การประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 20
ธงพรรคคอมมิวนิสต์จีน | |
วันที่ | 16–22 ตุลาคม ค.ศ. 2022 (6 วัน) |
---|---|
ที่ตั้ง | มหาศาลาประชาชน ปักกิ่ง ประเทศจีน |
ผู้เข้าร่วม | ผู้แทน 2,296 คน |
ผล | การเลือกตั้งคณะกรรมาธิการกลางชุดที่ 20 และคณะกรรมการสอบวินัยส่วนกลางชุดที่ 20 |
เว็บไซต์ | english |
การประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 20 | |||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 中国共产党第二十次全国代表大会 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 中國共產黨第二十次全國代表大會 | ||||||
| |||||||
Abbreviation | |||||||
ภาษาจีน | 二十大 | ||||||
|
การประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 20 (จีน: 中国共产党第二十次全国代表大会) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า เอ้อร์ฉือต้า (จีน: 二十大) จัดขึ้น ณ มหาศาลาประชาชน กรุงปักกิ่ง ระหว่างวันที่ 16 ถึง 22 ตุลาคม ค.ศ. 2022 การประชุมมีผู้แทนเข้าร่วม 2,296 คนและผู้แทนที่ได้รับเชิญพิเศษอีก 83 คน
การประชุมสมัชชาใหญ่ได้อนุมัติการแก้ไขเพิ่มเติมธรรมนูญพรรคคอมมิวนิสต์จีน รายชื่อสมาชิกคณะกรรมการสอบวินัยส่วนกลางและได้เลือกคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 20 ในวันถัดจากปิดประชุมใหญ่ ได้มีการจัดประชุมเต็มคณะครั้งที่ 1 ซึ่งคณะกรรมาธิการกลางได้อนุมัติองค์ประกอบของสำนักเลขาธิการ ไม่นานหลังจากนั้น สี จิ้นผิง สมาชิกกรมการเมืองและคณะกรรมาธิการสามัญ องค์กรที่มีอำนาจตัดสินใจมากที่สุดของพรรค ก็ได้รับเลือกตั้งเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นสมัยที่สาม ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนหลังการประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งใด ๆ คาดว่าจะมีการประชุมใหญ่ครั้งที่ 21 ตามมาใน ค.ศ. 2027
ภูมิหลัง
[แก้]การเตรียมการสำหรับการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 20 เริ่มขึ้นใน ค.ศ. 2021 และสิ้นสุดลงด้วยการประชุมเต็มคณะของคณะกรรมาธิการกลางชุดที่ 19 ซึ่งจัดขึ้นเพียงไม่กี่วันก่อนการประชุมใหญ่ครั้งที่ 20[1] การเลือกผู้แทนเข้าร่วมการประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งที่ 20 เริ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2021 พร้อมกับการรับและแก้ไขเอกสารของพรรค[2] ในเดือนนั้น คณะกรรมาธิการกลางชุดที่ 19 ได้ตัดสินใจในที่ประชุมเต็มคณะครั้งที่ 6 ว่าการประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งที่ 20 จะจัดขึ้นในครึ่งหลังของ ค.ศ. 2022[3]
ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2022 สำนักงานใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ออกระเบียบชุดหนึ่งเพื่อเตือนสมาชิกพรรคที่เกษียณอายุแล้วไม่ให้แสดงความเห็นทางการเมืองใน "แง่ลบ" หรือวิจารณ์นโยบายของพรรคในช่วงก่อนการประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งที่ 20 และหากฝ่าฝืนจะมีการ "ลงโทษ" อย่างจริงจัง[4]
วันที่ 30 สิงหาคม กรมการเมืองได้จัดการประชุมเพื่อเตรียมการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 7 ของคณะกรรมาธิการกลางชุดที่ 19 และการประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งที่ 20 ซึ่งได้กำหนดวันประชุมเต็มคณะและการประชุมสมัชชาใหญ่ขึ้นในวันที่ 9 และ 16 ตุลาคม ตามลำดับ[5]
ในเดือนกันยายน มีข่าวลือที่ไม่มีหลักฐานยืนยันเกี่ยวกับการรัฐประหารแพร่กระจายไปทั่วสื่อสังคมออนไลน์ แต่ข่าวลือดังกล่าวก็ถูกปฏิเสธไปหลังสี จิ้นผิง ปรากฏตัวต่อสาธารณะในอีกไม่กี่วันต่อมา[6]
วันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 2022 มีการเลือกผู้แทน 2,296 คนเพื่อเป็นตัวแทนสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนจำนวน 96.7 ล้านคน[7]
วันที่ 13 ตุลาคม ก่อนการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 20 เพียงสามวัน ได้เกิดเหตุการณ์การประท้วงที่สะพานซี่อทง กรุงปักกิ่งขึ้น[8][9] การประท้วงต่อต้านสี จิ้นผิง และนโยบายของเขานั้นนับว่าหาได้ยาก เพราะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วันก่อนการประชุม ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลดำเนินการควบคุมการป��ะท้วงและความเห็นที่ขัดแย้งอย่างเข้มงวดเป็นพิเศษ[10] ภายหลังปรากฏคำขวัญการประท้วงที่คล้ายคลึงกันในเมืองอื่น ๆ ของจีนและทั่วโลก[11][12][13] บางคนได้เผยแพร่ข้อความเหล่านี้ในรูปแบบรอยขูดขีดเขียนหรือผ่านแอร์ดรอป[11][14]
การประชุม
[แก้]วันที่ 15 ตุลาคม สี จิ้นผิง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นประธานการประชุมเตรียมการประชุมสมัชชาใหญ่ การประชุมครั้งนี้ได้มีการเลือกประธานการประชุมและคณะกรรมาธิการตรวจสอบคุณสมบัติของการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 20 ในที่ประชุมมีการตัดสินใจว่าหวัง ฮู่หนิง จะทำหน้าที่เป็นเลขาธิการการประชุม[15] ในวันเดียวกัน ประธานการประชุมสมัชชาใหญ่โดยมีหวังเป็นประธาน ได้เริ่มสมัยประชุมแรก[16]
วันที่ 16 ตุลาคม เวลา 10:00 น. หลี่ เค่อเฉียง ประกาศเปิดการประชุม[17] จากนั้น สีได้กล่าวรายงานผลการดำเนินงานในนามคณะกรรมาธิการกลางชุดที่ 19 สุนทรพจน์นี้กินเวลาประมาณ 104 นาที ซึ่งสั้นกว่าสุนทรพจน์ของเขาในการประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งที่ 19 ประมาณครึ่งหนึ่ง[18][19] ระหว่างกล่าวสุนทรพจน์ เขาได้ปกป้องนโยบายโควิดเป็นศูนย์ของจีนในการรับมือกับการระบาดทั่วของโควิด-19 ในแผ่นดินใหญ่ กล่าวว่าฮ่องกง "ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญจากความวุ่นวายสู่การปกครองที่ดีขึ้น" สนับสนุน "การรวมชาติอย่างสันติ" กับไต้หวัน แต่ยืนยันว่าจะไม่ปฏิเสธการใช้กำลัง สนับสนุนแนวคิด "ความมั่งคั่งร่วมกัน" และประณามการทุจริต สียืนยันเศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยมของจีน ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนทั้งระบบการเป็นเจ้าของโดยรัฐและเศรษฐกิจเอกชน[20] เขายังกล่าวถึงการดำเนินนโยบายเพื่อกระตุ้นอัตราการเกิดของจีน ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำที่สุดในโลก[21] นอกจากนี้ ยังเน้นย้ำถึงความมั่นคงของชาติจีน รวมถึงความมั่นคงด้านอาหาร พลังงาน และความปลอดภัยของห่วงโซ่อุปทาน[22] สีได้วางแนวทาง "เส้นทางสู่ความทันสมัยของจีน" โดยกล่าวถึงคำขวัญนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าถึง 11 ครั้ง[23] เกี่ยวกับสถานะของจีนบนเวทีโลก เขากล่าวว่า "อิทธิพลระหว่างประเทศ ความน่าสนใจ และอำนาจในการกำหนดรูปร่างโลกของจีนได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ"[24] โดยรวมแล้ว สุนทรพจน์ถูกกล่าวว่าแสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่องมากกว่าการเปลี่ยนแปลง[25]
การประชุมประธานการประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งที่สองจัดขึ้นในวันที่ 18 ตุลาคม โดยมีสีเป็นประธาน ที่ประชุมมีมติให้เสนอร่างมติเกี่ยวกับรายงานของคณะกรรมาธิการกลางชุดที่ 19 และคณะกรรมการสอบวินัยส่วนกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 19 รวมถึงการแก้ไขธรรมนูญพรรคคอมมิวนิสต์จีน นอกจากนี้ ยังได้มีการรับรองรายชื่อผู้ได้รับการเสนอชื่อเบื้องต้นสำหรับคณะกรรมาธิการกลางชุดที่ 20 และคณะกรรมการสอบวินัยส่วนกลางชุดที่ 20[26] ร่างรายชื่อสำหรับทั้งสองได้รับการอนุมัติในระหว่างการประชุมประธานการประชุมครั้งที่สามซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 21 ตุลาคม[27] วันที่ 22 ตุลาคม คณะกรรมาธิการกลางชุดที่ 19 และคณะกรรมการสอบวินัยส่วนกลางชุดที่ 19 ได้รับรองรายงานผลการดำเนินงาน นอกจากนี้ยังได้มีการรับรองการแก้ไขเพิ่มเติมธรรมนูญพรรคคอมมิวนิสต์จีน และได้มีการเลือกตั้งสมาชิกคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 20 และคณะกรรมการสอบวินัยส่วนกลางชุดที่ 20 ผลการลงคะแ���นอย่างเป็นทางการแสดงให้เห็นว่ารายชื่อทั้งหมดได้รับการอนุมัติเป็นเอกฉันท์โดยไม่มีการงดออกเสียงหรือคะแนนคัดค้าน[28] การประชุมสมัชชาใหญ่สิ้นสุดลงในวันนั้น[29]
ในพิธีปิดการประชุมในวันที่ 22 ตุลาคม หู จิ่นเทา อดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนและประธานาธิบดี ซึ่งนั่งอยู่ข้างสี ถูกสองชายชุดสูทที่มีป้ายชื่อดึงออกจากที่นั่งและพาออกจากห้องประชุม[30][31][32] เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนการลงคะแนนในวันนั้น และหูไม่ได้เข้าร่วมการลงคะแนนเนื่องจากเหตุการณ์นี้[33][34] สำนักข่าวซินหัว สำนักข่าวทางการของจีน ได้รายงานว่าหูมีสุขภาพไม่ค่อยดี[35] ขณะที่สื่อต่างประเทศต่างคาดเดากันว่า หูป่วยจริงหรือไม่หรือว่านอาจเป็นสัญญาณทางการเมืองที่สีตั้งใจส่งออกมา[36][37][38] เหตุการณ์ดังกล่าวไม่ได้รับการเผยแพร่ในประเทศจีน และชื่อของทั้งหูและบุตรชายของเขาถูกบล็อกโดยหน่วยงานตรวจพิจารณาของจีน[39] สตีฟ จาง และโอลิเวีย เชิง นักวิชาการ ระบุว่าการห้ามเผยแพร่ภาพและรายงานเหตุการณ์ดังกล่าว บ่งชี้ว่าสีไม่ได้มีเจตนาจะดูหมิ่นหู[40]: 1
การประชุมเต็มคณะครั้งที่ 1
[แก้]การประชุมเต็มคณะครั้งที่ 1 ของคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 20 เพื่อเลือกตั้งผู้นำส่วนกลางของพรรค จัดขึ้นทันทีหลังการประชุมสมัชชาใหญ่ โดยสี จิ้นผิง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งผู้นำพรรคเป็นสมัยที่สาม ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์พรรค[41] สมาชิกคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมืองชุดที่ 20 ที่ได้รับเลือกนอกจากจากสี จิ้นผิง เรียงตามลำดับความสำคัญได้แก่:[42]
- หลี่ เฉียง (เกิด ค.ศ. 1959) – ถูกมองว่าเป็นพันธมิตรคนสนิทของสี ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำนครเซี่ยงไฮ้ตั้งแต่ ค.ศ. 2017 และต่อมาได้สืบทอดตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากหลี่ เค่อเฉียงใน ค.ศ. 2023 แม้จะได้รับการมองว่าเป็นมิตรต่อธุรกิจ แต่เขาก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงการจัดการกับการล็อกดาวน์เซี่ยงไฮ้เป็นเวลาสองเดือนเนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนา
- จ้าว เล่อจี้ (เกิด ค.ศ. 1957) – เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกลำดับที่ 6 ของคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมือง และเลขาธิการคณะกรรมการสอบวินัยส่วนกลาง ปัจจุบันสืบทอดตำแหน่งจากลี่ จ้านชู เป็นประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ
- หวัง ฮู่หนิง (เกิด ค.ศ. 1955) – เคยดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกลำดับที่ 5 ของคณะกรรมการสามัญประจำกรมการเมือง และเลขาธิการลำดับแรกของสำนักเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน ปัจจุบันสืบทอดตำแหน่งจากวัง หยาง เป็นประธานสภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชนจีน ถูกมองว่าเป็นที่ปรึกษาใกล้ชิดของสี และอยู่เบื้องหลังแนวคิดอุดมการณ์ของสีและเลขาธิการพรรคคนก่อน ๆ ได้แก่ เจียง เจ๋อหมิน และหู จิ่นเทา
- ไช่ ฉี (เกิด ค.ศ. 1955) – ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำกรุงปักกิ่งตั้งแต่ ค.ศ. 2017 และกลายมาเป็นเลขาธิการลำดับแรกของสำนักเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน เขาเป็นพันธมิตรคนสนิทของสี
- ติง ซฺเวเสียง (เกิด ค.ศ. 1962) – ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ติงเป็นเสมือนเสนาธิการของสีตั้งแต่ ค.ศ. 2017 เป็นพันธมิตรคนสนิทของสีและสืบทอดตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีลำดับแรกต่อจากหัน เจิ้ง
- หลี่ ซี (เกิด ค.ศ. 1976) – ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำมณฑลกวางตุ้งตั้งแต่ ค.ศ. 2017 ก่อนจะได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการคณะกรรมการสอบวินัยส่วนกลางต่อจากจ้าว เล่อจี้ และมีความเชื่อมโยงกับสี
สมาชิกคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมืองชุดใหม่มีส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับสี โดยมีสมาชิกในคณะกรรมาธิการชุดเดิมจำนวน 4 คนจาก 7 คน รวมถึงหลี่ เค่อเฉียง อดีตนายกรัฐมนตรี และวัง หยาง อดีตประธานสภาที่ปรึกษาการเมืองฯ[43] สมาชิกคณะกรรมาธิการสามัญฯ ชุดก่อนหน้าที่ยังคงเหลืออยู่ นอกจากสีคือ จ้าว เล่อจี้ และหวัง อู่หนิง แม้ว่าลำดับชั้นและตำแหน่งของทั้งสองจะเปลี่ยนแปลงไป[44] รอยเตอร์สรายงานว่าการเกษียณอายุของวัง หยาง และหลี่ เค่อเฉียง รวมถึงการลดตำแหน่งของรองนายกรัฐมนตรีหู ชุนหฺวา ออกจากกรมการเมือง หมายถึงการสิ้นสุดอิทธิพลของกลุ่มถวนไพ่[45] ขณะที่วิลลี โว-แลป ลาม เขียนว่า ไม่มีตัวแทนจากกลุ่มถวนไพ่หรือกลุ่มเซี่ยงไฮ้ ทำให้กลุ่มของสีครองอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จ[46]
การเปลี่ยนแปลงนโยบาย
[แก้]การแก้ไขธรรมนูญพรรค
[แก้]การประชุมสมัชชาใหญ่เห็นชอบการแก้ไขเพิ่มเติมธรรมนูญพรรคคอมมิวนิสต์จีนหลายฉบับ การเพิ่มเติมเหล่านี้ยังรวมถึงการคัดค้านการแบ่งแยกดินแดนของไต้หวัน[47][48] การพัฒนา "จิตวิญญาณการต่อสู้" และการเสริมสร้างขีดความสามารถในการต่อสู้ รวมถึงการเพิ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับสี เช่น การบรรลุความมั่งคั่งร่วมกันอย่างค่อยเป็นค่อยไป การส่งเสริมความทันสมัยแบบจีน และการพัฒนาประชาธิปไตยของประชาชนแบบเต็มรูปแบบที่กว้างขวาง ยั่งยืน และแข็งแกร่ง[47] การแก้ไขเพิ่มเติมธรรมนูญได้ยกระดับสถานะของสีและพรรคคอมมิวนิสต์จีนให้สูงขึ้น โดยระบุให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็น "กำลังนำทางการเมืองสูงสุด" และได้บรรจุหลักการ "สองยึดมั่น" เข้าไป ซึ่งหมายถึงการปกป้องสถานะของสีในฐานะแกนหลักของพรรคคอมมิวนิสต์จีนและการปกป้องอำนาจรวมศูนย์ของพรรค[49][47]
เศรษฐกิจ
[แก้]การประชุมสมัชชาใหญ่เน้นย้ำว่าวาระเศรษฐกิจของพรรคคอมมิวนิสต์จีนควรให้ความสำคัญกับคุณภาพการเติบโต มากกว่าปริมาณการเติบโตเพียงอย่างเดียว โดยสอดคล้องกับหลักการของความมั่นคงและความมั่งคั่งร่วมกัน[50]: 135 ความสำคัญของการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลก็ได้รับการเน้นย้ำเช่นกัน[50]: 297
การประชุมสมัชชาใหญ่ใหญ่ครั้งที่ 20 ได้เน้นย้ำถึงอารยธรรมนิเวศน์ให้เป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนาของพรรคคอมมิวนิสต์จีน[51]: 85
ปฏิกิริยา
[แก้]ประเทศ
[แก้]- เกาหลีเหนือ: คิม จ็องอึน เลขาธิการพรรคแรงงานเกาหลีส่งจดหมายแสดงความยินดีถึงสีเกี่ยวกับการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคและการได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนอีกสมัย โดยกล่าวว่าการประชุมครั้งนี้เป็น "เหตุการณ์สำคัญยิ่ง" สำหรับพรรคคอมมิวนิสต์และประชาชนจีน "ในการขับเคลื่อนกระบวนการทางประวัติศาสตร์ของความเจริญรุ่งเรืองอันยิ่งใหญ่ของชาติจีนภายใต้ผืนธงของแนวคิดสังคมนิยมอัตลักษณ์จีนในสมัยใหม่" และกล่าวว่าเขาหวังที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศต่อไป[52]
- รัสเซีย: ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แสดงความยินดีกับสีที่ได้รับเลือกอีกครั้งหนึ่ง โดยกล่าวว่าการประชุม "ยืนยันอย่างเต็มที่ถึงอำนาจทางการเมืองที่สูงของท่าน รวมถึงความสามัคคีของพรรคที่ท่านเป็นผู้นำ" และกล่าวว่าเขามั่นใจว่าการได้รับเลือกอีกครั้งของสีจะช่วย "เสริมสร้างสถานะของจีนบนเวทีโลก"[53]
- ไต้หวัน: ทันทีหลังจากที่สีกล่าวสุนทรพจน์เปิดประชุมซึ่งระบุว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนจะไม่ละทิ้งทางเลือกในการปฏิบัติการทางทหารต่อไต้หวัน สำนักงานประธานาธิบดีไต้หวันก็ได้ออกแถลงการณ์ตอบโต้ว่าไต้หวันจะไม่อ่อนข้อต่อการละเมิดอธิปไตยหรือประชาธิปไตยของตน[54][55] กลับกัน พรรคชาตินิยมจีนได้แสดงความยินดีกับสีในการได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนอีกครั้ง[56]
ตลาดหลักทรัพย์
[แก้]หุ้นที่เกี่ยวข้องกับบริษัทจีนประสบภาวะขาดทุนอย่างหนักในวันที่ 24 ตุลาคม โดยดัชนีฮั่งเส็งร่วงลงร้อยละ 6 ซึ่งเป็นการลดลงที่รุนแรงที่สุดในรอบหนึ่งวันนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์การเงินใน ค.ศ. 2008[57] ตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ลดลงเพียงร้อยละ 2 หลังการประชุม[58] เหรินหมินปี้เกือบจะอ่อนค่าลงแตะระดับ 7.31 หยวนต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ[59] ดัชนี Golden Dragon China ซึ่งเป็นดัชนีที่วัดผลการดำเนินงานของบริษัทจีนหลายแห่งที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐร่วงลงร้อยละ 14 ซึ่งถือเป็นการลดลงที่มากที่สุดในรอบหนึ่งวันนับตั้งแต่ ค.ศ. 2004 ก่อนจะฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อ��ในวันถัดมา[60][58]
ดูเพิ่ม
[แก้]- รัฐบาลสี จิ้นผิง
- การสืบทอดอำนาจในประเทศจีน
- การประชุมเต็มคณะครั้งที่ 1 ของคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ชุดที่ 20
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Kenderdine, Tristan. "China Looks Ahead to 20th Party Congress in 2022". The Diplomat (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2022. สืบค้นเมื่อ 31 March 2022.
- ↑ "CCP formally starts selection process for delegates to next year's congress". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 19 November 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 August 2022. สืบค้นเมื่อ 9 August 2022.
- ↑ "CPC initiates election process for delegates to 20th national congress". Xinhua. 18 November 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 November 2021. สืบค้นเมื่อ 18 November 2021.
- ↑ Rui, Guo (17 May 2022). "Retired Chinese cadres warned not to make 'negative' comments". South China Morning Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2022. สืบค้นเมื่อ 23 October 2022.
- ↑ "Meeting of CPC Central Committee Political Bureau proposes convening 20th CPC National Congress on Oct. 16 in Beijing". Xinhua News Agency. 30 August 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 November 2023. สืบค้นเมื่อ 18 September 2023.
- ↑ "China's Xi reemerges after trip abroad quashing unfounded 'coup' rumors". CNN. 28 September 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2022. สืบค้นเมื่อ 23 October 2022.
- ↑ "出席中国共产党第二十次全国代表大会代表全部选出_中国政库_澎湃新闻". The Paper (ภาษาจีน). Shanghai United Media Group. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 September 2022. สืบค้นเมื่อ 25 September 2022.
- ↑ Kang, Dake (13 October 2022). "China quashes social media about protest banners in Beijing". Associated Press (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 October 2022. สืบค้นเมื่อ 14 October 2022.
- ↑ Wakabayashi, Daisuke; Fu, Claire (14 October 2022). "China's Internet Censors Race to Quell Beijing Protest Chatter". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 October 2022. สืบค้นเมื่อ 15 October 2022.
- ↑ Davidson, Helen (2022-10-14). "'We all saw it': anti-Xi Jinping protest electrifies Chinese internet". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 October 2022. สืบค้นเมื่อ 2024-07-14.
Such an overt and publicised protest against Xi specifically would be significant at the best of times, but this occurred just days out from the ruling Communist party congress.
- ↑ 11.0 11.1 "Anti-Xi protest spreads in China and worldwide as Chinese leader begins third term". CNN. 23 October 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2022. สืบค้นเมื่อ 4 November 2022.
Over the past week, as party elites gathered in Beijing’s Great Hall of the People to extoll Xi and his policies at the 20th Party Congress, anti-Xi slogans echoing the Sitong Bridge banners have popped up in a growing number of Chinese cities and hundreds of universities worldwide.
- ↑ "China's 'Bridge Man' inspires Xi Jinping protest signs around the world". BBC News. 18 October 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 November 2022. สืบค้นเมื่อ 4 November 2022.
A rare one-man protest against Xi Jinping in Beijing has inspired solidarity protests around the world as China's party congress sits this week.
- ↑ "Anti-Xi Slogans in Rare Beijing Protest Spread Within China". Bloomberg News. 18 October 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2022. สืบค้นเมื่อ 18 October 2022.
- ↑ Cheung, Rachel (19 October 2022). "Anti-Xi Jinping Posters Are Spreading in China via AirDrop". Vice News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2022. สืบค้นเมื่อ 19 October 2022.
- ↑ "(CPC Congress) Xi presides over preparatory meeting for 20th CPC National Congress". Xinhua. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 October 2022. สืบค้นเมื่อ 15 October 2022.
- ↑ "(CPC Congress) Presidium of 20th CPC National Congress holds first meeting". Xinhua. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 October 2022. สืบค้นเมื่อ 15 October 2022.
- ↑ "(CPC Congress) CPC opens 20th National Congress". Xinhua News Agency. 16 October 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 September 2023. สืบค้นเมื่อ 18 September 2023.
- ↑ Wong, Chun Han. "China's Xi Jinping Stakes Out Ambitions, With Himself at the Center". The Wall Street Journal (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2022. สืบค้นเมื่อ 19 October 2022.
- ↑ "Presidium of 20th CPC National Congress holds its first meeting Xi Jinping delivers speech". Ministry of Foreign Affairs of the People's Republic of China. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2022. สืบค้นเมื่อ 22 October 2022.
- ↑ "Key Xi quotes at China's 20th Communist Party Congress". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2022-10-16. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 November 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-11-11.
- ↑ Tian, Yew Lun; Pollard, Martin Quin (16 October 2022). "Xi says China will seek to lift birth rate in face of ageing population". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2023. สืบค้นเมื่อ 12 August 2023.
- ↑ "China's Xi talks up security, reiterates COVID stance as congress opens". Reuters. October 17, 2022.
- ↑ "Chinese-style Modernization". China Media Project. May 12, 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2023. สืบค้นเมื่อ 11 November 2023.
- ↑ "Xi Jinping's vision for China's next five years: key takeaways from his speech". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). 16 October 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2022. สืบค้นเมื่อ 19 October 2022.
- ↑ "Xi signals continuity in his China Communist Party congress speech". NPR (ภาษาอังกฤษ). 16 October 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2022. สืบค้นเมื่อ 19 October 2022.
- ↑ "(CPC Congress) Xi chairs 2nd meeting of 20th CPC National Congress presidium". Xinhua News Agency. 18 October 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2022. สืบค้นเมื่อ 18 September 2023.
- ↑ "Presidium of 20th CPC National Congress holds third meeting, Xi Jinping presides over meeting". Xinhua News Agency. 21 October 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 November 2023. สืบค้นเมื่อ 18 September 2023.
- ↑ "中共二十大 通過十九屆中央委員會報告決議". Oriental Daily News (ภาษาจีน). 2022-10-22. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-22. สืบค้นเมื่อ 2022-10-22.
- ↑ "(CPC Congress) 20th CPC National Congress concludes". Xinhua News Agency. 22 October 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2024. สืบค้นเมื่อ 18 September 2023.
- ↑ Graham-Harrison, Emma; Davidson, Helen (2022-10-22). "Former Chinese president Hu Jintao unexpectedly led out of party congress". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-22. สืบค้นเมื่อ 2022-10-22.
- ↑ "Hu Jintao escorted out of China party congress". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2022-10-22. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-22. สืบค้นเมื่อ 2022-10-22.
- ↑ Areddy, James T. "Hu Jintao's Exit from China's Party Congress Causes a Stir". The Wall Street Journal (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-10-22.
- ↑ "二十大闭幕 大会表决通过中委中纪委报告及党章修正案 - RTHK". Radio Television Hong Kong (ภาษาจีน). 2022-10-22. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-22. สืบค้นเมื่อ 2022-10-22.
- ↑ 李, 宗芳 (2022-10-22). "影/中共20大/閉幕表決胡錦濤中場離席 依舊不見江澤民出席 | 中天新聞網". CTi News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-22. สืบค้นเมื่อ 2022-10-22.
- ↑ McDonell, Stephen (2022-10-22). "Hu Jintao: The mysterious exit of China's former leader from party congress". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-22. สืบค้นเมื่อ 2022-10-22.
- ↑ Palmer, James (2022-10-22). "What the Hell Just Happened to Hu Jintao?". Foreign Policy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-22. สืบค้นเมื่อ 2022-10-22.
- ↑ "Was Hu Jintao's removal from China's 20th party congress suspicious or not?". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2022-10-28. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 December 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-10-28.
- ↑ "Xi Jinping has surrounded himself with loyalists". The Economist. ISSN 0013-0613. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-10-28.
- ↑ "Hu Jintao argued about official papers before being escorted out of congress". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2022-10-25. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-10-26.
- ↑ Tsang, Steve; Cheung, Olivia (2024). The Political Thought of Xi Jinping. Oxford University Press. ISBN 9780197689363.
- ↑ "Xi Jinping's path to precedent-breaking third term - Nikkei Asia". Nikkei Asia. 22 October 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 November 2022. สืบค้นเมื่อ 6 November 2022.
- ↑ "Politburo Standing Committee: Who are the men who rule China now?". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2022-10-23. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-10-24.
- ↑ "Shake-up at the top of China's Communist Party as Xi Jinping starts new term". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 22 October 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2022. สืบค้นเมื่อ 23 October 2022.
- ↑ Wong, Chun Han; Zhai, Keith (23 October 2022). "China's Leaders: Xi Jinping and His Men". The Wall Street Journal (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2022. สืบค้นเมื่อ 23 October 2022.
- ↑ Pollard, Martin (26 October 2022). "China's Xi deals knockout blow to once-powerful Youth League faction". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2023. สืบค้นเมื่อ 24 May 2023.
- ↑ Lam, Willy Wo-Lap (24 October 2022). "The 20th Party Congress: Xi Jinping Exerts Overwhelming Control Over Personnel, but Offers No Clues on Reviving the Economy". Jamestown Foundation (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2023. สืบค้นเมื่อ 24 May 2023.
- ↑ 47.0 47.1 47.2 "Factbox: China's Communist Party amends its charter, strengthens Xi's power". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2022-10-22. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-10-24.
- ↑ "(CPC Congress) Full text of resolution on Party Constitution amendment-Xinhua". Xinhua. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-10-24.
- ↑ "Full text of Constitution of Communist Party of China". Xinhua. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-10-25.
- ↑ 50.0 50.1 Jin, Keyu (2023). The New China Playbook: Beyond Socialism and Capitalism. New York: Viking. ISBN 978-1-9848-7828-1.
- ↑ Curtis, Simon; Klaus, Ian (2024). The Belt and Road City: Geopolitics, Urbanization, and China's Search for a New International Order. New Haven and London: Yale University Press. doi:10.2307/jj.11589102. ISBN 9780300266900. JSTOR jj.11589102.
- ↑ "Kim Jong Un congratulates Xi for reelection, hopes for 'more beautiful' ties". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2022-10-23. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 November 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-11-13.
- ↑ "Putin congratulates China's Xi on unprecedented third term". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2022-10-23. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 November 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-11-13.
- ↑ "Taiwan says it will not back down on its sovereignty". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 16 October 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2022. สืบค้นเมื่อ 16 October 2022.
- ↑ Tian, Yew Lun; Blanchard, Ben (16 October 2022). "China will never renounce right to use force over Taiwan, Xi says". Reuters (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2022. สืบค้นเมื่อ 16 October 2022.
- ↑ "China lists KMT as 'Taiwan Area political party' in thank-you letter". Taiwan News. 2022-10-17. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 November 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-11-13.
- ↑ He, Laura (October 26, 2022), Hong Kong stocks plunge 6% as fears about Xi's third term trump China GDP data, CNN (ตีพิมพ์ October 25, 2022), เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2022, สืบค้นเมื่อ 26 October 2022
- ↑ 58.0 58.1 Tucker, Hank. "President Xi's Tightening Grip On China Could Boost Some Chinese Stocks". Forbes (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-10-28.
- ↑ Iyer, Archishma (October 26, 2022), EMERGING MARKETS-Asian currencies mixed in thin trading, Chinese yuan falls most, Reuters (ตีพิมพ์ October 24, 2022), เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2022, สืบค้นเมื่อ 26 October 2022
- ↑ Chan, Michelle (October 26, 2022), U.S.-Listed Chinese Stocks Post Biggest Daily Drop Since 2004, Wall Street Journal (ตีพิมพ์ October 24, 2022), เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2022, สืบค้นเมื่อ 26 October 2022