ข้ามไปเนื้อหา

จาตุมหาราชิกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพวาดจตุโลกบาลหรือจาตุมหาราช ศิลปะพม่า (จากซ้าย) ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักษ์ และท้าวเวสวัณ

ตามคติจักรวาลวิทยาในศาสนาพุทธ จาตุมหาราชิกา (บาลี: Cātummahārājika, จาตุมฺมหาราชิก; สันสกฤต: चातुर्महाराजकायिक Cāturmahārājikakāyika, จาตุรฺมหาราชิกกายิก) เป็นชื่อสวรรค์ชั้นแรกและเป็นชั้นล่างที่สุดในฉกามาพจร[1] (สวรรค์ในกามภูมิตามคติไตรภูมิ) มีที่ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาพระสุเมรุ

จาตุมหาราชิกา โดยศัพท์แปลว่า "แห่งมหาราชทั้งสี่" เมื่อแปลแบบเอาความจึงหมายถึง "แดนเป็นที่อยู่ของท้าวมหาราชทั้งสี่" หรือ "อาณาจักรของท้าวมหาราช 4 องค์" กล่าวคือ สวรรค์ชั้นนี้เป็นดินแดนที่จอมเทพ 4 องค์ผู้รักษาคุ้มครองโลกใน 4 ทิศ ซึ่งเรียกว่า โลกบาล จตุโลกบาล หรือ จาตุมหาราช[2] ปกครองอยู่องค์ละทิศ

เทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกามีอายุ 500 ปีทิพย์ (30 วันเป็น 1 เดือน 12 เดือนเป็น 1 ปี) โดย 1 วันและ 1 คืนของสวรรค์ชั้นนี้ เท่ากับ 50 ปีมนุษย์[3] คำนวณเป็นปีโลกมนุษย์ได้ 9,000,000 ปีมนุษย์

จาตุมหาราชผู้ปกครองสวรรค์

[แก้]

ชื่อเรียกโดยรวมของจาตุมหาราชในภาษาต่าง ๆ ปรากฏดังตารางแสดงเบื้องล่าง

ภาษา รูปอักษร คำอ่าน/รูปปริวรรต ความหมาย
ภาษาสันสกฤต चतुर्महाराज จตุรฺมหาราช มหาราชทั้งสี่
लोकपाल โลกปาล ผู้คุ้มครองโลก
ภาษาพม่า စတုလောကပါလ
စတုမဟာရာဇ်နတ်
สะตุลอกะป่าละ
สะตุมะหาริตนัต
จตุโลกบาล (สีผู้คุ้มครองโลก)
จตุมหาราชนัต (นัตสี่มหาราช)
ภาษาจีน 天王 เทียนหวัง ราชาสวรรค์
四天王 ซื่อเทียนหวัง สี่ราชาสวรรค์
四大天王 ซื่อต้าเทียนหวัง สี่มหาราชแห่งสวรรค์
ภาษาเกาหลี 천왕 ชอนวาง ราชาสวรรค์
사천왕 ซาชอนวาง สี่ราชาสวรรค์
ภาษาญี่ปุ่น 四天王 ชิเท็นโน สี่ราชาสวรรค์
ภาษาเวียดนาม 四天王
Tứ Thiên Vương
ตื่อเทียนเวือง สี่ราชาสวรรค์
ภาษาทิเบต རྒྱལ༌ཆེན༌བཞི༌ rgyal chen bzhi (กเย เชน ฌี) สี่มหาราช
ภาษามองโกล Махаранз maharanja (สี่) มหาราช

จาตุมหาราชแต่ละองค์ได้แก่

  1. ท้าวเวสวัณ หรือ ท้าวกุเวร รักษาโลกด้านทิศเหนือ ทำหน้าที่ปกครองยักษ์
  2. ท้าววิรุฬหก รักษาโลกด้านทิศใต้ ทำหน้าที่ปกครองกุมภัณฑ์
  3. ท้าววิรูปักษ์ รักษาโลกด้านทิศตะวันตก ทำหน้าที่ปกครองนาค
  4. ท้าวธตรฐ รักษาโลกด้านทิศตะวันออก ทำหน้าที่ปกครองคนธรรพ์

ในภาษาต่าง ๆ เรียกชื่อของเทพทั้งสี่องค์ดังนี้

ภาษาไทย ท้าวเวสวัณ ท้าววิรุฬหก ท้าวธตรฐ ท้าววิรูปักษ์
ภาษาสันสกฤต वैश्रवण (कुबेर)
ไวศฺรวณ (กุเพร)
विरूढक
วิรูฒก
धृतराष्ट्र
ธฤตราษฺฏฺร
विरूपाक्ष
วิรูปากฺษ
ภาษาบาลี वेस्सवण (कुवेर)
เวสฺสวณ (กุเวร)
विरूळ्हक
วิรูฬฺหก
धतरट्ठ
ธตรฏฺฐ
विरूपक्ख
วิรูปกฺข
ความหมาย ผู้สดับในสรรพสิ่ง He who enlarges ผู้ธำรงรัฐ ผู้แลเห็นสรรพสิ่ง
ผู้พิทักษ์ขุมทรัพย์ ผู้ดูแลแผ่นดิน
ภาษาพม่า ကုဝေရ ဝိရဠက ဓတရဌ ဝိရုပက္ခ
ภาษาจีน 多聞天王 / 多闻天王
ตัวเหวินเทียนหวัง
增長天王 / 增长天王
เจิงจ่างเทียนหวัง
持國天王 / 持国天王
ฉือกั๋วเทียนหวัง
廣目天王 / 广目天王
กว่างมู่เทียนหวัง
毗沙門天 / 毗沙门天 留博叉天 / 留博叉天 多羅吒天 / 多罗吒天 毗琉璃天 / 毗琉璃天
ภาษาเกาหลี 다문천왕
ดามุนชอนวาง
증장천왕
จึงจางชอนวาง
지국천왕
จีกุกชอนวาง
광목천왕
กวางมกชอนวาง
ภาษาญี่ปุ่น 多聞天 (毘沙門天)
ทะมงเท็น (บิชะมงเท็น)
増長天
โซโจเท็น, โซโชเท็น
持国天 / 治国天
จิโกะกุเท็น
広目天
โคโมะกุเท็น
ภาษาเวียดนาม Đa Văn Thiên Tăng Trưởng Thiên Trì Quốc Thiên Quảng Mộc Thiên
ภาษาทิเบต rnam.thos.sras (นัมเทอเซ) 'phags.skyes.po (พักเยโป) yul.'khor.srung (ยือโคร์ซุง) spyan.mi.bzang (เชนมีฌัง)

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. ราชบัณฑิตยสถานพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. หน้า 316. ISBN 978-616-7073-80-4
  2. สุจิตต์ วงษ์เทศ. "พลังลาว" ชาวอีสาน มาจากไหน ?. กรุงเทพฯ : มติชน, 2549, หน้า 104
  3. อุโปสถสูตร หน้า 195 เล่มที่ 20 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย
บรรณานุกรม