ครูไหวใจร้าย
หัวข้อของบทความนี้อาจไม่ผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไป (เมษายน 2021) |
ครูไหวใจร้าย | |
---|---|
สร้างโดย | บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) และ บรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น |
เขียนโดย | บทประพันธ์: ผกาวดี อุตตโมทย์ |
แสดงนำ | จันจิรา จูแจ้ง เซกิ โอเซกิ ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์ ภูวฤทธิ์ พุ่มพวง |
ดนตรีแก่นเรื่องเปิด | มอบไว้ให้เธอ |
ดนตรีแก่นเรื่องปิด | วันคืนที่มีค่า |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการสร้าง | ปกาสิต กิ่งศักดิ์ |
ความยาวตอน | 30 นาที |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 |
ออกอากาศ | 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 |
ครูไหวใจร้าย ประพันธ์โดย ผกาวดี อุตตโมทย์ ต่อมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ทางช่อง 3 พ.ศ. 2547
หนังสือ
[แก้]ละครเรื่อง ครูไหวใจร้าย มีที่มาจาก หนังสือของ คุณผกาวดี อุตตโมทย์ ชื่อ ครูไหวใจร้าย ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้รับเลือกเป็น “หนังสือดีที่เด็กและเยาวชนควรอ่าน” จากการคัดเลือกโดยโครงการวิจัยของสำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) พ.ศ. 2543
เรื่องย่อ
[แก้]ในปี 2547 โรงเรียนดรุณรักษ์ เป็นโรงเรียนที่คนในอำเภอกิ่งจันทร์แดง คุณครูเจ้าระเบียบแห่งโรงเรียนดรุณรักษ์ ที่ไม่มีใครในอำเภอกิ่งจันทร์แดงไม่รู้จัก ที่ใครต่อใครต่างให้ฉายานามไว้ว่า ครูไหวใจร้าย อายุอานามของครูไสวก็ปาเข้าไป ใกล้จะ 60 ปีแล้ว อีกไม่กี่ปี ใกล้จะเกษียณ ชื่อเสียงของครูไหว เป็นที่โจษจันเป็นอย่างมากในเรื่องของความเข้มงวด เจ้าระเบียบ และดุมากเสียจนใครต่อใครในอำเภอกิ่งจันทร์แดงต่างพากันเกรงกลัว แต่น้อยคนที่จะรู้ว่าในอีกมุมหนึ่งของครูไหว หรือ ครูไหวใจร้าย นั้นเป็นคนที่ใจบุญมากๆ ไม่ฆ่ากระทั่งยุงแม้แต่ตัวเดียว และเมื่อถึงวันพระ ครูไหวจะเป็นคนแรกเสมอที่ไปถึงวัด ครูไหวจะมีกิจวัตรประจำวันที่เที่ยงตรงอยู่ตลอดเวลา ครูไหวจึงกลายเป็นนาฬิกาที่มีชีวิตประของทุกคนในอำเภอไปแล้ว และถ้าวันไหนมีเหตุสุดวิสัยจริงๆ ที่ทำให้กิจวัตรของครูไหวคลาดเคลื่อน ก็จะส่งผลให้ชีวิตประจำวันของใครต่อใครที่ใช้นาฬิกามีชีวิตครูไหวคลาดเคลื่อนเช่นกัน
ย้อนไปปี 2512 ที่จบครูและมาเป็นครูตามรอยของพ่อ ครูสว่าง จนเวลาล่วงเลยปี 2518 ตอนนั้น ครูไสวได้ทำงานให้นายซาบารุ เป็นผู้ล่ามภาษา และครูไสวก็ชอบซาบารุตั้งแต่แรกพบ โดยมีแสงเป็นกามเทพ ไสวก็ไม่สามารถบอกความจริงให้พ่อได้ ว่าซาบารุเป็นชาวญี่ปุ่น โดยโกหกว่าเป็นชาวเกาหลี เนื่องจากพ่อของไสวไม่ชอบชาวญี่ปุ่น เคยทำให้แม่ไสวตาย และพ่อของไสวรู้ความจริงว่า ซาบารุเป็นชาวญี่ปุ่นก็โกรธหนักมากจนเข้าโรงพยาบาล ซาบารุจึงได้ขอโทษพ่อของไสว พ่อของไสวให้อภัยคนญี่ปุ่นก็เปิดทางให้รักกันได้ และสิ้นใจเสียชีวิต แต่ซาบารุก็กลับญี่ปุ่นไปแล้ว ไสวก็เสียใจมาก ทำให้จำใจลืมเรื่องของซาบารุ ตั้งปณิธานว่าจะไม่รักใครนอกจากซาบารุ และไสวก็ทำงานเป็นครูโรงเรียนกิ่งจันทร์แดง เดินตามรอยพ่อ นับแต่นั้นเป็นต้นมา[1][2]
นำแสดงโดย
[แก้]นักแสดงหลัก
[แก้]- จันจิรา จูแจ้ง รับบทเป็น ครูไสว ครูไหว หรือ นางสาวไสว แสงตะวัน
- ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์ รับบทเป็น มานี
- ภูวฤทธิ์ พุ่มพวง รับบทเป็น กำแหง
- เซกิ โอเซกิ รับบทเป็น ซาบารุ นายช่าง
- ณิชา ฟิชล็อก รับบทเป็น แสง(น้องของครูไสว)
- จิรายุ ละอองมณี รับบทเป็น สมชาย
- ศิรชัช เจียรถาวร รับบทเป็น สมยศ
- ณัฏฐธิดา ดำรงวิเศษพาณิชย์ รับบทเป็น นารี
- ฝันดี จรรยาธนากร รับบทเป็น ช่วง
- ดุสิตา อนุชิตชญาชัย รับบทเป็น อุษา
- ชุลึพร ดวงรัตนตรัย รับบทเป็น อาไน้
- รอง เค้ามูลคดี รับบทเป็น ครูอ่วม
- อภิชาติ ชูสกุล รับบทเป็น ครูแสวง
- รุจน์ รณภพ รับบทเป็น พ่อของไสว
- ชโยภาส โพธิ์ตรีเพ็ชร รับบทเป็น ศักดา
- อัครพล. อังสุภูติพันธ์ รับบทเป็น เกื้อกูล
- เอกกร แก้วเรือน รับบทเป็น บุญส่ง
- ศักดิ์สิทธิ์ กลิ่นกล่อม รับบทเป็น กาจ
- นวิยา. ต้นเต็มทรัพย์ รับบทเป็น แสง
- ชัชฎา. ตั้งพินิจการ รับบทเป็น มาลัย
นักแสดงสมทบรับเชิญ
[แก้]- วัชรินทร์ ฟรานซิส แองกุส รับบทเป็น สนั่น
- สุรพันธ์ ชาวปากน้ำ รับบทเป็น พิชัย
- ฝันดี จรรยาธนากร รับบทเป็น ช่วง
- นำชัย จรรยาฐิติกุล รับบทเป็น เส็ง
- โป๊งเหน่ง เชิญยิ้ม รับบทเป็น เก่ง
- นพพร กำธรเจริญ รับบทเป็น อารี
- ดุสิตา อนุชิตชาญชัย รับบทเป็น อุษา
- อาภารัตน์ ทิชากร รับบทเป็น กุหลาบ
- ชุลีพร ดวงรัตนตรัย รับบทเป็น อาไน้
- อมราพร สุดสายเนตร รับบทเป็น สอางค์
- อณูวรรณ ปรีญานนท์ รับบทเป็น พิสมัย
- เพทาย เกิดผล รับบทเป็น สมใจ
- ชาคริต รุมพล รับบทเป็น พ่อของบุญส่ง
- รอง เค้ามูลคดี รับบทเป็น ครูอ่วม
- อภิชาติ ชูสกุล รับบทเป็น ครูแสวง
- เอื้ออาทร วงศ์ศิริ รับบทเป็น ครูสายชล
- อนุสรณ์ เดชะปัญญา รับบทเป็น พ่อมานี
- สุทธิจิตร วีรเดชกำแหง รับบทเป็น ยายเม้า
- ณัฐนิชา เชิดชูบุพการี รับบทเป็น มีมี่
- โฟกัส จีระกุล รับบทเป็น มานี (ตอนเด็ก)
- ชาลี ไตรรัตน์ รับบทเป็น กำแหง (ตอนเด็ก)
- เฉลิมพล ทิฆัมพรธีรวงศ์ รับบทเป็น เก่ง (ตอนเด็ก)
- ตรีวรัตถ์ ชุติวัฒน์ขจรชัย รับบทเป็น วิชัย (ตอนเด็ก)
- ธนา วิชยาสุรนันท์ รับบทเป็น ช่วง (ตอนเด็ก)
- หยก ธีรนิตยาธาร รับบทเป็น อารี (ตอนเด็ก)
- อภิชาญ เฉลิมชัยนุวงศ์ รับบทเป็น เส็ง (ตอนเด็ก)