ข้ามไปเนื้อหา

การรุกรานรัสเซียโดยสวีเดน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การรุกรานรัสเซียโดยสวีเดน
ส่วนหนึ่งของ มหาสงครามเหนือ

ภาพยุทธการที่ปอลตาวา วาดโดยหลุยส์ คาราวัค
วันที่ค.ศ. 1708–1709
สถานที่
ผล

ชัยชนะของรัสเซีย

  • กองทัพคาโรเลียนถูกทำลาย
  • จักรวรรดิสวีเดนเสื่อมถอย
  • จุดเปลี่ยนในมหาสงครามเหนือ
คู่สงคราม
รัสเซีย อาณาจักรซาร์รัสเซีย
คอสแซคเฮตมานาเต
รัฐข่านคัลมึค
สวีเดน จักรวรรดิสวีเดน
ผู้สนับสนุนคอสแซคของมาเซปา
(ตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 1708)
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
รัสเซีย จักรพรรดิปีเตอร์มหาราช
รัสเซีย อะเลคซันดร์ เมนชิคอฟ
รัสเซีย บอริส เชเรเมเตฟ
อีวาน มาเซปา
(จนถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 1708)
อายูกะ ข่าน
สวีเดน พระเจ้าคาร์ลที่ 12
สวีเดน คาร์ล กุสตาฟ เรียนโคลด์ Surrendered
สวีเดน อาดัม ลุดวิก เลเวนเฮาพต์ Surrendered
อีวาน มาเซปา
(ตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 1708)
กำลัง
192,000 นาย[a] 97,000 นาย[b]
ความสูญเสีย
บาดเจ็บจากการสู้รบ 21,675–26,248 นาย

นับพันนายหนาวจนตาย
บาดเจ็บจากการสู้รบ 15,088–19,085 นาย
ถูกจับกุม 14,800–14,977 นาย

13,759 นายหนาวจนตาย

การรุกรานรัสเซียโดยพระเจ้าคาร์ลที่ 12 แห่งสวีเดน เป็นการทัพช่วงมหาสงครามเหนือระหว่างสวีเดน กับรัฐพันธมิตรของรัสเซีย, โปแลนด์ และเดนมาร์ก การรุกรานเริ่มต้นด้วยการข้ามแม่น้ำวิสตูลาเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1708 และจบลงชะงัดด้วยการพ่ายแพ้ของสวีเดนในยุทธการที่ปอลตาวาเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1709 อย่างไรก็ตาม พระเจ้าคาร์ลยังคงเป็นภัยคุกคามทางทหารต่อรัสเซียเป็นเวลาหลายปีในขณะที่อยู่ภายใต้การคุ้มครองของชาวเติร์กออตโตมัน

บริบททางประวัติศาสตร์

[แก้]

ในช่วงหลายปีก่อนการรุกรานรัสเซีย พระเจ้าคาร์ลทรงพ่ายแพ้ต่อกองกำลังเดนมาร์กและโปแลนด์อย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงมีการขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์ สตาญิสวัฟ เลสทซีสกี ในโปแลนด์ ครั้นทรงรวบรวมชัยชนะของพระองค์ไว้ที่นั่นแล้ว พระเจ้าคาร์ลก็หันความสนพระราชหฤทัยไปที่รัสเซีย พระองค์ทรงเข้าไปในรัสเซียโดยข้ามแม่น้ำวิสตูลาที่เย็นยะเยือก โดยเป็นผู้นำทหาร 40,000 นาย ที่ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นทหารม้า ยุทธวิธีนี้เป็นลักษณะเฉพาะของรูปแบบการทหารของพระองค์ ซึ่งอาศัยกองทัพเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงเหนือภูมิประเทศที่ไม่คาดคิด ผลที่ตามมาของการเริ่มต้นการทัพอย่างรวดเร็วนี้ พระเจ้าคาร์ลทรงเกือบจะสู้รบกับจักรพรรดิปีเตอร์มหาราชเพียงหนึ่งเดือนในการทัพ โดยไปถึงฆโรดนา ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศเบลารุส เพียงสองชั่วโมงหลังจากที่กองกำลังรัสเซียละทิ้งเมืองด้งกล่าว

พระเจ้าคาร์ลเป็นผู้นำทางการทหารที่มีทักษะ และอาจถือว่าการรุกรานเป็นแผนการที่มีความเสี่ยง พระองค์ทรงขัดขืนคำแนะนำของบรรดานายพลในการบุกโจมตีในช่วงฤดูหนาวของรัสเซียหลังจากยุทธการที่นาร์วา (ค.ศ. 1700) พระองค์ทรงเลือกที่จะบุกต่อไปในขณะนี้ เพราะพระองค์ทรงคาดหวังการเสริมกำลังของสวีเดนและพันธมิตรของคอสแซคภายใต้อีวาน มาเซปา อย่างไรก็ตาม กองทัพสวีเดนที่เสริมกำลังเสริมถูกรัสเซียซุ่มโจมตี และกองทัพรัสเซียภายใต้การนำของอะเลคซันดร์ เดนิโลวิช เมนชิคอฟ ได้ทำลายเมืองหลวงของมาเซปา และไล่ตามเขาไปหาพระเจ้าคาร์ลด้วยทหารเพียงหนึ่งพันสามร้อยนาย

หมายเหตุ

[แก้]
  1. 121,000 Russians of which 57,500 directly under Peter I stationed between Severia and Smolensk, 24,500 at Saint Petersburg under Fyodor Apraksin, 16,000 at Dorpat under Christian Felix Bauer, 12,000 at Kiev under Mikhail Mikhailovich Golitsyn[1] and 11,000 at Moscow.[2] Another 12,000 men were used to beat the Bulavin Rebellion, however these were only able to assist in the fight against the Swedes at the end of the campaign.[3] 35,000–40,000 Cossacks by Ivan Mazepa and Konstantyn Hordijenkas and 10,000 Kalmyk troops by Ayuka Khan.[2] 23,500 Poles under Adam Mikołaj Sieniawski in Poland.[1]
  2. 77,000 Swedes of which 33,000 directly under Karl XII at Grodno, 22,000 in Livonia, Ingria and Courland under Adam Ludwig Lewenhaupt, 14,000 in Finland under Georg Lybecker and 8,000 in Poland under Ernst Detlof von Krassow[4] with about 20,000 Poles under Stanisław I.[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Dorrell, Nicholas. The Dawn of the Tsarist Empire: Poltava & the Russian Campaigns of 1708–1709, Partizan Press (2009). pp. 52–62
  2. 2.0 2.1 Konovaltjuk & Lyth, Pavel & Einar (2009). Vägen till Poltava. Slaget vid Lesnaja 1708 (in Swedish). Svenskt Militärhistorisk Biblioteks Förlag. p. 39
  3. Gordon A. The History of Peter the Great, Emperor of Russia: To which is Prefixed a Short General History of the Country from the Rise of that Monarchy: and an Account of the Author's Life, Volume 1. Aberdeen. 1755. pp. 266
  4. Peter From. Katastrofen vid Poltava. Lund, 2007. p. 50