ฉบับร่าง:Win Win WAR Thailand สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปัน
โปรดรอสักครู่
หน้านี้อาจใช้ระยะเวลานานถึงหนึ่งสัปดาห์ เนื่องจากฉบับร่างจะได้รับการทบทวนตามลำดับ ขณะนี้มี 133 หน้าที่กำลังรอการทบทวน
ขอความช่วยเหลือ
วิธีปรับปรุงบทความของคุณ
คุณยังสามารถดู วิกิพีเดีย:บทความคัดสรร และ วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ เพื่อค้นหาตัวอย่างบทความที่ดีที่สุดของวิกิพีเดียในหัวข้อที่คล้ายกับบทความที่คุณแจ้งทบทวน ทรัพยากรการแก้ไข
|
นี่คือบทความฉบับร่างซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โปรดตรวจสอบว่าเนื้อหามีลักษณะเป็นสารานุกรมและมีความโดดเด่นควรแก่การรู้จักก่อนที่จะเผยแพร่เป็นบทความลงในวิกิพีเดีย กรุณาอดทนรอผู้เขียนคนอื่นมาช่วยตรวจให้ อย่าย้ายหน้าไปเป็นบทความเองโดยพลการ ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำคัญ: ถ้าลบป้ายนี้ออกจะทำให้บันทึกหน้าไม่ได้ ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ Jeabbabe (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 48 วันก่อน (ล้างแคช)
ฉบับร่างนี้ถูกส่งสำหรับการทบทวนแล้วและกำลังรอการทบทวน |
Win Win WAR Thailand สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปัน | |
---|---|
ประเภท | เรียลลิตีโชว์นำเสนอธุรกิจ |
สร้างโดย | ซี อาเซียน |
พิ���ีกร | |
กรรมการ | |
บรรยายโดย | ปิยะ วิมุกตายน |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ประเทศไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ภาษาไทย |
จำนวนฤดูกาล | 6 |
จำนวนตอน | 57 (ณ วันที่ 22 กันยายน 2567 ) |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการผลิต | กิติกร เพ็ญโรจน์ |
สถานที่ถ่ายทำ |
|
กล้อง | หลายกล้อง |
ความยาวตอน | 60 นาที |
บริษัทผู้ผลิต | เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | อมรินทร์ทีวี |
ออกอากาศ | 29 กันยายน 2561 – ปัจจุบัน |
การแสดงที่เกี่ยวข้อง | |
Win Win WAR Thailand OTOP Junior สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปันรุ่นเยาว์ |
Win Win WAR Thailand สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปัน เป็นรายการโทรทัศน์ไทยประเภทเรียลลิตีโชว์การแข่งขันนำเสนอธุรกิจของผู้ประกอบการสังคม ที่สร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งตัวธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สร้างสรรค์รายการโดย ซี อาเซียน ผลิตโดย บริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2561 ทางช่องอมรินทร์ทีวี โดยออกอากาศมาแล้วทั้งหมด 9 ฤดูกาล แบ่งเป็นฤดูกาลปกติ 6 ฤดูกาล และรุ่นเด็ก (Win Win WAR Thailand OTOP Junior) อีก 3 ฤดูกาล
ที่มา
[แก้]Win Win WAR Thailand สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปัน เป็นรายการเรียลลิตีโชว์ที่ศูนย์ซี อาเซียน โดยบริษัท ซี เอ ซี จำกัด ในเครือไทยเบฟเวอเรจ สร้างขึ้น[1] และบริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด นำมาผลิตเป็นรายการโทรทัศน์ โดยมีที่มาจากการที่ซี อาเซียน นำกระแสนิยมเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) และแนวคิดของธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business) มาพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อสังคมในทุกจังหวัด จึงต่อยอดเป็นรายการนี้ขึ้น[2] เพื่อเชื่อมโยงบุคลากรรุ่นใหม่ภายในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ให้เกิดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ[3]
รูปแบบรายการ
[แก้]Win Win WAR Thailand สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปัน เปิดรับสมัครเยาวชนและนักธุรกิจที่มีอายุไม่เกิน 35 ปี ที่เป็นผู้ประกอบการสังคม (Social Entrepreneur) ที่สนใจ หรือมีแนวคิดในการทำธุรกิจที่ช่วยแก้ไขปัญหาหรือยกระดับสังคม[4] เข้ามาแข่งขันในรายการ เพื่อนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ หรือบริการของตน ที่มีลักษณะดังนี้
- Win 1 มีความโดดเด่น สามารถสร้างโอกาสในการเติบโตได้อย่างเต็มที่ และมีประสิทธิภาพมากกว่าคู่แข่งในประเภทเดียวกัน
- Win 2 ให้ประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในด้านต่าง ๆ สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติ[5]
- WAR คือ นักธุรกิจที่สามารถปรับตัวและพร้อมแก้ไขปัญหาต่าง ๆ แบ่งเป็น
- Willingness ความมุ่งมั่น
- Ability ความสามารถ
- Readiness ความพร้อม
ผู้ชนะในแต่ละฤดูกาลจะได้รับรางวัลเงินสดมูลค่า 2,000,000 บาท และได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญสำหรับการพัฒนาธุรกิจต่อไป[2]
การแข่งขันในแต่ละฤดูกาลมีรูปแบบดังนี้
ฤดูกาลที่ 1 และ 2
[แก้]ใน 2 ฤดูกาลแรก แบ่งการแข่งขันออกเป็น 3 รอบ ดังนี้
รอบ Audition
[แก้]ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 100 ธุรกิจ (ในฤดูกาลที่ 2 มีจำนวน 60 ธุรกิจ) จะต้องนำเสนอแนวคิด รูปแบบ และกลยุทธ์แผนธุรกิจ ให้คณะกรรมการฟัง และตอบคำถามจากคณะกรรมการเกี่ยวกับธุรกิจของตนให้ชัดเจน (ในฤดูกาลที่ 2 มีการจับเวลาทั้งการนำเสนอและตอบคำถาม ส่วนละ 3 นาที) จากนั้นคณะกรรมการจะพิจารณาธุรกิจ โดยใช้เกณฑ์การพิจารณาทั้งความเป็นไปได้เกี่ยวกับการเติบโตทางธุรกิจ และผลกระทบต่อสังคม จากนั้นจะกดปุ่มไฟเพื่อตัดสิน โดยหากเห็นว่ามีประโยชน์และผ่านเกณฑ์ข้างต้น จะกดปุ่มไฟสีเขียวเพื่อให้ผ่านเข้ารอบ แต่หากไม่ผ่านเกณฑ์ จะกดปุ่มไฟสีแดง ในรอบนี้จะคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันให้เหลือจำนวน 20 ธุรกิจที่จะเข้าสู่รอบ Market Test โดย
- ในฤดูกาลที่ 1 ผู้เข้าแข่งขันจะต้องได้รับการกดปุ่มไฟสีเขียวจากคณะกรรมการตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป จาก 5 คน จึงจะผ่านเข้ารอบ จากนั้นเมื่อสิ้นสุดการแข่งขันในรอบนี้แล้ว กรรมการจะพิจารณาคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันเข้าทีม ทีมละ 4 ธุรกิจ
- ในฤดูกาลที่ 2 การกดปุ่มไฟสีเขียวของคณะกรรมการจะเป็นการรับธุรกิจเข้าทีม โดยสามารถรับธุรกิจได้สูงสุดทีมละ 5 ธุรกิจ โดยแบ่งเป็นกรณีดังนี้
- กรณีมีกรรมการกดปุ่มไฟสีเขียวเพียงคนเดียว ผู้เข้าแข่งขันจะเข้าสู่ทีมของกรรมการคนนั้นทันที
- กรณีมีกรรมการกดปุ่มไฟสีเขียวมากกว่า 1 คน สิทธิในการเลือกร่วมทีมจะเป็นของผู้เข้าแข่งขัน
รอบ Market Test
[แก้]ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 20 ธุรกิจ จะแบ่งออกเป็นทีมต่าง ๆ (ฤดูกาลที่ 1 แบ่งตามกรรมการที่ปรึกษา จำนวน 5 ทีม ทีมละ 4 ธุรกิจ, ฤดูกาลที่ 2 แบ่งตามหมวดธุรกิจ จำนวน 4 ทีม ทีมละ 5 ธุรกิจ) โดยจะต้องนำเสนอผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Prototype) ที่พัฒนาขึ้นภายใต้การให้คำปรึกษาของกรรมการที่ปรึกษา เพื่อทดลองตลาด โดยมีคณะกรรมการร่วม ซึ่งเป็นนักศึกษาและอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จำนวน 100 คน มาร่วมทดลองใช้ผลิตภัณฑ์จริง และตอบคำถามจากทั้งคณะกรรมการหลักและคณะกรรมการร่วม จากนั้นจะพิจารณาให้คะแนน โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
- คณะกรรมการร่วม คนละ 1 คะแนน รวม 100 คะแนน
- คณะกรรมการหลัก คนละ 25 คะแนน แต่กรรมการที่ปรึกษาไม่สามารถให้คะแนนกับผู้เข้าแข่งขันในทีมของตนได้
- ฤดูกาลที่ 1 รวมคะแนนสูงสุด 100 คะแนน
- ฤดูกาลที่ 2 รวมคะแนนสูงสุด 75 คะแนน
- รวมคะแนนจากกรรมการ 2 ส่วน
- ฤดูกาลที่ 1 รวมคะแนนสูงสุด 200 คะแนน
- ฤดูกาลที่ 2 รวมคะแนนสูงสุด 175 คะแนน
ทีมที่ได้คะแนนรวมมากที่สุดในของแต่ละสัปดาห์ จะผ่านเข้าสู่รอบ Market Launch โดยในรอบนี้จะคัดเลือกให้เหลือจำนวน 5 ธุรกิจ
รอบ Market Launch
[แก้]รอบนี้เป็นการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ผู้เข้าแข่งขัน 5 ธุรกิจสุดท้าย จะต้องเปิดตัวผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปของตน ซึ่งผ่านการพัฒนาอย่างครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ให้คณะกรรมการหลัก คณะกรรมการร่วม และผู้ชมได้รับชม โดยคะแนนจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 50% ดังนี้
- คะแนนจากคณะกรรมการหลัก
- คะแนนโหวตจากผู้ชมผ่านเอสเอ็มเอส ซึ่งเปิดรับคะแนนในช่วงระยะเวลา 1 สัปดาห์ก่อนการแข่งขัน
ทีมที่ได้คะแนนรวมมากที่สุดในรอบนี้ จะเป็นผู้ชนะเลิศประจำฤดูกาล
ฤดูกาลที่ 3
[แก้]ในฤดูกาลนี้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นการแข่งขันทางออนไลน์ โดยใช้ชื่อว่า Win Win WAR Thailand Special Online Edition เนื่องจากจัดขึ้นในช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย และเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มอื่น ๆ เช่น กลุ่มคนรุ่นใหม่ และกลุ่มเป้าหมายในวงกว้าง โดยมีการคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันให้เหลือจำนวน 40 ธุรกิจ ที่จะได้นำเสนอแนวคิด รูปแบบ และกลยุทธ์แผนธุรกิจ และตอบคำถามจากคณะกรรมการ เพื่อคัดเลือกเหลือจำนวน 12 ธุรกิจ จากนั้นจะนำเสนอทั้ง 12 ธุรกิจลงบนสื่อสังคมช่องทางต่าง ๆ และเปิดให้ผู้ชมโหวตผ่านช่องทางเฟซบุ๊กของรายการ โดยคะแนนโหวตจากผู้ชมจะเป็น 60% และนำมารวมกับคะแนนจากคณะกรรมการในรอบชิงชนะเลิศอีก 40% ทีมที่ได้คะแนนรวมมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะเลิศ[6] โดยมีการเผยแพร่การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศและประกาศผลเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564
ฤดูกาลที่ 4 – ปัจจุบัน
[แก้]ตั้งแต่ฤดูกาลที่ 4 ได้ปรับรูปแบบรายการใหม่ทั้งหมด โดยแบ่งเป็น 2 รอบ ดังนี้
รอบคัดเลือก
[แก้]ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 45 ธุรกิจ (ตั้งแต่ฤดูกาลที่ 5 ลดเหลือจำนวน 36 ธุรกิจ) จะได้รับคะแนนตั้งต้น 2,000,000 คะแนน ตามจำนวนมูลค่าเงินรางวัลสำหรับผู้ชนะเลิศ มีเวลา 3 นาที ในการนำเสนอแผนธุรกิจ หลังจากนำเสนอจบแล้ว จะจับเวลา 10 วินาทีให้คณะกรรมการร่วมพิจารณากดลดคะแนน คนละ 5,000 คะแนน หากเห็นว่าธุรกิจดังกล่าวไม่น่าสนใจ รวมคะแนนที่สามารถถูกลดลงจากคณะกรรมการร่วมได้มากที่สุด 500,000 คะแนน จากนั้น คณะกรรมการหลักทั้ง 3 คน จะถามคำถาม ผู้เข้าแข่งขันมีเวลาตอบคำถามละ 1 นาที (ตั้งแต่ฤดูกาลที่ 5 เพิ่มเวลาเป็นคำถามละ 1 นาที 30 วินาที) หลังจากนั้นคณะกรรมการหลักทั้ง 3 คน จะพิจารณาให้คะแนนในคำถามนั้น ๆ โดยพิจารณาจากคำตอบ ดังนี้
- หากคำตอบน่าพอใจ จะกดปุ่มไฟสีเขียว ธุรกิจนั้นจะไม่ถูกลดคะแนนลง
- หากคำตอบพอใช้ จะกดปุ่มไฟสีเหลือง ธุรกิจนั้นจะถูกลดคะแนน 100,000 คะแนน/คน/คำถาม
- หากคำตอบไม่น่าพอใจ จะกดปุ่มไฟสีแดง ธุรกิจนั้นจะถูกลดคะแนน 200,000 คะแนน/คน/คำถาม
ในรอบนี้แบ่งการแข่งขันออกเป็น 9 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 ธุรกิจ และทีมที่รักษาคะแนนได้สูงที่สุดจำนวน 5 ธุรกิจ จะผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ
รอบชิงชนะเลิศ
[แก้]ในรอบนี้ ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบจะต้องตอบคำถามจากคณะกรรมการ คำถามละ 2 นาที โดยคะแนนที่สะสมก่อนหน้าจะไม่นำมาคำนวณในรอบนี้ จากนั้นคณะกรรมการจะตัดสินผู้ชนะเลิศ โดยรูปแบบการตอบคำถามในแต่ละฤดูกาล เป็นดังนี้
- ฤดูกาลที่ 4 ผู้เข้าแข่งขันที่รักษาคะแนนได้สูงที่สุดจำนวน 5 ธุรกิจ รวมถึงธุรกิจที่ผ่านการเลือกจากคณะกรรมการอีกคนละ 1 ธุรกิจ รวมเป็น 8 ธุรกิจ จะต้องตอบคำถามจากคณะกรรมการทั้ง 3 คน คนละ 1 ข้อ รวมถึงคำถามเรื่องวัตถุประสงค์ในการใช้เงินรางวัล 2,000,000 บาทหากได้รับ
- ฤดูกาลที่ 5 ผู้เข้าแข่งขันที่รักษาคะแนนได้สูงที่สุดจำนวน 5 ธุรกิจ จะต้องตอบคำถาม 2 คำถาม โดยคำถามที่ 1 จะเป็นคำถามที่ผู้เข้าแข่งขันสุ่มเลือกมาจาก 10 คำถาม และคำถามที่ 2 จะเป็นคำถามจากคณะกรรมการ
พิธีกรและกรรมการ
[แก้]พิธีกร | ฤดูกาล | |||||
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
วิลลี่ แมคอินทอช | ✔ | |||||
ไดอาน่า จงจินตนาการ | ✔ | |||||
กรรมการ | ฤดูกาล | |||||
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
ต้องใจ ธนะชานันท์ | ✔ | |||||
เจรมัย พิทักษ์วงศ์ | ✔ | |||||
สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ | ✔ | |||||
ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ | ✔ | |||||
กฤษติกา คงสมพงษ์ | ✔ | |||||
กุลพงษ์ บุนนาค | ✔ | |||||
หม่อมหลวงดิศปนัดดา ดิศกุล | ✔ |
ภาพรวมแต่ละฤดูกาล
[แก้]ฤดูกาล | ตอนแรก | รอบชิงชนะเลิศ | จำนวนตอน | ธุรกิจในรอบชิงชนะเลิศ | ||
---|---|---|---|---|---|---|
ผู้ชนะเลิศ | รางวัลพิเศษ | ธุรกิจอื่น ๆ | ||||
ฤดูกาลที่ 1 | 29 กันยายน พ.ศ. 2561 | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2561 | 12 | W1 – Able innovation |
|
|
ฤดูกาลที่ 2 | 19 มกราคม พ.ศ. 2563 | 5 เมษายน พ.ศ. 2563 | 12 | W2 – Buddy Home Care |
|
|
ฤดูกาลที่ 3 (Special Online Edition) |
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564 | 3 | W009 – แนวร่วมปฏิวัติขยะสุพรรณบุรี |
|
|
ฤดูกาลที่ 4 | 13 สิงหาคม พ.ศ. 2565 | 22 ตุลาคม พ.ศ. 2565 | 11 | Defire | — |
|
ฤดูกาลที่ 5 | 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 | 10 | SATI App |
| |
ฤดูกาลที่ 6 | 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 | 29 กันยายน พ.ศ. 2567 | 10 | JAIKLA |
|
Win Win WAR Thailand OTOP Junior
[แก้]Win Win WAR Thailand OTOP Junior สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปันรุ่นเยาว์ | |
---|---|
ประเภท | เรียลลิตีโชว์นำเสนอธุรกิจสำหรับเด็ก |
สร้างโดย | ซี อาเซียน |
พัฒนาโดย | กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย |
พิธีกร | |
กรรมการ | |
บรรยายโดย | ณัฐพงษ์ สมรรคเสวี |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ประเทศไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ภาษาไทย |
จำนวนฤดูกาล | 3 |
จำนวนตอน | 20 |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการผลิต | กิติกร เพ็ญโรจน์ |
สถานที่ถ่ายทำ |
|
กล้อง | หลายกล้อง |
ความยาวตอน | 60 นาที |
บริษัทผู้ผลิต | เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | อมรินทร์ทีวี |
ออกอากาศ | 20 พฤศจิกายน 2565 – ปัจจุบัน |
การแสดงที่เกี่ยวข้อง | |
Win Win WAR Thailand สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปัน |
Win Win WAR Thailand OTOP Junior สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปันรุ่นเยาว์ เป็นรายการโทรทัศน์ไทยประเภทเรียลลิตีโชว์การแข่งขันนำเสนอธุรกิจเพื่อสังคมสำหรับเด็ก จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างศูนย์ ซี อาเซียน และกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เป็นการต่อยอดความสำเร็จจากรายการ Win Win WAR Thailand สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปัน รวมถึงโครงการ OTOP Junior ที่จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างกรมการพัฒนาชุมชนและไทยเบฟเวอเรจอยู่แล้วแต่เดิม[7] ผลิตโดย บริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ทางช่องอมรินทร์ทีวี โดยออกอากาศมาแล้วทั้งหมด 3 ฤดูกาล
รูปแบบรายการ
[แก้]การแข่งขันแบ่งเป็น 2 รอบ ดังนี้
- รอบทดสอบความมุ่งมั่น – ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 45 ธุรกิจ มีเวลา 3 นาที ในการนำเสนอแผนธุรกิจ สินค้า หรือบริการ ที่เกิดจากการใช้ความรู้ในห้องเรียนผสมกับภูมิปัญญาและวัสดุท้องถิ่น และเอื้อประโยชน์ให้กับสังคม หลังจากนำเสนอจบแล้ว คณะกรรมการทั้ง 3 คน จะถามคำถาม ผู้เข้าแข่งขันมีเวลาตอบคำถามละ 1 นาที หลังจากตอบคำถามครบทุกคำถามแล้ว คณะกรรมการจะพิจารณาให้คะแนนเป็นหัวใจจำนวน 10–20–30–40–50 ดวง/คน รวมจำนวนหัวใจที่แต่ละธุรกิจจะได้รับมากที่สุดคือ 150 ดวง โดยแบ่งการแข่งขันออกเป็น 9 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 ธุรกิจ และทีมที่ได้รับหัวใจจำนวนมากที่สุดอย่างน้อย 10 ธุรกิจ จะผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ
- รอบชิงชนะเลิศ – ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบจะต้องตอบคำถามที่รายการกำหนดจำนวน 3 หมวด จำนวน 14 ข้อ แบ่งเป็นหมวดที่ 1 จำนวน 5 ข้อ, หมวดที่ 2 จำนวน 5 ข้อ และหมวดที่ 3 จำนวน 4 ข้อ หลังจากพิธีกรอ่านคำถามจบแล้ว ทีมที่ได้คำตอบสามารถกดปุ่มได้ทันที หลังจากกดปุ่มแล้วจะมีเวลา 5 วินาทีในการตอบคำถาม หากตอบผิดจะหมดสิทธิ์ตอบคำถามข้อนั้น ๆ แต่ทีมอื่นยังสามารถตอบได้ แต่หากตอบผิดครบ 3 ครั้ง ทุกทีมจะหมดสิทธิ์ตอบและไม่ได้รับคะแนนในข้อนั้น ๆ แต่หากตอบถูก จะได้รับหัวใจที่มีจำนวนแตกต่างกันในแต่ละหมวด คือ หมวดที่ 1 จำนวน 20 ดวง, หมวดที่ 2 จำนวน 30 ดวง และหมวดที่ 3 จำนวน 50 ดวง เมื่อสิ้นสุดการแข่งขันในรอบนี้แล้ว ทีมที่มีจำนวนหัวใจจากรอบนี้ รวมกับจำนวนหัวใจที่มีอยู่เดิมจากรอบก่อนหน้ามากที่สุด จะเป็นผู้ชนะในฤดูกาลนั้น ๆ ได้รับทุนการศึกษามูลค่า 200,000 บาท และได้เดินทางไปทัศนศึกษาเกี่ยวกับนวัตกรรมเพื่อสังคมทั้งในและต่างประเทศ
พิธีกรและกรรมการ
[แก้]พิธีกร | ฤดูกาล | ||
---|---|---|---|
1 | 2 | 3 | |
วิลลี่ แมคอินทอช | ✔ | ||
เกียรติศักดิ์ อุดมนาค | ✔ | ||
กรรมการ | ฤดูกาล | ||
1 | 2 | 3 | |
ต้องใจ ธนะชานันท์ | ✔ | ||
เจรมัย พิทักษ์วงศ์ | ✔ | ||
กฤษติกา คงสมพงษ์ | ✔ |
ภาพรวมแต่ละฤดูกาล
[แก้]ฤดูกาล | ตอนแรก | รอบชิงชนะเลิศ | จำนวนตอน | ธุรกิจในรอบชิงชนะเลิศ | ||
---|---|---|---|---|---|---|
จำนวนธุรกิจ | ผู้ชนะเลิศ | ธุรกิจอื่น ๆ | ||||
1 | 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 | 22 มกราคม พ.ศ. 2566 | 10 | 11 | เกลือเมืองบ่อ |
|
2 | 8 ตุลาคม พ.ศ. 2566 | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2566 | 10 | 13 | สานรัก สานใจ |
|
3 | รอประกาศ |
รางวัล
[แก้]ปี | รางวัล | สาขา | รายการ/ฤดูกาล | ผล | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|
พ.ศ. 2562 | รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 33 | รายการเกมโชว์ดีเด่น | Win Win WAR Thailand ฤดูกาลที่ 1 | ได้รับรางวัล | [8] |
พ.ศ. 2564 | รางวัลทีวีสีขาว ครั้งที่ 2 | รายการส่งเสริมการศึกษาหรือเทคโนโลยีดีเด่น | Win Win WAR Thailand ฤดูกาลที่ 2 | ได้รับรางวัล | [9] |
พ.ศ. 2566 | รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 37 | รายการส่งเสริมเยาวชนดีเด่น | Win Win WAR Thailand OTOP Junior ฤดูกาลที่ 1 | ได้รับรางวัล | [10] |
พ.ศ. 2567 | Pantip Television Awards ครั้งที่ 3 | รายการเยาวชนยอดเยี่ยม | Win Win WAR Thailand OTOP Junior ฤดูกาลที่ 2 | เสนอชื่อเข้าชิง | [11] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "'C asean' ตอกย้ำการเป็นผู้นำการพัฒนาที่ยั่งยืน จัดเสวนา "C asean Sustainable Development Talk"". ประชาชาติธุรกิจ. 14 มีนาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 2.0 2.1 "Win Win WAR Season 4 จุดประกายธุรกิจแบ่งปัน". ไทยโพสต์. 31 พฤษภาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""C asean" ลั่น! มั่นใจเสิร์ฟรายการใหม่ "Win-Win WAR Thailand สุดยอดนักธุรกิจแบ่งปัน" ชิงเงินกว่า 2 ล้านบาท !!!". โพสต์ทูเดย์. 22 มิถุนายน 2018. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "บทบาท "C asean" ผลักคนรุ่นใหม่เปลี่ยนแปลงสังคม". ประชาชาติธุรกิจ. 17 เมษายน 2018. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Techsauce Team (4 กันยายน 2018). "รวมรายการ Startup Game Show เรามีเยอะไปไหม? และรายการใหม่ที่เตรียมแจ้งเกิด". TECHSAUCE. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "WIN WIN WAR THAILAND SPECIAL ONLINE EDITION การค้นหาสุดยอดไอเดียธุรกิจ ที่พร้อมคืนประโยชน์ให้กับสังคม". Marketeer. 5 ตุลาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""Win Win WAR Thailand OTOP Junior" รายการส่งเสริมเยาวชนดีเด่น ต่อยอดการเรียนรู้นอกห้องเรียน ทักษะชีวิตไม่ติดกรอบ". ผู้จัดการออนไลน์. 16 มิถุนายน 2023. สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "โทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 33 "เบลล่า-ณเดชน์" คว้ารางวัล บุพเพสันนิวาส ละครดีเด่นแห่งปี". สนุก.คอม. 17 กุมภาพันธ์ 2019. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2024.
21. รางวัลรายการเกมโชว์ดีเด่น ได้แก่ "รายการ Win Win War Thailand สุดยอดธุรกิจแบ่งปัน สถานีโทรทัศน์อมรินทร์ทีวี"
- ↑ "อมรินทร์ ทีวี คว้า 2 รางวัล จากโครงการ รางวัลทีวีสีขาว". อมรินทร์ทีวี. 28 กันยายน 2021. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2024.
รายการส่งเสริมการศึกษาหรือเทคโนโลยีดีเด่น จากรายการ Win Win WAR Thailand Season 2
- ↑ "Win Win WAR Thailand OTOP Junior คว้ารางวัลโทรทัศน์ทองคำ 2565 "ส่งเสริมเยาวชนดีเด่น"". บ้านเมือง. 13 มิถุนายน 2023. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2024.
- ↑ "== เปิดรายชื่อผู้เข้าชิงรางวัล Pantip Television Awards ประจำปี 2024 ==". พันทิป.คอม. 2024-02-04. สืบค้นเมื่อ 2024-09-22.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ
- Win Win WAR Thailand ที่เฟซบุ๊ก
- Win Win WAR Thailand ที่ยูทูบ
- Win Win WAR Thailand ที่อินสตาแกรม
- Win Win WAR Thailand ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์)