การ์ลา บรูนี
เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
บทความนี้อาจขยายความได้โดยการแปลบทความที่ตรงกันในภาษาอังกฤษ คลิกที่ [ขยาย] เพื่อศึกษาแนวทางการแปล
|
การ์ลา บรูนี Carla Bruni | |
---|---|
คู่สมรสประธานาธิบดีฝรั่งเศส | |
ดำรงตำแหน่ง 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 – 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 | |
ก่อนหน้า | เซซิลียา ซิกาเนร์-อัลเบนิซ |
ถัดไป | วาเลรี ทรีแอร์แวแลร์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 ธันวาคม พ.ศ. 2510 โตริโน ประเทศอิตาลี |
คู่สมรส | นีกอลา ซาร์กอซี |
อาชีพ | นักแสดง นางแบบ |
เว็บไซต์ | [1] |
การ์ลา บรูนี-ซาร์กอซี (Carla Bruni-Sarkozy; 23 ธันวาคม พ.ศ. 2510) นักประพันธ์เพลง นักร้อง นางแบบชาวอิตาลีและเป็นอดีตสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส
ประวัติ
[แก้]การ์ลา บรูนีเกิดเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ที่เมืองโตริโน ประเทศอิตาลี เป็นทายาทของบริษัทอุตสาหกรรมยาง CEAT ซึ่งก่อตั้งโดยปู่ของเธอ วีร์จีนิโอ บรูนี เตเดสคี และถูกขายต่อโดยอัลแบร์โต พ่อเลี้ยงของเธอ ให้แก่บริษัทปิเรลลี่ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 [1] ครอบครัวของเธอย้ายไปอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2516 ซึ่งเป็นที่เชื่อกันว่า พวกเขาหลบหนีการลักพาตัวของกองทหารแดง (Brigate Rosse - กลุ่มก่อการร้ายสายมาร์กซิสต์-เลนินนิสต์ในประเทศอิตาลีช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970) การ์ลา บรูนีได้เติบโตขึ้นในประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่อายุเพียง 5 ขวบ และเข้าศึกษาที่โรงเรียนประจำที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และกลับมายังกรุงปารีสเพื่อเรียนศิลปะและสถาปัตยกรรม แต่ทว่าเมื่ออายุได้เพียง 19 ปีก็เลิกศึกษาต่อและมาเป็นนางแบบอาชีพ
ครอบครัว
[แก้]การ์ลา บรูนีเป็นลูกสาวของนักเปียโนคลาสสิก มาริสา โบรีนีและนักประพันธ์เพลงคลาสสิก อัลแบร์โต บรูนี เตเดสคี เธอมีพี่สาวนามว่า วาเลเรีย บรูนี เตเดสคี (16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507) ซึ่งเป็นนักแสดงและผู้กำกับภาพยนตร์ และมีพี่ชายนามว่า วีร์จีนิโอ บรูนี-เตเดสคี (พ.ศ. 2502 - 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2549) ในปี พ.ศ. 2550 ได้มีการเปิดเผยว่า พ่อที่แท้จริงของเธอคือ เมาริซิโอ เรมเมร์ต นักธุรกิจชาวอิตาลี ซึ่งปัจจุบันอาศัยอยู่ที่ประเทศบราซิล [1][2]
อาชีพ
[แก้]เดินแบบ
[แก้]บรูนีได้เซ็นสัญญากับซิตี้ โมเดลส์ เมื่ออายุเพียง 19 ปี หลังจากนั้นปอล มาร์ซีอาโน ประธานบริษัทเกสส์ (GUESS? Inc.) ได้เลือกให้เธอได้เดินแบบคู่กับเอสเตลล์ เลอเฟบูร์ นางแบบชื่อดังเพื่อที่จะโฆษณากางเกงยีนส์ของเกสส์ หลังจากนั้นบรูนีก็ได้ทำงานกับเหล่าผู้ออกแบบและบริษัทแฟชั่นอีกมากมายเช่น คริสเตียน ดีออร์, ปาโก ราบานเน, โซเนีย รีกีเอล, คริสเตียง ลาครัวซ์, คาร์ล ลาเกอร์เฟลด์, จอห์น กาลิอาโน, อีฟส์ แซงต์-โลรองต์, ชาแนล, เวอร์ซาเช่ [3] ฯลฯ ในคริสต์ทศวรรษ 1990 บรูนีกลายเป็นนางแบบที่มีรายได้สูงที่สุด 20 อันดับ โดยรับเงินกว่า 7.5 ล้านดอลลาร์ต่อปี ในขณะที่ทำอาชีพเดินแบบนั้น บรูนีได้คบหากับอีริค แคลปตัน, มิค แจ็คเกอร์ และดอนัลด์ ทรัมป์[4]
ดนตรี
[แก้]ในปี พ.ศ. 2540 บรูนีได้ก้าวออกจากวงการแฟชั่นและได้ทุ่มเทเวลาของเธอให้กับดนตรี เธอได้ส่งเนื้อร้องไปให้ชูเลียง แกลร์กในปี พ.ศ. 2542 ซึ่งได้ลงในอัลบั้มซิ เชเตส์ เอลล์ (Si j'étais elle) ซึ่งมี 7 เพลงในปี พ.ศ. 2543
ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 เธอได้ออกอัลบั้มออกมาชุดแรกคือ แกลเกิง มา ดิต์ (Quelqu'un m'a dit) ซึ่งผลิตโดยคู่รักเก่าของเธอ หลุยส์ แบร์ตีญัค ซึ่งออกจำหน่ายในทวีปยุโรปและประสบความสำเร็จในกลุ่มประเทศที่พูดภาษาฝรั่งเศส (Francophonie) [5] มีเพลงจากอัลบั้มของเธอ 3 เพลงได้ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์เรื่อง Conversations with Other Women ของฮานส์ คาโนซา และเพลงเลอ ปลูส์ โบ ดู การ์ตีเย่ร์ (Le plus beau du quartier) ได้ใช้ในโฆษณาคริสต์มาส 2006 ของเอชแอนด์เอ็ม (H&M)
ปี พ.ศ. 2547 เธอได้เป็นนักร้องรับเชิญในการกลับมาในอัลบั้ม��องหลุยส์ แบร์ตีญัค ในเพลงเลส์ โฟรเลิส (Les frôleuses) ซึ่งทั้งคู่ได้ร้องเป็นเพลงคู่
ในปี พ.ศ. 2549 บรูนีได้อัดเพลงโธส ลิตเติ้ล ธิงส์ (Those Little Things) เป็นภาษาอังกฤษโดยแปลจากเพลงเซส์ เปอตีต์ เรียงส์ (Ces Petits Riens) ในอัลบั้มเมอซิเยอร์ แก็งส์บูร์ก รีวิซีเต็ด (Monsieur Gainsbourg Revisited) ของแซร์ช แก็งส์บูร์ก บรูนียังได้ร่วมในพิธีเปิดโอลิมปิคฤดูหนาว 2006 ในการเดินพาเหรดโดยทำความเคารพแก่ธงชาติอิตาลี
อัลบั้มชุดที่สองของเธอคลอดออกมากในเดือนมกราคม พ.ศ. 2550 ชื่อว่า โน โพรมิสเซส (No Promises) โดยมีกลอนจากยีตส์, เอมิลี่ ดิคคินสัน, โดโรธี ปาร์คเกอร์, โอเดน, วอลเตอร์ เดอ ลา มาร์และคริสเตียน่า โรเซตติ
อัลบั้มที่สามของเธอวางจำหน่ายในฤดูร้อนปี พ.ศ. 2551
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]I'm monogamous from time to time, but I prefer polygamy and polyandry[6]
ความสัมพันธ์
[แก้]เป็นที่กล่าวกันว่า การ์ลา บรูนี เคยมีความสัมพันธ์กับหลุยส์ แบร์ตีญัค, มิค แจ็คเกอร์ (ภรรยาของแจ็คเกอร์สืบทราบความสัมพันธ์ของทั้งสองจึงเป็นสาเหตุหนึ่งของการหย่า), อีริค แคลปตัน, ดอนัลด์ ทรัมพ์, โลโอส การักซ์, ชาร์ลส์ แบร์แล็ง, แวงซองต์ เปอเรซ [7] และอดีตนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส โลรองต์ ฟาบิอูส์[8][9]
เธอกล่าวว่าเธอเบื่อกับ "ชีวิตสมรส" และ "การรักชั่วชีวิต" แต่ความปรารถนาอย่างเร่าร้อน - สองถึงสามอาทิตย์ [9]
ครอบครัวอองโตวอง
[แก้]เมื่อเธอได้อาศัยอยู่กับฌอง-ปอล อองโตวอง บรูนีได้ตกหลุมรักและมีความสัมพันธ์กับลูกชายของเขา ซึ่งเป็นนักปรัชญา ชื่อว่าราฟาเอล อองโตวอง (เพลงที่ 2 ราฟาเอล ในอัลบั้มแกลเกิง มา ดิต์ ของบรูนี มาจากชื่อของเขา) ซึ่งในขณะนั้นเขาได้แต่งงานกับนักเขียนชูสตีน เลวี ลูกสาวของนักปรัชญา แบร์นาร์ด-อองรี เลวี [10]
ความสัมพันธ์ของทั้งสองได้จบลงหลังจากเลิกกัน ซึ่งได้แนวความคิดมาจากหนังสือขายดีติดอันดับของชูสตีน เลวี "เรียง เดอ กร���ฟ" (Rien de grave - ไม่มีอะไรซีเรียส) พิมพ์ในปี พ.ศ. 2547 ซึ่งในหนังสือนั้นเลวีได้ระบายภาพแสบๆ ของ "พอลล่า" ซึ่งเป็นผู้หญิงที่แย่งสามีตัวเองในละครไป โดยเป็น "ตั๊กแตนตำข้าว" ด้วยรอยยิ้มที่โหดร้าย [11]
บรูนีและราฟาเอล อองโตวองมีลูกชายด้วยกันหนึ่งคนคือ โอเรเลียง (พ.ศ. 2544 — ) ตั้งแต่นั้นมาทั้งคู่ได้แยกทางกัน
นีกอลา ซาร์กอซี
[แก้]ปลายปี พ.ศ. 2550 ได้มีรายงานว่าการ์ลา บรูนีกำลังมีความสัมพันธ์กับประธานาธิบดีฝรั่งเศส นีกอลา ซาร์กอซี [12] หลังจากที่ช่างถ่ายภาพถ่ายภาพทั้งคู่กำลังเข้าชมดิสนีย์แลนด์ รีสอร์ท ปารีส และพักผ่อนที่ลูซอร์ ประเทศอียิปต์และเปตรา ประเทศจอร์แดน ระหว่างเทศกาลคริสต์มาส [13]
ในระหว่างการให้สัมภาษณ์แก่นักข่าวและหนังสือพิมพ์ที่เอลิเซ่ในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2551 นั้น ประธานาธิบดีซาร์กอซีได้ยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองและพูดเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการแต่งงานของทั้งสอง [14] ซึ่งทั้งสองได้แต่งงานในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ที่พระราชวังเอลิเซ่ในกรุงปารีส การแต่งงานครั้งนี้เป็นการแต่งงานครั้งแรกของการ์ลา บรูนีและเป็นครั้งที่ 3 ของซาร์กอซี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Bruni-Tedeschi, de la saga à la telenovela - Libération, 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 (ฝรั่งเศส)
- ↑ Sharon Churcher & Harold Emert, Who's the daddy? Businessman claims to be real father of President Sarkozy's supermodel sweetheart Carla Bruni, Daily Mail, 6 มกราคม พ.ศ. 2550
- ↑ Carla Bruni, Fashion Insider, accessed 2008-01-07
- ↑ Brendan Bernhard (February 2, 2007). "The Supermodel School of Poetry". New York Sun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-16. สืบค้นเมื่อ 2008-03-11.
- ↑ biography of Bruni เก็บถาวร 2008-01-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, RFI, accessed 2008-01-07
- ↑ Time Magazine, vol. 170, n. 26/27, 31 December 2007 – 7 January 2008. See also เก็บถาวร 2013-08-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ ON NE PARLE QUE DE ÇA | CARLA BRUNI เก็บถาวร 2008-04-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Gala (ฝรั่งเศส)
- ↑ Time Magazine, vol. 170, n. 26/27, 31 December 2007 – 7 January 2008. See also: Faces to follow in 2008: Presidential Arm Candy - Carla Bruni เก็บถาวร 2013-08-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 9.0 9.1 "Profile: Carla Bruni". BBC News. 2008-01-15.
- ↑ When Carla Bruni broke hearts - Gala, Eliane Georges , August 17, 2005 (ฝรั่งเศส)
- ↑ John Follain, Nicolas Sarkozy and Carla Bruni: Coup de foudre เก็บถาวร 2008-08-27 ที่ archive.today, Times Online, 23 December 2007
- ↑ French president, supermodel-singer linked USA Today, 17 December 2007
- ↑ Paparazzi throng for Sarkozy trip, BBC News, 25 December 2007
- ↑ Sarkozy: avec Carla, c'est du sérieuxLe Figaro January 9, 2008 (ฝรั่งเศส)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของการ์ลา บรูนี (อังกฤษ)
- ข่าวจากรอยเตอร์ เก็บถาวร 2008-04-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อิตาลี)
- การ์ลา บรูนีจากแคตวอล์คสู่เอลิเซ่ เก็บถาวร 2008-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน,Expatica, 2008-02-11 (อังกฤษ)
ก่อนหน้า | การ์ลา บรูนี | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เซซิลียา ซิกาเนร์-อัลเบนิซ | คู่สมรสประธานาธิบดีฝรั่งเศส (พ.ศ. 2551 — 2555) |
วาเลรี ทรีแอร์แวแลร์ |