ไมเคิล บลูมเบอร์ก
ไมเคิล บลูมเบอร์ก (Michael Bloomberg) | |
---|---|
ผู้ว่าการนครนิวยอร์กคนที่ 108 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 มกราคม 2545 – 31 ธันวาคม 2556 | |
ก่อนหน้า | Rudy Giuliani |
ถัดไป | Bill de Blasio |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไมเคิล รูเบนส์ บลูมเบอร์ก
(Michael Rubens Bloomberg) 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 บอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา |
เชื้อชาติ | อเมริกัน |
พรรคการเมือง | พรรคเดโมแครต |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | พรรคริพับลิกัน (สหรัฐ) (2544-2550)
พรรคเดโมแครต (สหรัฐ) (ก่อน 2544) |
คู่อาศัย | Diana Taylor (2543-ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | Susan Elizabeth Barbara Brown-Meyer (สมรส 2518; หย่า 2536) |
บุตร | Emma Frissora Georgina Bloomberg |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ (วิทยาศาสตรบัณฑิต) มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) |
ทรัพย์สินสุทธิ | 47,800 ล้านเหรียญสหรัฐ (ตุลาคม 2560)[1] |
ลายมือชื่อ | |
เว็บไซต์ | Official website |
ไมเคิล รูเบนส์ บลูมเบอร์ก (อังกฤษ: Michael Rubens Bloomberg)[2] (เกิด 14 กุมภาพันธ์ 2485) เป็นนักธุรกิจ นักเขียน นักการเมือง และนักการกุศลชาวอเมริกัน เขามีทรัพย์สินสุทธิประเมินที่ 47,800 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท)[1] โดยเดือนตุลาคม 2560 จึงทำให้เขาเป็นคนรวยที่สุดอันดับ 8 ในสหรัฐอเมริกา และอันดับ 10 ของโลก เขาได้ลงนามร่วมกับองค์กรสัญญาว่าจะให้ ที่มหาเศรษฐีสัญญาว่าจะมอบทรัพย์สินของตนเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง[3]
บลูมเบอร์กเป็นผู้ก่อตั้ง ประธานบริหาร และเจ้าของบริษัท Bloomberg L.P. ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการทางการเงิน สื่อมวลชน และซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งรู้จักกันดีว่าผลิตโปรแกรม Bloomberg Terminal ซึ่งให้ข้อมูลทางการเงินที่ใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมบริการทางการเงินทั่วโลก เขาเริ่มทำงานที่บริษัทนายหน้าขายหลักทรัพย์ Salomon Brothers ก่อนตั้งบริษัทของตนเองในปี 2524 และใช้เวลาอีก 20 ปีต่อมาโดยเป็นประธานและประธานบริหารของบริษัท บลูมเบอร์กยังเคยเป็นประธานกรรมการของมหาวิทยาลัยที่เขาเป็นศิษย์เก่า คือ มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ ระหว่างปี 2539-2545
บลูมเบอร์กเคยเป็นผู้ว่าการนครนิวยอร์กถึง 3 สมัย เริ่มตั้งแต่ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2544 แม้จะเคยลงทะเบียนว่าเป็นคนสนับสนุนพรรคเดโมแครตก่อนจะเริ่มหาเสียง เขาก็ได้เปลี่ยนทะเบียนของเขาในปี 2544 เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคริพับลิกัน เขาชนะฝ่ายตรงข้ามอย่างเฉียดฉิวในการเลือกตั้งที่ทำไม่กี่อาทิตย์หลังเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 เขาชนะการเลือกตั้งสมัยที่สองในปี 2548 และลาออกจากพรรคริพับลิกันสองปีหลังจากนั้น บลูมเบอร์กได้รณรงค์เพื่อเปลี่ยนกฎหมายซึ่งจำกัดสมัยที่สามารถเป็นผู้ว่าการ แล้วได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่สามในปี 2552 โดยไม่สังกัดพรรค
สื่อมักจะลือว่า เขาจะลงสมัครับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐทั้งในปี 2551 และ 2555 ตลอดทั้งผู้ว่าการรัฐนิวยอร์กในปี 2553 แต่เขาก็ปฏิเสธไม่สมัคร โดยเลือกทำหน้าที่เป็นผู้ว่าการของนครนิวยอร์กต่อไปในเวลานั้น
ในปี 2557 Bill de Blasio ก็ได้แทนที่บลูมเบอร์กเป็นผู้ว่าการนครนิวยอร์ก หลังจากที่ทำงานการกุศลอย่างเต็มเวลาในระยะสั้น ๆ บลูมเบอร์กก็กลับไปทำหน้าที่เป็นประธานบริหารของบริษัท Bloomberg L.P. โดยท้ายปี 2557 ในวันที่ 7 มีนาคม 2559 เขาได้ประกาศว่าจะไม่สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐจากพรรคที่ 3 สำหรับการเลือกตั้งปี 2559 แม้จะมีข่าวลือที่กระจายไปทั่ว และภายหลังได้ให้การสนับสนุนแก่ฮิลลารี คลินตัน
การกุศล
[แก้]สิ่งแวดล้อม
[แก้]บลูมเบอร์กเป็นนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตัวยง และได้สนับสนุนให้มีนโยบายสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตั้งแต่ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าการนครนิวยอร์ก ในระดับประเทศ บลูมเบอร์กได้ผลักดันให้เปลี่ยนการใช้พลังงานในสหรัฐจากเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ให้เป็นพลังงานสะอาด ในเดือนกรกฎาคม 2554 บลูมเบอร์กบริจาคทรัพย์มูลค่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,625 ล้านบาท) ผ่านองค์กร Bloomberg Philanthropies ให้แก่การรณรงค์ Beyond Coal (ถัดจากถ่านหิน) ขององค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม Sierra Club ซึ่งทำให้สามารถขยายความพยายามเพื่อปิดโรงผลิตไฟฟ้าถ่านหินในรัฐ 15 รัฐเพิ่มขึ้นเป็น 45 รัฐ[4][5] วันที่ 8 เมษายน 2558 เพื่อต่อยอดความสำเร็จของโครงการรณรงค์นี้ บลูมเบอร์กประกาศการให้ทรัพย์เพิ่มอีก 30 ล้านเหรียญสหรัฐ (975 ล้านบาท) โดยเพิ่มให้คู่กับการบริจาคของผู้อื่นเป็นจำนวนเท่ากัน (รวม 60 ล้าน) เพื่อให้สามารถรีไทร์โรงไฟฟ้าถ่านหินครึ่งหนึ่งในประเทศโดยปี 2560[6]
บลูมเบอร์กได้บริจาคทรัพย์ 6 ล้านเหรียญสหรัฐ (195 ล้านบาท) ผ่าน Bloomberg Philanthropies ให้แก่องค์กรสนับสนุนให้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม Environmental Defense Fund เพื่อสนับสนุนกฎหมายที่เข้มงวดเพื่อควบคุมเทคนิคการเพิ่มผลผลิตบ่อน้ำมัน/แก๊สธรรมชาติคือ Hydraulic fracturing ในรัฐ 14 รัฐที่ผลิตแก๊สธรรมชาติมากที่สุด[7]
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 บลูมเบอร์กและองค์กรการกุศลของเขาคือ Bloomberg Philanthropies ได้ตั้งโครงการริเริ่มธุรกิจเสี่ยงกับอดีตเลขาธิการกระทรวงการคลัง Henry Paulson และอภิมหาเศรษฐีอีกท่านคือ Tom Steyer เพื่อชักจูงชุมชนนักธุรกิจว่า จำเป็นต้องมีพลังงานที่ยั่งยืนและนโยบายการพัฒนาพลังงาน โดยระบุตัวเลขและเผยแพร่ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจต่อสหรัฐเนื่องจากผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[8] ในเดือนมกราคม 2558 บลูมเบอร์กได้นำ Bloomberg Philanthropies เพื่อร่วมมือในโครงการ 48 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,560 ล้านบาท) ร่วมกับตระกูล Heising-Simons เพื่อจัดตั้งโครงการริเริ่มพลังงานสะอาด (Clean Energy Initiative) ซึ่งสนับสนุนการแก้ปัญหาระดับรัฐโดยมุ่งหมายให้อเมริกามีระบบพลังงานที่สะอาด ไว้ใจได้ และยอมรับราคาได้[9]
ตั้งแต่ปี 2553 บลูมเบอร์กได้มีบทบาทเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในระดับโลกเพิ่มขึ้น ในระหว่างปี 2553-2556 เขาทำหน้าที่เป็นประธานกลุ่ม C40 Cities Climate Leadership Group (ตัวย่อ C40) ซึ่งเป็นเครือข่ายของนครที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ทำงานร่วมกันเพื่อลดการปล่อยคาร์บอน[10] ในสมัยของประธานาธิบดีบิล คลินตัน บลูมเบอร์ได้ทำงานเพื่อรวมกลุ่ม C40 เข้ากับโครงการของรัฐคือ Clinton Climate Initiative โดยมีจุดมุ่งหมายเพิ่มกำลังของโครงการทั้งสองในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก[11] เขาทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการของโครงการ C40[12]
ในเดือนมกราคม 2557 บลูมเบอร์กเริ่มพันธสัญญาเป็นระยะ 5 ปีเพื่อให้ทรัพย์จำนวน 53 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,723 ล้านบาท) แก่โครงการ Vibrant Oceans Initiative ซึ่งเป็นการจับมือระหว่างองค์กร Bloomberg Philanthropies, Oceana, Rare, และ Encourage Capital เพื่อสนับสนุนให้ปฏิรูปการจับสัตว์น้ำและเพิ่มประชากรสัตว์อย่างยั่งยืนทั่วโลก[13]
วันที่ 31 มกราคม 2557 เลขาธิการสหประชาชาติ พัน กี-มุน ได้แต่งตั้งบลูมเบอร์กเป็นผู้แทนพิเศษเพื่อการเปลี่ยนแปลงเมืองและภูมิอากาศ (Special Envoy for Cities and Climate Change) เพื่อช่วยสหประชาชาติในการทำงานร่วมกับเมืองต่าง ๆ เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ[14] ในเดือนกันยายน 2557 บลูมเบอร์กได้มาประชุมร่วมกับเลขาธิการและผู้นำโลกอื่น ๆ ที่ "ประชุมสุดยอดสหประชาชาติเกี่ยวกับภูมิอากาศ" (UN Climate Summit) เพื่อประกาศการกระทำที่ชัดเจนเพื่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในปี 2558[15]
เมื่อปลายปี 2557 บลูมเบอร์ก พันกี-มุน และเครือข่ายเมืองทั่วโลกรวมทั้ง ICLEI-Local Governments for Sustainability (ICLEI), C40 Cities Climate Leadership Group (C40), และ United Cities and Local Governments (UCLG) โดยได้การสนับสนุนจาก UN-Habitat ได้เริ่มโครงการ Compact of Mayors ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างผู้ว่า/นายกเทศมนตรีและเจ้าหน้าที่เทศบาลอื่น ๆ โดยสัญญาว่าจะลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกจากเมือง เพิ่มมาตรการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และติดตามผลอย่างโปร่งใส[16] จนถึงปลายปี 2558 มีเมืองกว่า 250 เมืองโดยมีประชากรรวม 300 ล้านคนเป็นอัตรา 4.1% ของคนทั่วโลก ได้สัญญาทำตามเป้าหมายขององค์กร[17] ซึ่งต่อมารวมเข้ากับโครงการ Covenant of Mayors ในเดือนมิถุนายน 2559[18][19]
วันที่ 30 มิถุนายน 2558 บลูมเบอร์กและผู้ว่านครปารีสได้ประกาศร่วมกันเรื่องการจัดประชุมสุดยอดสำหรับผู้นำท้องถิ่น ซึ่งทำเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2558[20] โดยมีผู้นำเทศบาลเป็นร้อย ๆ ท่านทั่วโลกมาประชุมกันที่ศาลาเทศบาลนครปารีส[21][22] ซึ่งเป็นประชุมใหญ่ที่สุดที่เคยมีของผู้นำท้องถิ่นเพื่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[23] ประชุมได้จบลงด้วยการเสนอปฏิญญาปารีส (Paris Declaration) ซึ่งเป็นสัญญาจากผู้นำที่มาประชุมเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนแต่ละปีโดย 3,700 ล้านตันภายในปี 2573[24]
ระหว่างการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558 ในนครปารีส ผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติอังกฤษได้ประกาศว่า บลูมเบอร์กจะเป็นหัวหน้าคณะทำงานเฉพาะกิจสากล ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยอุตสาหกรรมและตลาดการเงิน ให้เข้าใจความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ[25]
บลูมเบอร์กและอดีตกรรมการบริหารของ Sierra Club ผู้หนึ่ง ได้ร่วมเขียนหนังสือเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศชื่อว่า "Climate of Hope: How Cities, Businesses, and Citizens Can Save the Planet (ภูมิอากาศแห่งความหวัง - เมือง ธุรกิจ และประชาชนจะสามารถช่วยชีวิตโลกได้อย่างไร)"[26][27] ซึ่งวางตลาดเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2560 และได้ปรากฏบนรายการหนังสือปกแข็งขายดีที่สุดของเดอะนิวยอร์กไทมส์[28]
หลังจากการประกาศว่า รัฐบาลสหรัฐจะถอนตัวจากความตกลงปารีส บลูมเบอร์กก็ได้ประกาศว่า เมือง รัฐ มหาวิทยาลัย และธุรกิจต่าง ๆ ได้ร่วมใจกันทำตามข้อตกลงของอเมริกาในความตกลงปารีสโดยผ่านโครงการ America's Pledge (สัญญาของอเมริกา)[29] และโดยผ่านองค์กร Bloomberg Philanthropies เขาจะให้ "ถึง 15 ล้านเหรียญสหรัฐ (487.5 ล้านบาท) เพื่อสนับสนุนองค์กรของสหประชาชาติที่ช่วยประเทศต่าง ๆ ดำเนินการตามความตกลง"[30][31]
ต่อจากนั้นอีกหนึ่งเดือน บลูมเบอร์กและผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนียได้ประกาศว่า ผู้ร่วมโครงการ America's Pledge จะทำงาน "เพื่อกำหนดเป้าหมายโดยจำนวนซึ่งการดำเนินการของรัฐ เมือง และธุรกิจในสหรัฐ เพื่อลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก ให้สมควรกับเป้าหมายของความตกลงปารีส"[32][33] เมื่อประกาศโครงการริเริ่มนี้ บลูมเบอร์กได้กล่าวไว้ว่า "รัฐบาลสหรัฐอาจจะถอนตัวจากความตกลงปารีส แต่ชนอเมริกันยังยืนหยัดเพื่อมัน"[34]
องค์กร Think tank สององค์กร คือ World Resources Institute และ Rocky Mountain Institute จะทำงานร่วมกับ America's Pledge เพื่อวิเคราะห์การดำเนินการของเมือง รัฐ และธุรกิจเพื่อให้ถึงเป้าหมายสัญญาของสหรัฐต่อความตกลงปารีส[35]
การสร้างและพัฒนาผู้นำ
[แก้]ในวันที่ 25 สิงหาคม 2559 Bloomberg Philanthropies และมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ประกาศการจัดตั้งโครงการริเริ่ม Bloomberg Harvard City Leadership Initiative[36] โดยได้เงินทุน 32 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,040 ล้านบาท) จากบลูมเบอร์ก โครงการจะจัดประชุมนายกเทศมนตรีถึง 300 ท่านบวกกับเจ้าหน้าที่เทศบาลอีก 400 คนทั่วโลกในอีก 4 ปีข้างหน้า เป็นโปรแกรมฝึกผู้บริหารโดยเล็งเพิ่มประสิทธิผลของการบริหารรัฐกิจและการสร้างนวัตกรรมการปกครองในระดับเมือง[37]
บลูมเบอร์กได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมธุรกิจโลกในวันที่ 20 กันยายน 2560 ซึ่งจัดในระหว่างการประชุมประจำปีของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และมีองค์ประชุมทั้งเป็นประธานกรรมการบริษัทข้ามชาติและประมุขของประเทศต่าง ๆ[38] งานประชุม "จัดในที่พิเศษซึ่งงานประชุมประจำปี Clinton Global Initiative เคยจัด" โดยอดีตประธานาธิบดีสหรัฐ บิล คลินตัน ได้เป็นผู้ให้ปาฐกถาเป็นบุคคลแรก[39][40] จุดประสงค์ของงานนี้ก็เพื่อปรึกษาเรื่อง "โอกาสเพื่อพัฒนาการค้าและเศรษฐกิจ และปัญหาทางสังคมที่เกี่ยวข้องกัน..."[40] นอกจากคลินตันและบลูมเบอร์ก วิทยากรท่านอื่น ๆ รวมทั้งผู้ร่วมจัดตั้งไมโครซอฟท์และนักการกุศลบิล เกตส์ ประธานบริหารบริษัทแอปเปิลทิม คุก ผู้ว่าการธนาคารโลก Jim Yong Kim ผู้ว่าการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ คริสตีน ลาการ์ด นายกรัฐมนตรีแคนาดา จัสติน ทรูโด และประธานาธิบดีฝรั่งเศส แอมานุแอล มาครง[41][38]
การอื่น ๆ
[แก้]ตามโพรไฟล์ของบลูมเบอร์กในนิตยสาร Fast Company มูลนิธิการกุศลของเขาคือ Bloomberg Philanthropies เพ่งความสนใจในเรื่อง 5 เรื่อง คือ สาธารณสุข ศิลปะ นวัตกรรมการปกครอง สิ่งแวดล้อม และการศึกษา[42] ส่วนตามนิตยสารองค์กรไม่หวังผลกำไร Chronicle of Philanthropy บลูมเบอร์กเป็นนักการกุศลที่ให้มากที่สุดเป็นอันดับสามของอเมริกาในปี 2558[43] ผ่านมูลนิธิของเขา เขาได้บริจาคหรือสัญญาว่าจะบริจาค 240 ล้านเหรียญสหรัฐปี 2548, 60 ล้านปี 2549, 47 ล้านปี 2550, 150 ล้านปี 2551, 332 ล้านปี 2552, 311 ล้านปี 2553, และ 510 ล้านปี 2554 (รวม 1,650 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 53,625 ล้านบาท)[43][44]
ผู้รับบริจาคปี 2554 รวม Campaign for Tobacco-Free Kids (การรณรงค์เพื่อเยาวชนไร้บุหรี่) Centers for Disease Control and Prevention (ศูนย์เพื่อควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐ) Johns Hopkins Bloomberg School of Public Health (คณะสาธารณสุขบลูมเบอร์กแห่งมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์) มูลนิธิปอดโลก (World Lung Foundation) และองค์การอนามัยโลก
ในปี 2556 มีรายงายว่า บลูมเบอร์กได้บริจาค 109.24 ล้านเหรียญสหรัฐ (3,550 ล้านบาท) เพื่อรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่ในประเทศ 61 ประเทศ[45] ตามหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ บลูมเบอร์กเป็นผู้บริจาคนิรนามคนหนึ่งต่อองค์กรเผยแพร่ความรู้ Carnegie Corporation ในระหว่างปี 2544-2553 ด้วยเงินบริจาคระหว่าง 5-20 ล้านเหรียญต่อปี (162.5-650 ล้านบาท)[46] ส่วน Carnegie Corporation เองก็ได้บริจาคเงินทุนเหล่านี้ไปยังองค์กรในนครนิวยอร์กเป็นร้อย ๆ ตั้งแต่โรงบัลเลต์แห่งฮาเร็ม (Dance Theatre of Harlem) จนถึง Gilda's Club ซึ่งเป็นองค์กรไม่หวังผลกำไรที่ให้การสนับสนุนแก่คนไข้มะเร็งและครอบครัว เขายังสนับสนุนงานศิลป์ผ่านมูลนิธิของเขาด้วย[47]
ในปี 2539 บลูเบอร์กได้มอบทุนแก่โปรแกรม William Henry Bloomberg Professorship ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเป็นจำนวน 3 ล้านเหรียญสหรัฐ (97.5 ล้านบาท) เพื่อยกย่องบิดาของตนผู้เสียชีวิตในปี 2506 โดยกล่าวว่า "ชั่วชีวิตของเขา เขาเข้าใจถึงความสำคัญในการเอื้อมมือช่วยเหลือองค์กรไม่หวังผลกำไร เพื่อช่วยปรับปรุงสวัสดิภาพของทุก ๆ คน"[48] บลูมเบอร์กยังให้ทุนแก่ธรรมศาลาชาวยิวในเมืองที่อยู่ของเขาคือ Temple Shalom ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อให้เกียรติแก่บิดามารดาของเขาคือ William and Charlotte Bloomberg Jewish Community Center of Medford[49]
บลูมเบอร์กรายงานการบริจาค 254 ล้านเหรียญสหรัฐ (8,255 ล้านบาท) ในปี 2552 แก่องค์กรไม่หวังผลกำไรเกือบ 1,400 องค์กรโดยกล่าวว่า "ผมเป็นคนศรัทธาอย่างยิ่งในเรื่องการบริจาคทรัพย์ทั้งหมด และได้กล่าวมาอย่างเสมอ ๆ ว่า การวางแผนทางการเงินที่ดีสุดก็คือการจบลงด้วยการปล่อยให้เช็คเด้งสำหรับสัปเหร่อ"[50] โดยปี 2557 เขาได้บริจาคเงินกว่า 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐ (58,500 ล้านบาท) แก่องค์กรการกุศล 850 องค์กร[51]
ในเดือนกรกฎาคม 2554 บลูมเบอร์กบริจาคทรัพย์ 24 ล้านเหรียญสหรัฐ (780 ล้านบาท) สำหรับโครงการริเริ่ม Innovation Delivery Teams (ทีมส่งมอบนวัตกรรม) โดยเป็นส่วนของจุดประสงค์หลักขององค์กร Bloomberg Philanthropies ซึ่งก็คือ พัฒนาสร้างนวัตกรรมในการปกครองของรัฐบาล[52]
ในเดือนธันวาคม 2554 Bloomberg Philanthropies เริ่มการร่วมมือกับเสิร์ชเอนจินสำหรับตั๋วออนไลน์คือ SeatGeek เพื่อหาผู้ชมใหม่ ๆ ให้แก่ศิลปิน โดยเรียกโครงการว่า Discover New York Arts ซึ่งรวมองค์ต่าง ๆ เช่น HERE, New York Theatre Workshop, และ Kaufman Center[53] ในสมัยสุดท้ายที่เป็นผู้ว่าการนครนิวยอร์ก บลูมเบิร์กได้ตั้งงบประมาณของนครอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อ The Shed ซึ่งเป็นศูนย์ศิลปะใหม่ที่วางแผนว่าจะสร้างทางทิศตะวันตกปลายเขตของแมนฮัตตันที่ Hudson Yards[54] เมื่อสิ้นสมัยแล้ว เขาก็ยังสนับสนุนโครงการนี้ต่อไปด้วยการบริจาคทรัพย์มูลค่า 75 ล้านเหรียญสหรัฐ (2,438 ล้านบาท)[55] ศูนย์ "จะมีการแสดง คอนเสิร์ต ทัศนศิลป์ ดนตรี และกิจกรรมอื่น ๆ"[56]
ในวันที่ 22 มีนาคม 2555 บลูมเบอร์กได้ประกาศว่ามูลนิธิของเขาสัญญาว่าจะบริจาค 220 ล้านเหรียญสหรัฐ (7,150 ล้านบาท) ในช่วงเวลาอีก 4 ปีเพื่อต่อต้านการสูบบุหรี่ทั่วโลก[57]
บลูมเบอร์กได้บริจาคทรัพย์ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ (6,500 ล้านบาท) เพื่อสร้างอาคารต่าง ๆ ที่โรงพยาบาลจอนส์ฮอปกินส์ ซึ่งเป็น รพ. สอนแพทย์และเป็นศูนย์วิจัยชีวเวช ของคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยจอนส์ออปกิสน์ อาคารรวมทั้งศูนย์เด็ก Charlotte R. Bloomberg Children's Center[51] ในเดือนมกราคม 2556 มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ได้ประกาศว่า ด้วยการบริจาคอีก 350 ล้านเหรียญสหรัฐ (11,375 ล้านบาท) เงินบริจาคที่บลูมเบอร์กมอบให้ในฐานะศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยได้เกิน 1,100 ล้านเหรียญสหรัฐ (35,750 ล้านบาท) แล้ว เขาเริ่มบริจาคให้มหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรกเมื่อ 48 ปีก่อนเป็นจำนวน 5 เหรียญ[58] ทรัพย์ 5 ส่วนใน 7 ส่วนของ 350 ล้านเหรียญจะลงให้แก่โปรแกรม Bloomberg Distinguished Professorships โดยเป็นเงินทุนสำหรับศาสตราจารย์ดีเด่น 50 ท่าน ที่ชำนาญพิเศษข้ามหลายสาขาวิชา[59]
ในเดือนกันยายน 2559 ในงานครบร้อยปีของคณะสาธารสุขของมหาวิทยาลัย Bloomberg Philanthropies ได้มอบทรัพย์ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ (9,750 ล้านบาท) เพื่อตั้งโครงการ Bloomberg American Health Initiative รวมการบริจาคให้แก่มหาวิทยาลัยทั้งหมดเป็น 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ (48,750 ล้านบาท)[60] ในวันที่ 29 มีนาคม 2559 บลูมเบอร์กร่วมกับรองประธานาธิบดีสหรัฐ ณ มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ได้ประกาศสร้าง Bloomberg-Kimmel Institute for Cancer Immunotherapy สำหรับคณะแพทย์ในบอลทิมอร์ด้านตะวันออก[61][62] ซึ่งเริ่มต้นด้วยการบริจาค 50 ล้านเหรียญ (1,625 ล้านบาท) จากบลูมเบอร์ก 50 ล้านเหรียญจากนักการกุศล Sidney Kimmel และ 25 ล้านเหรียญจากผู้บริจาคอื่น ๆ[63] ให้เพื่อเป็นศูนย์วิจัยการบำบัดมะเร็ง เพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ และเพื่อการร่วมมือกันระหว่างองค์กรเอกชนต่าง ๆ[64] สถาบันนี้มีจุดประสงค์เหมือนกับโครงการของรองประธานาธิบดี ซึ่งก็คือการหาวิธีรักษามะเร็งผ่านการร่วมมือกันระหว่างองค์กรต่าง ๆ ของทั้งรัฐบาลและเอกชน[61]
บลูมเบอร์กเป็นเป็นผู้ก่อตั้งโครงการ Everytown for Gun Safety (เมืองทุกเมืองเพื่อความปลอดภัยจากปืน) ซึ่งเป็นกลุ่มที่สนับสนุนให้ควบคุมอาวุธปืน
ในวันที่ 17 สิงหาคม 2559 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แต่งตั้งบลูมเบอร์กให้เป็นทูตโลกในเรื่องโรคไม่ติดต่อ (Global Ambassador for Noncommunicable Diseases)[65] ในบทบาทนี้ บลูมเบอร์กจะระดมกำลังของทั้งฝ่ายเอกชนและผู้นำทางการเมืองเพื่อช่วย WHO ลดจำนวนผู้เสียชีวิตเนื่องจากโรคที่ป้องกันได้ อุบัติเหตุรถยนต์ การสูบบุหรี่ โรคอ้วน และการดื่มเหล้า เมื่อประกาศการแต่งตั้งเขา ผู้อำนวยการของ WHO ได้อ้างการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของบลูมเบอร์กเพื่อโครงการต่อต้านการสูบบุหรี่ขององค์กร เพื่อป้องกันการจมน้ำ และเพื่อโปรแกรมความปลอดภัยในถนน[66][67]
ในพิธีที่จัดในวันที่ 18 ตุลาคม 2559 พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์บอสตันได้ประกาศการได้รับบริจาค 50 ล้านเหรียญ (1,625 ล้านบาท) จากบลูมเบอร์ก[68] โดยเป็นการบริจาคครั้งที่ 4 ให้กับพิพิธภัณฑ์ ซึ่งบลูมเบอร์กได้ยกย่องว่าช่วยสร้างความคิดจินตนาการเมื่อครั้งเป็นนักเรียนเมื่อเขาได้มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์[69] ทุนนี้จะสนับสนุนแผนกให้การศึกษาและเปลี่ยนชื่ออาคารเป็น William and Charlotte Bloomberg Science Education Center เพื่อยกย่องบิดามารดาของเขา โดยเป็นเงินบริจาคมากที่สุดในประวัติ 186 ปีของพิพิธภัณฑ์[70]
ในวันที่ 5 ธันวาคม 2559 Bloomberg Philanthropies ได้กลายเป็นผู้บริจาคเพื่อการต่อต้านการสูบบุหรี่มากที่สุดในประเทศกำลังพัฒนา องค์กรได้ประกาศว่าจะให้ทรัพย์อีก 360 ล้านเหรียญ (11,700 ล้านเหรียญ) นอกเหนือจากที่ตั้งใจไว้ก่อนแล้ว โดยรวมเป็นทรัพย์ที่บริจาคหรือตั้งใจบริจาคทั้งหมด 1,000 ล้านเหรียญ (32,500 ล้านบาท) เงินก้อนใหม่นี้จะช่วยขยายงานที่มีอยู่แล้ว เช่น ชักนำให้ประเทศต่าง ๆ ตรวจตราการสูบบุหรี่ ออกกฎหมา��ที่เข้มงวดเพื่อควบคุม และรณรงค์ทางสื่อมวลชนเพื่อให้การศึกษาแก่สาธารชนเกี่ยวกับอัตรายของ บุหรี่ เป็นโปรแกรมที่ทำในประเทศ 110 ประเทศ รวมทั้งจีน อินเดีย อินโดนีเซีย บังกลาเทศ[71] และประเทศไทย[72]
เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Michael Bloomberg". Forbes (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-07-31.
- ↑ "About Mike Bloomberg". mikebloomberg.com. 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 12, 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-07-31.
- ↑ Banjo, Shelly (August 5, 2010). "Mayor Pledges Wealth". Wall Street Journal. ISSN 0099-9660. สืบค้นเมื่อ 2017-04-22.
- ↑ Torres, Christian; Eilperin, Juliet (July 20, 2011). "N.Y. Mayor Bloomberg gives $50 million to fight coal-fired power plants". The Washington Post. ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 2015-11-10.
- ↑ Shogren, Elizabeth. "Mayor Bloomberg Donates $50 Million To Sierra Club". NPR. สืบค้นเมื่อ 2015-11-10.
- ↑ "Michael Bloomberg's war on coal". POLITICO. สืบค้นเมื่อ 2015-11-10.
- ↑ Navarro, Mireya (August 24, 2012). "Bloomberg Backs Fracking, With Rules to Protect the Environment". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2015-11-11.
- ↑ Mundy, Alicia. "'Risky Business' Report Aims to Frame Climate Change as Economic Issue". Wall Street Journal. ISSN 0099-9660. สืบค้นเมื่อ 2015-11-11.
- ↑ "States Get $48M Boost From Bloomberg Charity To Help Meet Obama Climate Change Agenda". International Business Times. สืบค้นเมื่อ 2015-11-11.
- ↑ "History of the C40". C40 Cities. c40.org. สืบค้นเมื่อ 2015-11-11.
- ↑ Barbaro, Michael (April 13, 2011). "Bloomberg and Bill Clinton to Merge Climate Groups". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2015-11-11.
- ↑ Andrews, Jonathan (February 18, 2014). "Interview: Michael Bloomberg, Outgoing Chair and Current President C40 Cities". Cities Today. สืบค้นเมื่อ 2015-11-11.
- ↑ "Bloomberg Philanthropies Commits $53 Million to Save the Oceans". The Hollywood Reporter. 2014-01-29. สืบค้นเมื่อ 2015-11-11.
- ↑ "U.N. appoints former NYC Mayor Bloomberg cities, climate change envoy". Reuters. 2014-01-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 27, 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-11-10.
- ↑ Taylor, Adam (September 22, 2014). "U.N. climate summit is high-profile, but some of world's most important leaders will skip it". The Washington Post. ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 2015-11-10.
- ↑ "C40: About the Compact of Mayors". c40.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 2, 2015. สืบค้นเมื่อ 2015-11-10.
- ↑ "News Archives - Compact of Mayors". Compact of Mayors. สืบค้นเมื่อ 2015-11-10.
- ↑ "Compact of Mayors and EU Covenant of Mayors launch largest global coalition of cities committed to fighting climate change". National Geographic Society (blogs). nationalgeographic.com. June 22, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 23, 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-07-21.
- ↑ "7,100 Cities From 119 Countries Join Together in Historic Collaboration to Accelerate Climate Action". EcoWatch. สืบค้นเมื่อ 2016-07-21.
- ↑ "Local-governments day announced for Paris climate summit | Citiscope". citiscope.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-11. สืบค้นเมื่อ 2015-11-10.
- ↑ Stothard, Michael (December 4, 2015). "Mayors call for more powers to fight climate change". Financial Times. ISSN 0307-1766. สืบค้นเมื่อ 2016-03-17.
- ↑ Section, United Nations News Service (December 4, 2015). "UN News - COP21: in Paris, mayors and celebrities join UN launch of report on boosting investment towards climate smart cities". UN News Service Section. สืบค้นเมื่อ 2016-03-17.
- ↑ "Extending local-level climate action beyond '30-ring circus' of COP 21". citiscope.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-23. สืบค้นเมื่อ 2016-03-17.
- ↑ "With Paris City Hall Declaration, world mayors throw down gauntlet on climate". citiscope.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-23. สืบค้นเมื่อ 2016-03-17.
- ↑ Elliott, Larry (December 4, 2015). "Michael Bloomberg to head global taskforce on climate change". สืบค้นเมื่อ 2015-12-12 – โดยทาง TheGuardian.com.
- ↑ "Climate of Hope by Michael Bloomberg". St. Martin's Press.
- ↑ Intelligencer, Daily. "An Exclusive Look at Michael Bloomberg and Carl Pope's Book on Climate Change". Daily Intelligencer. สืบค้นเมื่อ 2016-12-23.
- ↑ "Hardcover Nonfiction Books - Best Sellers - May 14, 2017 - The New York Times". สืบค้นเมื่อ 2017-08-09.
- ↑ "Bloomberg delivers U.S. pledge to continue Paris climate goals to U.N." Reuters. June 5, 2017. สืบค้นเมื่อ 2017-08-18.
- ↑ "Bloomberg Promises $15 Million To Help Make Up For U.S. Withdrawal From Climate Deal". NPR.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-08-18.
- ↑ Tabuchi, Hiroko; Fountain, Henry (June 1, 2017). "Bucking Trump, These Cities, States and Companies Commit to Paris Accord". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2017-08-18.
- ↑ "America's Pledge on Climate Change". Americas Pledge On Climate (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2017-08-18.
- ↑ Cam, Deniz. "Michael Bloomberg and California Governor Jerry Brown Pledge To Fight Climate Change". Forbes (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-08-18.
- ↑ "The governor of California and Michael Bloomberg launched a new plan to fight climate change — with or without Trump". Business Insider (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-08-18.
- ↑ Tabuchi, Hiroko; Friedman, Lisa (July 11, 2017). "U.S. Cities, States and Businesses Pledge to Measure Emissions". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2017-08-18.
- ↑ "Bloomberg Philanthropies and Harvard University Launch Bloomberg Harvard City Leadership Initiative - News - Harvard Business School". www.hbs.edu. สืบค้นเมื่อ 2016-09-27.
- ↑ Beck, Christina (August 25, 2016). "$32 million Bloomberg-Harvard 'mayor school' supports leaders' changing role". Christian Science Monitor. ISSN 0882-7729. สืบค้นเมื่อ 2016-09-27.
- ↑ 38.0 38.1 Goldmacher, Shane (September 19, 2017). "As the Clintons Step Back From Global Stage, Bloomberg Steps Up". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2017-10-18.
- ↑ "The US Government-In-Exile Has A New President". BuzzFeed (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-10-18.
- ↑ 40.0 40.1 "Michael Bloomberg is the new Clinton". Axios (ภาษาอังกฤษ). August 21, 2017. สืบค้นเมื่อ 2017-10-18.
- ↑ Stewart, Emily (September 20, 2017). "Bloomberg Claps Back at Trump at Inaugural Business Forum". TheStreet (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2017-10-18.
- ↑ "What's Next For Michael Bloomberg". Fast Company. August 8, 2011.
- ↑ 43.0 43.1 "Conservative Billionaire Richard Scaife Tops List of 50 Biggest Donors". The Chronicle of Philanthropy. สืบค้นเมื่อ 2016-02-11.
- ↑ "No. 5: Michael R. Bloomberg". The Chronicle of Philanthropy. February 6, 2012.
- ↑ "Michael Bloomberg". Forbes. September 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-02-05.
- ↑ "Bloomberg Is Quietly Ending a Charitable Program". The New York Times. March 18, 2010.
- ↑ "Bloomberg Family Foundation to Support Arts". The New York Times. February 15, 2011.
- ↑ "Bloomberg Endows Professorship for Five Faculties". The Harvard University Gazette. September 19, 1996.
throughout his life, he recognized the importance of reaching out to the nonprofit sector to help better the welfare of the entire community.
- ↑ "Bloomberg — America's first Jewish president". MSNBC. July 6, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 6, 2012. สืบค้นเมื่อ 2017-12-27.
- ↑ Campbell, Dakin (June 17, 2010). "Broad, Bloomberg Back Buffett Call for Billionaire Donations". Bloomberg.
I am a big believer in giving it all away and have always said that the best financial planning ends with bouncing the check to the undertaker.
- ↑ 51.0 51.1 "Michael Bloomberg Net Worth". TheRichest. February 14, 1942. สืบค้นเมื่อ 2014-04-20.
- ↑ "Mayor's Innovation Delivery Team to funnel grant for inner-city revival". The Commercial Appeal. Memphis, TN. 2012-01-06.
- ↑ "SeatGeek and Bloomberg to support 30 treasured arts groups in NYC". The Next Web. December 8, 2011.
- ↑ Kim, Jeanhee. "The Shed at Hudson Yards event is like a Bloomberg-era reunion". Crain's New York Business. สืบค้นเมื่อ 2017-08-09.
- ↑ "Michael R. Bloomberg Donates $75 Million to New NYC Arts Center, The Shed| Playbill". Playbill (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-08-09.
- ↑ Pogrebin, Robin (May 24, 2017). "Michael Bloomberg Gives $75 Million to Shed Arts Center". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2017-08-09.
- ↑ "Bloomberg charity adds $220 million to anti-smoking effort". Reuters. March 22, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 21, 2015. สืบค้นเมื่อ 2017-12-27.
- ↑ "$1.1 Billion in Thanks From Bloomberg to Johns Hopkins". The New York Times. 2013-01-27.
- ↑ "Michael R. Bloomberg Commits $350 Million to Johns Hopkins for Transformational Academic Initiative 2013". 2013-01-26.
- ↑ "Michael Bloomberg Gives $300 Million to Johns Hopkins for Public-Health Effort". The Wall Street Journal. September 15, 2016.
- ↑ 61.0 61.1 "Bloomberg and Kimmel Help Launch Johns Hopkins Cancer Center With Major Donations". Fortune. สืบค้นเมื่อ 2016-04-15.
- ↑ "Mike Bloomberg and others donate $125 million for breakthrough cancer research". FastCo News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 20, 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-04-15.
- ↑ "Bloomberg, others give $125 million for immunotherapy cancer research". Reuters. March 29, 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-04-15.
- ↑ "Johns Hopkins launches cancer research center with $125 million from Bloomberg, Kimmel, others". The Hub. สืบค้นเมื่อ 2016-04-15.
- ↑ "Michael R. Bloomberg Becomes WHO Global Ambassador for Noncommunicable Diseases". World Health Organization (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2016-09-27.
- ↑ "Michael Bloomberg Joins U.N. Agency as Health Ambassador". August 18, 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-09-27.
- ↑ "Bloomberg becomes global health ambassador". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 1, 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-09-27.
- ↑ Barone, Joshua (October 18, 2016). "Michael Bloomberg Gives $50 Million to Museum of Science, Boston". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2016-11-04.
- ↑ "Michael Bloomberg Donates $50M to Boston Museum of Science". The Forward. สืบค้นเมื่อ 2016-11-04.
- ↑ "Museum of Science changed Michael Bloomberg's life. He gives back with a $50 million gift". BostonGlobe.com. สืบค้นเมื่อ 2016-10-18.
- ↑ "Michael Bloomberg may be Big Tobacco's biggest enemy". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2016-12-06.
- ↑ "Tobacco control in Thailand". WHO - Tobacco Free Initiative. November 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 27, 2017.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Brash, Julian. Bloomberg's New York: Class and Governance in the Luxury City (University of Georgia Press; 2010) 344 pages. Uses anthropology and geography to examine the mayor's corporate-style governance, with particular attention to the Hudson Yards plan, which aims to transform the far West Side into a high-end district.
- Brash, Julian. "The ghost in the machine: the neoliberal urban visions of Michael Bloomberg." Journal of Cultural Geography 29.2 (2012) : 135-153.
- David, Greg. Modern New York: The Life and Economics of a City (2012).
- Klein, Richard. "Nanny Bloomberg." Society 51.3 (2014) : 253-257, Regarding the "nanny state"
- Purnick, Joyce. Mike Bloomberg: Money, Power, Politics (2009)
- Mayor website
- เว็บไซต์ทางการ
- Michael Bloomberg, City Mayors' Mayor of the Month for August 2012
- Profile at Bloomberg Businessweek
- #23 Michael Bloomberg at Forbes list of 2010 world's billionaires
- ข้อมูลการออกสื่อ บน ซี-สแปน
- ไมเคิล บลูมเบอร์ก ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
- Issue positions and quotes at On The Issues
- งานโดยหรือเกี่ยวกับ ไมเคิล บลูมเบอร์ก ในห้องสมุดต่าง ๆ ในแคตาลอกของเวิลด์แคต
- Michael Bloomberg เก็บถาวร 4 มิถุนายน 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน collected news and commentary at the New York Daily News
- Michael Bloomberg collected news and commentary at Newsday
- Biography at the Encyclopædia Britannica
ก่อนหน้า | ไมเคิล บลูมเบอร์ก | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
วาระในพรรคการเมือง | ||||
สมัยก่อนหน้า Rudy Giuliani |
Republican nominee for Mayor of New York City 2001, New York City mayoral election, 2005 |
สมัยต่อมา Joe Lhota | ||
ตำแหน่งทางการเมือง | ||||
สมัยก่อนหน้า Rudy Giuliani |
Mayor of New York City 2002-2013 |
สมัยต่อมา Bill de Blasio |
- ไมเคิล บลูมเบอร์ก
- นักธุรกิจชาวอเมริกัน
- ผู้บริหารธุรกิจชาวอเมริกัน
- ผู้ก่อตั้งบริษัทชาวอเมริกัน
- นายกเทศมนตรีนครนิวยอร์ก
- บุคคลที่เกิดในคริสต์ทศวรรษ 1940
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักบินชาวอเมริกัน
- นักเขียนชาวอเมริกัน
- เศรษฐีชาวอเมริกัน
- ชาวอเมริกันเชื้อสายยิว
- ชาวอเมริกันเชื้อสายรัสเซีย
- ผู้สัญญาว่าจะให้
- นักการกุศลชาวอเมริกัน
- นักธุรกิจซอฟต์แวร์
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์