ข้ามไปเนื้อหา

การรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น
日本国有鉄道
Logo
พื้นที่บริการญี่ปุ่น
ปีดำเนินการค.ศ. 1949–1987
ก่อนหน้าการรถไฟแห่งรัฐบาลญี่ปุ่น
ถัดไปกลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่น
ขนาดราง1067,
1435
ความยาว21,421.1 km (13,310.5 mi)
(สูงสุด 1981)
สำนักงานโตเกียว

การรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本国有鉄道โรมาจิJapanese National Railways) หรือที่รู้จักกันดีว่า JNR เคยเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายรถไฟทั่วประเทศญี่ปุ่น ระหว่างปี พ.ศ. 2492 ถึง พ.ศ. 2530

ประวัติ

[แก้]

เริ่มแรก คำว่า โคกูยูเท็ตสึโด หรือ การรถไฟแห่งชาติ ใช้เป็นชื่อของเครือข่ายเส้นทางรถไฟที่ดำเนินการโดยบริษัทแห่งชาติภายใต้การควบคุมของสถาบันรถไฟภายหลังการโอนกิจการรถไฟให้เป็นกิจการของชาติใน พ.ศ. 2449 - พ.ศ. 2450 ต่อมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงรถไฟและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและการสื่อการก็ได้เข้าถือครองกิจการรถไฟและเป็นผู้ควบคุมการทำงานทั้งหมด โดยให้ประกาศให้ใช้ชื่อ การรถไฟแห่งรัฐบาลญี่ปุ่น (JGR) แทนชื่อเดิม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลญี่ปุ่นต้องรื้อถอนรางรถไฟของการรถไฟแห่งรัฐบาลญี่ปุ่นไปใช้ประโยชน์เนื่องจากภาวะสงครามทำให้เหล็กกล้าขาดแคลนมาก

เมื่อปี พ.ศ. 2492 การรถไฟแห่งรัฐบาลญี่ปุ่นได้แปรรูปเป็นบริษัทมหาชน ตามคำสั่งของผู้นำทางทหารของสหรัฐอเมริกาที่เข้ามารักษาความสงบในกรุงโตเกียว บริษัทใหม่แห่งนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก จนนำมาสู่การสร้างรถไฟความเร็วสูงชิงกันเซ็งในปี พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) ได้ในที่สุด อย่างไรก็ตาม การที่บริษัทพยายามต่อขยายเครือข่ายรถไฟด่วน บริษัทก็ตกเป็นหนี้มากขึ้นเนื่องจากบริษัทต้องกู้เงินจำนวนมหาศาลมาใช้สำหรับโครงการใหม่นี้

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2530 การรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่นก็ตกเป็นหนี้จำนวนมหาศาลถึง 25 ล้านล้านเยน (ประมาณ 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในปีต่อมา เครือข่ายรถไฟนี้จึงถูกระงับโดยรัฐสภาญี่ปุ่น แล้วจึงแบ่งการรถไฟญี่ปุ่นออกเป็นบริษัทย่อยๆหลายบริษัทที่มีชื่อเรียกว่า กลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่น (JR Group)

เหตุการณ์สำคัญ

[แก้]