ข้ามไปเนื้อหา

การเคหะแห่งชาติ (ประเทศไทย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเคหะแห่งชาติ
National Housing Authority
ตราสัญลักษณ์
ภาพรวมการ
ก่อตั้ง12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516; 51 ปีก่อน (2516-02-12)
การก่อนหน้า
ประเภทรัฐวิสาหกิจ
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่905 ถนนนวมินทร์ แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
งบประมาณต่อปี868,936,000 บาท
(พ.ศ. 2568)[1]
ฝ่ายบริหารการ
  • ทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ์, ผู้ว่าการ
  • สัญญา หวะสุวรรณ, รองผู้ว่าการ
  • ธนัญชัย โชติศรีลือชา, รองผู้ว่าการ
  • สมเจตน์ ประพันธ์บัณฑิต, รองผู้ว่าการ
  • ปรีดา สุขสุมิตร, รองผู้ว่าการ
  • ฐิตาภรณ์ ลาภเกียรติเสรี, รองผู้ว่าการ
  • มงคล จันทษี, รองผู้ว่าการ
ต้นสังกัดการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เว็บไซต์เว็บไซต์ของการ
เชิงอรรถ
ข้อมูลรัฐวิสาหกิจ
ชื่อย่อกคช. / NHA
ผู้ก่อตั้งคณะปฏิวัติ
วัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน และสามารถเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นสาธารณะได้
พื้นที่ให้บริการ
ประเทศไทย
ผลิตภัณฑ์โครงการบ้านเอื้ออาทร
บริการ
ประธานกรรมการ
พลเอก สุพจน์ มาลานิยม
คณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ
รายได้
987,477,293 บาท
(พ.ศ. 2566)[2]
การเบิกจ่าย1,600,790,000 บาท
(พ.ศ. 2566)[2]
รายจ่าย1,677,021,324 บาท
(พ.ศ. 2566)[2]
การให้ทุน6,600,788,692 บาท
(พ.ศ. 2566)[2]

การเคหะแห่งชาติ (อังกฤษ: National Housing Authority) เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516

ประวัติ

[แก้]

สืบเนื่องจากปัญหาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยในประเทศไทย ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลจึงได้จัดตั้งกองเคหสถาน กรมประชาสงเคราะห์ ขึ้นในปี พ.ศ. 2483 หลังจากเริ่มต้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในปี พ.ศ. 2504 ปัญหาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยทวีความรุนแรงขึ้น รัฐบาลจึงได้จัดตั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยเพิ่มเติม ได้แก่ สำนักงานอาคารสงเคราะห์ กรมประชาสงเคราะห์ (ในปี พ.ศ. 2493) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ในปี พ.ศ. 2496) และสำ���ักงานปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรมเทศบาลนครกรุงเทพ (ปี พ.ศ. 2503) จนในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 จึงมีการกำหนดนโยบายให้จัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านที่อยู่อาศัยขึ้น และได้จัดตั้ง “การเคหะแห่งชาติ” ขึ้นเมื่อ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 ภายใต้ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515[3] โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

  1. จัดให้มีเคหะเพื่อประชาชน เช่า หรือเช่าซื้อ
  2. จัดหาเงินกู้มาสร้างที่อยู่อาศัยให้ประชาชนเช่าซื้อหรือให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่บุคคลที่จะสร้างที่อยู่อาศัย
  3. ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารหรือจัดสรรที่ดิน

ต่อมาในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2517 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 ที่ให้อำนาจการเคหะแห่งชาติออกพันธบัตรหรือตราสารการลงทุนได้ [4]

ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2522 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 ฉบับที่ 2 ที่ได้ให้อำนาจการเคหะแห่งชาติเวนคืนที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อดำเนินการปรับปรุงหรือรื้อถอนแหล่งเสื่อมโทรมได้ [5]

ในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 เข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรและได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้และคณะกรรมาธิการได้นำเข้าสู่ที่ประชุมสภาในวาระที่ 2 และ 3 เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 แต่ที่ประชุมสภาไม่เห็นชอบร่างทำให้ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นอันตกไป[6]

และต่อมาในปีพ.ศ. 2537 ได้มีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งใหม่ตามพระราชบัญญัติ การเคหะแห่งชาติ พ.ศ. 2537 [7] ดังนี้

  1. จัดให้มีเคหะเพื่อให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัย
  2. ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประชาชนผู้ประสงค์จะมีเคหะของตนเอง หรือแก่บุคคลผู้ประสงค์ จะร่วมดำเนินกิจการกับ กคช.ในการจัดให้มีเคหะขึ้น เพื่อให้ประชาชนเช่า เช่าซื้อหรือซื้อ
  3. ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารหรือจัดหาที่ดิน
  4. ปรับปรุงรื้อหรือย้ายแหล่งเสื่อมโทรมเพื่อให้มีสภาพการอยู่อาศัยสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมดีขึ้น
  5. ประกอบธุรกิจการอื่นที่สนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น

ผลการดำเนินงาน

[แก้]

นับแต่ปี พ.ศ. 2516 ถึงปี พ.ศ. 2553 การเคหะแห่งชาติ ได้ดำเนินงานพัฒนาและจัดสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชนทุกระดับรายได้โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยได้ รวมทั้งสิ้นจำนวน 732,249 หน่วย

โครงการบ้านเอื้ออาทร

[แก้]

เป็นโครงการเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในการอยู่อาศัย และยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ด้อยโอกาสให้ได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยเป็นที่อยู่อาศัยที่ได้มาตรฐานและอยู่ในชุมชนที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีระดับราคาที่กลุ่มเป้าหมายสามารถรับภาระการผ่อนชำระได้ โดยกำหนดที่จะจัดทำที่อยู่อาศัยให้สำหรับกลุ่มป้าหมายกลุ่มเดียวคือกลุ่มที่มีรายได้ครัวเรือนไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท (รายได้ปี 2546) และปรับเป็นรายได้ครัวเรือนไม่เกินเดือนละ 40,000 บาท ในปัจจุบัน มีเป้าหมายดำเนินการทั้งสิ้น 281,556 หน่วย ซึ่งในปี 2553 ก่อสร้างแล้วเสร็จ 240,186 หน่วย ส่งมอบให้กับผู้ได้สิทธิแล้ว 174,545 หน่วย

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๙๖, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 รายงานประจำปี 2566 การเคหะแห่งชาติ
  3. ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๑๖ (มีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ ให้จัดตั้งการเคหะแห่งชาติ) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘๙ ตอน ๑๙๐ ก พิเศษ หน้า ๕๓ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕
  4. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๑๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ พ.ศ. ๒๕๑๗ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๑ ตอน ๑๐๙ ก พิเศษ หน้า ๑ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๗
  5. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๑๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๒ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๖ ตอน ๓๖ ก พิเศษ หน้า ๙ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒
  6. การเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316
  7. พระราชบัญญัติการเคหะแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๗ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๑ ตอน ๑๔๐ ก หน้า ๒๐ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๗

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]