จักรพรรดินีเซี่ยวฉุน พระพันปีหลวง
จักรพรรดินีเซี่ยวฉุน | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง | |||||||||
สมเด็จพระพันปีหลวง (皇太后) | |||||||||
สถาปนา | ค.ศ. 1627 | ||||||||
ก่อนหน้า | สมเด็จพระพันปีหลวงเซี่ยวเหอ | ||||||||
ถัดไป | สมเด็จพระพันปีหลวงเซี่ยวตฺวันเหวิน (ราชวงศ์ชิง) | ||||||||
พระราชสมภพ | ค.ศ. 1588 ไห่โจว (海州) | ||||||||
สวรรคต | ค.ศ. 1615 (27 พรรษา) | ||||||||
ฝังพระบรมศพ | สุสานหลวงหมิงชิง (明庆陵) | ||||||||
คู่อภิเษก | จักรพรรดิไท่ชาง | ||||||||
พระราชบุตร | จักรพรรดิฉงเจิน | ||||||||
| |||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์หมิงโดยสถาปนา | ||||||||
พระบิดา | หลิว อิงหยวน (劉應元) | ||||||||
พระมารดา | อิ๋งกั๋วไท่ฟูเหรินตระกูลซวี (瀛国太夫人徐氏) |
สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงเซี่ยวฉุน หรือ เซี่ยวฉุนฮองไทเฮา (จีน: 孝純皇太后; พินอิน: Xiàochún huáng tàihòu, ค.ศ. 1588–1615) ทรงเป็นพระมเหสีในจักรพรรดิไท่ชาง เป็นพระบรมราชชนนีพันปีหลวงในจักรพรรดิฉงเจิน
พระราชประวัติ
[แก้]พระองค์ทรงพระราชสมภพในตระกูลหลิวเข้ารับราชการเป็นนางสนมระดับล่างตำแหน่ง หลิวซูหนี่ว์ (劉淑女) ในจูฉางลั่วเมื่อครั้งยังเป็นพระรัชทายาท
ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1611 หลิวฮองไทเฮาทรงมีพระราชสมภพพระราชโอรส ทรงพระนามว่า จู โหยวเจี้ยน
ต่อมาในปี ค.ศ. 1615 หวงไท่จื่อจูฉางลั่วเริ่มไม่โปรดปรานพระนาง จนกระทั่งเกิดเหตุให้พระรัชทายาททรงขัดเคืองพระทัย จึงทรงมีพระราชบัณฑูร ให้ลงพระราชอาญาพระนางจนถึงแก่กรรม เป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าหวงไท่จื่อจูฉางลั่วมีพระราชบัณฑูรให้ประหารหลิวไทเฮาหรือเกิดขึ้นจากเหตุสุดวิสัยในขณะที่พระนางถูกลงพระราชอาญา
หวงไท่จื่อจูฉางลั่วเกรงกลัวต่อพระราชอาญาของสมเด็จพระจักรพรรดิหมิงเสินจงพระบรมชนกนาถ เพราะพระองค์เป็นต้นเหตุการถึงแก่กรรมของ"หลิวซูหนี่ว์" หวงไท่จื่อจูฉางลั่วจึงห้ามไม่ให้เหล่าข้าราชบริพารในพระราชวังกล่าวถึงเรื่องนี้อีก และได้นำพระศพของ"หลิวซูหนี่ว์"ไปฝังไว้ที่ จินซาน(จีน: 金山; พินอิน: Jīnshān) เนินเขาทางตะวันตกด้วยความเร่งรีบ อันไร้ซึ่งการพระราชพิธีที่เหมาะสม
เมื่อจักรพรรดิเทียนฉี่ ขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อจากพระบรมชนกนาถในปี ค.ศ. 1620 ซิ่นอ๋อง(พระยศขณะนั้น) ขอพระราชทานต่อพระบรมเชษฐาธิราช ประกาศพระบรมราชโองการสถาปนา '"หลิวซูหนี่ว์" ให้มีพระอิสริยยศที่พระมเหสีเซียนเฟย (賢妃)
เมื่อซิ่นอ๋องทรงเจริญพระชนมพรรษาสเด็จประทับ ณ วังชวีฉิน (勗勤宮) ในวันหนึ่งพระองค์มีพระราชปุจฉาต่อข้าหลวงว่า: "ภูเขาทางตะวันตก มีสุสานของเสินอี้อ๋อง (申懿王) หรือไม่" ข้าหลวงกราบทูลว่า: "มี" พระองค์จึงทรงมีพระราชปุจฉาอีกว่า: "ใกล้ๆ สุสานนั้นมีสุสานของพระมารดาข้าหรือไม่" ข้าหลวง: "มี" พระองค์จึงได้แอบให้เงินแก่ข้าหลวงผู้นี้ มีพระราชดำรัสสั่งให้ไปสักการะบูชา และทำความสะอาดสุสานพระราชมารดา
เมื่อซิ่นอ๋องขึ้นครองราชบัลลังก์เป็นจักรพรรดิ ในปี ค.ศ. 1627 ทรงสถาปนาพระบรมชนนีเป็นฮองไทเฮา (皇太后)[1] และให้ย้ายพระบรมศพไปประดิษฐาน ณ พระราชสุสานหมิงชิง (明庆陵)
ที่มาของพระฉายาสาทิสลักษณ์
[แก้]���มื่อในขณะที่พระราชชนนีสวรรคต ครั้งนั้นจักรพรรดิฉงเจิ้นทรงเจริญพระชนมพรรษา 5 พรรษา เมื่อพระองค์เสด็จครองราชย์จึงทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทอดพระเนตรพระฉายาสาทิสลักษณ์ของพระราชชนนี พระองค์จึงทรงมีพระราชดำรัสสั่งให้ค้นหาแต่ก็ล้มเหลว ต่อมาเมื่อ"ฟู่อี้เฟย"(傅懿妃) พระมเหสีในสมเด็จพระจักรพรรดิไทชาง ทรงรู้จักกับพระนางหลิว เพราะประทับอยู่ในพระตำหนักใกล้กัน พระมเหสีฟู่อี้ได้มีพระเสาวนีย์ให้ค้นหานางกำนัลในวังที่มีลักษณะดูคล้ายกับหลิวไท่โฮ่วเพื่อเป็นต้นแบบภาพ และได้มอบให้นางสวี่พระมารดาของหลิวไท่โฮ่ว เป็นผู้ดูแลให้คำแนะนำในการจัดทำพระฉายาสาทิสลักษณ์ของหลิวไทโฮ่ว เมื่อสร้างเสร็จแล้ว จักรพรรดิมีพระบรมราชโองการให้มีการจัดขบวนพระราชยานเพื่อนำพระฉายาสาทิสลักษณ์เข้ามาในพระราชวัง ผ่านทางประตูเจิ้งหยาง(จีน: 正陽門; พินอิน: Zhèngyáng mén) สมเด็จพระจักรพรรดิฉงเจิ้นทรงเฝ้ารอที่ที่ประตูอู๋ และคุกเข่าสักการะพระฉายาสาทิสลักษณ์ของหลิวไทโฮ่ว และได้นำไปประดิษฐานไว้ในพระราชวัง พระองค์ได้เรียกคุณข้าหลวงทั้งหลายที่เคยใกล้ชิดพระราชชนนีมา และมีพระราชปุจฉาว่าพระฉายาสาทิสลักษณ์นี้เหมือนพระราชมชนนีหรือไม่ เมื่อคุณข้าหลวงทั้งหลายเห็นบางก็บอกว่าเหมือน บางก็บอกว่าไม่เหมือน สมเด็จพระจักรพรรดิฉงเจินเห็นดังนั่นจึงทรงพระกรรแสงยิ่งถึงพระราชชนนี และข้าราชบริพารที่อยู่โดนรอบก็พร้อมใจกันร้องไห้ไปด้วย[2]
พระเกียรติยศและพระราชอิสริยยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงเซี่ยวฉุน | |
---|---|
การทูล | 太后陛下 (ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท) |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | 陛下 (พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ) |
- ในรัชสมัยจักรพรรดิว่านลี่(ค.ศ. 1572–1620):
- ภายหลังการสวรรคตในรัชสมัยจักรพรรดิเทียนฉี
- ภายหลังการสวรรคตในรัชสมัยจักรพรรดิฉงเจิน
อ้างอิง
[แก้]- 《明史》卷一百十四 列传第二