การเลือกตั้งในสหรัฐ ค.ศ. 2018
การเลือกตั้ง | การเลือกตั้งกลางเทอมสหรัฐฯ |
---|---|
การแย่งชิงที่นั่ง | 6 พศจิกายน |
ประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่ง | โดนัลด์ ทรัมป์ (พรรคริพับลิกัน) |
การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา | |
การควบคุมสภา | พรรคริพับลิกันรักษาการควบคุม |
การแย่งชิงที่นั่ง | 33 ที่นั่งในชั้นที่ 1 (Class I) (+ การเลือกตั้งวิสามัญ 2 ที่นั่งใน Class II) |
ผลการเลือกตั้งวุฒิสภาปี พ.ศ.2561 (รัฐมินนิโซตาและรัฐมิสซิสซิปปีมีการเลือกตั้งวุฒิสภาสองที่นั่ง):
พรรคเดโมเครตรักษาที่นั่ง พรรคริพับลิกันรักษาที่นั่ง พรรคเดโมเครตได้ที่นั่ง พรรคริพับลิกันได้ที่นั่ง ผู้สมัครอิสระรักษาที่นั่ง | |
การเลือกตั้งผู้แทนราษฎร | |
ที่นั่งที่เปิดให้เลือกตั้ง | ที่นั่งที่ออกเสียงได้ทั้งหมด 435 ที่นั่ง (+5 จาก 6 ที่นั่งที่ไม่มีสิทธิออกเสียง) |
การเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐ | |
39 (36 รัฐ, 3 ดินแดน) | |
ผู้ดำรงตำแหน่งปัจจุบันจากพรรคเดโมแครตที่มีคุณสมบัติรับเลือกตั้งอีกสมัยได้ ผู้ดำรงตำแหน่งปัจจุบันจากพรรคเดโมแครตที่ครบวาระแล้ว หรือจะวางมือ ผู้ดำรงตำแหน่งปัจจุบันจากพรรครีพับลิกันที่มีคุณสมบัติลงรับเลือกตั้งใหม่ได้ ผู้ดำรงตำแหน่งปัจจุบันจากพรรครีพับลิกันที่ครบสมัยแล้ว หรือจะวางมือ ผู้ดำรงตำแหน่งปัจจุบันอิสระที่จะวางมือ ไม่มีการเลือกตั้ง |
การเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา พ.ศ.2561 ถูดจัดให้มีขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018) โดยมีการแข่งขันชิงตำแหน่งชิงตำแหน่งทางการเมืองที่ว่างลง ทั้งในระดับสหพันธรัฐ ระดับมลรัฐ และระดับท้องถิ่น. การเลือกตั้งมิดเทอมปี 2018 เป็นการเลือกตั้งในช่วงกึ่งกลางของการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยแรกของ นายโดนัลด์ ทรัมป์. ที่นั่งทั้งหมดในสภาผู้แทนสหรัฐฯ ทั้ง 435 ที่นั่ง และที่นั่งวุฒิสภา 35 ที่นั่ง (จากทั้งหมด 100 ที่นั่ง) ถูกเปิดให้มีการลงคะแนนเสียงทั่วประเทศ เพื่อหาผู้เข้ารับตำแหน่งคนใหม่มาแทนที่นักการเมืองคนเก่า ที่ดำรงตำแหน่งมาจนครบวาระ หรือกำลังจะเกษียณอายุ. นอกจากนี้ยังมีการลงชิงตำแหน่งผู้ว่าการรัฐ 39 ที่นั่ง รวมไปถึงตำแหน่งว่างทางการเมืองในระดับมลรัฐ และการปกครองท้องถิ่นอื่นๆ.
การเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา พ.ศ.2561 เป็นการเลือกตั้งมิดเทอมที่ก่อให้เกิดความตื่นตัว และความกระตือรือร้นทั้งจากภาคประชาชน จากทางพรรคสถาบันการเมืองของสหรัฐฯ และจากผู้สังเกตการณ์ต่างชาติ มากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองของสหรัฐอเมริกา. ในพรรคภาคประชาชน พบว่ามีการลงคะแนนเสียงล่วงหน้าเป็นจำนวนมากถึง 2 เท่า เมื่อเทียบกับการเลือกตั้งใหญ่ทั่วประเทศในปี ค.ศ. 2016.[1] พรรคการเมือง และพรรคสนับสนุนทางการเมืองของทั้งพรรครีพับลิกัน และพรรคเดโมแครต ใช้งบประมาณมหาศาลในการซื้อโฆษณา และลงทุนติดตั้งป้ายหาเสียงเลือกตั้ง. แหล่งข้อมูลจาก Center for Responsive Politics เปิดเผยว่าเงินจำนวนกว่า $5.2 พันล้าน ถูกใช้จ่ายในแคมเปญจ์รณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง เพิ่มขึ้นจาก $4.4 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2016 ทำให้การเลือกตั้งมิดเทอม 2018 เป็นการเลือกตั้งที่แพงที่สุดในประวัติศาสตร์[2] โดยมีการใช้เทคนิคการโฆษณาชวนเชื่อ (propaganda) และการเผยแพร่ข่าวหลอก (fake news) ทั้งในสื่อกระแสหลัก และทางสื่อโซเชียลเพื่อก่อกวน บิดเบือนข้อเท็จจริง และสร้างความสับสนแก่ประชาชน. นอกจากนี้ยังมีรายงานว่านักแฮ็กเกอร์ หรือสายลับที่ทำงานให้กับมหาอำนาจต่างชาติ ได้แก่ รัสเซีย และสาธารณะประชาชนจีน[3] ได้พยายามสอดเข้ามายุ่งเกี่ยวโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อโน้มน้าวผลการเลือกตั้งอีกด้วย.
ผลของการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรคเดโมแครตสามารถช่วงชิงอำนาจการควบคุมในสภาผู้แทนฯได้ ส่วนพรรครีพับลิกันสามารถชิงเก้าอี้สมาชิกวุฒิสภาเพิ่มขึ้นจากเดิม ทำให้พรรครีพับลิกัน (GOP) สามารถควบคุมทิศทางของวุฒิสภา (สภาเซเนต) ได้ต่อไป.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Cranley, Ellen (November 3, 2018). "Here are all the states where you can vote early in the midterm elections". Business Insider. สืบค้นเมื่อ 2018-11-07.
- ↑ Gal, Shayanne (November 3, 2018). "The 2018 midterms will be the most expensive in history – here are the candidates who have raised and spent the most money since Trump's election". Business Insider. สืบค้นเมื่อ 2018-11-07.
- ↑ Mark Landler (September 26, 2018). "Trump Accuses China of Interfering in Midterm Elections". The New York Times.