คินสึงิ
คินสึกิ (คินสึงิ) (金継ぎ?, "เชื่อมด้วยทอง"), หรือ คินสึกูโรอิ (金繕い?, "ซ่อมด้วยทอง"),[1] คือศิลปะญี่ปุ่นที่ว่าด้วยเรื่องการซ่อมเครื่องปั้นดินเผาด้วยยางรักและผงทอง ผงเงิน หรือผงแพลตินัม วิธีการคล้ายกับการทำมากิเอะ[2][3][4] ในเชิงปรัชญา การแสดงให้เห็นถึงร่องรอยความเสียหายและการซ่อมแซมเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงประวัติศาสตร์วัตถุชิ้นนั้น ๆ แทนที่จะปกปิดมันไว้[5]
ประวัติ
[แก้]เทคนิคการใช้ยางรักมาซ่อมแซมส่วนที่แตกหักเสียหายของเครื่องปั้นดินเผาพบได้ตั้งแต่สมัยโจมงจากหลักฐานเครื่องปั้นดินเผาโจมงที่หลงเหลืออยู่ ในยุคมูโรมาจิ (1336 - 1573) คุณค่าทางศิลปะของคินสึกิได้รับการยอมรับจากการแพร่กระจายของงานศิลปะที่ใช้ยางรักในการรังสรรค์เช่น มากิเอะ และในพิธีการชงชาที่ให้การยอมรับวัตถุที่ถูกซ่อมแซมในแบบที่มันเป็น[6] มีอีกทฤษฎีหนึ่งที่ว่ากันว่า คินสึกิ ถือกำเนิดในสมัยโชกุน อาชิกางะ โยชิมาซะ ช่วงศตวรรษที่ 15 ที่ได้ส่งถ้วยชามที่แตกแล้วไปซ่อมที่ประเทศจีน จากนั้นจีนก็ส่งถ้วยชามที่ซ่อมด้วยการใช้ลวดเย็บแปะมาตาม��อยแตกกลับมายังญี่ปุ่นซึ่งดูน่าเกลียดกว่าเดิม ทำให้ช่างฝีมือญี่ปุ่นต้องนำกลับมาซ่อมใหม่ให้สวยงามขึ้นด้วยเทคนิคคินสึกิ[7][8][2]
วัสดุและวิธีการทำ
[แก้]วัสดุสำหรับงานคินสึกิประกอบด้วยวัสดุหลัก ๆ ดังนี้
- ยางรัก - วัสดุสำคัญในหลายขั้นตอนการทำคินสึกิ ประกอบไปด้วยชนิดย่อย 2 ชนิดคือ
- ยางรักดิบ - ใช้สำหรับชั้นตอนการเชื่อมและการอุด
- ยางรักสี - ใช้สำหรับขั้นตอนการรองพื้น ประกอบไปด้วยยางรักสีดำ และยางรักสีแดง
- แป้งสาลี - ใช้สำหรับผสมกับยางรักให้เป็นกาวประสาน[9]เรียกว่า มูงิอูรูชิ (ญี่ปุ่น: 麦漆; โรมาจิ: mugi-urushi)
- ขี้เลื่อย - ใช้สำหรับผสมกับยางรักใช้เป็นวัสดุอุดช่องว่าง[10]เรียกว่า โคกูโซะ (ญี่ปุ่น: 刻苧; โรมาจิ: kokuso)
- วัสดุอุด - ใช้สำหรับผสมกับยางรักใช้เป็นวัสดุอุดพื้นผิว[11]เรียกว่า ซาบิอูรูชิ (ญี่ปุ่น: 錆漆; โรมาจิ: sabi-urushi) มี 2 ชนิดที่นิยมใช้คือ จิโนโกะ (ญี่ปุ่น: 地の粉; โรมาจิ: jinoko) และ โทโนโกะ (ญี่ปุ่น: 砥の粉; โรมาจิ: tonoko)
- ผงโลหะมีค่า - ใช้สำหรับการประดับในขั้นตอนสุดท้ายเช่น ผงทอง ผงเงิน ผงแพลทินัม
ขั้นตอนการทำคินสึกิมักประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้
- การเชื่อมชิ้นส่วน - เนื่องจากยางรักยังไม่ได้แห้งและมีแรงยึดเกาะพื้นผิวทันทีหลังจากที่ทา จึงต้องอาศัยการผสมกับแป้งสาลีเพื่อช่วยเพิ่มการยึดเกาะ สิ่งสำคัญในขั้นตอนแรกคือรอยแตกที่จะทำการเชื่อมต้องสะอาดและแห้ง
- การอุดช่องว่าง - บางครั้งอาจมีชิ้นส่วนที่บิ่นหักออกไป เกิดเป็นช่องว่างแม้จะเชื่อมชิ้นส่วนทั้งหมดดีแล้ว จำเป็นต้องอุดช่องว่างด้วยยางรักผสมกับขี้เลื่อย
- การอุดพื้นผิว - ในการเชื่อมหรือการอุดช่องว่างเมื่อแห้งดีแล้วพื้นผิวที่ได้มักจะมีความไม่เรียบเนียบ สม่ำเสมอ จำเป็นต้องปรับพื้นผิวให้เรียบก่อนด้วยซาบิอูรูชิ ซึ่งใช้หลักการเดียวกับการโป๊วพื้นผิวก่อนการทำสี
- การรองพื้น - เป็นการรองพื้นผิวด้วยยางรักก่อนที่จะทำการประดับต่อไปด้วยผงโลหะมีค่าต่าง ๆ โดยที่นิยมจะรองพื้นด้วยยางรักสีแดงสำหรับการประดับด้วยผงทอง และรองพื้นด้วยยางรักสีดำสำหรับการประดับด้วยผงเงิน ยางรักที่ใช้รองพื้นนี้จะเป็นตัวยึดจับกับผงโลหะมีค่าต่าง ๆ ให้ติดกับพื้นผิว[12]
- การประดับ - โรยประดับด้วยผงโลหะมีค่าเช่นผงทอง ผงเงิน ผงแพลตินัม บนยางรักสีที่ทำการรองพื้นไว้ ขัดให้ขึ้นเงาเมื่อแห้งดีแล้วเป็นขั้นตอนสุดท้าย[13][14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Definition of kintsugi". Definition-Of. October 28, 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 4, 2022. สืบค้นเมื่อ October 28, 2022.
- ↑ 2.0 2.1 Gopnik, Blake (March 3, 2009), "At Freer, Aesthetic Is Simply Smashing", The Washington Post, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 7, 2012.
- ↑ "Golden Seams: The Japanese Art of Mending Ceramics", Freer Gallery of Art, Smithsonian, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-17, สืบค้นเมื่อ 3 March 2009.
- ↑ "Daijisen - 金継ぎとは - コトバンク". Kotobank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 23, 2021. สืบค้นเมื่อ October 28, 2022.
- ↑ "Kintsugi: The Centuries-Old Art of Repairing Broken Pottery with Gold". My Modern Met (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-04-25. สืบค้นเมื่อ 2017-07-12.
- ↑ 【文化の扉】金継ぎで器にお化粧 繕いを新たな美に・全国で体験教室盛ん เก็บถาวร 2020-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน『朝日新聞』朝刊2017年9月3日
- ↑ "คินสึงิ (Kintsugi) ศิลปะความงามในความไม่สมบูรณ์แบบของญี่ปุ่น | WeXpats Guide". we-xpats.com. สืบค้นเมื่อ 20 March 2023.
- ↑ "คินสึงิ (Kintsugi) : ความงามของบาดแผลแห่งชีวิต "แท้จริง!.."ไม่มีชีวิตใดในโลกนี้..ที่สมบูรณ์แบบหรอก..."". สยามรัฐ. 29 January 2021. สืบค้นเมื่อ 20 March 2023.
- ↑ "Mugi Urushi". Kintsugi Oxford (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-14. สืบค้นเมื่อ 20 March 2023.
- ↑ "Kokuso". Kintsugi Oxford (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-29. สืบค้นเมื่อ 20 March 2023.
- ↑ "SABI". Kintsugi Oxford (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-20. สืบค้นเมื่อ 20 March 2023.
- ↑ "Shita-nuri, Naka nuri". Kintsugi Oxford (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-20. สืบค้นเมื่อ 20 March 2023.
- ↑ "Gold joint (mending gold) What is it?" (ภาษาญี่ปุ่น). 2013-05-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-20. สืบค้นเมื่อ 2014-04-02.
- ↑ Kemske, Bonnie (2021). Kintsugi: The Poetic Mend. Herbert Press. pp. 84–95. ISBN 978-1912217991. OCLC 1247084472.