. PMID 22912732.
  45. Wang, Yuchen; Lu Dongsheng; Chung Yeun-Jun; Xu Shuhua (2018). "Genetic structure, divergence and admixture of Han Chinese, Japanese and Korean populations" (PDF). Hereditas. 155: 19. doi:10.1186/s41065-018-0057-5. PMC 5889524. PMID 29636655.