รายงานเฮิร์ช
รายงานเฮิร์ช (อังกฤษ: Hirsch report) เป็นชื่อที่ใช้โดยสามัญสำหรับรายงาน Peaking of World Oil Production: Impacts, Mitigation, and Risk Management (จุดสูงสุดของการผลิตน้ำมันโลก ผล การบรรเทา และการจัดการความเสี่ยง) ที่ทำขึ้นตามคำสั่งของกระทรวงพลังงานสหรัฐอเมริกา แล้วเผยแพร่ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005[1] แล้วปรับปรุงข้อมูลในปี ค.ศ. 2007[2] ซึ่งตรวจสอบกรอบเวลาของเหตุการณ์จุดผลิตน้ำมันสูงสุด (peak oil) ที่จะเกิดขึ้น มาตรการที่จำเป็นเพื่อใช้บรรเทา และผลที่น่าจะเกิดขึ้นเพราะมาตรการเหล่านั้น
สาระ
[แก้]จุดผลิตน้ำมันสูงสุดของโลก จะทำให้สหรัฐอเมริกาและโลก ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาการจัดการความเสี่ยง ในระดับความรุนแรงที่ไม่เคยมีมาก่อน" เมื่อจุดสูงสุดใกล้เข้ามา ทั้งราคาและความผันผวนของราคาน้ำมันจะเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ และถ้าไม่บรรเทาความเสียหายอย่างทันท่วงเวลา จะเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางการเมือง ในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน มาตรการบรรเทาความเสียหายที่เป็นไปได้ มีทั้งในส่วนอุปสงค์และอุปทาน แต่ถ้าจะมีผลที่เป็นรูปธรรม จะต้องเริ่มดำเนินการก่อนหนึ่งทศวรรษ ที่จุดสูงสุดจะเกิดขึ้น
ผู้เขียนนำของรายงานนี้ คือ รอเบิรต์ เฮิร์ช เผยแพร่ใจความสำคัญของรายงานนี้ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2005 ในนามขององค์กร Atlantic Council[3]
การพยากรณ์
[แก้]ตารางต่อไปนี้ แสดงกรอบเวลาการเกิดขึ้นของจุดผลิตน้ำมันสูงสุด ที่พยากรณ์โดยนักธรณีวิทยาปิโตรเลียม นักวิทยาศาสตร์ และนักเศรษฐศาสตร์ ที่เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมน้ำมัน ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 2010 เฮิร์ชเองก็พยากรณ์ว่า การผลิตน้ำมันของโลกจะเริ่มลดลงโดยปี ค.ศ. 2015[4]
ปี ค.ศ. ที่พยากรณ์ | ต้นกำเนิด |
---|---|
2006-2007 | Ali Samsam Bakhtiari (ผู้เ���ี่ยวชาญอาวุโสของบริษัทน้ำมันอิหร่าน) |
2007-2009 | Matthew Simmons (ประธานบริษัทลงทุนทางพลังงาน) |
หลัง 2007 | Chris Skrebowski (ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมน้ำมัน) |
ก่อน 2009 | Kenneth S. Deffeyes (นักธรณีวิทยาปิโตรเลียม) |
ก่อน 2010 | David Goodstein (ศาสตราจารย์ฟิสิกส์ที่แคลเทค) |
ใกล้ 2010 | Colin Campbell (นักธรณีวิทยาปิโตรเลียม) |
หลัง 2010 | World Energy Council (คณะทำงานเพื่อการใช้พลังงานที่ยั่งยืน) |
2010-2020 | Jean Laherrère (วิศวกรปิโตรเลียม) |
2016 | EIA (Nominal) (รัฐบาลกลางสหรัฐ) |
หลัง 2020 | CERA (บริษัทปรึกษาทางพลังงาน) |
2025 หรือหลังจากนั้น | บริษัทเชลล์ |
การบรรเทา
[แก้]โดยสมมุติว่า ระบบการบริการ/การทำงานต่าง ๆ ที่มีอยู่ จะต้องดำเนินต่อไป รายงานพิจารณายุทธวิธีการบรรเทาต่อไปนี้ ว่าเป็นส่วนของโปรแกรมเร่งด่วน (crash program)
- การขนส่งประหยัดพลังงาน
- น้ำมันหนัก/ทรายน้ำมัน
- การแปลงถ่านหินให้เป็นเชื้อเพลิงเหลว
- การขุดเจาะน้ำมันที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
- การแปลงแก๊สธรรมชาติให้เป็นเชื้อเพลิงเหลว
ข้อสรุป
[แก้]รายงานมีข้อสรุปดังต่อไปนี้
- จุดผลิตน้ำมันสูงสุดของโลกจะเกิดขึ้น และน่าจะเกิดอย่างกระทันหัน
- การผลิตน้ำมันจากแหล่งสามัญจะถึงจุดสูงสุด แล้วจะลดลงหลังจากนั้น
- มีบางคนที่พยากรณ์ว่าจะเกิดขึ้นภายในทศวรรษ แต่บางคนว่าจะเกิดภายหลัง
- จะมีการถึงจุดสูงสุด แต่ว่า กรอบเวลายังไม่แน่นอน
- เหตุการณ์จุดผลิตน้ำมันสูงสุด จะมีผลต่อเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะของสหรัฐอเมริกา
- ในศตวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจสหรัฐ ดีขึ้นและแย่ลงตามน้ำมันที่มีในราคาถูก
- การสูญเสียทางเศรษฐกิจของสหรัฐ อาจจะอยู่ในระดับล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงที่เฉียบขาด และการผลิตเชื้อเพลิงทางเลือก จะช่วยในการบรรเทาพอสมควร
- จุดผลิตน้ำมันสูงสุด จะเป็นเรื่องท้าทายที่ไม่เหมือนปัญหาอื่น
- ถ้าไม่มีมาตรการบรรเทาที่กว้างขวางใหญ่โต ปัญหาจะเป็นแบบทั่วระบบและจะเป็นปัญหาระยะยาว
- การเปลี่ยนการใช้พลังงานในสมัยก่อน ๆ (จากไม้ไปสู่ถ่านหิน จากถ่านหินไปสู่น้ำมัน) เป็นเหตุการณ์ค่อยเป็นค่อยไป เป็นไปแบบวิวัฒนาการ
- จุดผลิตน้ำมันสูงสุด จะเป็นเรื่องฉับพลัน จะเป็นไปแบบปฏิวัติ
- ปัญหาก็คือเชื้อเพลิงเหลวเพื่อการขนส่ง
- อายุใช้งานของอุปกรณ์การขนส่ง วัดเป็นเวลาทศวรรษ ๆ
- การเปลี่ยนอุปกรณ์การขนส่งอย่างรวดเร็วเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้
- ยานพาหนะยนต์ เครื่องบิน รถไฟ และเรือ ยังไม่พร้อมที่จะใช้พลังงานอย่างอื่นนอกจากเชื้อเพลิงเหลว
- มาตรการบรรเทาจะต้องใช้เวลาพอสมควร
- ถ้าไม่เริ่มมาตรการบรรเทาจนกระทั่งถึงจุดผลิตสูงสุด โลกจะขาดแคลนเชื้อเพลิงเหลวเป็นเวลานานถึง 20 ปี
- การเริ่มโปรแกรมเร่งด่วน 10 ปีก่อนจะถึงจุดสูงสุด จะทำให้ขาดแคลนเชื้อเพลิงเหลวเป็นเวลา 10 ปี
- การเริ่มโปรแกรมเร่งด่วน 20 ปีก่อนจะถึงจุดสูงสุด อาจจะทำให้ไม่ขาดแคลนเลย
- มาตรการบรรเทาต้องทำทั้งด้านอุปสงค์ (demand) และอุปทาน (supply)
- น้ำมันราคาสูงต่อเนื่องกัน จะลดอุปสงค์ (ก่อให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยและการว่างงาน)
- การผลิตเชื้อเพลิงเหลวทางเลือกเป็นจำนวนสามารถทำได้ และจะต้องทำ
- การผลิตเชื้อเพลิงเหลวทางเลือก มีเทคโนโลยีที่ทำได้ และเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ
- เป็นเรื่องการจัดการความเสี่ยง
- จุดผลิตน้ำมันสูงสุดของโลก เป็นปัญหาการจัดการความเสี่ยงแบบคลาสสิก
- มาตรการบรรเทาที่ทำก่อนที่จะต้องทำ อาจจะเกิดขึ้น ถ้าการถึงจุดสูงสุดล่าช้าออกไป
- แต่ถ้าการถึงจุดสูงสุดเร็วกว่าที่คาด การไม่มีมาตรการบรรเทาจะทำให้เกิดความเสียหายอย่างยิ่ง
- การแทรกแซงของรัฐบาลเป็นเรื่องจำเป็น
- ไม่เช่นนั้นแล้ว ผลทางเศรษฐกิจและสังคมของจุดผลิตน้ำมันสูงสุด อาจจะทำให้เกิดความวุ่นวายมาก
- ความเร่งด่วนอาจจะต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลง ในระบบการบริหารและการควบคุมของรัฐที่มีอยู่
- ปัญหาทางเศรษฐกิจไม่ใช่หลีกเลี่ยงไม่ได้
- แต่ถ้าไม่มีมาตรการบรรเทา จุดผลิตน้ำมันสูงสุดของโลกจะก่อให้เศรษฐกิจเสียหายอย่างรุนแรง
- ถ้ามีเวลาล่วงหน้าพอ ปัญหาสามารถแก้ได้ด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว
- เทคโนโลยีใหม่ ๆ จะช่วยได้ แต่ต้องจะเป็นไปในระยะเวลายาวกว่า
- ต้องหาข้อมูลเพิ่ม
- การแก้ปัญหาจุดผลิตน้ำมันสูงสุดที่มีประสิทธิผล จะต้องอาศัยความเข้าใจปัญหาที่ดีกว่าที่มีในปัจจุบัน
- ต้องตรวจสอบความเสี่ยงและประโยชน์ที่อาจจะมี ของมาตรการบรรเทาที่พอจะทำได้
สถานการณ์ 3 อย่าง
[แก้]- การรอจนกระทั่งถึงจุดสูงสุดของการผลิตน้ำมันโลก ก่อนที่จะเริ่มโปรแกรมเร่งด่วน จะทำให้โลกมีภาวะบกพร่องเชื้อเพลิงมากกว่า 2 ทศวรรษ
- การเริ่มโปรแกรมบรรเทาแบบเร่งด่วน 10 ปีก่อนที่จะถึงจุดสูงสุด จะช่วยได้พอสมควร แต่ก็จะยังมีภาวะบกพร่องเชื้อเพลิงประมาณทศวรรษหนึ่งหลังถึงจุดสูงสุด
- การเริ่มโปรแกรมบรรเทาแบบเร่งด่วน 20 ปีก่อนถึงจุดสูงสุด ���ูเหมือนจะทำให้มีโอกาสหลีกเลี่ยงภาวะบกพร่องเชื้อเพลิง
ความเหมาะสมนอกสหรัฐอเมริกา
[แก้]รายงานเฮิร์ชกระตุ้นให้เริ่มโปรแกรมเร่งด่วนเพื่อสร้างเทคโนโลยีใหม่ ๆ และความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและทัศนคติในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งก็หมายถึงว่าให้มีการวิจัยและพัฒนา เพิ่มขึ้นด้วย โดยอ้างจุดผลิตน้ำมันสูงสุดว่าเป็นเหตุผลหลักที่จะต้องมีมาตรการบรรเทา
ในช่วงที่ราคาน้ำมันเพิ่มอย่างสำคัญระหว่างปี ค.ศ. 2003-2007 หัวข้อที่กล่าวถึงอย่างหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญในวงการก็คือว่า ราคาที่เพิ่มขึ้น เพียงแค่ส่วนหนึ่งเกิดจากการมีน้ำมันดิบที่จำกัด (คือเกิด[[จุดผลิตน้ำมันสูงสุด]]) ยกตัวอย่างเช่น มีเหตุการณ์ไฟไหม้และความบกพร่องอื่น ๆ ในโรงงานกลั่นน้ำมันของสหรัฐในช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 2007 ที่ทำให้อุปทานบกพร่อง[5] แต่ว่า สมรรถภาพบกพร่องในการกลั่นน้ำมัน ควรที่จะอธิบายได้แต่ราคาแก๊สโซลีนที่สูงขึ้น ไม่ใช่ราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้น จริงอย่างนั้น ถ้าไม่มีโรงงานพอที่จะกลั่นน้ำมันดิบที่มี ก็ควรจะมีน้ำมันเกินซึ่งควรจะลดราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก แต่ว่า ราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจเกิดจากความไม่มั่นคงในตลาดหลักทรัพย์ และความวิตกกังวลในความมั่นคงของน้ำมันที่จะมีในอนาคต หรืออาจจะเป็นเพราะนักลงทุนคาดหวังว่า ราคาน้ำมันดิบจะสูงขึ้นเมื่อสมรรถภาพการกลั่นน้ำมันฟื้นคืนสภาพ
ในเรื่องว่าข้อสรุปของรายงานเฮิร์ชตรงกับประเทศอื่น ๆ บ้างแค่ใน ในปี ค.ศ. 2004 สหรัฐอเมริกาบริโภคน้ำมันในอัตรา 26% ของโลก ในขณะที่มีประชากรเพียงแค่ 4.3% ยุโรปบริโภค 11% โดยมีประชากร 6.8% รถทั่ว ๆ ไปในประเทศเยอรมนีใช้น้ำมัน 8.1 ลิตร ต่อ 100 กม. ในขณะที่รถในสหรัฐใช้ 16.2 ลิตร[ต้องการอ้างอิง]
แต่ว่า คำแนะนำของรายงานบางส่วน ได้มีการทำแล้วในยุโรป และทำอย่างไม่ค่อยจริงจังเพราะไม่ค่อยเชื่อถือในเอเชีย[ต้องการอ้างอิง] ความแตกต่างที่เห็นอย่างนี้ความจริงเคยน้อยกว่านี้มากในต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 แต่ว่า ยุโรปได้ปรับตัวได้ดีกว่าหลังจากเกิดเหตุการณ์วิกฤตน้ำมันหลายครั้งหลายครา แล้ววางฐานให้มั่นคงขึ้นด้วยการเก็บภาษีแก๊สโซลีนที่หนักกว่า[ต้องการอ้างอิง] ความแตกต่างอื่น ๆ ระหว่างสหรัฐกับยุโรปรวมทั้ง เทคโนโลยีถนอมพลังงานที่ดีกว่า เทคโนโลยีรถยนต์ที่ดีกว่า และการฉนวนสิ่งปลูกสร้างควบคุมอุณหภูมิแบบไม่ใช้พลังงานที่ดีกว่า[ต้องการอ้างอิง]. นอกจากนั้นแล้ว ยังมีการสร้างและความหนาแน่นของที่อยู่อาศัย การจัดระเบียบชานเมือง การใช้การขนส่งมวลชน และพฤติกรรมผู้บริโภค ที่กำลังแตกต่างเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อีกด้วย[ต้องการอ้างอิง] ดังนั้น คาดว่า วิกฤตจุดผลิตน้ำมันสูงสุดที่ร่างไว้ในรายงาน จะมีผลรุนแรงมากกว่าในสหรัฐอเมริกาเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ ของโลกโดยเฉพาะยุโรป[ต้องการอ้างอิง]
ดูเพิ่ม
[แก้]เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ Hirsch, Robert L.; Bezdek, Roger; Wendling, Robert (February 2005). "Peaking Of World Oil Production: Impacts, Mitigation, & Risk Management" (PDF). Science Applications International Corporation/U.S.Department of Energy, National Energy Technology Laboratory. สืบค้นเมื่อ 2009-11-28.
- ↑ Hirsch, Robert L. (February 2007). "Peaking of World Oil Production: Recent Forecasts" (PDF). Science Applications International Corporation/U.S.Department of Energy, National Energy Technology Laboratory. สืบค้นเมื่อ 2015-02-19.
- ↑ Hirsch, Robert L. (October 2005), สำเนาที่เก็บถาวร (PDF), Atlantic Council, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ August 13, 2012, สืบค้นเมื่อ 2012-10-11
- ↑ Robert Hirsch - Interim Observations. vimeo (ภาพยนตร์).
- ↑ Mouawad, Jad (July 22, 2007). "Record Failures at Oil Refineries Raise Gas Prices". The New York Times.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Hirsch, Robert L.; Bezdek, Roger; Wendling, Robert (February 2005). "Peaking Of World Oil Production: Impacts, Mitigation, & Risk Management" (PDF). Science Applications International Corporation/U.S.Department of Energy, National Energy Technology Laboratory.
- US Govt Sponsored Peak Oil Report Draws Disturbing Conclusions เก็บถาวร 2005-10-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 29. July 2005
- Interview with Robert Hirsch on Peak Oil: "A Significant Period of Discomfort" Allianz Knowledge Site, 20. June 2008
- Where is the Hirsch report เก็บถาวร กรกฎาคม 25, 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by Richard Heinberg
- The Hirsch report in PDF เก็บถาวร กันยายน 8, 2005 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน HTML version เก็บถาวร มีนาคม 28, 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Audio interview: Robert Hirsch on Peak Oil Mitigation เก็บถาวร กรกฎาคม 11, 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Robert Hirsch bio เก็บถาวร ธันวาคม 10, 2005 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Sept 2010 Robert Hirsch Press Release เก็บถาวร เมษายน 7, 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน