กรมทรัพยากรธรณี
Department of Mineral Resources | |
ตรากรมทรัพยากรธรณี | |
ภาพรวมกรม | |
---|---|
ก่อตั้ง | 1 มกราคม พ.ศ. 2434 |
กรมก่อนหน้า |
|
ประเภท | ส่วนราชการ |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 75/10 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 |
บุคลากร | 701 คน (พ.ศ. 2566)[1] |
งบประมาณต่อปี | 691,246,600 บาท (พ.ศ. 2568)[2] |
ฝ่ายบริหารกรม |
|
ต้นสังกัดกรม | กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
ลูกสังกัดกรม | |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของกรม |
กรมทรัพยากรธรณี เป็นหน่วยงานระดับกรม ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่สงวน อนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการด้านธรณีวิทยา ทรัพยากรธรณี ซากดึกดำบรรพ์ ธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย
ประวัติ
[แก้]พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศตั้ง กรมราชโลหกิจแลภูมิวิทยา สังกัดกระทรวงเกษตราธิการ เมื่อวันที่ 1 มกราคม ร.ศ. 110 (พ.ศ. 2434) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับแร่ โลหะธาตุ การประทานบัตรและสัญญาการแร่โลหะธาตุ และภูมิวิทยา (ธรณีวิทยา)[3] และต่อมาได้ย้ายสังกัดไปขึ้นกับกระทรวงต่าง ๆ ตามยุคสมัยอีก 3 กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย (พ.ศ. 2475)[4] กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และกระทรวงเศรษฐการ เมื่อ พ.ศ. 2506 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมทรัพยากรธรณี สังกัดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ[5] ต่อมาย้ายไปสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ภายหลังจากการปฏิรูประบบราชการเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 กรมทรัพยากรธรณี ได้ย้ายมาสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ก่อนการปฏิรูประบบราชการ
[แก้]กรมทรัพยากรธรณี ภายใต้สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม มีภารกิจหลัก 4 ด้าน
- สำรวจข้อมูลธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี
- ขุดเจ��ะน้ำบาดาล อนุญาต และกำกับดูแลกิจการน้ำบาดาล ตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 และพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
- อนุญาตอาชญาบัตรสำรวจแร่ ประทานบัตรทำเหมืองแร่ และกำกับดูแลด้านกิจการเหมืองแร่ ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 และฉบับแก้ไข รวมถึงพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
- ให้สัมปทาน และกำกับดูแลด้านกิจการปิโตรเลียม ตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
หลังการปฏิรูประบบราชการ
[แก้]กรมทรัพยากรธรณี ถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มภารกิจตาม พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ. 2545 เป็น 4 กรม[6] คือ
- กรมทรัพยากรธรณี สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- กรมทรัพยากรน้ำบาดาล สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม
- กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ สังกัดกระทรวงพลังงาน
ส่วนราชการภายใน
[แก้]ที่ | ส่วนราชการ | หน้าที่ |
---|---|---|
1 | สำนักงานเลขานุการกรม | งานสารบรรณ, งานช่วยอำนวยการ, งานเลขานุการ, ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลนโยบายและผลงานของกรม, จัดระบบงาน, บริหารงานบุคคล, การเงิน/การบัญชี/งบประมาณ/พัสดุ และปฏิบัติงานอื่น ๆ |
2 | กองคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ | ดูแลการคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ บริหารจัดการแหล่งซากดึกดำบรรพ์ เสนอแนะนโยบาย แผน และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองแหล่งและซากดึกดำบรรพ์ กำหนดมาตรฐานและรวบรวมหลักฐานอ้างอิงซากดึกดำบรรพ์ |
3 | กองทรัพยากรแร่ | สำรวจ เก็บข้อมูล ประเมินศักยภาพการพัฒนาแหล่งแร่ ศึกษาวิจัยและทำแผนที่ทรัพยากรแร่ จัดเก็บตัวอย่างแร่เพื่อการอ้างอิงและศึกษา ปฏิบัติงานในฐานะเลขานุการของ "คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ" และคณะกรรมการอื่น |
4 | กองเทคโนโลยีธรณี | ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการสำรวจและศึกษาวิจัยทางธรณีฟิสิกส์ ธรณีเคมี ธรณีเทคนิค แปลความหมายทางธรณีวิทยาจากข้อมูลระยะไกล (เช่นทางอากาศ) เจาะสำรวจ เพื่อสนับสนุนงานด้านธรณีวิทยา ธรณีวิศวกรรม และทรัพยากรธรณี, พัฒนาฟื้นฟูแหล่งทรัพยากรธรณี และพื้นที่อันควรอนุรักษ์ทางธรณีวิทยา |
5 | กองธรณีวิทยา | สำรวจ เก็บข้อมูล ผลิตข้อมูล ศึกษาวิจัยด้านธรณีวิทยา จัดทำแผนที่ธรณีวิทยาและกำหนดมาตรฐานทางธรณีวิทยาของประเทศ จัดเก็บหลักฐานทางธรณีวิทยาเพื่อการอ้างอิงและการศึกษา จัดการด้านอนุรักษ์ เช่น แหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา อุทยานธรณี บริหารจัดการ "พิพิธภัณฑ์แร่-หิน" (กรุงเทพมหานคร) |
6 | กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม | สำรวจ ศึกษาวิจัยด้านธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย (เพื่อการวางผังเมือง จัดการพื้นที่เสี่ยงต่อธรณีพิบัติภัย การกัดเซาะชายฝั่งและตลิ่ง) พัฒนาระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัย กำหนดมาตรฐานทางธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัยของประเทศ |
7 | กองวิเคราะห์และตรวจสอบทรัพยากรธรณี | ศึกษาวิจัยและให้บริการการวิเคราะห์และตรวจสอบตัวอย่างทรัพยากรธรณี |
8 | กองอนุรักษ์และจัดการ ทรัพยากรธรณี |
เสนอการจัดทำนโยบายและแผน การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและมาตรการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู การบริหารจัดการด้านธรณีวิทยา ทรัพยากรธรณี ซากดึกดำบรรพ์ ธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม และธรณีพิบัติภัย, จำแนกพื้นที่แหล่งทรัพยากรธรณี พื้นที่อันควรอนุรักษ์ทางธรณีวิทยา พื้นที่เสี่ยงต่อธรณีพิบัติภัยและมลพิษ, ประสานความร่วมมือกับต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศด้านธรณีวิทยาและสาขาของธรณีวิทยา |
9 | ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร | ดำเนินการเกี่ยวกับระบบสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ เป็นศูนย์กลางเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศของกรม รวมทั้งศึกษาและพัฒนาระบบดังกล่าว, จัดทำแผ��ปฏิบัติการดิจิทัลให้สอดคล้องกับ "แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม" |
10 | สำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 1 (ลำปาง) | ปฏิบัติงานเฉพาะในเขตพื้นที่ส่วนภูมิภาค อันได้แก่ สำรวจ เก็บข้อมูล ศึกษาวิจัย ประเมินศักยภาพ ให้บริการ คำปรึกษา ประชาสัมพันธ์ สนับสนุนการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมในด้านธรณีวิทยา ซากดึกดำบรรพ์ และธรณีพิบัติภัย ผลิตข้อมูลและแผนที่ทรัพยากรแร่ ประสานการดำเนินการเหตุฉุกเฉินด้านธรณีพิบัติภัย กำกับดูแลการคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ การบริหารจัดการแหล่งซากดึกดำบรรพ์ พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา/ซากดึกดำบรรพ์/ธรรมชาติวิทยาในเขตพื้นที่ดูแล |
11 | สำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 2 (ขอนแก่น) | |
12 | สำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 3 (ปทุมธานี) | |
13 | สำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 4 (สุราษฎร์ธานี) |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ รายงานประจำปี 2566 กรมทรัพยากรธรณี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๕๕, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, "ประกาศตั้งกรมราชโลหกิจแลภูมิ์วิทยา". เล่ม 8 หน้า 461-462, วันที่ 1 มกราคม ร.ศ. 110 (พ.ศ. 2434).
- ↑ 16 กุมภาพันธ์ 2560, "ย้อนรอยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์" เก็บถาวร 2020-08-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, การจัดการความรู้ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, "พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ พ.ศ. 2506". เล่ม 80 ตอนที่ 51 หน้า 21-24 วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2506.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, "พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545" เก็บถาวร 2011-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เล่ม 119 ตอนที่ 99ก หน้า 14-34 วันที่ 2 ตุลาคม 2545.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, "กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2561". เล่ม 135 ตอนที่ 51ก หน้า 6-12 วันที่ 20 กรกฎาคม 2561.