ข้ามไปเนื้อหา

เช่าทรัพย์

จาก วิกิตำรา




เช่าทรัพย์สิน (lease,[1] hiring (of thing)[2] หรือ hire of property[3]) หรือมักเรียกโดยย่อว่า เช่าทรัพย์ เป็นสัญญาซึ่งประกอบด้วยคู่สัญญาสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเรียก "ผู้ให้เช่า" ตกลงให้อีกฝ่ายซึ่งเรียก "ผู้เช่า" ได้ใช้หรือได้ประโยชน์จากทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งภายในระยะเวลาหนึ่งซึ่งมีจำกัด และผู้เช่าก็ตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น[4]

สัญญาเช่าทรัพย์อยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ลักษณะ 4 เช่าทรัพย์ ซึ่งบางตำราเรียก "กฎหมายลักษณะเช่าทรัพย์" แต่บรรดากฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายลักษณะนิติกรรมและสัญญา กฎหมายลักษณะหนี้ และกฎหมายลักษณะทรัพย์สิน ต้องนำมาใช้ด้วย เท่าที่กฎหมายลักษณะเช่าทรัพย์มิได้ว่าไว้เป็นอื่น

เพื่อประโยชน์ในการศึกษากฎหมายลักษณะเช่าทรัพย์ ตำรานี้จึงแบ่งส่วนดังนี้

  บทที่ 1   บททั่วไป: ว่าด้วยลักษณะ องค์ประกอบ ความสัมพันธ์ของคู่สัญญา ความระงับสิ้นลง และอายุความของสัญญาเช่าทรัพย์

  บทที่ 2   ความสัมพันธ์ของคู่สัญญาเช่าทรัพย์: ว่าด้วยผลของสัญญาเช่าทรัพย์ซึ่งก่อสิทธิเรียกร้องและหนี้ของผู้เช่ากับผู้ให้เช่า

  บทที่ 3   สัญญาเช่าทรัพย์ชน��ดพิเศษ

อนึ่ง เพื่อประโยชน์ในการศึกษา ตำรานี้ได้แทรกศัพท์กฎหมายที่เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่นไว้ด้วย ศัพท์เหล่านี้อ้างอิงประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน ญี่ปุ่น หรือฝรั่งเศส ซึ่งเป็นแม่แบบ ป.พ.พ. เป็นหลัก

ตำรานี้ยังแทรก ฎ. บางฉบับไว้ด้วย แต่พึงทราบว่า ในระบบซีวิลลอว์ (civil law) ซึ่งเป็นระบบกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทยนั้น คำพิพากษาไม่เป็นกฎหมาย เป็นเพียงการปรับใช้กฎหมายเป็นรายกรณีไปเท่านั้น

  1. เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน ม. 535 ว่า

    "Section 535 Contents and primary duties of the lease agreement

    "(1)   A lease agreement imposes on the lessor a duty to grant the lessee use of the leased property for the lease period. The lessor must surrender the leased property to the lessee in a condition suitable for use in conformity with the contract and maintain it in this condition for the lease period. He must bear all costs to which the leased property is subject.

    "(2)   The lessee is obliged to pay the lessor the agreed rent."

    และประมวลกฎหมายแพ่งญี่ปุ่น ม. 601 ว่า

    "Article 601 (Leases)

    "A lease shall become effective when one of the parties promises to make a certain Thing available for the using and taking the profits by the other party and the other party promises to pay rent for the same."

  2. เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส ม. 1708 และ 1709 ว่า

    "Art. 1708

    "There are two kinds of contracts of hiring:

    "One for things,

    "And one for work.

    "Art. 1709

    "The hiring of things is a contract by which one of the parties binds himself to have the other enjoy a thing during a certain time, and at a charge of a certain price which the latter binds himself to pay him."

  3. เป็นศัพท์ที่ใช้ใน ป.พ.พ. เช่น คำแปล ม. 537 ว่า (Kamol Sandhikshetrin, 2007: 119)

    "Hire of property is a contract whereby a person, called the letter, agrees to let another person, called the hirer, have the use or benefit of a property for a limited period of time, and the hirer agrees to pay a rent therefor."

  4. ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์; 2551: 19-20.

ภาษาต่างประเทศ

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
  • Kamol Sandhikshetrin. (2007). The Civil and Commercial Code, Books I-VI, and Glossary. (8th edition). Bangkok: Nitibannakan. ISBN 9789744473493.
  • Langenscheidt Translation Service. (2011). The German Civil Code. [Online]. (Accessed: 13 December 2012).
  • Legifrance.
  • Ministry of Justice of Japan. (2011). The Japanese Civil Code. [Online]. Available: <Parts 1-3 and Parts 4-5>. (Accessed: 13 December 2012).




ขึ้น