การศึกษาของญี่ปุ่น
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
สังคมญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมาก เด็กๆจะได้รับการศึกษาใน 3 ทาง ได้แก่ เรียนโรงเรียนรัฐบาลสำหรับการศึกษาภาคบังคับ เรียนโรงเรียนเอกชนสำหรับการศึกษาภาคบังคับ หรือ เรียนโรงเรียนเอกชนที่ไม่ได้ยึดมาตรฐานของกระทรวงการศึกษา วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (MEXT)
แม้ว่าการเรียนในชั้นมัธยมปลาย จะไม่เป็นการศึกษาภาคบังคับ ประชาชนมากกว่า 90% ก็เข้าเรียนในชั้นมัธยมปลาย นักเรียนมากกว่า 2.5 ล้านคนเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย ในอดีต กระบวนการคัดเลือกเพื่อเรียนในชั้นสูงขึ้น ถูกมองว่า "โหด" หรือ "ราวกับสงคราม" แต่ด้วยจำนวนของเด็กญี่ปุ่นที่มีอัตราการเกิดน้อยลง กระแสนี้ก็เปลี่ยนไปในทางอื่น ปัจจุบันโรงเรียนต่างแข่งขันกันเองเพื่อรับนักเรียน เด็กๆจำนวนมากถูกส่งไปยัง จุกุ (โรงเรียนกวดวิชา) นอกเหนือจากการเรียนในโรงเรียน
การศึกษาในสังคมญี่ปุ่น
[แก้]คะแนนการศึกษานานาชาติ (พ.ศ. 2546) (คะแนนเฉลี่ยเด็กอายุ 13 ปี, TIMSS การศึกษาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์นานาชาติ ครั้งที่ 3, พ.ศ. 2546) | |||||
ประเทศ: (ตัวอย่าง) |
อันดับโลก | คณิตศาสตร์ | วิทยาศาสตร์ | ||
คะแนน | อันดับ | คะแนน | อันดับ | ||
สิงคโปร์ | 1 | 605 | 1 | 578 | 1 |
ไต้หวัน | 2 | 585 | 4 | 571 | 2 |
เกาหลีใต้ | 3 | 589 | 2 | 558 | 3 |
ฮ่องกง | 4 | 586 | 3 | 556 | 4 |
ญี่ปุ่น | 5 | 570 | 5 | 552 | 5 |
เนเธอร์แลนด์ | 7 | 536 | 7 | 536 | 9 |
อังกฤษ | 10 | 498 | 18 | 544 | 7 |
สหรัฐอเมริกา | 12 | 504 | 15 | 527 | 11 |
มาเลเซีย | 18 | 508 | 10 | 510 | 21 |
อิตาลี | 23 | 484 | 22 | 491 | 22 |
ที่มา:TIMSS Math 2003 และ TIMSS Science 2003 |
วัฒนธรรมญี่ปุ่นสอนให้เคารพต่อสังคมและมีการสร้างแรงจูงใจให้อยู่รวมเป็นกลุ่มโดยให้รางวัลเป็นกลุ่มมากกว่าจะให้รางวัลเป็นบุคคล การศึกษาของญี่ปุ่นเน้นหนักในเรื่องความขยัน การตำหนิตนเอง และอุปนิสัยการเรียนรู้ที่ดี ชาวญี่ปุ่นถูกปลูกฝังว่าการทำงานหนักและความขยันหมั่นเพียรจะทำให้ประสบความสำเร็จในชีวิต โรงเรียนจึงอุทิศให้กับการสอนทัศนคติ คุณธรรม จริยธรรมให้กับนักเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อที่จะพัฒนาอุปนิสัยและมีเป้าหมายในการสร้างประชากรที่สามารถอ่านออกเขียนได้ และปรับตัวให้เข้ากับค่านิยมและวัฒนธรรมของสังคมได้
ความสำเร็จทางการศึกษาของญี่ปุ่นอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับมาตรฐานสากล ในการสอบวัดความรู้ด้านคณิตศาสตร์นานาชาติ เด็กญี่ปุ่นถูกจัดให้อยู่ในอันดับต้นๆมาโดยตลอด ระบบนี้เป็นผลมาจากการสมัครเข้าเรียนสูง ตลอดจนอัตราการรับ ระบบการสอบเข้า (การสอบเอนทรานซ์) โดยเฉพาะในระดับมหาวิทยาลัยมีอิทธิพลต่อการศึกษาทั้งระบบเป็นอย่างมาก รัฐบาลไม่ได้เป็นผู้สนับสนุนทางการศึกษาแต่เพียงผู้เดียว โรงเรียนเอกชนก็มีบทบาทสำคัญในด้านการศึกษา รวมถึงโรงเรียนที่อยู่นอกระบบเช่นวิทยาลัยของเอกชน ก็มีบทบาทสำคัญในการศึกษาและเป็นส่วนมากในการศึกษา
เด็กๆส่วนใหญ่จะเข้าโรงเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล แม้ว่าจะไม่ใช่ส่วนหนึ่งของระบบการศึกษาก็ตาม ระบบการศึกษาเป็นภาคบังคับ เลือกโรงเรียนได้อิสระและให้การศึกษาที่พอเหมาะแก่เด็กๆทุกคนตั้งแต่เกรด 1 (เทียบเท่า ป.1) จนถึง เกรด 9 (เทียบเท่า ม.3) ส่วนเกรด 10 ถึงเกรด 12 (ม.4 - 6) นั้นไม่บังคับ แต่ 94% ของนักเรียนที่จบชั้นมัธยมต้น เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมปลาย ประมาณ 1 ใน 3 ของนักเรียนที่จบชั้นมัธยมปลายเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลย 4 ปี junior colleges 2 ปี หรือเรียนต่อที่สถาบันอื่นๆ
ญี่ปุ่นเป็นสังคมที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมาก และเป็นสังคมที่มีระเบียบวินัย การศึกษาเป็นสิ่งที่น่าเคารพยกย่อง และความสำเร็จเป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับการประสบความสำเร็จในงานและในสังคม ทุกวันนี้ มุมมองแตกต่างออกไป โรงเรียนต่างแข่งขันกันเพื่อรับนักเรียน การสอบเอนทรานซ์กลายเป็นสิ่งที่ stolid in an attempt to maintain operations ทุกวันนี้ โรงเรียนรับนักเรียนในอัตราต่ำกว่าที่รับได้มาก ถือเป็นปัญหาด้านงบประมาณขั้นรุนแรง โรงเรียนถูกสร้างเพื่อรับนักเรียน 1,000 คน แต่กลับรับนักเรียนเพียง 1 ใน 3 ของจำนวนที่รับได้ แต่นี้ไม่ได้ทำให้จำนวนนักเรียนในแต่ละห้องน้อยลง ห้องเรียนส่วนใหญ่มีนักเรียนอยู่ระหว่าง 35 - 45 คน
การศึกษาชั้นประถมและชั้นมัธยม
[แก้]- ชั้นประถม (小学校 โชกักโก): 6 ปี, อายุ 6–12 ปี
- ชั้นมัธยมต้น (中学校 ชูกักโก): 3 ปี, อายุ 12–15 ปี
- ชั้นมัธยมปลาย (高等学校 โคโตกักโก หรือ 高校 โคโก): 3 ปี, อายุ 15–18 ปี
ปีการศึกษาจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน และสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป การเรียนจะแบ่งเป็น 3 เทอม โดยมีช่วงปิดเทอม ในสมัยก่อน เด็กญี่ปุ่นจะต้องเรียนที่โรงเรียนตั้งแต่วันจันทร์ถึงศุกร์เต็มวัน และเรียนวันเสาร์อีกครึ่งวัน สิ่งเหล่านี้หมดไปตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 อย่างไรก็ตาม ครูหลายคนยังสอนในช่วงสุดสัปดาห์รวมถึงวันหยุดภาคฤดูร้อนซึ่งมักจะเป็นเดือนสิงหาคม กฎหมายกำหนดให้หนึ่งปีการศึกษามีการเรียนอย่างน้อย 210 วัน แต่โรงเรียนส่วนมากมักจะเพิ่มอีก 30 วันสำหรับเทศกาลของโรงเรียน การแข่งขันกีฬา และพิธีที่ไม่เกี่ยวกับการเรียน โดยเฉพาะการสนับสนุนให้ร่วมมือกันทำงานเป็นกลุ่มและสปิริตของโรงเรียน จำนวนวันที่มีการเรียนการสอนจึงเหลืออยู่ประมาณ 195 วัน
ชาวญี่ปุ่นมีความเชื่อในเรื่องของการศึกษาว่า เด็กๆทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้ ความพยายาม ความพากเพียร และการมีระเบียบวินัยต่อตนเองต่างหาก ที่เป็นตัวกำหนดความสำเร็จทางการศึกษา ไม่ใช่ความสามารถทางการเรียน การศึกษาและพฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถฝึกอบรมได้ ดังนั้น นักเรียนในชั้นประถมและชั้นมัธยมต้นจึงไม่ได้ถูกแบ่งกลุ่มหรือสอนตามความสามารถของแต่ละคน การสอนจะไม่ถูกปรับให้เหมาะสมกับความแตกต่างของบุคคล
หลักสูตรการศึกษาแห่งชาติกำหนดให้นักเรียนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่พอเหมาะ และการเรียนภาคบังคับถือเป็นการปฏิบัติต่อนักเรียนด้วยความเสมอภาค มีการกระจายงบประมาณไปตามโรงเรียนต่างๆอย่างเท่าเทียมกัน อย่างไรก็ตาม การที่หลักสูตรกำหนดเช่นนี้ส่งผลให้ขาดความยืดหยุ่น รวมถึงความสอดคล้องกันของพฤติกรรม ความพยายามเพียงน้อยนิดที่จะกระตุ้นนักเรียนให้มีความสนใจพิเศษ การปฏิรูปการศึกษาในปลายทศวรรษที่ 1980 มีเป้าหมายเพื่อเน้นในเรื่องความยืดหยุ่น ความคิดสร้างสรรค์ และการเพิ่มโอกาสให้นักเรียนได้แสดงออกในสิ่งที่ตนเองชอบ แต่กระนั้นความพยายามก็บังเกิดผลเพียงน้อยนิด การคิดเชิงวิพากษ์ไม่ถือเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในระบบการศึกษาญี่ปุ่น นักเรียนจะถูกสอนให้จำเนื้อหาที่พวกเขาต้องใช้สอบ ผลการเรียนที่สูงจึงไม่ได้ชี้วัดหรือสะท้อนความสามารถที่แท้จริงของนักเรียน
ปัญหาที่มีมาโดยตลอดคือ ความคิดเกี่ยวกับการ"กด"นักเรียนที่ทำตัวโดดเด่นในห้องเรียน เนื่องจากนักเรียนจะถูกจำกัดให้ทำเกรดในแต่ละวิชา จึงไม่มีความต้องการรับนักเรียนที่มีคว��มสามารถเป็นเลิศหรือนักเรียนที่ขาดความสามารถในการเรียน เช่น นักเรียนที่เกิดในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษเป็นหลัก ก็ยังต้องเรียนวิชาภาษาอังกฤษในระดับชั้นที่เขาเรียน เช่นเดียวกับนักเรียนชั้นมัธยม 3 ที่ยังไม่ได้เรียนวิชาคณิตศาสตร์ปีแรก เขาจะต้องเข้าเรียนวิชาคณิตศาสตร์ในระดับที่เกินกว่าความสามารถของเขา นักเรียนที่ขาดความสามารถในการเรียนจะถูกจัดให้เรียนในชั้นเรียนปกติ ซึ่งครูไม่ได้รับการฝึกมาเป็นพิเศษสำหรับการสอนพวกเขา ไม่มีวิธีแก้ไขหรือมีชั้นเรียนพิเศษสำหรับความต้องการของนักเรียนแต่ละคน
เป็นที่น่าสังเกตว่า ปัญหาเหล่านี้ทำให้ผู้ปกครองบางคนปฏิเสธที่จะยอมรับว่าบุตรหลานของตนมีความต้องการพิเศษ เทียบกับในสหรัฐอเมริกา หลายเขตในญี่ปุ่นส่วนใหญ่มีการเรียนการสอนพิเศษสำหรับนักเรียนที่ขาดความสามารถในการเรียนรู้ขั้นรุนแรง ในกรณีนี้ นักเรียนแต่ละคนจะมีครูหรือผู้ดูแลคอยช่วยเหลือพวกเขา ขณะที่โรงเรียนเหล่านี้มีบริการพิเศษสำหรับคนกลุ่มน้อย adult service กำลังจะหายไปอย่างช้าๆเพราะการตัดงบประมาณ
มีข้อยกเว้นสำหรับการศึกษาภาคบังคับ นักเรียนที่พ่อแม่ไม่ใช่ชาวญี่ปุ่น เช่น ลูกของผู้ใช้แรงงานที่อพยพเข้ามา ก็สามารถเข้าเรียนในโรงเรียนได้ แม้จะไม่ได้บังคับก็ตาม ซึ่งในกรณีนี้ ความรับผิดชอบสำหรับการสอนภาษาให้กับนักเรียนกลุ่มนี้จะตกอยู่กับโรงเรียนซึ่งมักจะไม่สามารถจัดการเรียนการสอนตามภาษาของนักเรียนได้ ยิ่งกว่านั้น การสอนจะไม่ถูกปรับให้เหมาะสมกับความแตกต่างของแต่ละคน ลูกของผู้ใช้แรงงานที่ไม่สามารถใช้ภาษาได้ดีแทบจะไม่ประสบความสำเร็จในโรงเรียนของญี่ปุ่น แม้แต่ผู้ที่ใช้ภาษาญี่ปุ่นได้ พวกเขาก็ต้องเจอกับการแบ่งแยก ด้วยเหตุนี้ นักเรียนที่ไม่ใช่ชาวญี่ปุ่นมักจะมีชื่อภาษาญี่ปุ่น และบางครั้งก็ถูกบีบบังคับให้ซ่อนความเป็นตัวของตัวเองไม่ให้ผู้อื่นเห็นแม้แต่เพื่อนสนิทของเขาเอง อย่างไรก็ตาม มีความเข้าใจผิดว่านักเรียนที่ไม่ใช่ชาวญี่ปุ่นจะไม่สามารถเข้าร่วมการประกวดสุนทรพจน์ หรือโปรแกรมแลกเปลี่ยนต่างประเทศได้ แม้ว่านักเรียนที่เติบโตในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษเป็นหลักมักจะถูกกีดกันไม่ให้เข้าร่วมประกวดสุนทรพจน์ แต่เชื้อชาติก็ไม่ได้เป็นปัจจัย ตัวอย่างเช่น ในโตเกียว นักเรียนชาวจีนและชาวเกาหลีก็เข้าร่วมการประกวดสุนทรพจน์ และโปรแกรมแลกเปลี่ยนต่างประเทศ
นักเรียนที่เรียนในการศึกษาภาคบังคับจะได้รับตำราเรียนฟรี คณะบริหารของโรงเรียนเป็นผู้เลือกตำราเรียนทุกๆสามปี โดยเลือกจากรายชื่อหนังสือที่กระทรวงการศึกษาได้รับรองแล้วหรือหนังสือที่กระทรวงจัดทำขึ้นเอง กระทรวงจะเป็นผู้รับภาระค่าตำราทั้งในโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชน ตำราเรียนมีขนาดเล็ก ใช้ปกอ่อนหุ้ม สามารถพกพาได้โดยง่าย และถือเป็นสมบัติของนักเรียน
โรงเรียนส่วนใหญ่จะมีระบบดูแลด้านสุขภาพ มีสิ่งของด้านการศึกษาและกีฬาอยู่พอประมาณ โรงเรียนประถมส่วนใหญ่มีสนามเด็กเล่นกลางแจ้ง ประมาณร้อยละ 90 มีโรงยิม และ 75% มีสระว่ายน้ำกลางแจ้ง ห้องเรียนส่วนมากยังขาดแคลนคอมพิวเตอร์และเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ การเรียนการสอนและโครงงานของนักเรียนมักไม่ใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย อินเทอร์เน็ตยังไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านการศึกษามากนัก
ตั้งแต่ประถมจนถึงมัธยม นักเรียนจะต้องอยู่ในกลุ่มโฮมรูมของตน หมายความว่า พวกเขาจะต้องทำงานกับนักเรียนที่อยู่ในโฮมรูมเดียวกันตลอดทั้งปี โฮมรูมและหลักสูตรการศึกษาญี่ปุ่นปลูกฝังเรื่องการทำงานเป็นกลุ่มและความภาคภูมิใจในโรงเรียนของตน โรงเรียนที่ญี่ปุ่นมีนักการภารโรงที่ทำงานด้านความสะอาดอยู่น้อยมาก
โครงสร้าง
[แก้]การศึกษาของญี่ปุ่นถือเป็นความรับผิดชอบระดับชาติ ระดับจังหวัดและระดับเมือง กระทรวงการศึกษาฯ (MEXT) จะมีคณะวิจัยกระบวนการศึกษาคอยให้คำแนะนำและให้แนวทางแก่รัฐบาล ในอดีต "คำแนะนำ"เป็นสิ่งที่ถูกตรวจสอบอย่างรอบคอบ และหลงไปในทางที่ทำให้มีการตัดงบประมาณ (?) อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ได้เพิ่มอำนาจให้กับรัฐบาลมากขึ้น MEXT จะตรวจสอบเนื้อหาในตำราเรียนให้มีมุมมองที่เป็นกลางและมีข้อมูลที่ถูกต้องเหมาะสมแก่การสอนนักเรียน ในอดีต MEXT ได้กำหนดเนื้อหาสูงสุดที่จะใส่ในตำราเรียนได้ แต่ปัจจุบันหลังจากปฏิรูปการศึกษา MEXT ได้กำหนดเนื้อหาขั้นต่ำที่จะต้องใส่ในตำรา โรงเรียนหลายโรงเรียนจึงใช้ตำราเรียนและตำราเสริมที่ไม่ได้รับรองโดย MEXT เพราะว่าเนื้อหาในตำราเรียนนั้นอยู่ในระดับต่ำซึ่งไม่สามารถทำให้เกิดความเข้าใจในวิชาอย่างลึกซึ้งได้
ครู
[แก้]ครูเป็นอาชีพที่มีเกียรติ มีสถานะทางสังคมสูง เป็นผลมาจากการที่กฎหมายญี่ปุ่นและประชาชนคาดหวังในหน้าที่ของครู สังคมคาดหวังว่าครูจะช่วยปลูกฝังทัศนคติของสังคมลงในตัวเด็ก เพราะการสอนนั้นรวมถึงการสอนเรื่องคุณธรรมจริยธรรม และการพัฒนาอุปนิสัยของเด็ก
การเรียนคุณธรรมในห้องเรียน การสอนอย่างไม่เป็นทางการ และแม้แต่ academic class ถูกมองว่าเป็นหน้าที่ตามกฎหมายของการสอน ครูจะต้องรับผิดชอบต่อโรงเรียนและนักเรียนแม้จะอยู่นอกห้องเรียนหรือนอกชั่วโมงเรียน ครูประจำโฮมรูมจะไปเยี่ยมนักเรียนที่ไม่ยอมไปโรงเรียนเพื่อให้นักเรียนไปโรงเรียน ครูที่ปล่อยให้นักเรียนกระทำผิดกฎหมายนอกโรงเรียน จะถูกเรียกร้องให้แสดงความรับผิดชอบและแสดงการขอโทษ เช่นเดียวกับนายจ้างที่ปล่อยให้ลูกจ้างทำผิดกฎหมาย
ครูมีรายได้ดี และมีการปรับเงินเดือนของครูอยู่เป็นระยะๆ เงินเดือนเริ่มต้นของครูเป็นที่น่าพึงพอใจเมื่อเทียบกับอาชีพทางวิชาการอื่นๆและในบางครั้งก็สูงกว่า นอกจากเงินเดือนแล้ว ครูยังมีสิทธิ์รับเงินพิเศษต่างๆและโบนัส (จ่ายเป็น 3 งวด) ซึ่งมีจำนวนประมาณห้าเท่าของเงินเดือน ครูจะได้รับการดูแลสุขภาพ และสวัสดิการหลังเกษียณ
ด้วยการเงินที่มั่นคง สถาน��ทางสังคมที่สูง จำนวนของผู้ที่อยากเป็นครูจึงล้นเกินจำนวนตำแหน่งที่รับได้ โดยมีผู้สมัครห้าถึงหกคนต่อทุกๆตำแหน่ง คณะกรรมการประจำจังหวัดเป็นผู้เลือกผู้สมัครที่มีคุณสมบัติดีที่สุดจากผู้สมัครจำนวนมหาศาล