ข้ามไปเนื้อหา

อุปสงค์และอุปทาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อุปสงค์)

ในทางเศรษฐศาสตร์ อุปสงค์และอุปทาน (อังกฤษ: demand and supply) เป็นแบบจำลองพื้นฐานที่อธิบายความสัมพันธ์ของผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าในตลาดที่มีการแข่งขัน อุปสงค์ (อังกฤษ: demand) หมายถึง ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการ[1] ในขณะที่อุปทาน (supply) หมายถึง ปริมาณความต้องการเสนอขายสินค้าและบริการ[2] ในแบบจำลองนี้ อุปสงค์และอุปทานเป็นตัวแปรที่กำหนดปริมาณและราคาของสินค้าที่ซื้อขายกันในตลาด[3] โดยตลาดอยู่ในภาวะสมดุลถ้าปริมาณอุปสงค์เท่ากับปริมาณอุปทาน

อุปสงค์อุปทานและจุดดุลยภาพ

[แก้]
แผนภูมิเส้นแสดงอุปสงค์และอุปทานที่พบเห็นทั่วไป ให้แกนตั้งแสดงราคาและแกนนอนแสดงปริมาณสินค้า เส้นอุปสงค์ (สีแดง) มีลักษณะลาดลง ในขณะที่เส้นอุปทาน (สีน้ำเงิน) ชันขึ้น จุดตัดของเส้นอุปสงค์และเส้นอุปทาน เป็นจุดดุลยภาพของตลาด ที่ราคาดุลยภาพ P* และปริมาณดุลยภาพ Q*

แนวคิดอุปสงค์และอุปทาน ตั้งอยู่บนข้อสมมติว่าผู้บริโภคและผู้ผลิตตอบสนองต่อราคาในตลาด โดยที่ตัวผู้ซื้อและผู้ขายไม่สามารถต่อรองราคาหรือมีอำนาจในการกำหนดราคาตลาดได้เอง ข้อสมมตินี้เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ซึ่งเป็นตลาดที่มีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมากทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายแต่ละรายไม่มีอำนาจในการต่อรองราคา[4]

ปริมาณสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการซื้อนั้นขึ้นอยู่กับราคาของสินค้า และปัจจัยอื่นๆ เช่น รายได้ รสนิยมของผู้บริโภค เป็นต้น หากสมมติว่าปัจจัยอื่นๆ เหล่านี้ไม่เปลี่ยนแปลง ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสินค้าที่ต้องการซื้อกับราคานั้นเรียกว่าอุปสงค์ ซึ่งสามารถเขียนออกมาในลักษณะฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์โดยให้ปริมาณความต้องการซื้อเป็นฟังก์ชันของราคา และมักจะวาดออกมาในรูปแบบของแผนภูมิเส้น การวาดแผนภูมิอุปสงค์มักให้แกนตั้งหมายถึงราคาและแกนนอนหมายถึงปริมาณ โดยทั่วไปแล้ว ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าแต่ละชนิดจะมีความสัมพันธ์เชิงลบกับราคา นั่นคือ หากว่าราคาของสินค้าชนิดหนึ่งสูงขึ้นโดยที่ปัจจัยอื่นๆ ไม่เปลี่ยนแปลง ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าชนิดนั้นจะลดลง ความสัมพันธ์เชิงลบนี้เรียกว่ากฎอุปสงค์ (law of demand) สามารถเขียนออกมาในรูปแผนภูมิเส้นได้เป็นเส้นที่มีลักษณะความชันลาดลง[5]

ในลักษณะเดียวกัน อุปทานหมายถึงความต้องการขายสินค้าของผู้ผลิตที่ราคาแต่ละระดับ โดยที่ปริมาณความต้องการขายเป็นฟังก์ชันของราคา ฟังก์ชันอุปทานสามารถเขียนออกมาในรูปแบบของแผนภูมิเส้นเช่นเดียวกัน ปริมาณอุปทานมักมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับราคา นั่นคือ หากราคาตลาดของสินค้าชนิดหนึ่งสูงขึ้นโดยที่ปัจจัยอื่นๆ คงที่ ปริมาณความต้องการขายสินค้าชนิดนั้นจะเพิ่มขึ้น เรียกว่ากฎอุปทาน (law of supply) สามารถเขียนออกมาในรูปแผนภูมิเส้นได้เป็นเส้นที่มีลักษณะความชันขึ้น[5]

แบบจำลองอุปสงค์และอุปทานอธิบายว่าอุปสงค์และอุปทานเป็นปัจจัยที่กำหนดราคาของสินค้าในตลาด โดยใช้แนวคิดของจุดสมดุล (equilibrium) จุดสมดุลในแบบจำลองนี้คือภาวะที่ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าเท่ากับปริมาณความต้องการขายสินค้า ราคาสินค้าที่ทำให้ปริมาณความต้องการซื้อเท่ากับปริมาณความต้องการขายนี้เรียกว่าราคาสมดุล และปริมาณสินค้าที่ซื้อขายในจุดสมดุลเรียกว่าปริมาณสมดุล ในแผนภูมิเส้นที่แสดงอุปสงค์และอุปทาน จุดสมดุลคือจุดที่เส้นอุปสงค์และเส้นอุปทานตัดกัน หากปริมาณอุปสงค์มากกว่าปริมาณอุปทาน ซึ่งเกิดเมื่อราคาสินค้าต่ำกว่าราคาดุลยภาพของสินค้านั้น จะเกิดการขาดแคลนสินค้า หรือเรียกว่ามีอุปสงค์ส่วนเกิน ในขณะที่เมื่อปริมาณอุปทานมากกว่าปริมาณอุปสงค์ คือเมื่อราคาสินค้าสูงกว่าราคาดุลยภาพ จะเกิดสินค้าล้นตลาด หรืออุปทานส่วนเกิน โดยเมื่อเกิดกรณีเหล่านี้ ผู้ซื้อและผู้ขายในตลาดจะตอบสนองจนกระทั่งตลาดเข้าสู่ดุลยภาพต่อเนื่องกัน หากปริมาณอุปสงค์มากกว่าปริมาณอุปทาน ซึ่งเกิดเมื่อราคาสินค้าต่ำกว่าราคาสมดุลของสินค้านั้น จะเกิดการขาดแคลนสินค้าหรือเรียกว่ามีอุปสงค์ส่วนเกิน ในขณะที่เมื่อปริมาณอุปทานมากกว่าปริมาณอุปสงค์ คือเมื่อราคาสินค้าสูงกว่าราคาสมดุล จะเกิดสินค้าล้นตลาด หรืออุปทานส่วนเกิน โดยเมื่อเกิดกรณีเหล่านี้ ผู้ซื้อและผู้ขายในตลาดจะตอบสนองจนกระทั่งตลาดเข้าสู่ดุลยภาพต่อเนื่องกัน

การเปลี่ยนแปลงอุปสงค์และอุปทาน

[แก้]
เส้นอุปสงค์มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจาก D1 ไปยัง D2 ส่งผลให้เกิดจุดดุลยภาพใหม่ ราคาดุลยภาพเพิ่มขึ้นจาก P1 เป็น P2 และปริมาณดุลยภาพเพิ่มขึ้นจาก Q1 เป็น Q2

แผนภูมิเส้นของอุปสงค์และอุปทานแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณ��ับราคาโดยที่ปัจจัยอื่นๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง หากว่าปัจจัยอื่นๆ มีการเปลี่ยนแปลง เช่น ผู้บริโภคมีรายได้มากขึ้น หรือต้นทุนการผลิตสินค้าลดต่ำลง ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้นำเสนอออกมาในรูปของการเปลี่ยนเส้นอุปสงค์หรือเส้นอุปทานทั้งเส้นเป็นเส้นใหม่ นั่นคือ ปริมาณความต้องการซื้อหรือความต้องการขายมีการเปลี่ยนแปลงที่ทุกๆ ระดับราคา[6]

ปัจจัยหนึ่งที่สามารถส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์คือรายได้ของผู้บริโภค หากว่าผู้บริโภคต้องการซื้อชนิดหนึ่งมากขึ้นเมื่อมีรายได้มากขึ้น สินค้าชนิดนั้นเรียกว่าเป็นสินค้าปกติ แต่หากว่าผู้บริโภคต้องการซื้อสินค้าชนิดหนึ่งน้อยลงเมื่อมีรายได้มากขึ้นแล้ว สินค้าชนิดนั้นจะเรียกว่าเป็นสินค้าด้อย[6]

ความยืดหยุ่น

[แก้]

ความเปลี่ยนแปลงของปริมาณความต้องการซื้อหรือความต้องการขายเมื่อราคาสินค้าเปลี่ยนนั้นสามารถแตกต่างกันไปได้ระหว่างสินค้าแต่ละชนิด ความยืดหยุ่นของอุปสงค์เป็นอัตราร้อยละของความเปลี่ยนแปลงของปริมาณความต้องการซื้อหากว่าราคาเปลี่ยนแปลงไปร้อยละ 1[7] ความยืดหยุ่นของอุปทานสามารถนิยามได้ในลักษณะเดียวกันโดยเปลี่ยนจากปริมาณความต้องการซื้อเป็นปริมาณความต้องการขาย

หากกำหนดให้ หมายถึงปริมาณสินค้า หมายถึงราคาสินค้า และ กับ หมายถึงความเปลี่ยนแปลงของปริมาณกับราคาตามลำดับ อัตราส่วนของความเปลี่ยนแปลงปริมาณสามารถเขียนได้ว่า ในขณะที่อัตราส่วนความเปลี่ยนแปลงราคาสามารถเขียนได้ว่า นิยามของความยืดหยุ่น () จึงสามารถเขียนออกมาได้ว่า หากว่าเราพิจารณาลิมิตเมื่อ เข้าใกล้ศูนย์ นิยามของความยืดหยุ่นสามารถเขียนได้ในรูปแบบทางแคลคูลัสว่า[7]

หากว่าอุปสงค์ของสินค้าเป็นไปตามกฎอุปสงค์แล้ว ความยืดหยุ่นของอุปสงค์จะมีค่าเป็นจำนวนลบ โดยทั่วไปนักเศรษฐศาสตร์จึงมักเขียนค่าความยืดหยุ่นอุปสงค์โดยละเครื่องหมายลบไว้ โดยเขียนความยืดหยุ่นอุปสงค์ในรูปของค่าสัมบูรณ์[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Bannock G., R.E. Baxter, and R. Rees. (1985), "Demand". The Penguin Dictionary of Economics, 3rd ed. Harmondsworth: Penguin Books Ltd, 114. ISBN 0-14-051134-2. (อังกฤษ)
  2. Bannock G., R.E. Baxter, and R. Rees. (1985), "Supply". The Penguin Dictionary of Economics, 3rd ed. Harmondsworth: Penguin Books Ltd, 420. ISBN 0-14-051134-2. (อังกฤษ)
  3. Mankiw, N.G. (2004). Principles of Economics, 3rd ed. Mason, Ohio : Thomson/South-Western, 63. ISBN 0-324-16862-4 (อังกฤษ)
  4. "8.2 The market and the equilibrium price". The Economy. CORE. 2017. สืบค้นเมื่อ 2019-07-01.
  5. 5.0 5.1 OpenStax (2019-03-13). "3.1 Demand, Supply, and Equilibrium in Markets for Goods and Services". Principles of Economics (2 ed.). OpenStax CNX. สืบค้นเมื่อ 2019-07-01.
  6. 6.0 6.1 OpenStax (2019-03-13). "3.2 Shifts in Demand and Supply for Goods and Services". Principles of Economics (2 ed.). OpenStax CNX. สืบค้นเมื่อ 2019-07-01.
  7. 7.0 7.1 "Leibniz 7.8.1 The elasticity of demand". The Economy. CORE. 2017. สืบค้นเมื่อ 2019-07-01.
  8. OpenStax (2019-03-13). "5.1 Price Elasticity of Demand and Price Elasticity of Supply". Principles of Economics (2 ed.). OpenStax CNX. สืบค้นเมื่อ 2019-07-01.