เอเชียนคัพ 2019 รอบคัดเลือก
หน้าตา
รายละเอียดการแข่งขัน | |
---|---|
วันที่ | 12 มีนาคม พ.ศ. 2558 – 27 มีนาคม 2018 |
ทีม | 45 (จาก 1 สมาพันธ์) |
สถิติการแข่งขัน | |
จำนวนนัดที่แข่งขัน | 162 |
จำนวนประตู | 531 (3.28 ประตูต่อนัด) |
ผู้ชม | 2,383,231 (14,711 คนต่อนัด) |
ผู้ทำประตูสูงสุด | Mohammad Al-Sahlawi (14 ประตู) |
การแข่งขันเอเชียนคัพ 2019 รอบคัดเลือก เป็นการแข่งขันฟุตบอลในทวีปเอเชียเพื่อคัดเลือกทีมฟุตบอลเข้าแข่งขันเอเชียนคัพ 2019 รอบสุดท้ายที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย โดยได้รับโควตาทั้งหมด 24 ทีม เริ่มแข่งขันเป็นครั้งแรกในวันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2558 ระหว่างติมอร์-เลสเตกับมองโกเลีย[1] และจบการแข่งขันวันที่ 27 มีนาคม 2018
เอเชียนคัพ 2019 เป็นเอเชียนคัพครั้งแรกที่ขยายจำนวนทีมในรอบสุดท้าย จาก 16 ทีม เป็น 24 ทีม
นอกจากนี้ ยังเป็นการคัดเลือกตัวแทนโซนเอเชียไปแข่งฟุตบอลโลก 2018 รอบสุดท้ายที่ประเทศรัสเซียอีกด้วย
ทีมที่เข้ารอบสุดท้าย
ทีม | วิธีการเข้ารอบ | วันที่ผ่านเข้ารอบ | ผ่านเข้ารอบครั้งที่ | ปีล่าสุดที่ผ่านเข้ารอบ | ผลงานที่ดีที่สุด |
---|---|---|---|---|---|
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ | เจ้าภาพ | 9 มีนาคม ค.ศ. 2558 | 10th | 2015 | รองชนะเลิศ (1996) |
กาตาร์ | ทีมชนะเลิศ รอบที่สอง กลุ่มซี | 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 | 10th | 2015 | รอบก่อนรองชนะเลิศ (2000, 2011) |
เกาหลีใต้ | ทีมชนะเลิศ รอบที่สอง กลุ่มจี | 13 มกราคม พ.ศ. 2559 | 14th | 2015 | ชนะเลิศ (1956, 1960) |
ญี่ปุ่น | ทีมชนะเลิศ รอบที่สอง กลุ่มอี | 24 มีนาคม 2016 | 9th | 2015 | ชนะเลิศ (1992, 2000, 2004, 2011) |
ไทย | ทีมชนะเลิศ รอบที่สอง กลุ่มเอฟ | 24 มีนาคม 2016 | 7th | 2007 | อันดับที่สาม (1972) |
ซาอุดีอาระเบีย | ทีมชนะเลิศ รอบที่สอง กลุ่มเอ | 24 มีนาคม 2016 | 10th | 2015 | ชนะเลิศ (1984, 1988, 1996) |
ออสเตรเลีย | ทีมชนะเลิศ รอบที่สอง กลุ่มบี | 29 มีนาคม 2016 | 4th | 2015 | ชนะเลิศ (2015) |
อุซเบกิสถาน | ทีมชนะเลิศ รอบที่สอง กลุ่มเอช | 29 มีนาคม 2016 | 7th | 2015 | อันดับที่สี่ (2011) |
ซีเรีย | ทีมรองชนะเลิศ รอบที่สอง กลุ่มอี | 29 มีนาคม 2016 | 6th | 2011 | รอบแบ่งกลุ่ม (1980, 1984, 1988, 1996, 2011) |
อิรัก | ทีมรองชนะเลิศ รอบที่สอง กลุ่มเอฟ | 29 มีนาคม 2016 | 9th | 2015 | ชนะเลิศ (2007) |
อิหร่าน | ทีมชนะเลิศ รอบที่สอง กลุ่มดี | 29 มีนาคม 2016 | 14th | 2015 | ชนะเลิศ (1968, 1972, 1976) |
จีน | ทีมรองชนะเลิศ รอบที่สอง กลุ่มซี | 29 มีนาคม 2016 | 12th | 2015 | รองชนะเลิศ (1984, 2004) |
รูปแบบการแข่งขัน
- รอบแรก : มี 12 ทีม (ทีมอันดับ 35-46) จับคู่แข่งขันแบบเหย้า-เยือน 2 นัด หาทีมชนะ 6 ทีมผ่านเข้าสู่รอบสอง
- รอบสอง : มี 40 ทีม (ทีมอันดับ 1-34 และ 6 ทีมที่ผ่านรอบแรก) มาแบ่งเป็น 8 กลุ่ม กลุ่มละ 5 ทีม แข่งขันแบบพบกันหมด เหย้า-เยือน คัดผู้ชนะของแต่ละกลุ่ม มี 8 ทีม รวมกับทีมอันดับสองที่มีผลงานดีที่สุดอีก 4 ทีม เป็น 12 ทีมที่ผ่านเข้าสู่เอเชียนคัพ รอบสุดท้าย
- รอบเพลย์ออฟ: จากรอบสอง ทีมอันดับห้า และอันดับสี่ที่แย่ที่สุดของแต่ละกลุ่ม จะต้องมาแข่งรอบเพลย์ออฟ จนได้ทีมชนะ 8 ทีมผ่านเข้าสู่รอบสาม
- รอบสาม: มี 24 ทีม (ทีมอันดับสองที่แย่ที่สุด 4 ทีม ทีมอันดับสาม 8 ทีม ทีมอันดับสี่ที่ดีที่สุด 4 ทีมจากรอบสอง และ 8 ทีมที่ผ่านรอบเพลย์ออฟ) มาแบ่งเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ทีม แข่งขันแบบพบกันหมด เหย้า-เยือน คัดผู้ชนะของแต่ละกลุ่ม รวมกับทีมอันดับสอง เป็น 12 ทีมที่ผ่านเข้าสู่เอเชียนคัพ รอบสุดท้าย
การแข่งขันรอบคัดเลือกเอเชียนคัพครั้งนี้จะเป็นการหาทีมที่ผ่านเข้าไปแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 ไปในตัวด้วย[2]
การจัดอันดับ
ผ่านไปเล่นในรอบสอง (อันดับที่ 1 ถึง 34) |
ต้องแข่งในรอบแรก (อันดับที่ 35 ถึง 46) | |
---|---|---|
|
|
ปฏิทินการแข่งขัน
ปฏิทินการแข่งขันสำหรับรอบคัดเลือก เป็นไปดังนี้[4][5][6]
|
|
- ↑ http://football.kapook.com/news-21596
- ↑ ไทยเริ่มรอบสอง! เอเอฟซีเผยขั้นตอนคัดบอลโลก 2018-เอเชียนคัพ 2019
- ↑ "FIFA Men's Ranking – January พ.ศ. 2558 (AFC)". FIFA.com. 8 January พ.ศ. 2558.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "AFC Calendar of Competitions พ.ศ. 2558" (PDF). AFC.
- ↑ "AFC Calendar of Competitions 2016" (PDF). AFC.
- ↑ "AFC Calendar of Competitions 2017" (PDF). AFC.