ข้ามไปเนื้อหา

ขงจื่อเจีย-ยฺหวี่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขงจื่อเจีย-ยฺหวี่
หน้าปกของขงจื่อเจีย-ยฺหวี่ฉบับตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1895
ผู้ประพันธ์ข่ง อานกั๋ว (ถือเป็นผู้เขียน)
อองซก (เรียบเรียง)
ชื่อเรื่องต้นฉบับ孔子家語
ประเทศประเทศจีนยุคราชวงศ์ฮั่น
ภาษาภาษาจีนโบราณ
หัวเรื่องคำสอนในลัทธิขงจื๊อ
ขงจื่อเจีย-ยฺหวี่
อักษรจีนตัวเต็ม孔子
อักษรจีนตัวย่อ孔子家语
ความหมายตามตัวอักษรคำสอนในสำนักของขงจื๊อ

ขงจื่อเจีย-ยฺหวี่ (จีน: 孔子家語) แปลว่า คำสอนในสำนักของขงจื๊อ[1] หรือ คำสอนในครอบครัวของขงจื๊อ[2] เป็นหนังสือรวมคำสอนของขงจื๊อ เขียนขึ้นในฐานะภาคผนวกของหลุน-ยฺหวี่[3]

หนังสือชื่อขงจื่อเจีย-ยฺหวี่ มีมาตั้งแต่ช่วงต้นยุคราชวงศ์ฮั่น (206 ปีก่อนคริสตกาล–ค.ศ. 220) เป็๋นอย่างน้อย และปรากฏในอี้เหวินจื้อ (藝文志) บรรณานุกรมหลวงในศตวรรษที่ 1 โดยมี 27 ม้วนหนังสือ อย่างไรก็ตามก็มีขงจื่อเจีย-ยฺหวี่ ฉบับที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นฉบับที่รวบรวมโดยอองซก (ค.ศ. 195–256) ขุนนางและบัณฑิตของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊ก และประกอบด้วย 10 ม้วนหนังสือและ 44 บรรพ[4]

นักวิชาการชาวจีนได้สรุปมาเป็นเวลานานว่าขงจื่อเจีย-ยฺหวี่ ฉบับที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นเป็นงานปลอมแปลงในศตวรรษที่ 3 โดยอองซก โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับขงจื่อเจีย-ยฺหวี่ ต้นฉบับที่มีชื่อเหมือนกัน[3] แต่ข้อสรุปนี้ถูกล้มล้างด้วยการค้นพบทางโบราณคดีของสุสานสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกที่ติ้งโจว (55 ปีก่อนคริสตกาล) และซฺวางกู่ตุย (165 ปีก่อนคริสตกาล)[4]

ขงจื่อเจีย-ยฺหวี่ มีการแปลเป็นภาษาไทย 2 ครั้ง ครั้งแรกแปลในชื่อภาษาไทยว่า ขงจื๊อ ฉบับปราชญ์ชาวบ้าน แปลโดยอธิคม สวัสดิญาณ ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2540 ครั้งที่สองแปลในชื่อภาษาไทยว่า ขงจื่อเจียอี่ว์ ปกิณกคดีขงจื่อ แปลโดยชัชชล ไทยเขียว ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2567

อ้างอิง

[แก้]
  1. Kramers 1950.
  2. Shen 2013, p. 87.
  3. 3.0 3.1 Kramers 1950, p. 2.
  4. 4.0 4.1 中國歷代對《孔子家語》的研究. Culture China (ภาษาจีน). 22 เมษายน 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 มีนาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2017.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]