คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ
คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (อังกฤษ: Federal Open Market Committee, ย่อ: FOMC) เป็นคณะกรรมการในระบบธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีหน้าที่ตามกฎหมายสหรัฐในการควบคุมดูแลการดำเนินการผ่านตลาดการเงิน (เช่น การซื้อขายหลักทรัพย์กระทรวงการคลังสหรัฐของเฟด)[1] คณะกรรมการฯ นี้ตัดสินใจเรื่องสำคัญเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยและการเติบโตของปริมาณเงินในสหรัฐ[2] ภายใต้เนื้อหาของรัฐบัญญัติธนาคารกลางฉบับแรก ธนาคารในธนาคารกลางแต่ละแห่งมีอำนาจซื้อขายพันธบัตรตลาดเสรีและหนี้ระยะสั้นของรัฐบาลสหรัฐ ตั๋วแลกเงินที่รับรองโดยธนาคาร การโอนเงินระหว่างประเทศและตราสารหนี้ ดังนั้นธนาคารกลางแต่ละแห่งจึงมีการแข่งขันกันเองในตลาดเสรีในบางครั้ง รัฐบัญญัติการธนาคารปี 1933 ตั้ง FOMC ขึ้นอย่างเป็นทางการ[3]
FOMC เป็นองค์กรกำหนดนโยบายการเงินแห่งชาติหลักของสหรัฐ คณะกรรมการฯ กำหนดนโยบายการเงินโดยกำหนดเป้าหมายระยะสั้นสำหรับการดำเนินการผ่านตลาดการเงิน ซึ่งปกติเป็นระดับเป้าหมายของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (หรืออัตราที่ธนาคารพาณิชย์เรียกจากธนาคารพาณิชย์ด้วยกันสำหรับเงินกู้ข้ามคืน)
FOMC ยังกำหนดการดำเนินการของระบบธนาคารกลางสหรัฐในตลาดแลกเปลี่ยนต่า��ประเทศ แต่การแทรกแซงในตลาดแลกเปลี่ยนต่างประเทศจะต้องประสานงานกับกระทรวงการคลังสหรัฐ ซึ่งมีความรับผิดชอบในการร่างนโยบายของสหรัฐเกี่ยวกับมูลค่าแลกเปลี่ยนของเงินดอลลาร์สหรัฐ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "What is the FOMC and when does it meet?". Board of Governors of The Federal Reserve System. December 2015. สืบค้นเมื่อ February 23, 2016.
- ↑ O'Sullivan, Arthur; Sheffrin, Steven M. (2003). Economics: Principles in Action. Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall. p. 418. ISBN 0-13-063085-3.
- ↑ Money and Banking. New York: American Institute of Banking. 1940. p. 440.