ข้ามไปเนื้อหา

พระบรมราชาที่ 2 (พญาจันทน์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รุ่นสำหรับพิมพ์ไม่ได้รับการสนับสนุนอีกต่อไปและอาจมีข้อผิดพลาด โปรดอัปเดตบุ๊กมาร์กและใช้ตัวเลือกสำหรับพิมพ์ที่มีมาให้ในเบราว์เซอร์แทน
สมเด็จพระบรมราชาที่ 2
พระมหากษัตริย์กัมพูชา
ครองราชย์พ.ศ. 2059-2109
รัชกาลก่อนหน้าเจ้ากอง
รัชกาลถัดไปสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 (พระยาละแวก)
สวรรคตพ.ศ. 2109
พระมเหสีสมเด็จพระภัควดีศรีปทุมบุปผา
พระราชบุตรสมเด็จพระรามาธิบดี
สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 (พระยาละแวก)
สมเด็จพระมหาเทวีกษัตริย์
พระนามเต็ม
พระบาทสมเด็จพระราชโองการ พระบรมรามามหาจันทราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสันธรบรมวงศากัมพูชา มหาอินทปัตถ์บุรีรมย์ อุดมกุรุรัฐราชธานี
พระนามเดิม
เจ้าพระยาจันทราชา
ราชวงศ์ราชวงศ์วรมัน
พระราชบิดาพระธรรมราชาธิราชรามาธิบดี
พระมารดาพระแม่นางเทพบุบผา

พระบรมราชาที่ 2 (พญาจันทน์) หรือสมเด็จพระบรมราชาธิราช หรือพระยาจันทราชา ทรงเป็นพระราชโอรสของพระธรรมราชาธิราชรามาธิบดี หลังจากที่เจ้ากองก่อกบฏในรัชกาลพระศรีสุคนธบท พระเชษฐาของพระองค์ พระองค์ได้เสด็จหนีไปกรุงศรีอยุธยา ต่อมาได้ออกมาครองราชสมบัติที่เมืองโพธิสัตว์ภายใต้การสนับสนุนของกรุงศรีอยุธยา (สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่​ 2) และได้รวบรวมกำลังทหารมาปราบเจ้ากองได้สำเร็จและได้ขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามพระบรมราชาที่ 2 ต่อมาพระองค์ได้ย้ายราชธานีไปอยู่ที่กรุงละแวกเมื่อ พ.ศ. 2083

เหตุการสำคัญในรัชสมัย

พ.ศ. 2083 พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาจึงให้ยกทัพมาตีกัมพูชา ดังความในพงศาวดารเขมร ฉบับแปล จ.ศ. 1217 ที่แปลจากพระราชพงศาวดารกัมพูชา ฉบับออกญาวงศาสรรเพชญ (นง) กล่าวว่า

“…พระองค์ทรงราชย์ ลุศักราช 1462 (จ.ศ. 902) ศกชวดนักษัตรได้ 25 ปี พระชันษาได้ 55 ปี พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา จึ่งยกทัพมาถึงพระนครหลวง ในปีชวดนั้น พระองค์ยกทัพไปถึงพระนครหลวงรบชนะ พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาหนีไป พระเจ้าจันทร์ราชาจับได้เชลยไทยเป็นอันมากแล้วเสด็จกลับเข้ามาครองราชสมบัติ…”

พระองค์เสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2109 พระโอรสของพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์ต่อมาคือสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 (พระยาละแวก) ส่วนพระราชธิดาของพระองค์คือสมเด็จพระเทวีศรีกษัตริย์ได้ดำรงพระชนม์จนถึงเหตุจลาจลหลังเสียกรุงละแวกในช่วงพ.ศ. 2137 - 2143 และมีบทบาทในการขอตัวสมเด็จพระศรีสุพรรณมาธิราชกลับไประงับเหตุจลาจลใน พ.ศ. 2145

อ้างอิง

  • Chroniques Royales du Cambodge de 1417 à 1595. École française d'Extrême Orient Paris 1988 ISBN 2-85539-537-2.
  • Achille Dauphin-Meunier, Histoire du Cambodge, Que sais-je ? N° 916, P.U.F 1968.
  • Anthony Stokvis, Manuel d'histoire, de généalogie et de chronologie de tous les États du globe, depuis les temps les plus reculés jusqu'à nos jours, préf. H. F. Wijnman, Israël, 1966, Chapitre XIV §.9 « Kambodge » Listes et tableau généalogique n°34 p.337-338.
  • Peter Truhart, Regents of Nations, K.G Saur Münich, 1984-1988, ISBN 3-598-10491-X, Art. « Kampuchea », p. 1731. (ในภาษาอังกฤษและเยอรมัน).
  • Bernard Philippe Groslier avec la collaboration de C.R. Boxer Angkor et le Cambodge au XVI siècle d'après les sources portugaises et espagnoles, Presses universitaires de France, Paris 1958, « Succession d'Ang Chan selon les Chronique traduites par Moura & Garnier » Tableau III p. 26.