เครื่องหมายทางเรือ
เครื่องหมายทางเรือ[a] หรือ เครื่องหมายการเดินเรือ[b] (อังกฤษ: Navigational aid: NAVAID หรือ aid to navigation ATON) คือสัญญาณ เครื่องหมาย หรืออุปกรณ์นำทางประเภทใดก็ตามที่ช่วยนำทางในการเดินเรือ โดยปกติจะเป็นการเดินทางทางทะเลหรือทางการบิน โดยทั่วไปประกอบไปด้วย ประภาคาร ทุ่น สัญญาณหมอก และกระโจมกลางวัน
คำนิยาม
[แก้]ตามอธิธานศัพท์ในรายการไฟของยามฝั่งสหรัฐ เครื่องหมายเดินเรือ (aid to navigation: ATON) คืออุปกรณ์ใด ๆ ที่อยู่ภายนอกเรือหรือเครื่องบินที่มีจุดประสงค์เพื่อช่วยนักเดินเรือในการกำหนดตำแหน่งหรือเส้นทางที่ปลอดภัยของตน หรือเพื่อเตือนถึงอันตราย หรือสิ่งกีดขวางการเดินเรือ
เครื่องหมายทางข้าง
[แก้]เครื่องหมายทางข้าง (Lateral marks) บอกถึงขนาดของร่องน้ำเดินเรือ กำหนดมาตรฐานโดยสมาคมประภาคารและเครื่องหมายทางเรือระหว่างประเทศ (International Association of Marine Aids to Navigation and Lighthouse Authorities: IALA) โดยเมื่อเข้าใกล้ท่าเรือ จะมีการวางแนวทางเดินเรือทางด้านกราบซ้าย (Port hand marks) ไปยังท่าเรือในฝั่งซ้าย (Port)[1] และแนวทางเดินเรือทางด้านกราบขวา (Starboard hand marks) ในฝั่งขวา (Starboard)[1] ซึ่งแนวทางเดินเรือทางด้านกราบซ้ายเป็นรูปทรงกระบอก ส่วนด้านกราบขวาเป็นทรงกรวย ถ้าเครื่องหมายเป็นรูปเสาหรือเสากระโดง ให้ติดเครื่องหมายยอดเป็นทรงกระบอกหรือทรงกรวยตามความเหมาะสม[2]
เครื่องหมายด้านข้างบ่งบอกถึงขอบของช่อง มาตรฐานดังกล่าวกำหนดโดยสมาคมระหว่างประเทศด้านการช่วยเหลือทางทะเลเพื่อการเดินเรือและประภาคาร (IALA) เมื่อเข้าใกล้ท่าเรือ (ซ้าย) และเครื่องหมายมือกราบขวาไปทางกราบขวา (ขวา) เครื่องหมายมือของท่าเรือเป็นรูปทรงกระบอก เครื่องหมายทางกราบขวาเป็นรูปกรวย ถ้าเครื่องหมายเป็นรูปเสาหรือเสากระโดง ให้ติดเครื่องหมายยอดเป็นทรงกระบอกหรือทรงกรวยตามความเหมาะสม[2]
IALA แบ่งพื้นที่บนโลกออกเป็นสองภูมิภาค คือภูมิภาค A และ B สำหรับภูมิภาค B ประกอบไปด้วย ทวีปอเมริกา (ไม่รวมกรีนแลนด์) ร่วมกับญี่ปุ่น เกาหลี และฟิลิปปินส์ ส่วนภูมิภาค A คือส่วนที่เหลือบนโลก สำหรับภูมิภาค A ทางกราบซ้าย (Port marks) จะเป็นสีแดง ส่วนทางกราบขวา (Starboard marks) จะเป็นสีเขียว และในภูมิภาค B ทางกราบซ้ายใช้สีเขียวส่วนกราบขวาใช้สีแดง[2] โดยที่เครื่องหมายจะมีหมายเลขประกอบ เครื่องหมายสีแดงจะเป็นเลขคู่ และเครื่องหมายสีเขียวจะเป็นเลขคี่[3]
เครื่องหมายช่องทางเดินเรือ
[แก้]ในกรณีของเครื่องหมายแบ่งช่องทางแยกที่เรียกว่า "เครื่องหมายช่องทางเดินเรือที่เหมาะสม" (Preferred channel marks) หรือ "ทุ่นทางแยก" (Junction buoy) เครื่องหมายสีและรูปทรงจะตรงกับร่องน้ำเดินเรือหลักโดยมีแถบสีอื่นแสดงฝั่งของร่องน้ำรอง[2] ใน IALA ภูมิภาค A ร่องน้ำรองจะแยกออกไปเพื่อเชื่อมต่อกับเครื่องหมายบริเวณทางแยก โดยจะใช้เป็นทรงกระบอกสีแดงและมีแถบสีเขียว ซึ่งกระบอกสีแดงหมายถึงด้านกราบซ้ายสำหรับร่องน้ำหลัก ส่วนแถบสีเขียวหมายถึงด้านกราบขวาสำหรับร่องน้ำรอง[4] ใน IALA ภูมิภาค B จะใช้สีกลับกัน (แต่รูปร่าง��ม่กลับกัน) [5]
เครื่องหมายจตุรทิศ
[แก้]เครื่องหมายจตุรทิศ[b][a] หรือ เครื่องหมายแจ้งสิ่งอันตราย[a] (Cardinal marks) มีไว้สำหรับเตือนถึงสิ่งอันตราย (เช่น ซากเรืออับปาง สันดอน โค้ง จะงอย เป็นต้น) และสำหรับแจ้งว่าน่านน้ำจากนี้พ้นจุดอันตรายไปแล้ว มีด้วยกันสี่เสี้ยวคือ เหนือ ตะวันออก ใต้ และตะวันตก โดยเครื่องหมายจตุรทิศเมื่อวางไว้ทิศเหนือของอันตรายจะระบุว่าน่านน้ำปลอดภัยอยู่ด้านเหนือของเครื่องหมาย เช่นเดียวกันกับการวางไว้ทางทิศตะวันออก ทิศใต้ และทิศตะวันตกตามลำดับ โดยเครื่องหมายจตุรทิศจะเป็นสีเหลืองและสีดำ พร้อมกับกรวยสองอันอยู่ที่เครื่องหมายบริเวณด้านบน ซึ่งการใช้งานเหมือนกันทั้ง IALA ภูมิภาค A และ B[6]
เครื่องหมายอื่นที่กำหนดโดย IALA
[แก้]เครื่องหมายสิ่งอันตรายโดดเดี่ยว
[แก้]เครื่องหมายสิ่งอันตรายโดดเดี่ยว (Isolated danger mark) มีสีดำพร้อมด้วยแถบสีแดงแนวนอนและมีลูกบอลสีดำติดเป็นเครื่องหมายอยู่ด้านบน เครื่องหมายนี้เตือนถึงอันตราย (สันดอน หิน ซากเรืออัปปาง เป็นต้น) ซึ่งอยู่โดดเดี่ยวท่ามกลางที่ปลอดภัย[7]
เครื่องหมายแสดงที่ปลอดภัย
[แก้]เครื่องหมายแสดงที่ปลอดภัย (Safe Water Marks) เป็นแถบสีแดงและสีขาวแนวตั้งมีทรงกลมสีแดงลูกเดียวติดอยู่เป็นเครื่องหมายด้านบน แสดงว่ารอบ ๆ เป็นพื้นที่น่านน้ำที่ปลอดภัย ปกติจะใช้งานเพื่อระบุจุดเริ่มต้นของร่องน้ำน้ำหรือเข้าสู่ท่า[7]
เครื่องหมายแสดงสิ่งอันตรายใหม่
[แก้]ใช้สำหรับบ่งบอกและแสดงถึงอันตรายที่พึ่งมีการค้นพบหรือเกิดขึ้นซึ่งยังไม่ได้ทำเครื่องหมายไว้ในชาร์ท (หรือประกาศอัปเดต) โดยเครื่องหมายนี้จะใช้งานในระยะเวลาสั้น ๆ จนกว่าอันตรายดังกล่าวจะถูกจัดการออกหรือทำเครื่องหมายทางข้างเพื่อหลีกเลี่ยงหรือทำเครื่องหมายจตุรทิศ เครื่องหมายนี้จะมีแถบสีน้ำเงินและสีเหลืองแนวตั้ง และมีแสงไฟสีเหลืองและสีน้ำเงิน บนยอดทำเครื่องหมายเป็นกากบาทสีเหลืองแนวตั้ง[8]
เครื่องหมายพิเศษ
[แก้]ใช้สีเหลืองพร้อมด้วยเครื่องหมาย "X" ใช้สำหรับทำเครื่องหมายเพื่อระบุคุณสมบัติอื่น ๆ เช่น พื้นที่ว่ายน้ำ พื้นที่ทอดสมอ ท่อส่งน้ำมันหรือแก๊สธรรมชาติ ซึ่งเหตุผลของแต่ละเครื่องหมายจะถูกระบุไว้บนชาร์ท[9]
ไฟเสี้ยว
[แก้]ไฟเสี้ยว (Sector lights) คือไฟที่ใช้แสดงที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับมุมองศาที่เข้าใกล้ โดยทั่วไปจะใช้เพื่อระบุร่องน้ำที่ปลอดภัย (สีขาว) และแสดงเป็นสีแดงหรือสีเขียวหากเรืออยู่นอกร่องน้ำที่ปลอดภัย ซึ่ง IALA กำหนดให้สีของแสงเป็นไปตามภูมิภาคที่กำหนด (A หรือ B) [10]
เครื่องหมายอื่น
[แก้]นอกจากนี้ยังมีการทำเครื่องหมายอื่น ๆ ที่ให้ข้อมูลนอกเหนือไปจากเขตน่านน้ำที่ปลอดภัย ส่วนใหญ่ใช้เป็นสีขาวและมีเครื่องหมายสีส้มและตัวอักษรสีดำ ใช้เพื่อบอกทิศทางและข้อมูล เตือนถึงอันตรายและอาจถูกทำลาย แสดงเครื่องหมายพื้นที่ควบคุม และแสดงเครื่องหมายพื้นที่นอกเขต ซึ่งเครื่องหมายเดินเรือเหล่านี้ไม่ใช่เครื่องหมายจราจรร่องน้ำ
บนเครื่องหมายที่ไม่ใช่ทุ่นทางข้าง จะมีการใช้เครื่องหมายรูปทรงบางแบบเพื่อสื่อความหมายบางสิ่ง คือ
- สี่เหลี่ยม
- แสดงข้อมูล รวมถึงสถานที่เติมอาหาร สิ่งของ สัมภาระ และการซ่อมแซม บางครั้งใช้ในการแสดงทิศทาง[11]
- ไดมอน
- เตือนถึงอันตราย เช่น หิน การก่อสร้าง เขื่อน หรือตอไม้[11]
- วงกลม
- เป็นเครื่องหมายแสดงพื้นที่ควบคุม เช่น พื้นที่ลดการเกิดคลื่น (No wake) เดินเครื่องด้วยรอบเดินเบา จำกัดความเร็ว หรือโซนเจ็ทสกี[11]
- ไดมอนครอส
- แสดงถึงพื้นที่ที่จำกัดสำหรับเรือทุกลำ เช่น พื้นที่ว่ายน้ำและเขื่อน[11]
ระบบ AIS AtoNs
[แก้]ระบบ AtoN สามารถเชื่อมโยงเข้ากับระบบสําแดงข้อมูลเรืออัตโนมัติ (automatic identification system: AIS) ได้ โดยระบบ AIS ที่ได้รับข้อมูลจากเครื่องหมายทางเรือ (ทุ่น ประภาคาร เป็นต้น) โดยตรงเรียกว่าระบบ "Real AIS AtoN"[12][13]
หากไม่พร้อมที่จะติดตั้งระบบ AtoN พร้อมเครื่องส่งสัญญาณไปยัง AIS เราสามารถกำหนดให้สถานีชายฝั่งส่งข้อความ AIS ในนามของ AtoN ได้ โดยเรียกว่าแบบสังเคราะห์คือ "Synthetic AtoN" โดยอาจจะเรียกอีกอย่างว่าเป็น "monitored synthetic AtoNs" หรือ "predicted synthetic AtoNs" ซึ่งเดิมก่อนหน้านี้อาจจะมีการเชื่อมต่อกับเครื่องหมายทางเรือระบบ AtoN เพื่อให้สถานี AIS สามารถยืนยันสถานะของ AtoN ที่ติดอยู่กับเครื่องหมายทางเรือได้ แต่ต่อมาไม่ได้มีการเชื่อมต่อกับระบบ AIS จึงใช้การส่งข้อมูลคาดคะเนว่าเครื่องหมายทางเรือที่เคยติดตั้งระบบ AtoN ว่าน่าจะอยู่ในจุดที่ควรจะเป็น[14]
หากไม่มีระบบ AtoN ติดตั้งอยู่จริง ๆ (เช่นในกรณีการทำเครื่องหมายเรือที่อัปปางในช่วงเวลาหนึ่ง) จะมีการใช้งานระบบเสมือนคือ "virtual AIS AtoN"[14]
ในระบบ AIS AtoN แต่ละแห่งจะต้องมีเลขหมายระบุตัวตนในกิจการเคลื่อนที่ทางทะเล (MMSI) ที่ไม่ซ้ำกัน ในขณะที่แบบสังเคราะห์และแบบเสมือนจะใช้การใช้หมายเลข MMSI ซ้ำกับตำแหน่งของเครื่องส่งสัญญาณฐานเพื่อระบุตำแหน่งของเครื่องส่ง ไม่ใช่ตำแหน่งจริง ๆ ของระบบ AtoN ที่ติดอยู่กับเครืองหมายทางเรือ[15]
เครื่องหมายและไฟแนวนำ
[แก้]หลักไฟนำ[b] หรือ ไฟแนวนำ[a] (Leading lights) (เช่น "นำเรือไปยังสถานที่ปลอดภัย) เป็นเครื่องหมายคงทีซึ่งใช้แทนที่ทุ่นเครื่องหมายข้างทางในการช่วยให้เรือสามารถนำทางไปในร่องน้ำที่ต้องการ เรียกอีกอย่างนึงว่า "เครื่องหมายนำร่อง" (channel markers) โดยสามาระใช้ร่องน้ำเดินทางเข้าออกได้ตามปกติ และหากติดตั้งไฟก็จะสามารถใช้นำทางได้ในเวลากลางคืน ซึ่งโดยปกติแล้วเครื่องหมายด้านบนจะอยู่บนเนินเขาเหนือจากเครื่องหมายล่างหรือด้านหน้า ซึ่งกะลาสีเรือจะทราบรูปทรงของเครื่องหมายหรือไฟจากแผนผังการเดินเรือและสามารถเข้าใจได้ว่าเมื่อมันอยู่ในสถานะ "เปิด" (เครื่องหมายหนึ่งไม่ได้อยู่เหนืออีกเครื่องหมาย) เรือจะต้องถูกนำทางไปยังสถานะ "ปิด" (เครื่องหมายบนอยู่เหนือเครื่องหมายล่าง) ซึ่งเป็นแนวที่สมบูรณ์ในการเดินเรือในร่องน้ำ
ในบางครั้ง เครื่องหมาย/ไฟแนวนำจะถูกทำขึ้นมาด้วยเลเซอร์ เช่นเดียวกับช่องเลเซอร์ใต้สะพานแทสมันบนแม่น้ำเดอร์เวนต์ที่เมืองโฮบาร์ต รัฐแทสเมเนีย ประเทศออสเตรเลีย
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 ตามความหมายของกองทัพเรือไทย
- ↑ 2.0 2.1 2.2 ตามความหมายของกรมเจ้าท่า
ดูเพิ่ม
[แก้]- เรือใช้งานเครื่องหมายทางเรือ
- ทุ่น
- เครื่องหมายกลางวัน
- สถานีวิทยุเครื่องช่วยการเดินอากาศ (DME)
- แตรสัญญาณหมอก
- ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS)
- เครื่องช่วยการเดินอากาศ (ILS)
- ภูมิสัญลักษณ์
- ประภาคาร
- ระบบช่วยนำทางพิสัยไกล (LORAN)
- วิทยุประภาคาร (NDB)
- กระโจมเรดาร์ (Racon)
- วิทยุนำทาง
- หลักไฟนำ
- เครื่องหมายทางทะเล
- สถานีสัญญาณ
- สัญญาณเรือดำน้ำ
- ระบบนำทางทางอากาศทางยุทธวิธี (TACAN)
- สถานีเครื่องช่วยการเดินอากาศแบบวีโออาร์ (VOR)
- กฎข้อบังคับระหว่างประเทศเพื่อป้องกันเรือโดนกันในทะเล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "เรื่องเล่าชาวเรือ: port กับ starboard". ลอยอังคาร สัตหีบ กองเรือยุทธการ (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-12-01.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 IALA (1 June 2017), Maritime buoyage system and other aids to navigation (PDF), pp. 10–11, สืบค้นเมื่อ 23 October 2022
- ↑ IALA 2013, p. 9.
- ↑ IALA 2013, p. 22.
- ↑ IALA 2013, p. 23.
- ↑ IALA 2013, pp. 14–15.
- ↑ 7.0 7.1 IALA 2013, p. 16.
- ↑ IALA 2013, p. 18.
- ↑ IALA 2013, p. 17.
- ↑ IALA 2013, p. 19.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 "U.S. Aids To Navigation System" (PDF). United States Coast Guard, Office of Boating Safety. สืบค้นเมื่อ July 26, 2023.
- ↑ IALA (June 2011), Recommendation A-126 on the use of the Automatic Identification System (AIS) in marine aids to navigation (1.5 ed.), Saint Germain en Laye, France, p. 10, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-23, สืบค้นเมื่อ 29 June 2019
- ↑ ระบบควบคุมติดตามระยะไกลและสารสนเทศเครื่องหมายทางเรือในน่านน้ำไทย Automatic Identification System (AIS (PDF). กองเครื่องหมายทางเรือ ศูนย์สนับสนุนการเดินเรือ กรมอุทกศาสตร์. 2557. p. 5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-10-04. สืบค้นเมื่อ 2023-10-04.
- ↑ 14.0 14.1 IALA 2011, p. 11.
- ↑ IALA 2011, pp. 11–12.
บรรณานุกรม
[แก้]- United States Coast Guard. Aids to Navigation, (Washington, DC: U. S. Government Printing Office, 1945).
- Price, Scott T. "U. S. Coast Guard Aids to Navigation: A Historical Bibliography". United States Coast Guard Historian's Office.
- UK Department for Transport. UK Government Strategy for AIS.
- IALA. IALA Standard A-126: On the Use of the Automatic Identification System (AIS) in Marine Aids to Navigation Service.