ข้ามไปเนื้อหา

การประกวดเพลงยูโรวิชันปี 2016

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การประกวดเพลงยูโรวิชัน 2016
มาสนุกร่วมกัน
(Come Together)
วันและเวลา
รอบรองชนะเลิศรอบที่ 110 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 (2016-05-10)
รอบรองชนะเลิศรอบที่ 212 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 (2016-05-12)
รอบชิงชนะเลิศ14 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 (2016-05-14)
เจ้าภาพ
สถานที่จัดงานโกลบอะรีนา สต็อกโฮล์ม สวีเดน
พิธีกร
ผู้บริหารระดับสูงจอน โอลา ซานด์
ผู้อำนวยการสร้าง
สถานีโทรทัศน์เจ้าภาพสถานีโทรทัศน์แห่งชาติสวีเดน (เอสเวียเทีย)
ประเทศที่เข้าร่วม
จำนวนประเทศที่เข้าร่วม42
จำนวนประเทศที่เข้ารอบชิงชนะเลิศ26
ประเทศที่เข้าร่วมครั้งแรกไม่มี
ประเทศที่กลับมาเข้าร่วมอีกครั้ง บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
 บัลแกเรีย
 โครเอเชีย
 ยูเครน
ประเทศที่ถอนตัว/ไม่กลับมาเข้าร่วม โปรตุเกส
 โรมาเนีย
แผนที่ประเทศที่เข้าร่วม
  •   ประเทศที่เข้ารอบชิงชนะเลิศ
  •   ประเทศที่ตกรอบรองชนะเลิศ
  •   ประเทศที่เคยเข้าร่วมในอดีตแต่ไม่เข้าร่วมในปี 2016
การลงคะแนน
ระบบการลงคะแนนแต่ละประเทศจะมอบรางวัล 2 ชุด โดยชุดหนึ่งประกอบด้วย 12, 10, 8–1 คะแนน สำหรับเพลงสิบเพลง
เพลงชนะเลิศ ยูเครน
1944
2015 ← การประกวดเพลงยูโรวิชัน → 2017

การประกวดเพลงยูโรวิชันปี 2016 (อังกฤษ: Eurovision Song Contest 2016, ฝรั่งเศส: Concours Eurovision de la chanson 2016) เป็นการประกวดเพลงซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 61 ที่เมืองสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ดำเนินการโดยสหภาพการแพร่สัญญาณวิทยุและโทรทัศน์แห่งยุโรป และมีสถานีโทรทัศน์แห่งชาติสวีเดน (เอสเวียเทีย) เป็นเจ้าภาพ การประกวดจัดขึ้นที่สต็อกโฮล์มโกลบอะรีนาในวันที่ 10 และ 12 พฤษภาคมสำหรับรอบรองชนะเลิศ และในวันที่ 14 พฤษภาคมสำหรับรอบชิงชนะเลิศ การแข่งขันจัดขึ้นภายหลังชัยชนะของมอนส์ เซลเมร์เลิฟ ด้วยเพลง ฮีโรส์ ในการประกวดปีก่อนหน้า มอนส์ยังได้เป็นพิธีกรร่วมกับเปตรา เมเดในการประกวดทั้งสามรอบอีกด้วย

การประกวดในปีนี้มีประเทศที่เข้าร่วมทั้งหมด 42 ประเทศ โดยบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา บัลแกเรีย โครเอเชีย และยูเครน ได้กลับมาเข้าร่วมการประกวดอีกครั้ง อีกทั้งออสเตรเลียก็ได้กลับมาเข้าร่วมการประกวดอีกครั้งหลังเป็นประเทศรับเชิญในการประกวดปี 2015 ในขณะเดียวกันโปรตุเกสไม่ได้เข้าร่วมการประกวด โดยมีผลจากการไม่ประชาสัมพันธ์การประกวดนี้มากพอจากสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ และโรมาเนียมีแผนที่จะเข้าร่วมแต่ถูกตัดสิทธิ์หลังการไม่ชำระหนี้สินให้กับอีบียู

ผู้ชนะในการประกวดครั้งนี้คือ จามาลา จากยูเครน ด้วยเพลง "1944" และมีออสเตรเลีย รัสเซีย บัลแกเรีย และสวีเดนได้อันดับที่สองถึงห้าตามลำดับ การประกวดปีนี้ถือเป็นปีแรกตั้งแต่การเริ่มใช้ระบบการลงคะแนนจากคณะกรรมการในการประกวดปี 2009 ที่ผู้ชนะไม่ได้รับคะแนนสูงสุดทั้งจากคณะกรรมการและจากผู���ชมเลย ซึ่งออสเตรเลียและรัสเซียเป็นผู้ได้คะแนนสูงสุดตามลำดับ เพลง "1944" ยังเป็นเพลงแรกที่ชนะการประกวดที่มีเนื้อร้องในภาษาตาตาร์ไครเมีย

สาธารณรัฐเช็กสามารถผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศได้เป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปีนับตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกในปี 2007 ขณะที่ทั้งบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาและกรีซตกรอบเป็นครั้งแรก โดยกรีซไม่ได้เข้าร่วมรอบชิงชนะเลิศเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2000 ในรอบชิงชนะเลิศ ออสเตรเลียได้รับอันดับที่ 2 ซึ่งดีขึ้นจากอันดับที่ 5 เมื่อปี 2015 ขณะที่บัลแกเรียได้รับอันดับที่ 4 ซึ่งเป็นผลงานที่ดีที่สุดนับตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรก และเป็นครั้งแรกที่เข้าร่วมรอบชิงชนะเลิศนับตั้งแต่ปี 2007

การประกวดครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการลงคะแนนเสียงนับตั้งแต่ปี 1975 โดยคะแนนเสียงจากคณะกรรมการของแต่ละประเทศจะประกาศเป็นส่วนใหญ่เหมือนเดิม ในขณะที่ผลการลงคะแนนเสียงทางโทรทัศน์ของแต่ละประเทศจะรวมกันและประกาศในลำดับย้อนกลับ นอกจากนี้ยังเป็นการแข่งขันครั้งแรกที่ถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ในสหรัฐอเมริกา การประกวดครั้งนี้มีผู้ชม 204 ล้านคน ทำลายสถิติของปีก่อนหน้า โดยเพิ่มขึ้นกว่า 5 ล้านคน

สถานที่จัดงาน

[แก้]
โกลบอะรีนาในสต็อกโฮล์มเป็นสถานที่จัดการประกวดปี 2016

การแข่งขันจัดขึ้นที่โกลบอะรีนาในสต็อกโฮล์ม ภายหลังชัยชนะของมอนส์ เซลเมร์เลิฟ ด้วยเพลง ฮีโรส์ ในการประกวดปีก่อนหน้า โกลบอะรีนามีความจุประมาณ 16,000 คน โดยเป็นจัดงานยูโรวิชันครั้งที่สองในที่นี้ โดยโกลบอะรีนาเคยจัดการประกวดเพลงยูโรวิชันปี 2000[1]

การคัดเลือก

[แก้]
ที่ตั้งของบาเซิล เมืองเจ้าภาพ (สีน้ำเงิน) และเมืองที่เสนอตัวเป็นเจ้าภาพ (สีแดง)

สถานีโทรทัศน์แห่งชาติสวีเดน (เอสเวียเทีย) สถานีโทรทัศน์เจ้าภาพ ได้ประกาศเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2015 ว่าเทเลทูอะรีนาในสต็อกโฮล์มจะเป็นสถานที่จัดการแข่งขันที่ได้รับเลือกไว้เป็นอันดับแรก อย่างไรก็ตาม เมืองและอะรีนาอื่นๆ ก็ได้รับโอกาสในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ โดยมีเวลาประมาณสามสัปดาห์ในการส่งข้อเสนอของตนไปยังเอสเวียเทีย ในวันที่ 1 มิถุนายน เอสเวียเทียประกาศเงื่อนไขของเมืองและสถานที่ที่จะเสนอตัวเป็นเจ้าภาพไว้ดังนี้:[2]

  • เอสเวียเทียต้องสามารถใช้สถานที่จัดงานนั้นเป็นเวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ก่อนการประกวดในการจัดเตรียมสถานที่ได้
  • สถานที่จัดงานจะต้องมีพื้นที่สำหรับผู้สื่อข่าวที่มีขนาดเหมาะสม
  • จะต้องมีจำนวนที่พักที่เหมาะสมและเพียงพอในบริเวณใกล้เคียงกับสถานที่จัดงาน
  • เมืองเจ้าภาพจะต้องมีหรือตั้งอยู่ใกล้กับท่าอากาศยานขนาดใหญ่

เบื้องต้นมีการคาดการณ์ว่าเอสเวียเทียจะออกประกาศเกี่ยวกับสถานที่จัดงานในช่วงกลางฤดูร้อน[3][4] โดยในวันที่ 8 กรกฎาคมได้ประกาศให้ เอริกสันโกลบ เป็นสถานที่จัดการแข่งขัน[5]

 †  เมืองเจ้าภาพ

เมือง[2] สถานที่จัดงาน หมายเหตุ
กอเทนเบิร์ก สแกนดิเนเวียน สถานที่จัดการประกวดเพลงยูโรวิชันปี 1985
อุลเลวี ข้อเสนอนี้ขึ้นอยู่กับการสร้างหลังคาเพื่อคลุมสนามกีฬา แนวคิดนี้ถูกปฏิเสธเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูง[6]
ลินเชอปิง ซาบอะรีนา
มัลเมอ[7] มัลเมออะรีนา สถานที่จัดการประกวดเพลงยูโรวิชันปี 2013 มัลเมอถอนการเสนอชื่อในวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 2015 โดยอ้างว่าไม่พร้อมให้บริการในช่วงสัปดาห์ซ้อมการแข่งขัน[7]
เอินคเวิลดส์วีค[8] ฟแยลราเวนเซ็นเตอร์
ซานด์วีเกนและแยฟเลอ[9] โกรานสันอะรีนา ในตัวเลือกนี้ การประกวดทั้งสามรอบจะจัดในซานด์วีเกน และกิจกรรมย่อย เช่น คอนเสิร์ตและการแสดงขนาดเล็กจะจัดในแยฟเลอ[10]
สต็อกโฮล์ม[11]
อันเน็กซต์
โกลบอะรีนา สถานที่จัดการประกวดเพลงยูโรวิชันปี 2000 และเมลูดีเฟ็สติวอเลินรอบชิงชนะเลิศปี 1989 และ2002-2012
เฟรนด์สอะรีนา สถานที่จัดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศของเมลูดีเฟ็สติวอเลินปี 2013 เฟรนด์สอะรีนาเป็นสนามฟุตบอลและอะรีนาที่ใหญ่ที่สุดในสวีเดนและกลุ่มประเทศนอร์ดิก อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าสนามแห่งนี้ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของข้อเสนอของสต็อกโฮล์ม[11][12]
โฮเวต
เทเลทูอะรีนา เอสเวียเทียประกาศเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2015 ว่าเทเลทูอะรีนาในสต็อกโฮล์มจะเป็นสถานที่จัดการแข่งขันที่ได้รับเลือกไว้เป็นอันดับแรก[3][13] แต่ก็ไม่สามารถใช้งานสถานที่ได้เนื่องจากมีข้อกำหนดในการจัดเตรียม 4-6 สัปดาห์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเกมเหย้าของฮัมมาร์บีฟุตบอล[12]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Stockholm to host 2016 Eurovision Song Contest". Eurovision.tv. สืบค้นเมื่อ 8 July 2015.
  2. 2.0 2.1 Jiandani, Sanjay (1 June 2015). "Malmö to host Eurovision again?". esctoday,com. ESCToday. สืบค้นเมื่อ 1 June 2015.
  3. 3.0 3.1 Selåker, Johannes; Olausson, Mathilda (24 May 2015). "Här är arenan där SVT vill anordna Eurovision" [This is the arena where the SVT want to organize Eurovision]. Expressen (ภาษาสวีเดน). สืบค้นเมื่อ 29 May 2015.
  4. Jiandani, Sanjay (26 May 2015). "Preparations in full swing in Sweden". esctoday.com. สืบค้นเมื่อ 29 May 2015.
  5. Granger, Anthony (8 July 2015). "ESC'16: Stockholm To Host Eurovision 2016". eurovoix.com. สืบค้นเมื่อ 8 July 2015.
  6. "Inget Eurovision på Ullevi" [No Eurovision at Ullevi]. Göteborgs-Posten (ภาษาสวีเดน). 12 June 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 June 2015. สืบค้นเมื่อ 13 June 2015.
  7. 7.0 7.1 "ESC'16: Malmö Withdraws Its Bid To Host". eurovoix.com. 11 June 2015. สืบค้นเมื่อ 11 June 2015.
  8. "Örnsköldsvik enters the race with Fjällräven Center". สืบค้นเมื่อ 12 June 2015.
  9. "Eurovision Eurovision 2016: Sandviken enters the host city race with Göransson Arena!". สืบค้นเมื่อ 2 June 2015.
  10. "ESC '16: Gävle & Sandviken Submit Joint Bid". 9 June 2015. สืบค้นเมื่อ 9 June 2015.
  11. 11.0 11.1 Xifaras, Billy (12 June 2015). "Eurovision 2016 Host City: Stockholm applies with Globen Area, not Friends Arena". Wiwibloggs. wiwibloggs.com. สืบค้นเมื่อ 12 June 2015.
  12. 12.0 12.1 "Friends och Tele2 ute ur Eurovision-leken" [Friends and Tele2 out of the Eurovision-game]. Dagens Nyheter (ภาษาสวีเดน). 2 June 2015. สืบค้นเมื่อ 5 July 2015.
  13. "Eurovision 2016: What do we know so far?". escdaily.com. 26 May 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-15. สืบค้นเมื่อ 26 June 2015.