ข้ามไปเนื้อหา

การ์ลูส ละฏูฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การ์ลูส ละฏูฟ
ละฏูฟใน ค.ศ. 2012
เกิด (1968-11-30) 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1968 (56 ปี)
ริโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล
มีชื่อเสียงจากการ์ตูนล้อการเมือง

การ์ลูส ละฏูฟ (โปรตุเกส: Carlos Latuff; อาหรับ: كارلوس لطوف; เกิดวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1968) เป็นนักวาดการ์ตูนล้อการเมืองชาวบราซิล[1] ผลงานของเขาเกี่ยวข้องกับสาระสำคัญอย่างความรู้สึกต่อต้านตะวันตก, การต่อต้านทุนนิยม และการต่อต้านการแทรกแซงทหารในต่างประเทศของสหรัฐ เขาเป็นที่รู้จักดีจากภาพเกี่ยวกับความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์และอาหรับสปริง[2]

การ์ตูนเปรียบเทียบอิสราเอลเข้ากับนาซีเยอรมนีของละฏูฟ[3] ถูกองค์กรสนับสนุนบางส่วนและบางบุคคลระบุเป็นการต่อต้านยิว ละฏูฟปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าวเป็น "กลยุทธ์ในการทำลายความน่าเชื่อถือของการวิพากษ์วิจารณ์อิสราเอล" และระบุว่าภาพวาดของเขามีจุดมุ่งหมายเพื่อเน้นย้ำถึงความคล้ายคลึงกันระหว่างสถานะของชาวยิวในยุโรปที่ถูกเยอรมนียึดครองกับสถานะของชาวปาเลสไตน์ในดินแดนที่อิสราเอลยึดครอง[4]

ชีวิตช่วงต้น

[แก้]

ละฏูฟเกิดในย่าน São Cristóvão ของริโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล[5]และมีเชื้อสายเลบานอน เขาระบุว่า "รากอาหรับ" ของตนเป็นแรงขับเคลื่อนในการสนับสนุนมูลเหตุอาหรับ รวมถึงมูลเหตุปาเลสไตน์[1]

ประวัติ

[แก้]

อาชีพของละฏูฟเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1990[6] โดยทำงานเป็นนักวาดการ์ตูนให้สำนักพิมพ์ฝ่ายซ้ายในบราซิล หลังดูสารคดีเกี่ยวกับซาปาติสตาในประเทศเม็กซิโกเมื่อ ค.ศ. 1997 เขาส่งการ์ตูนสองสามเรื่องไปให้พวกเขา และได้รับการตอบรับในเชิงบวก เขากล่าวว่าหลังประสบการณ์นี้ จึงตัดสินใจเปิดเว็บไซต์และมีส่วนร่วมใน "การเคลื่อนไหวเชิงศิลปะ" Graham Fowell อดีตประธาน Cartoonists' Club of Great Britain เปรียบเทียบผลงานของเขาเข้ากับแบงก์ซี ศิลปินกราฟิตีจากอังกฤษ[2]

ใน ค.ศ. 2011 ละฏูฟได้รับการติดต่อจากผู้ชุมนุมในประเทศอียิปต์ เขากล่าวว่าตนได้รับกำลังใจเมื่อเห็นการ์ตูนของเขาบางเรื่องปรากฎในการประท้วงในวันที่ 25 มกราคมภายในไม่กี่วันหลังจากที่เขาวาด รอยเตอร์รายงานว่า สิ่งนี้ช่วยให้เขาเป็น "วีรบุรุษในอาหรับสปริงอันวุ่นวายด้วยภาพล้อเลียนที่วาดอย่างรวดเร็ว"[7]

ละฏูฟเคยถูกจับกุมจากการ์ตูนเกี่ยวกับตำรวจบราซิลอย่างน้อย 3 ครั้ง ซึ่งเขาวิจารณ์ถึงความรุนแรงของตำรวจ[2]

ฉาก

[แก้]

ละฏูฟวาดการ์ตูนเกี่ยวกับความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์จำนวนมาก ซึ่งคาดว่ามีความสำคัญต่อนักวาดการ์ตูนคนนี้หลังไปเยือนภูมิภาคนี้ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 การ์ตูนของเขาวิจารณ์อิสราเอลอย่างรุนแรง[8]

ผลงานของละฏูฟก็วิจารณ์การกระทำของทหารสหรัฐในอิรักและในอัฟกานิสถาน เขาเริ่มเผยแพร่ผลงานของเขาบนเว็บตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ของการรุกราน ละฏูฟกล่าวว่า "สงครามไม่ใช่วิดีโอเกม และความใคร่ต่อเทคโนโลยี (technofetishism) ไม่ควรได้รับการเฉลิมฉลอง แต่ควรเปิดเผย"[9]

นับตั้งแต่ปลาย ค.ศ. 2010 เขาวาดการ์ตูนเกี่ยวกับอาหรับสปริงโดยเข้าข้างฝ่ายปฏิวัติ หลังชัยชนะของฝ่ายปฏิวัติในตูนิเซีย อียิปต์ และลิเบีย การ์ตูนของเขาจึงถูกเน้นที่ภัยคุกคามของการปฏิวัติซ้อนหรือการแทรกแซงของตะวันตก การ์ตูนบางเรื่องของเขาได้รับการแสดงในการชุมนุมประท้วงในประเทศอาหรับ[7][10][11]

ข้อพิพาท

[แก้]

ข้อกล่าวหาต่อต้านยิว

[แก้]

สื่อตีพิมพ์

[แก้]
  • Drawing attention to the Israeli-Palestinian Conflict: Political Cartoons by Carlos Latuff, 2019, ISBN 9780993186646.


อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Hosn, Dina Aboul (January 18, 2009). "Brazilian artist lives up to his promise". Gulf News. UAE. สืบค้นเมื่อ September 3, 2020.
  2. 2.0 2.1 2.2 Shenker, Jack (22 August 2011). "Carlos Latuff: The voice of Tripoli – live from Rio". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 17 December 2015.
  3. Simons, Andy (2019). Drawing Attention to the Israeli-Palestinian Conflict. Hungry Eye Books. ISBN 9780993186646.
  4. Portnoy, Eddy; Latuff, Carlos (December 18, 2008). "Latuff: Cartoonist in Conversation". The Forward. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 23, 2011.
  5. Trigo, Luciano. "‘Imagens podem ser apropriadas por qualquer um’, diz Carlos Latuff." G1 (O Globo). 25 January 2013. Retrieved on June 18, 2014. "nascido no subúrbio carioca de São Cristóvão:" (Carioca means from Rio de Janeiro)
  6. Mier, Brian (2 November 2017). "An interview with Carlos Latuff". Brasilwire. สืบค้นเมื่อ 1 September 2024.
  7. 7.0 7.1 Grudgings, Stuart (29 August 2011). "Rio cartoonist inspires Arab rebellions from afar". Reuters.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 December 2013. สืบค้นเมื่อ 25 January 2013.
  8. Portnoy, Eddy (18 December 2008). "Simple, Offensive and Out There". The Forward. สืบค้นเมื่อ 26 January 2021.
  9. Najjar, Orayb (2014). "The American media and the Iraq war at its tenth anniversary: Lessons for the coverage of future wars". International Journal of Contemporary Iraqi Studies. 8: 15–34. doi:10.1386/ijcis.8.1.15_1.
  10. "Latuff's cartoon displayed in Tahrir Square". Twicsy.com. 1 August 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2012. สืบค้นเมื่อ 25 January 2013.
  11. "Stop military tribunals". Arabawy.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 April 2012. สืบค้นเมื่อ 25 January 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]