กาแฟธัญพืช
กาแฟธัญพืช (อังกฤษ: cereal coffee หรือ grain coffee) หรือ เครื่องดื่มธัญพืชคั่ว (อังกฤษ: roasted grain drink หรือ roasted grain beverage) เป็นเครื่องดื่มร้อนที่ทำจากเมล็ดธัญพืชตั้งแต่หนึ่งถึงหลายชนิดที่นำมาคั่วและและแปรรูปในเชิงพาณิชย์ให้อยู่ในรูปของผลึกหรือผงเพื่อทำใหม่ในภายหลังด้วยน้ำร้อน ผลิตภัณฑ์นี้มักวางตลาดเป็นเครื่องดื่มทางเลือกที่ปราศจากคาเฟอีนทดแทนกาแฟและชา หรือในกรณีที่กาแฟหรือชาหายากหรือมีราคาแพง[1]
กาแฟธัญพืชหลายยี่ห้อที่เป็นที่รู้จัก ได้แก่ Nestlé Caro, Postum และ Inka ยี่ห้ออื่น ๆ สามารถพบได้ที่ร้านขายอาหารเพื่อสุขภาพและร้านขายของชำบางแห่ง ส่วนผสมทั่วไป ได้แก่ ข้าวบาร์เลย์คั่ว ข้าวบาร์เลย์มอลต์ ข้าวไรย์ ชิโครี กากน้ำตาล และบีตรูต
การบริโภค
[แก้]ทวีปเอเชีย
[แก้]กาแฟธัญพืชเป็นที่นิยมในอาหารเอเชียตะวันออก ประเทศเกาหลี[2] ญี่ปุ่น และจีน ต่างก็มีกาแฟธัญพืชตั้งแต่หนึ่งแบบขึ้นไป (มักเป็นธัญพืชคั่วแช่ในน้ำร้อน)
- ชาข้าวบาร์เลย์ (โพรีชา, ต้าไม่ฉา, มูงิชะ)
- ชาข้าว
- ชาข้าวกล้อง (ฮย็อนมีชา, เนื้อกเก่าลื้ต)
- ซุงนยุง
- ชาข้าวโพด (อกซูซูชา)
- ชาลูกเดือย (ยุลมูชา)
มีการใช้เมล็ดคล้ายธัญพืชและธัญพืชเทียมในการทำเครื่องดื่มที่คล้ายกัน
- ชาบักวีต (เมมิลชา, โซบาชะ)
- ชาชุมเห็ดจีน (กย็อลมย็องจาชา)
ชาธัญพืชสามารถผสมกับชาเขียวหรือเครื่องดื่มชาอื่น ๆ
- ชาเขียวข้าวกล้อง (ฮย็อนมีนกชา)
- เก็นไมชะ
ทวีปยุโรป
[แก้]กาแฟธัญพืชบางยี่ห้อที่มีชื่อเสียงของโปแลนด์ซึ่งเชี่ยวชาญด้านกาแฟธัญพืช ได้แก่ อิงกา, กรากุส และอานาตอล
ในเช็กเกีย กาโววินีแม็ลตาเป็นยี่ห้อของของกาแฟธัญพืชคั่วมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1896
ส่วนผสมของธัญพืชคั่วดังกล่าวยังใช้เป็นพื้นฐานในการทำปอตปีแวกซึ่งเป็นเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ประเภทหนึ่ง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Yvona Fast, "Kicking the Coffee Habit: Going Caffeine-Free with Grain-Based Beverages"[ลิงก์เสีย], E–The Environmental Magazine, May 1, 2010.
- ↑ Alex Jung, "20 delicious Korean drinks", CNN.com, October 13, 2011.